Categories: Citizenยะลา

ผมเหมือนคนที่ตกค้างอยู่ในกระแสของกาลเวลานะ อาชีพที่ดูเหมือนจะสูญหายไปจากสังคมแล้ว แต่ก็ยังมีผมที่หลงเหลืออยู่

“เริ่มจากอาของผมที่เป็นนายช่างเขียนคัทเอาท์ที่โรงภาพยนตร์เฉลิมเขตในอำเภอสุไหงโกลก ตอนนั้นผมเรียน ม.1 เรียนได้ครึ่งเทอม เห็นว่าที่บ้านไม่ค่อยมีเงินส่งผมเรียนแล้ว จึงลาออก และขอตามไปอยู่กับอา ไปให้อาฝึกเขียนรูปให้ หวังทำเป็นอาชีพ

ผมไม่มีทักษะทางศิลปะเลย ก็เริ่มจากไปช่วยอาเตรียมเฟรมวาดรูป กวนสี และล้างพู่กันให้ ระหว่างที่อาเขียนรูป ผมก็ดูวิธีการทำงานของเขาแทบไม่กะพริบตา ทำแบบนี้อยู่สองปี จนรู้แล้วว่าจะวาดเส้น ลงสี หรือลงน้ำหนักพู่กันอย่างไร อาก็ให้ผมลองลงมือเขียน

ที่โรงหนังเฉลิมเขตจะมีช่างใหญ่ซึ่งก็คืออาผมหนึ่งคน คอยเขียนรูปเหมือนจากใบปิดภาพยนตร์ลงป้ายขนาดใหญ่และขนาดเล็ก และก็มีช่างที่คอยเขียนตัวอักษรอีกหนึ่งคน และก็มีผมที่เป็นเด็กฝึกงานซึ่งมีโอกาสหัดเขียนทั้งรูปและแบบตัวอักษร ทำๆ ไปจนเจ้าของโรงหนังเขาว่าจ้างและมีเงินเดือน อาผมก็ย้ายไปอยู่กรุงเทพฯ ผมก็รู้สึกอิ่มตัว เลยกลับไปอยู่บ้านที่สงขลาอยู่ราวหนึ่งปี จากนั้นก็มีคนจากโรงภาพยนตร์อีกแห่งในสุไหงโกลกมาชวน ผมก็กลับไปเขียนป้ายอีก

เขียนอยู่ที่นั่นอีกพักใหญ่ ก็มีผู้จัดการโรงหนังปัตตานีพาราไดซ์มาชวนไปทำพาร์ทไทม์ ก็เลยต้องทำงานสองที่ คือในหนึ่งสัปดาห์ ผมจะประจำอยู่โรงหนังที่ปัตตานี 5 วัน และอยู่ที่สุไหงโกลกอีก 2 วัน สมัยก่อนหนังเข้าเรื่องหนึ่งจะอยู่ยาวเป็นครึ่งเดือน และโรงหนังก็เป็นแบบสแตนด์อะโลนที่ฉายหนังควบ ต่อช่วงเวลาครึ่งเดือน ผมเลยจะเขียนคัทเอาท์ให้หนังสองเรื่อง


ทำได้สักพักโรงหนังที่สุไหงโกลกปิดตัว งานผมจึงเหลือแค่ปัตตานีที่เดียว พอดีกับที่แฟนผมท้อง ผมเลยเปิดร้านรับเขียนป้ายที่ปัตตานี และส่งลูกเรียนหนังสือที่นั่น ทำร้านอยู่พักใหญ่ โรงหนังที่ปัตตานีก็ปิดตัวตามไปอีก แต่ก็พอดีกับที่เจ้าของห้างโคลีเซียมยะลาติดต่อมาให้ไปเป็นนายช่างใหญ่ที่นั่น ก็ลังเลอยู่พักหนึ่งเพราะเรามีร้านที่ปัตตานีแล้ว แต่ก็มาคิดดูว่าถ้าทำที่ยะลาเราก็มีเงินเดือนประจำที่แน่นอน ช่วงแรกๆ เลยตัดสินใจไปๆ กลับๆ ยะลา-ปัตตานี แต่ทำไปได้สักพักก็รู้สึกเหนื่อย เลยตัดสินใจย้ายครอบครัวและย้ายร้านมาเปิดที่ยะลาที่เดียวเลย ผมเริ่มงานที่โคลีเซียมยะลาปี 2550 ตอนนี้ก็อยู่มา 15 ปีแล้ว

ผมน่าจะเป็นช่างเขียนคัทเอาท์หนังรุ่นสุดท้ายแล้ว ผมเติบโตมาในช่วงที่โรงหนังที่ใช้ช่างเขียนป้ายพากันปิดตัวลง และถูกแทนที่ด้วยโรงหนังที่เป็นสาขา ซึ่งมีการปริ้นท์ไวนิลประชาสัมพันธ์หนัง ช่างเขียนมือจึงค่อยๆ ตกงานกันไปทีละราย ทุกวันนี้ในภาคใต้ จะมีโรงหนังที่พัทลุงและภูเก็ตที่ยังใช้ช่างเขียนตัวอักษร แต่ถ้าเป็นเขียนรูปเหมือน ก็มีแค่โรงหนังโคลีเซียมยะลาที่ผมทำอยู่ที่เดียวที่ยังหลงเหลืออยู่

ช่างส่วนใหญ่ที่ผมรู้จักนี่จะอายุราว 60-70 ปีหมด บางคนผันตัวไปเปิดร้านเขียนป้าย หรือไปเขียนรูปเหมือน ส่วนคนรุ่นหลังผมนี่ไม่มีใครทำงานนี้แล้ว เพราะไม่มีโรงหนังไหนจ้างอีก จะว่าไปผมก็เหมือนคนที่ตกค้างอยู่ในกระแสของกาลเวลานะ อาชีพที่ดูเหมือนจะสูญหายไปจากสังคมแล้ว แต่ก็ยังมีผมที่หลงเหลืออยู่ และตระหนักอยู่เสมอว่าเราพร้อมจะถูกเลิกจ้างได้ทุกเมื่อ

แต่นั่นล่ะ ผมไม่ได้ฟูมฟายหรือนึกใจหายอะไร เข้าใจว่าทุกสิ่งทุกอย่างย่อมต้องเปลี่ยนแปลง คือไม่ใช่แค่อาชีพของผมเท่านั้นหรอกนะ แต่กับธุรกิจโรงหนังเองก็เริ่มลำบาก เพราะสมัยนี้เทคโนโลยีมันเร็ว คนดูหนังอยู่บ้านหมด ผมก็จะทำงานนี้จนกว่าเขาจะเลิกจ้าง เพราะถึงยังไงนี่ก็เป็นงานที่ผมทำมาทั้งชีวิต และยังสนุกกับมันอยู่

ทุกวันนี้ผมจะเขียนป้ายสัปดาห์ละ 1-2 เรื่อง จะมีเขียนลงคัทเอาท์หน้าโรงหนัง และคัทเอาท์ที่เอาไปติดบนรถแห่รอบเมืองยะลา โดยมีนายช่างอีกคนสลับกันเขียนและเขียนตัวอักษร ถ้าหนังเรื่องไหนดังๆ บางครั้งจะมีคนมาขอซื้อคัทเอาท์เรื่องนั้นไปเก็บสะสม ผมก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่คุณต้องหาคัทเอาท์อันใหม่มาแทนด้วย เพราะปกติ เวลาเขียนหนังหนึ่งเรื่อง เมื่อหนังจบ ผมก็จะทาสีขาวทับเพื่อวาดหนังเรื่องใหม่

ถ้าขยันๆ หน่อยผมจะใช้เวลาประมาณ 2 วันในการทำคัทเอาท์ใหญ่หนึ่งป้าย แต่ส่วนใหญ่ก็จะเอ้อระเหย เป็น 3-4 วัน แต่ก็ทันกำหนดการอยู่ดี ที่วาดยากหน่อยคือหนังไทย เพราะคนดูรู้จักดารา ถ้าวาดไม่เหมือนดาราคนนั้นนิดหน่อยเขาก็จับได้แล้ว ส่วนหนังฝรั่งจะไม่ซีเรียสเท่า”

เจียร เสียงแจ้ว

นายช่างเขียนคัทเอาท์โรงภาพยนตร์โคลีเซียม ยะลา
นายช่างคนสุดท้ายของภาคใต้
 

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[THE RESEARCHER]<br />ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์<br />หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เทศบาลเมืองลำพูน<br />นักวิจัยจากสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ปริยาพร วีระศิริ<br />เจ้าของแบรนด์ผ้าไหม “อภิรมย์ลำพูน”

“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ   และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม   ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ไชยยง รัตนอังกูร<br />ผู้ก่อตั้ง ลำพูน ซิตี้ แลป

“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ธีรธรรม เตชฤทธ์<br />ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน

“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ชนัญชิดา บุณฑริกบุตร<br />ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน

“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม)  จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />นงเยาว์ ชัยพรหม<br />คนทำโคมจากชุมชนชัยมงคล

“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว  สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…

2 weeks ago