ประสบการณ์และภูมิปัญญาเป็นสิ่งที่มีค่า แต่สิ่งเหล่านี้จะมีค่ามากขึ้นถ้ามันถูกแบ่งปัน

“ไอ้เฒ่า เป็นภาษาใต้ หมายถึงคนที่คงแก่เรียน หรือในบางพื้นที่ยังแปลได้ว่าเพื่อน ไม่ว่าเราจะทำงานอะไร หรืออยู่ในสังคมไหน ทุกพื้นที่จะมีไอ้เฒ่าที่เป็นเหมือนหัวเรี่ยวหัวแรง เป็นมันสมอง หรือเจ้าของภูมิปัญญาของกลุ่มนั้นๆ อยู่เสมอ

ในโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ของตำบลปากพูน ผมรับผิดชอบโครงการที่ 2 ที่ชื่อ เกลอปากพูน: การสร้างกลไกความร่วมมือและเครือข่ายพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้ภายในตำบลปากพูน โดยหน้าที่ก็คือการตามหาไอ้เฒ่าจากพื้นที่ต่างๆ ยึดตามโครงการย่อยที่มี ไม่ว่าจะเป็นชาวบ้านที่ขับเคลื่อนกิจกรรมอุโมงค์ป่าโกงกาง เจ้าของสวนมะพร้าว คนเฒ่าคนแก่ที่มีประสบการณ์ร่วมในประวัติศาสตร์ของชุมชน เป็นต้น ทุกโครงการล้วนมี key performance และผมต้องหาวิธีให้ key performance เหล่านั้นมาทำงานร่วมกัน ซึ่งยังรวมถึงภาครัฐอย่างเจ้าหน้าที่จากเทศบาล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

และเพื่อทำให้กลไกของความร่วมมือเกิดเป็นรูปธรรม การจัดตั้งพื้นที่กลางของชุมชนขึ้นจึงเป็นเรื่องสำคัญ แต่จะเป็นพื้นที่สำหรับปรึกษาหารืออย่างเดียวก็น่าเสียดาย ในเมื่อชุมชนเรามีของดี เราก็ควรนำมาขาย ด้วยเหตุนี้ ‘ตลาดความสุขชาวเล’ จึงเกิดขึ้นบริเวณแพของคุณทักษิณ แสนเสนาะ ในหมู่ที่ 4 ซึ่งเป็นจุดขึ้นสินค้าของชาวประมงในพื้นที่อยู่แล้ว ตลาดแห่งนี้จำหน่ายอาหารทะเลจากปากพูน อาหารทะเลแปรรูปโดยกลุ่มแม่บ้านในชุมชน ไปจนถึงผลิตภัณฑ์ของชาวสวนอย่างน้ำตาลมะพร้าว น้ำผึ้งป่าโกงกาง และอื่นๆ ที่สะท้อนอัตลักษณ์ของปากพูน

นอกจากนี้ตัวตลาดเองก็ยังเป็นจุดเช็คอินเริ่มต้นท่องเที่ยวชุมชนปากพูน และจุดขึ้นเรือชมอุโมงค์ป่าโกงกาง เรียกได้ว่าถ้านักท่องเที่ยวลงจากสนามบินมา ก็สามารถพุ่งตรงมาเช็คอินที่นี่ก่อนเข้าร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวิถีชีวิตชุมชนได้ โดยทางโครงการกำลังประสานกับทางสนามบินในการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ ให้พื้นที่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ให้นักท่องเที่ยวได้รู้ว่ามานครแล้ว นอกจากวัดเจดีย์ วัดพระธาตุ หรือบ้านคีรีวงศ์ ตำบลปากพูนของเราก็มีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่ดีงามไม่แพ้กัน

ปัจจุบันตลาดความสุขชาวเลได้รับการบริหารจัดการโดยชุมชนหมู่ 4 มีผู้ใหญ่บ้านกระจาย ชวาสิทธิ์ เป็นประธาน มีคุณทักษิณเจ้าของพื้นที่เป็นรองประธาน และมีคณะกรรมการคอยขับเคลื่อนกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ ที่เกิดขึ้น เป็นตลาดชุมชนที่มีส่วนผสมแบบบริษัทที่มีระเบียบการทำงานอย่างเป็นทางการ แต่ขณะเดียวกันก็มีความสัมพันธ์แบบเพื่อนบ้าน พี่น้อง หรือคนในครอบครัว ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของผู้คนในหมู่ 4 แห่งนี้อยู่แล้ว เราตั้งชื่อพื้นที่ว่าตลาดความสุขชาวเล ซึ่งหาได้มาจากแค่ว่าเมื่อตลาดค้าขายดี ชาวเลหรือผู้ประกอบการจะมีความสุข แต่ยังหมายรวมถึงผู้ที่มาเยือนก็จะได้ความสุขกลับไปด้วย

ย้อนกลับมาที่ไอ้เฒ่า สำหรับคำถามที่ว่าผมมีวิธีการโน้มน้าวไอ้เฒ่าและผู้คนในชุมชนให้มาร่วมกันอย่างไร ถ้าเป็นคนรุ่นใหม่ๆ นี่เขาพร้อมจะร่วมกับเราอยู่แล้วครับ ส่วนถ้าเป็นผู้สูงอายุ ผมจะอธิบายว่าประสบการณ์และภูมิปัญญาเป็นสิ่งที่มีค่าครับ แต่สิ่งเหล่านี้จะมีค่ามากขึ้นถ้ามันถูกแบ่งปัน ถ้าภูมิปัญญาได้รับการแบ่งปัน และมีเครื่องมือถ่ายทอดสู่คนรุ่นต่อๆ ไป มันจะช่วยยกระดับเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนได้ ซึ่งก็ย้อนกลับมาที่ตลาดความสุขชาวเลนั่นล่ะครับ ถ้าเศรษฐกิจดี ผู้คนมีคุณภาพชีวิตดี ชุมชนของเราก็มีทั้งความยั่งยืนและความสุขครับ”   

ผศ.ดร. เชษฐา มุหะหมัด
อาจารย์ประจำสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน และผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช และนักวิจัยโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ปากพูน

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

5 days ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

6 days ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

1 month ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

2 months ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

2 months ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago