“ผมเองก็ฝากนักเรียนหน้าเสาธงเวลาอบรมตอนเช้า เช่น บางคนไม่ชอบเลือด ไม่ชอบตับ ก็ให้นักเรียนถามกันเอง ตักแบ่งกัน แลกกัน อย่าทิ้ง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน เป็นการอยู่ร่วมกันของเด็ก”

“ปัจจุบันโรงเรียนบ้านท่ามะนาวมีนักเรียนอยู่ 91 คน บุคลากรทั้งหมด 9 คน จัดเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก คือมีนักเรียนไม่เกิน 120 คน เราเข้าร่วมโครงการอาหารกลางวันของนักเรียน กับโครงการเขาใหญ่ ปากช่อง เมืองอาหารอินทรีย์ ใช้วัตถุดิบกับเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ของเขาใหญ่ พาโนราม่า ฟาร์ม เพราะเห็นว่า ถ้านักเรียนได้กินอาหารที่สะอาด ปลอดจากสารพิษ ก็จะเกิดประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายในระยะยาว ซึ่งทางโรงเรียนก็มีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ รัฐบาลจัดสรรค่าอาหารกลางวันเด็ก ในขณะนั้น หัวละ 21 บาท ซึ่งเดิม 20 บาท เพิ่งปรับเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2566 เป็น 27 บาท โดยดูจากจำนวนของนักเรียนและขนาดโรงเรียนนะครับ แล้วการซื้อวัตถุดิบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหมู เนื้อไก่ ไข่ ผัก ราคาค่อนข้างสูง เกิดส่วนต่าง แต่เราก็มีผู้ใหญ่ใจดีมาร่วมซัพพอร์ตในส่วนต่าง ทำให้นักเรียนได้รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ

ผมเริ่มปรับโครงการอาหารกลางวันนักเรียนตั้งแต่ปีการศึกษา 2564 เทอม 2 คือเดิมการจ้างเหมาอาหารกลางวันผูกขาดระหว่างผู้จ้างเหมา ซึ่งจ้างเหมาแม่ครัวรับจ้างประกอบอาหารมาส่งนักเรียนที่โรงเรียน เราเห็นว่าอาหารไม่ค่อยมีคุณภาพ เนื่องจากว่ามีผัดมาม่า ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน เขาคำนึงถึงว่าถ้าใช้วัตถุดิบราคาถูก เขาก็จะเงินเหลือเยอะ ส่วนตัวผมเองก็ค่อนข้างใส่ใจเรื่องสุขภาพ ส่วนหนึ่งก็มาจากการเล่นกีฬา แล้วก็เลือกกินอาหาร ลดหวาน ลดมัน ลดแป้ง เราก็มาปรับใช้กับนักเรียน เราจ้างแม่ครัวใหม่ ซื้อวัตถุดิบต่างหาก ก็สามารถควบคุมได้ เราเอาใจใส่ให้เด็กกินอาหารที่มีคุณภาพ ซึ่งเท่าที่ครูสัมภาษณ์นักเรียน คือนักเรียนชื่นชอบ กินอร่อย กินได้มากขึ้น ความรู้สึกของครูที่ทำให้นักเรียนคือกินได้เต็มปาก เพราะเป็นอาหารที่สะอาด พืชผักก็ปลอดสาร นักเรียนบางคนมีปัญหาครอบครัว พ่อแม่แยกทางกัน บางคนอยู่กับพ่อ พ่อก็อาจไม่มีเวลาดูแลเท่าที่ควร ตามประสาวิถีชาวบ้านคือดื่มเหล้ามั่งทำงานก็อาจไม่มีเวลา เด็กก็ไม่ได้กินข้าวเย็น เราก็ให้ครูสำรวจว่าเด็กคนไหนที่ขัดสนจริงๆ ถ้ากับข้าวเหลือวันนั้นเราก็ห่อให้เด็กไปกินที่บ้าน ได้วันละ 3 คนบ้าง 2 คนบ้างตามจำนวนที่จะสามารถให้เขาได้ คือบางวันก็มีกับข้าวเหลือ บางวันขาดเราก็จัดเสริมเท่าที่ทำได้ ไม่สามารถคำนวณได้ 100% แต่ทำให้เด็กทุกคนได้อิ่ม ผมเองก็ฝากนักเรียนหน้าเสาธง เวลาอบรมตอนเช้า เช่น บางคนไม่ชอบเลือด ไม่ชอบตับ ก็ให้นักเรียนถามกันเอง ตักแบ่งกัน แลกกัน อย่าทิ้ง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน เป็นการอยู่ร่วมกันของเด็ก

เราเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก มีข้อจำกัดมากๆ ในการทำอาหารมีคุณภาพให้นักเรียนบริโภค คือโรงเรียนอยู่ใกล้วัด วัดก็จะมีงานศพ เราก็ริเริ่มว่า งานศพให้บริจาคช่วยโรงเรียน ทีนี้ในช่วงที่ผมมาอยู่ ผมใช้เงินที่สะสมได้ประมาณหมื่นกว่าบาทมาซื้อไข่ เพิ่มจากเมนูปกติ ก็เพิ่มไข่ 3 วัน ผลไม้ 2 วัน ทำให้นักเรียนมีโภชนาการที่ดีขึ้น คือค่าอาหารกลางวันหัวละ 21 บาท มันยากนะ แต่เราก็พยายามทำ บางโอกาสมีผู้ใหญ่ใจดี มาเลี้ยงวันเกิด ก็มีขนมเพิ่มมา ในช่วงวันเด็กที่ผ่านมา หลายๆ ท่านก็มาบริจาคเยอะ เราก็เก็บรวบรวมไว้ทยอยแจก ตอนนี้ก็หมดแล้ว ตัวโครงการฯ เองก็อยากทำให้ต่อเนื่อง ตอนนี้เราใช้ไข่ของเครือข่ายฯ อย่างช่วงที่โรงเรียนเข้าร่วมโครงการใช้วัตถุดิบจากเครือข่ายเขาใหญ่ พาโนราม่า ฟาร์มก็จะวิ่งรอกส่งตั้งแต่โรงเรียนบ้านนา บันไดม้า หนองอีเหลอ ท่ามะนาว แต่ตอนนี้มีข้อจำกัดในการส่ง คือแถบที่ร่วมกลุ่มกับเครือข่ายฯ อยู่แถบโน้น ถ้าจะมาส่งเราทางนี้ตรงตัวอำเภอปากช่อง ค่าใช้จ่ายในการจัดส่งไม่คุ้ม

ผมมีโครงการหนึ่งที่คิดไว้ เพราะโรงเรียนอยู่กับชุมชน ผู้ปกครองบางครอบครัวก็ปลูกพืชผักผลไม้ริมรั้ว อันนี้คือสะอาดโดยแท้ เพราะปลูกกินในบ้าน ไม่ใช่ทำเชิงธุรกิจ เรามีกลุ่มไลน์โรงเรียน ผู้ปกครองแต่ละชั้นมีกลุ่มไลน์ของเขา เราก็อยากประชาสัมพันธ์ว่าพืชผักผลไม้ที่บ้านที่กินเหลือ อยากจะเอามาขายให้นักเรียน ลูกหลานก็จะได้รับประทานอาหารที่สะอาด อาจจะเป็นราคาตลาด หรือถูกกว่าตลาด อันนี้เป็นการเกื้อหนุนระหว่างผู้ปกครองกับนักเรียน แล้วผู้ปกครองก็ไม่ต้องไปหาตลาดด้วย บางคนไม่ถนัดจะเป็นแม่ค้า ก็ใส่เข่งมา กล้วยสักสิบหวี ต้นสองต้นที่ปลูกอยู่ข้างรั้วบ้าน กินไม่หมดอยู่แล้ว ก็เอามาขายให้โรงเรียน แล้วก็คิดอยู่ว่า ถ้าจะทำให้นักเรียนมีผักปลอดสารพิษ คือโรงเรียนมาสอนนักเรียนให้ปลูกผักในโรงเรียน ตอนนี้เพิ่งปลูกกล้วยได้ 3-4 ต้น คือพื้นที่จำกัด กำลังพัฒนากันอยู่ อาจจะยังไม่เห็นเป็นรูปเป็นร่างเท่าไหร่ แต่ผมว่าการขยายโครงการอาหารอินทรีย์สามารถทำได้ ก็ผลิตเอง ถ้าเป็นโรงเรียนเครือข่ายขนาดใหญ่ที่สามารถผลิตได้มากแล้วเขาไม่มีที่จำหน่ายก็มาจำหน่ายให้ข้างเคียงกัน ใครมีพื้นที่ มีเวลาว่าง คือเขาเคยปลูกแล้ว แต่ทีนี้ไม่สามารถจำหน่ายได้ ไม่มีช่องทางจำหน่าย เขาอาจคิดมาปลูกใหม่ แล้วก็จำหน่ายให้กับโรงเรียน สร้างเครือข่ายได้ ขยายผล หรือประชาสัมพันธ์สู่ชุมชนรอบข้าง

ถ้าคุณครูให้ความรู้เรื่องอาหารที่มีคุณภาพ เด็กจะมีความรู้ แล้วก็เรียนรู้ที่จะผลิต แต่ว่าในการบริโภคทุกวันนี้ ยังไม่สามารถทำให้นักเรียนเห็นภาพได้ชัดเจน หรือเห็นความสำคัญขนาดที่ว่าจะต้องลงมือ เพราะเขาบริโภคอาหารตลาดอยู่แล้ว เพราะจับจ่ายง่าย เข้าถึงง่าย ถ้าจะปรับเปลี่ยนแบบพลิกหน้ามือเป็นหลังมือค่อนข้างยาก ต้องให้เขาซึมซับไป อย่างที่เรียนว่า ให้นักเรียนได้ปลูกเอง เขาจะได้เห็นคุณค่า และเป็นทักษะพื้นฐานในการที่เขาจะดำรงชีวิตเมื่อเติบใหญ่”

ว่าที่ร้อยตรี นิติ ทองมนต์
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านท่ามะนาว

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[THE RESEARCHER]<br />ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์<br />หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เทศบาลเมืองลำพูน<br />นักวิจัยจากสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ปริยาพร วีระศิริ<br />เจ้าของแบรนด์ผ้าไหม “อภิรมย์ลำพูน”

“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ   และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม   ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ไชยยง รัตนอังกูร<br />ผู้ก่อตั้ง ลำพูน ซิตี้ แลป

“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ธีรธรรม เตชฤทธ์<br />ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน

“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ชนัญชิดา บุณฑริกบุตร<br />ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน

“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม)  จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />นงเยาว์ ชัยพรหม<br />คนทำโคมจากชุมชนชัยมงคล

“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว  สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…

2 weeks ago