“พิษณุโลกเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของภาคเหนือตอนล่างมาแต่ไหนแต่ไร และเพราะเหตุนี้ แต่เดิมพื้นที่ย่านใจกลางเมืองที่อยู่ในความดูแลของเทศบาลนครพิษณุโลกจึงมีความคึกคัก ทั้งการเป็นแหล่งจับจ่ายใช้สอย รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในฐานะที่ตั้งของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร พระราชวังจันทน์ ไปจนถึงวัดเก่าแก่และพิพิธภัณฑ์อื่นๆ
นอกจากนี้ พื้นที่ดังกล่าวยังเป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการที่มีมากถึง 300 กว่าหน่วย นั่นทำให้แม้ในช่วงโควิดที่ผ่านมา เมืองจะไม่มีนักท่องเที่ยวเข้า แต่เศรษฐกิจส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่ภาคบริการการท่องเที่ยวจึงยังพอไปรอด เพราะยังมีการจับจ่ายใช้สอยของพนักงานราชการและพนักงานบริษัทเอกชนหมุนเวียนอยู่
อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดที่กล่าวมานี้กำลังจะเปลี่ยนไป เพราะอย่างที่ทราบกันว่าปัจจุบันมีการขยายตัวเมืองออกไปรอบนอกกันมากขึ้น ย่านเศรษฐกิจกระจายออกไปนอกเขตเทศบาล รวมถึง แผนการที่จะย้ายศูนย์ราชการออกไปนอกเมือง ซึ่งนั่นจะสร้างผลกระทบแก่เราโดยตรงในอนาคต เพราะผู้คนในย่านใจกลางเมืองจะลดลง เศรษฐกิจก็จะซบเซาตาม
ในฐานะเทศบาลนครพิษณุโลก ควบคู่ไปกับการดูแลสาธารณูปโภคและชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน ดิฉันก็พยายามอย่างเต็มที่ในการสร้างแหล่งดึงดูดหรือกิจกรรมที่มาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับตัวเมือง ทำให้เมืองยังคงเสน่ห์ของความน่าอยู่ น่าลงทุน และน่าท่องเที่ยว ทั้งนี้ เรากำลังอยู่ระหว่างทำแผนยุทธศาสตร์เตรียมเมืองในอีก 20 ปี โดยประสานกับนักวิชาการจากภาคส่วนต่างๆ มาดูกันว่าเราจะทำให้พิษณุโลกยังคงเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคได้อย่างไร และทำให้มันดีกว่าเดิมได้อย่างไร
ในเชิงกายภาพ จากเดิมที่ดิฉันเคยปรับปรุงพื้นที่ริมแม่น้ำน่าน บริเวณถนนพุทธบูชา ให้กลายเป็นไนท์บาซาร์จนคึกคักในอดีต แต่ภายหลังที่ดิฉันเว้นวรรคจากการเป็นนายกเทศมนตรีหลายสมัย รวมถึงจากภาวะโควิด-19 ไนท์บาซาร์ในปัจจุบันจึงซบเซาอย่างหนัก อย่างไรก็ดี เมื่อได้กลับมาบริหารเทศบาลต่อ จึงเร่งปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณไนท์บาซาร์ให้กลับมาสวยงามและน่าดึงดูดเช่นเคย
ซึ่งก็สอดรับไปกับโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยนเรศวรเมื่อปีที่แล้ว ที่มีการฟื้นฟูชีวิตชีวาให้กับย่านตลาดใต้ที่อยู่ติดกัน โดยทางเทศบาลก็ต่อยอดโครงการนี้ด้วยการร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากรในการทำ ‘ตลาดวัฒนธรรม ย่านตลาดใต้’ จัดเป็นถนนคนเดินทุกเย็นวันอาทิตย์ เป็นแหล่งจับจ่ายใช้สอยแห่งใหม่ของคนในเมือง ผ่านการชูวัฒนธรรมผสมไทย-จีนที่เป็นอัตลักษณ์ของย่านนี้ให้เป็นจุดขาย นั่นทำให้จากเดิมที่คนจดจำตลาดใต้เฉพาะความเป็นตลาดเช้า ก็จะมีโอกาสได้มาสัมผัสบรรยากาศของตลาดแห่งนี้ด้วยมุมมองใหม่ในตอนเย็น
นอกจากนี้ ทางเทศบาลยังทำถนนคนเดินเย็นวันเสาร์บริเวณวัดจันทร์ตะวันออก (ถนนสังฆบูชา) ให้เป็นที่แหล่งจับจ่ายใช้สอยและพักผ่อนของคนในเมือง เช่นเดียวกับการจัดระเบียบแผงลอยยามค่ำคืนตามย่านต่างๆ อาทิ บริเวณหน้าสถานีรถไฟ รวมไปถึงถนนอาหารสุขภาพหน้าโรงพยาบาลกรุงเทพฯ และอื่นๆ ด้วยความตั้งใจให้พิษณุโลกมีแหล่งดึงดูดสำหรับการพักค้างแรมแก่นักท่องเที่ยว และกระตุ้นเศรษฐกิจให้คนในเมือง
ทั้งนี้ ดิฉันเชื่อมั่นว่าถ้าตลาดไนท์บาซาร์ได้รับการปรับปรุงแล้วเสร็จ จะกลายเป็นจุดขายแห่งใหม่ให้กับเมืองเราได้อย่างดีเยี่ยม
ที่ผ่านมา เทศบาลนครพิษณุโลกมีจุดยืนอันแน่วแน่ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กับผู้คนในเมือง โดยเฉพาะการจัดอีเวนท์หรือเทศกาลต่างๆ ที่ทางเทศบาลจะเป็นเจ้าภาพเองมาตลอด เพราะเราตระหนักดีว่าการจ้างออร์แกไนเซอร์จากที่อื่นมาทำ โอกาสของผู้ประกอบการในเมืองที่จะเข้าร่วมขายสินค้าในงานต่างๆ ก็จะน้อยลง แต่ถ้าเราจัดเอง เราก็จะสามารถเลือกพ่อค้าแม่ค้าที่เป็นคนท้องถิ่นของเราเองมาขายสินค้าได้ก่อน
หรือหากมีหน่วยงานจากที่อื่นมาขอจัดงานในพื้นที่เรา เทศบาลก็จะตั้งเงื่อนไขในการแบ่งพื้นที่ให้ผู้ประกอบการในเมืองพิษณุโลกสามารถขายสินค้าของตัวเองด้วย คุณพาคนมาจากที่อื่นได้ไม่เป็นไร แต่ต้องมีพื้นที่ให้ผู้ประกอบการบ้านเรา
และในฐานะประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก ดิฉันพยายามนำอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของเมืองของเรามาเป็นจุดขายในการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นจากโบราณสถานที่ขึ้นชื่ออยู่แล้ว ไปจนถึงการผลักดันให้ย่านหรือชุมชนต่างๆ ชูจุดเด่นของตัวเองมาเสริมไปกับการท่องเที่ยว เพราะพิษณุโลกไม่ได้มีแค่วัดวาอารามหรือโบราณสถาน แต่เรายังมีวิถีชุมชนที่มีความเป็นพหุวัฒนธรรม และอาหารการกินอร่อยๆ กระจายอยู่เต็มเมือง ก็อยากให้ทุกภาคส่วนช่วยกันขับเคลื่อนด้วยการหาวิธีสื่อสารของดีเหล่านี้ออกมาให้ทุกคนได้รับรู้อย่างทั่วถึงกัน”
ดร.เปรมฤดี ชามพูนท
นายกเทศมนตรีนครพิษณุโลก และประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…