ร้านขายของชำที่เปิดมาเกือบ 50 ปีทุกวันนี้แม้เศรษฐกิจจะซบเซา แต่ไม่มีภาระต้องส่งเสียลูกแล้วจึงพออยู่ได้

“ลุงพิทักษ์เคยเป็นหลงจู๊มาก่อน แกทำหน้าที่คล้ายเซลล์แมน ซึ่งต้องขับรถส่งของในเส้นทางลำปางไปจนถึงอำเภอแม่สายที่เชียงราย ส่วนป้าเป็นคนห้างฉัตรที่เข้ามาทำงานในตัวเมือง เมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้ว เราเจอกันที่ลำปาง หลังจากตกลงใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน ความที่ลุงแกไม่อยากเดินทางบ่อยอีกแล้ว จึงนำเงินเก็บมาเปิดร้านขายของชำอยู่ในย่านกาดกองต้านี่

สมัยนั้นกาดกองต้าบนถนนตลาดเก่าที่เลียบริมแม่น้ำวังเงียบเหงามาก ยังไม่มีถนนคนเดิน และบ้านส่วนใหญ่ก็ปิดไว้ ไม่ได้ทำการค้า แต่ความที่ซอยหลิ่งจันทร์หมันที่ร้านเราเปิด เป็นคิวรถไปอำเภอเมืองปาน ลูกค้าหลักของร้านจึงเป็นคนจากอำเภอรอบนอกที่นั่งรถประจำทาง ซึ่งสมัยนั้นเป็นรถคอกหมูเข้ามาทำธุระในเมือง สมัยก่อนรถขนคนมาแน่นทุกรอบเลย บางรอบถึงกับมีคนนั่งบนหลังคามาก็มี ยิ่งผู้โดยสารเยอะ ร้านป้ายิ่งขายดี ก็เริ่มต้นตั้งแต่ขายน้ำ ขายขนมง่ายๆ จนมาขายอาหารทำใหม่จำพวกขนมไข่หงส์ กล้วยทอด ตำส้มกับข้าวมัน คือตั้งแต่ตีห้าที่รถเริ่มวิ่ง ก็มีคนมารอซื้อแล้ว

ลุงกับป้ามีลูก 3 คน เราไม่ได้มีทรัพย์สินอะไรมากมาย ช่วงที่ลูกกำลังโตก็เลยเหนื่อยกันหน่อย จำได้ว่าต้องให้ลูกๆ มาช่วยพับใบตองสำหรับใส่อาหาร เพราะตอนนั้นยังไม่มีถุงพลาสติก ลุงกับป้าไม่เคยไปโรงเรียนลูกเลยนะ เพราะต้องขายของทุกวัน ถึงเวลาจ่ายค่าเทอม ก็เอาเงินฝากลูกไป ไม่เคยเห็นหน้าคุณครู เคราะห์ดีที่ลูกๆ ป้าเป็นคนตั้งใจเรียน พี่คนโตนอกจากมาช่วยร้าน ก็ยังช่วยสอนการบ้านให้น้อง ประกอบกับที่ลุงแกเป็นคนขยันทำมาหากิน เหล้าไม่กิน บุหรี่ไม่สูบ และไม่เล่นการพนัน ก็เลยไม่เคยมีหนี้สิน และเราก็ช่วยกันขายของหาเงินส่งลูกๆ เรียนจบปริญญาตรีกันได้ทุกคน

ทุกวันนี้ลูกๆ ก็แยกย้ายไปมีชีวิตเป็นของตัวเองกันหมดแล้ว คนหนึ่งไปทำหอพักและเปิดบริษัทอยู่ที่ลำพูน อีกคนไปทำงานออฟฟิศที่เชียงใหม่ และอีกคนอยู่กรุงเทพฯ เขาก็ชวนเราให้มาอยู่ด้วยกันแหละ แต่เราติดชีวิตที่นี่ไปแล้ว ถึงแม้เศรษฐกิจจะซบเซา และเราขายของได้ไม่มากเท่าเมื่อก่อน แต่ความที่เราไม่ต้องส่งเสียใครแล้ว ก็เลยพออยู่ได้ ป้าก็ขายแต่พวกขนมและเครื่องดื่ม พวกอาหารสดที่ต้องทำใหม่ก็เลิกขายเพราะเหนื่อย เราอายุเจ็ดสิบกว่าปีแล้ว

ทุกวันนี้เราจะตื่นตีห้า และเดินออกจากบ้านเลียบแม่น้ำวังเพื่อไปออกกำลังกายกับเครื่องเล่นตรงจวนผู้ว่า ก่อนเดินกลับบ้านมาชงกาแฟดื่ม กินข้าว และเปิดร้าน ก็ขายไปจนถึงค่ำๆ ร้านป้าไม่มีวันหยุดนะ ปีใหม่ สงกรานต์ เข้าพรรษา ก็ไม่หยุด จะปิดร้านเฉพาะตอนที่ลูกมาชวนไปเที่ยวเท่านั้น (ยิ้ม)”

ป้าศรีไล บำรุงพรไพศาล และลุงพิทักษ์ บำรุงพรไพศาล
เจ้าของร้านขายของชำป้าไลในซอยหลิ่งจันทร์หมัน

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

อ่านเสียงแก่งคอย เสียงของเมืองที่ก้าวข้ามบาดแผลประวัติศาสตร์มาสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

WeCitizens ชวนผู้อ่านเรียนรู้เมืองแก่งคอย เมืองประวัติศาสตร์ที่มีบาดแผลจากสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ในวันนี้ แก่งคอยเปลี่ยนบาดแผลแห่งประวัติศาสตร์เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอ่านความคิด วิถีชีวิตผู้คนแก่งคอยได้ที่ WeCitizens : เสียงแก่งคอย, สระบุรี - WeCitizens Flip PDF…

10 months ago

ฟังเสียงนครสวรรค์ เมืองศูนย์กลางแห่งภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน

WeCitizens ชวนผู้อ่านเดินทางไปจังหวัดนครสวรรค์ เมืองที่อยู่กึ่งกลางระหว่างภาคเหนือและภาคกลาง เมืองที่เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทางทางน้ำในอดีต นครสวรรค์จึงเป็นเมืองสำคัญอีกเมืองหนึ่งในฐานะของเมืองที่เป็นศูนย์กลาง (Hub) ทั้งด้านการค้า การคมนาคม และนำมาซึ่งความหลากหลายทางวัฒนธรรมของผู้คนหลากหลายกลุ่ม โดยเฉพาะชาวจีนโพ้นทะเล E-book ฉบับเสียงนครสวรรค์ฉบับนี้ จะพาผู้อ่านทุกคนไปเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวนครสวรรค์ วัฒนธรรมชาวจีนและเทศกาลตรุษจีนที่มีชื่อเสียงโด่งดังในระดับประเทศและนานาชาติ และไปฟังเสียงผู้คนชาวนครสวรรค์ที่มองบ้านเมืองของตนเองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน…

10 months ago

แก่งคอย…ย้อนรอยสงครามโลกเปลี่ยนบาดแผลประวัติศาสตร์สู่เมืองเรียนรู้ตลอดชีวิต

นอกจากจะถูกจดจำจากเพลงดังที่มีชื่อเดียวกับชื่ออำเภอของ ก้าน แก้วสุพรรณ และเพลงฮิตของคาราบาว ซึ่งสื่อถึงที่มาของชื่อ ‘แก่งคอย’ อย่าง ‘แร้งคอย’ หากไม่ใช่คนในพื้นที่ อาจนึกภาพไม่ออกว่าอำเภอของจังหวัดสระบุรีที่เป็นปากทางขึ้นอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และประตูสู่ภาคอีสาน มีความสำคัญอย่างไร? ไม่เพียงเป็นเมืองท่าที่สำคัญในการขนส่งสินค้าผ่านแม่น้ำป่าสักและทางรถไฟ อำเภอแก่งคอย ยังเป็นจุดเริ่มต้น (ต่อจากอำเภอเมืองสระบุรี)…

10 months ago

ขอนแก่นโมเดล
The Legacy of City Development

เพราะเมือง คือ ผู้คน และผู้คน คือ ตัวแปรสำคัญที่สุดในการพัฒนาเมือง ความเจริญงอกงามทางวัฒนธรรมหรือการเติบโตทางเศรษฐกิจ และมาตรฐานคุณภาพชีวิต จึงขึ้นอยู่กับศักยภาพ ความสามารถ และความร่วมมือร่วมใจของคนในเมืองเป็นฐานสำคัญ กว่าทศวรรษที่ ‘ขอนแก่นโมเดล’ เป็นโมเดลการพัฒนาเมืองที่ได้รับการยอมรับ และพูดถึงในฐานะแนวคิดและปฏิบัติการการพัฒนาเมืองที่ก้าวหน้ามากที่สุด…

10 months ago

“ขอนแก่นเราไม่ใช่เป็นเมืองที่นั่งรอคนเข้ามาทำนู่นนี่ให้”

เมืองขอนแก่น ผู้คน กับการเรียนรู้เพื่อก้าวต่อไป           ไม่มีภูเขา ไม่มีแม่น้ำสายใหญ่ อยู่ไกลโพ้นจากชายทะเล แหล่งท่องเที่ยวมีชื่อ หรือทรัพยากรธรรมชาติสำคัญก็น้อยนิด แต่มีคนที่เอาจริงเอาจังกับการพัฒนาเมืองกลุ่มใหญ่ที่กล้าคิดกล้าฝัน พยายามทำทุกลู่ให้ความหวังเป็นจริงได้ นี่คือปัจจัยที่ทำให้ช่วงเวลาเพียงกึงศตวรรษนำพาเมืองขอนแก่น เติบโตได้อย่างก้าวกระโดด  ‘ผู้คน และความร่วมมือ…

10 months ago

“สำนึกรักท้องถิ่น ถือเป็นหัวใจสำคัญของจิตสำนึกของคนขอนแก่น”

“เมื่อพูดถึงเรื่องเมืองแห่งการเรียนรู้ หรือ Learning City ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่รับผิดชอบของเทศบาลนครขอนแก่น เราดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ที่ว่า ‘พัฒนาเมืองสู่สากล สร้างสังคมแห่งความสุข’ การที่เมืองจะพัฒนาได้และสร้างสังคมที่เป็นสุข ต้องเริ่มที่ ‘คน’ คนที่เป็นกำลังสำคัญในการร่วมกันพัฒนาเมือง ยกตัวอย่างในกรณีที่เปรียบเทียบง่าย ๆ เช่น ถ้าเราจะพัฒนาขอนแก่นเป็นเมือง…

10 months ago