ลานสเก็ตไม่ใช่แค่สถานที่เพื่อนันทนาการหรือการฝึกฝน แต่ใครหลายคนอาจค้นพบตัวเองจากที่นั่น

“หลายคนเข้าใจผิดว่าแรมป์ในสนามกีฬาเทศบาลเชียงใหม่เป็นลานสเก็ต แต่จริงๆ ตรงนั้นเป็นสนามฝึกซ้อมของนักกีฬาจักรยานบีเอ็มเอ็กซ์ ก่อนที่คุณตัน (ตัน ภาสกรนที นักธุรกิจเจ้าของโครงการหลากหลายในย่านนิมมานเหมินท์ – ผู้เรียบเรียง) จะพัฒนาพื้นที่บางส่วนตรงกาดเชิงดอยให้เป็นพื้นที่เปิดสำหรับเล่นสเก็ตและเซิร์ฟบอร์ด เมืองเชียงใหม่เราเลยไม่มีสเก็ตพาร์ค (skatepark) หรือลานสเก็ตจริงๆ

เมื่อก่อนข้างๆ กาดสวนแก้ว เร็ดบูลเคยทำแรมป์สเก็ตเปิดให้ทุกคนได้เล่น ซึ่งก็ได้รับความนิยมมากๆ แต่ก็ปิดตัวไปหลายปีแล้ว ผมกับเพื่อนๆ ก็เลยต้องเล่นกันตามทางเท้าหรือลานโล่งๆ ที่เอื้ออำนวย แต่ก็โดนร้องเรียนอยู่บ่อยๆ เลยเห็นตรงกันว่าเราควรผลักดันให้เมืองมีลานสเก็ตสาธารณะเสียที

อาสาสมัครเชียงใหม่ดวงใจสเก็ตบอร์ด คือชื่อกลุ่มที่เราตั้งขึ้นเมื่อราว 5-6 ปีที่แล้ว โดยเราร่วมกันออกแบบ ทำรีเสิร์ชสรุปปัญหาและความสำคัญ เพื่อนำไปเสนอเทศบาลหรือหน่วยงานรัฐให้ก่อสร้างสเก็ตพาร์คที่เหมาะสมสำหรับเมือง โดยเราก็ได้พี่ๆ สถาปนิกชุมชน คน.ใจ.บ้าน. มาช่วยเรื่องงานออกแบบให้ นำเสนออยู่หลายปี จนมาสำเร็จเอาตรงโครงการพัฒนาสวนน้ำปิงตรงกาดต้นลำไย

แม้จะไม่ใช่สเก็ตพาร์คเต็มรูปแบบเสียทีเดียว แต่การมีพื้นที่ให้นักสเก็ตรุ่นใหม่ๆ ได้เล่น ไปพร้อมกับพื้นที่ผ่อนคลายหรือทำกิจกรรมของคนในเมือง ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีมากๆ กล่าวคือเรามีที่มีทางในการเล่นสเก็ตบอร์ดหรือเซิร์ฟบอร์ดอย่างเหมาะสมเพิ่มมากขึ้น ไม่ต้องไปเล่นตามที่สาธารณะที่ทำให้เจ้าของพื้นที่หรือชาวบ้านใกล้เคียงไม่พอใจ

ส่วนคำถามที่ว่าทำไมเราต้องมีลานสเก็ต ผมคิดว่านอกจากจะเป็นกีฬาที่คนรุ่นใหม่กำลังให้ความสนใจ สเก็ตบอร์ดยังสร้างโอกาสที่ดีให้วัยรุ่นหลายคน คุณรู้ไหม เชียงใหม่เรามีนักสเก็ตในระดับทีมชาติ หรือไปแข่งในรายการเมเจอร์ต่างประเทศไม่น้อย มีวัยรุ่นหลายคนที่เคยติดยาเสพติด เกเร หรือไม่ได้เรียนหนังสือ แต่พวกเขาหันมาเอาดีกับการเล่นสเก็ตจนสามารถเป็นนักกีฬาอาชีพได้ โดยพวกเริ่มจากหัดไถสเก็ตตามลานสาธารณะหรือข้างถนนทั้งนั้น

ที่สำคัญ ผมมองเหมือนห้องซ้อมดนตรี เลนจักรยานที่ดี หรือกระทั่งพิพิธภัณฑ์ศิลปะ ใช่ว่าเด็กทุกคนจะประสบความสำเร็จจากการเข้าสู่ระบบการศึกษาแบบปกติเพื่อออกมาประกอบอาชีพแบบคนส่วนใหญ่เท่านั้น ลานสเก็ตจึงไม่ใช่แค่สถานที่เพื่อนันทนาการหรือการฝึกฝน แต่ใครหลายคนอาจค้นพบตัวเองจากที่นั่น การที่เมืองเรามีสิ่งนี้อยู่ จึงช่วยให้ฝันของเด็กหลายคนเป็นจริง”

///

จิรวัฒน์ นาวาจักร

นักสเก็ตบอร์ด และหนึ่งในผู้ขับเคลื่อนโครงการสเก็ตพาร์คภายในสวนน้ำปิง

#WeCitizensTh #LearningCity #ChiangMai

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[THE RESEARCHER]<br />ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์<br />หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เทศบาลเมืองลำพูน<br />นักวิจัยจากสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…

3 days ago

[THE CITIZENS]<br />ปริยาพร วีระศิริ<br />เจ้าของแบรนด์ผ้าไหม “อภิรมย์ลำพูน”

“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ   และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม   ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ไชยยง รัตนอังกูร<br />ผู้ก่อตั้ง ลำพูน ซิตี้ แลป

“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ธีรธรรม เตชฤทธ์<br />ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน

“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ชนัญชิดา บุณฑริกบุตร<br />ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน

“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม)  จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />นงเยาว์ ชัยพรหม<br />คนทำโคมจากชุมชนชัยมงคล

“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว  สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…

2 weeks ago