“ก่อนหน้านี้เคยแต่ขับรถผ่านครับ ผมเริ่มเข้ามาและรู้จักนครสวรรค์จริงๆ ในฐานะเป็นนักวิจัยของสมาคมการผังเมือง โดยช่วยอาจารย์ฐาปนา (ฐาปนา บุณยประวิตร เลขานุการกฎบัตรไทย) จัดตั้งคณะกรรมการกฎบัตรนครสวรรค์ และเริ่มโครงการสมาร์ทซิตี้ตั้งแต่ปี 2562
จากนั้นก็ทำโครงการที่เมืองนี้มาเรื่อยๆ จนปี 2564 เราได้รับการสนับสนุนจาก บพท. ทำโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ควบคู่กับสมาร์ทซิตี้ ผ่านรูปแบบการทำ Smart Block บริเวณศูนย์การค้า (สถานีขนส่งผู้โดยสาร จังหวัดนครสวรรค์)
ในฐานะที่เป็นสถาปนิก ผมรับหน้าที่รับฟังข้อเสนอจากภาคส่วนต่างๆ ของเมืองนครสวรรค์ รวมถึงการนำรายละเอียดของกฎบัตรมาใช้ ก่อนจะร่วมกับชุมชนออกแบบพื้นที่ดังกล่าว ทำให้ทุกคนเห็นภาพว่าถ้าย่านนี้เป็น Smart Block จะมีหน้าตาอย่างไร สามารถอำนวยความสะดวกต่อวิถีชีวิต หรือยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนได้อย่างไร
ซึ่งใช่ ด้วยปัจจัยสำคัญที่ภายในย่านกำลังจะมีศูนย์การค้าขนาดใหญ่อย่างเซ็นทรัลมาเปิดให้บริการ ถ้าเรามีการปรับพื้นที่ให้เป็น Smart Block ทำให้ย่านมีความสะดวกต่อการเดินเท้าและเข้าถึงทุกพื้นที่ได้อย่างราบรื่น รวมถึงการมีอารยสถาปัตย์ (universal design) ก็เชื่อว่าสิ่งนี้จะช่วยหนุนเสริมผู้คนทุกๆ กลุ่ม รวมถึงธุรกิจขนาดเล็กของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพราะหัวใจการออกแบบ Smart Block ของเราหาใช่การปรับปรุงพื้นที่เพื่อรองรับศูนย์การค้าขนาดใหญ่ แต่เป็นการออกแบบให้ทุกคนได้ประโยชน์จากพื้นที่ และเข้าถึงการใช้งานอย่างเกื้อกูล มันไม่มีทางเลยที่ห้างสรรพสินค้าหรือศูนย์ท่ารถจะโตฝั่งเดียว แต่ย่านการค้าและชุมชนโดยรอบไม่โตไปด้วยกัน เพราะถ้าเป็นเช่นนั้น อีกไม่นานย่านก็จะพบกับทางตัน
ถามว่าเราทำงานกับชาวบ้านอย่างไร อันนี้ต้องยกเครดิตให้กับทางเทศบาลนครนครสวรรค์ที่สามารถสื่อสารกับชาวบ้านในพื้นที่ให้เข้าใจในเบื้องต้น ทำให้ทุกคนพร้อมเปิดใจให้เราเข้าไปทำงานร่วมกัน ขณะเดียวกัน เราก็ไปสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมในแบบที่เป็นเพื่อนเข้าหาเพื่อน น้องเข้าหาพี่ หรือหลานเข้าหาลุงๆ ป้าๆ ไม่ใช่ในฐานะนักวิจัยกับแหล่งข้อมูล หรือนักออกแบบกับลูกค้า เราอธิบายความคิดเชิงวิชาการด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย และชี้ให้เห็นข้อดีและข้อเสียของการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ก่อนจะประมวลทุกความคิดเห็น เพื่อนำมาสู่แนวทางการออกแบบพื้นที่ที่ตอบโจทย์กับทุกคนมากที่สุด
ผมสามารถพูดได้อย่างเต็มปากว่า แม้เราจะทำงานกับพื้นที่เล็กๆ แต่การได้เห็นพลวัตของความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ ผู้ประกอบการ และภาคส่วนต่างๆ นครสวรรค์ถือเป็นเมืองที่มีความก้าวหน้าและความพร้อมจะเป็นสมาร์ทซิตี้มากกว่าหลายๆ เมืองที่เราทำมา
และใช่ครับ เมืองนี้มีความพร้อมจะเป็นต้นแบบให้เมืองอื่นๆ เข้ามาเรียนรู้และนำบทเรียนไปปรับใช้ ขณะเดียวกัน แม้โครงการวิจัยเรื่องเมืองแห่งการเรียนรู้จะแล้วเสร็จไปตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2565 แต่ด้วยกลไกที่เราร่วมกันจัดทำ โดยมีเทศบาล เครือข่ายภาคเอกชน และคณะกรรมการกฎบัตรนครสวรรค์เป็นหัวเรี่ยวหัวแรง เราจึงเห็นแนวโน้มของการพัฒนาเมืองเกิดขึ้นต่อไป แม้จะไม่มีทุนวิจัยมาสนับสนุนแล้วก็ตาม
และอย่างที่บอกตอนต้น ก่อนหน้านี้ผมเคยแต่ขับรถผ่านนครสวรรค์ เดินทางจากกรุงเทพฯ ไปทางภาคเหนือ แต่หลังจากที่ทำงานวิจัยที่นี่แล้วเสร็จ ผมมองเห็นนครสวรรค์เป็นจุดหมายปลายทาง หรือ destination ของการพัฒนาในหลายๆ มิติอย่างน่าสนใจ”
ฐปนันท์ งามบุษรัตน์
นักวิจัยสมาคมการผังเมืองไทยและกฎบัตรไทย
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…
“ก่อนหน้านี้เราเป็นสถาปนิก และกระบวนกรจัดประชุมสัมมนาด้านวิชาการ โดยหลัก ๆ จะอยู่เชียงใหม่ ช่วงปี 2562 เรากลับลำพูนและเห็นเทศกาล River Festival Lamphun ริมแม่น้ำกวง รู้สึกตื่นตามาก ๆ ไม่เคยคิดว่าเราจะได้เห็นโชว์แสง…