“นครสวรรค์ไม่จำเป็นเมืองโดดเด่นหรือหวือหวาใดๆ ในอีกมุมผมมองว่าดีไม่ดี เมืองแห่งนี้มีความพร้อมเป็นต้นแบบของเมืองเกษตรสมัยใหม่ก็ได้”

ในฐานะตัวแทนสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ DEPA ผมจึงได้รับเชิญจากทางกฎบัตรนครสวรรค์ให้เป็นที่ปรึกษาเรื่องการขับเคลื่อนเมืองในกรอบของสมาร์ทซิตี้ รวมถึงได้ไปบรรยายองค์ความรู้ต่างๆ ให้กับทางเทศบาลและเครือข่ายภาคประชาชน

เมื่อเรามองเห็นความตั้งใจของผู้นำเมืองสักแห่งในการเป็นสมาร์ทซิตี้ สิ่งแรกที่ผู้นำหรือภาคส่วนต่างๆ ในเมืองต้องตอบให้ได้คือ แล้วประชาชนจะได้อะไรจากสิ่งนี้ ซึ่งคำตอบของผู้คนในแต่ละเมืองอาจจะคล้ายกันบ้าง แต่ด้วยบริบทหรือข้อท้าทายของแต่ละเมือง ความต้องการจึงไม่มีทางเหมือนกัน

ผมอยู่กรุงเทพฯ ไม่มีทางรู้หรอกว่าคนนครสวรรค์กำลังเผชิญกับปัญหาอะไร คนที่รู้ดีคือผู้บริหารเมือง ซึ่งเป็นฝ่ายที่รับฟังเสียงของประชาชน และหาแนวทางในการแก้ปัญหา โดยทาง DEPA จะเข้าไปหนุนเสริมเรื่องการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีต่างๆ ผมก็ไปพูดเรื่องการคิดเชิงออกแบบ (design thinking) การออกแบบ solution นำเทคโนโลยีที่มีมาระบุปัญหา (problem statement) ที่เมืองกำลังเจอให้ได้


หนึ่งในแนวทางที่ผมเสนอคือการให้ผู้บริหารเมืองใช้แอปพลิเคชั่น Traffy Fondue แอปพลิเคชั่นสำหรับรับแจ้งปัญหา ข้อเสนอแนะจากผู้แจ้ง และระบบสนับสนุนการบริหารจัดการปัญหาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น พร้อมกันนั้นก็เสนอกระบวนการให้ประชาชนเข้าถึงแอปพลิเคชั่นนี้ได้อย่างทั่วถึง จุดไหนเจอน้ำท่วม จุดไหนมีปริมาณ PM2.5 หนาแน่น ก็ให้ประชาชนแจ้งมา เพื่อให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเข้ามาแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที

ถึงไม่มีโครงการสมาร์ทซิตี้ เมืองสร้างสรรค์ หรือกระทั่งเมืองแห่งการเรียนรู้ ผมมองว่านครสวรรค์ก็เติบโตไปตามทิศทางที่ดีอยู่แล้ว แต่นั่นล่ะ ถ้ามีเครื่องมือเหล่านี้ มันจะช่วยหนุนเสริมทำให้เมืองเติบโตไปในทิศทางที่ดีขึ้น ทั้งยังช่วยสร้างแพลทฟอร์มใหม่ๆ กระตุ้นให้คนรุ่นใหม่กลับบ้านเกิดมาช่วยกันพัฒนาเมือง เพราะเหตุผลหนึ่งที่คนรุ่นใหม่ไม่กลับบ้าน เพราะเขาไม่เห็นโอกาส หรือไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้เขาสามารถริเริ่มธุรกิจใหม่ๆ ได้

พร้อมกันนั้น DEPA ยังได้จัดทำโครงการ Smart City Ambassador หรือโครงการนักดิจิทัลพัฒนาเมืองรุ่นใหม่ ตามหาคนรุ่นใหม่ในนครสวรรค์มาเรียนรู้ และร่วมกันหาเทคโนโลยีเพื่อสร้าง solution ให้กับเมือง โดยนครสวรรค์ยังเป็นเมืองที่ได้ตราสัญลักษณ์นี้เป็นรุ่นแรกเมื่อปี 2564

นครสวรรค์เป็นเมืองที่มีศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเต็มเปี่ยม เพราะเมืองมีจุดเชื่อมโยงทั้งทางรถและทางรางไปถึงพม่า ไปถึงอินโดจีนได้ มีโรงเรียนการแพทย์ มีโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐานครบครัน สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานเมืองมาตั้งแต่ต้น เราก็ชวนภาคส่วนต่างๆ หารือกันว่าเราจะวางวิสัยทัศน์เมืองเป็นแบบไหน เป็นเมืองสุขภาวะไหม หรือเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ของภาคเหนือตอนล่าง เพราะลูกหลานของคนที่นี่จบออกมาเป็นหมอกันเยอะมาก ก็ค่อยๆ ประเมิน หาตัวตน และสร้างกระบวนการให้เมืองเดินหน้าไปยังทิศทางแบบนั้นกันต่อไป

ในอีกมุมมองหนึ่ง ผมมองว่านครสวรรค์เป็นเมืองรอง ไม่ได้มีสถานที่ท่องเที่ยวที่โดดเด่น อย่างไรก็ตาม ผมว่าสิ่งนี้เป็นจุดขาย เพราะกายภาพของเมืองมีทุกอย่างครบและที่สำคัญคือมีความปลอดภัย ผมเคยไปบรรยายที่ชะอำ ก็ไปถามผู้คนที่นั่นว่าเขาอยากเป็นอะไร ตอนแรกก็คิดว่าเขาคงอยากเป็นเมืองท่องเที่ยวให้ผู้คนแวะเยือนก่อนไปหัวหิน แต่เปล่าเลย หลายภาคส่วนมองว่าชะอำควรเป็นเมืองการเกษตรที่เงียบสงบ ปลอดภัย และมีความยั่งยืนในด้านธุรกิจ

นั่นล่ะครับ นครสวรรค์ไม่จำเป็นต้องเป็นเมืองโดดเด่นหรือหวือหวาใดๆ หากเป็นเมืองที่มีความปลอดภัย ผู้คนมีสุขภาพดี มีเทคโนโลยีที่มาช่วยหนุนเสริมเรื่องการเกษตรและอุตสาหกรรม ในอีกมุมผมมองว่าดีไม่ดี เมืองแห่งนี้มีความพร้อมเป็นต้นแบบของเมืองเกษตรสมัยใหม่ก็ได้”   

ดร. ภาสกร ประถมบุตร
รองผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DEPA)
https://www.depa.or.th/th/home

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[THE CITIZENS]<br />ปริยาพร วีระศิริ<br />เจ้าของแบรนด์ผ้าไหม “อภิรมย์ลำพูน”

“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ   และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม   ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…

10 hours ago

[THE CITIZENS]<br />ไชยยง รัตนอังกูร<br />ผู้ก่อตั้ง ลำพูน ซิตี้ แลป

“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…

2 days ago

[THE CITIZENS]<br />ธีรธรรม เตชฤทธ์<br />ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน

“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…

3 days ago

[THE CITIZENS]<br />ชนัญชิดา บุณฑริกบุตร<br />ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน

“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม)  จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…

3 days ago

[THE CITIZENS]<br />นงเยาว์ ชัยพรหม<br />คนทำโคมจากชุมชนชัยมงคล

“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว  สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…

4 days ago

[THE CITIZENS] อัญมณี มาตยาบุญ<br />ครีเอทีฟ ไดเรกเตอร์ ลำพูน ซิตี้ แลป

“ก่อนหน้านี้เราเป็นสถาปนิก และกระบวนกรจัดประชุมสัมมนาด้านวิชาการ โดยหลัก ๆ จะอยู่เชียงใหม่ ช่วงปี 2562 เรากลับลำพูนและเห็นเทศกาล River Festival Lamphun ริมแม่น้ำกวง รู้สึกตื่นตามาก ๆ ไม่เคยคิดว่าเราจะได้เห็นโชว์แสง…

4 days ago