Categories: Citizenยะลา

ลูกค้าประจำบางคนสนิทกัน มาสั่งก๋วยจั๊บตีนชามนึง หรือแบบสั้นๆ ‘ขอตีนถ้วย’ ก็มี

“พ่อผมมีลูก 12 คน พ่อส่งทุกคนเรียนด้วยการขายก๋วยจั๊บ น้องชายคนเล็กทำงานสายการบิน อีกคนเปิดบริษัทขายส่ง อีกคนเป็นหมอ ส่วนผมทำงานธนาคาร เกษียณมา 8 ปีแล้ว ตอนนี้เป็นประธานผู้พิพากษาสมทบศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดยะลา ถ้าวันไหนว่างก็จะมาช่วยน้องชายและน้องสาวขายก๋วยจั๊บ ซึ่งทั้งคู่สืบทอดกิจการต่อมาจากพ่อโดยตรง

ก๋วยจั๊บเริ่มขายรุ่นพ่อ ทุกวันนี้ขายมา 60 ปีแล้ว เมื่อก่อนพ่อจะทำก๋วยจั๊บบนรถเข็น ตั้งขายอยู่ในตรอกเล็กๆ ข้างโรงแรมเทพวิมาน ซึ่งเป็นโรงแรมเก่าแก่คู่เมืองยะลา คนที่นี่เลยจำร้านเราว่าก๋วยจั๊บเทพวิมาน ผมโตมาที่นี่แหละ ตอนเด็กๆ ก็เคยเป็นบ๋อยโรงแรมด้วย พ่อค่อยๆ เก็บเงินเพื่อซื้อที่ดินข้างๆ โรงแรมได้เมื่อยี่สิบกว่าปีที่แล้ว เลยย้ายจากขายในตรอกข้างโรงแรมมาขายในตึกข้างโรงแรมถึงทุกวันนี้

ที่ดินตรงนี้แต่เดิมเป็นของคุณหญิงนงลักษณ์ ภัทรประสิทธิ์ สมัยก่อนท่านได้สัมปทานขายเหล้าขาวในเมืองยะลา ท่านมีที่ดินเยอะ แต่ก็ไม่คิดจะขาย ผมก็ไปตื๊อขอซื้อที่ดินตรงนี้จากเขา มารู้ว่าคุณหญิงชอบทานน้ำบูดู ผมก็เลยไปหาน้ำบูดูจากสายบุรีที่ว่ากันว่ารสชาติดีที่สุดไปฝากเขา จนสุดท้ายเขาก็ยอมขายในราคาประเมิน และมาบอกผมทีหลังว่าที่ขายให้ เพราะเขาไม่เคยกินบูดูที่ไหนอร่อยเท่านี้มาก่อน (หัวเราะ)

ก๋วยจั๊บที่เราขายเป็นสูตรที่พ่อพัฒนาเอง เป็นก๋วยจั๊บไก่ ที่อร่อยก็เพราะเราจะเอาไก่ทั้งตัวมาต้ม เอาปีกและขามาเคี่ยวให้กระดูกมันนิ่มในระดับละลายในปาก เราใช้ไก่ดำซึ่งเป็นไก่บ้าน เลยได้ความเหนียวและนุ่มกำลังดี สมัยก่อนก็เคยขายก๋วยจั๊บหมูด้วย แต่ขายไม่ดีเท่าไก่ สุดท้ายเลยเป็นก๋วยจั๊บไก่อย่างเดียว

ลูกค้าส่วนใหญ่จะชอบกินก๋วยจั๊บปีกกับตีนไก่ ลูกค้าประจำบางคนสนิทกัน มาสั่งขอก๋วยจั๊บตีนชามนึง หรือแบบสั้นๆ ‘ขอตีนถ้วย’ ก็มี ลูกค้าขาจรได้ยินก็ตกใจ นึกว่านักเลงมาหาเรื่อง เวลาเจอลูกค้าหน้าใหม่ ผมเลยต้องถามเขาว่ารับขาไก่ไหมครับ กลัวพูดว่ารับตีนไหมครับ แล้วจะมีเรื่อง 

ร้านนี้เปิดหกโมงเช้า ราวๆ 11 โมงก็หมดแล้วครับ ร้านเราเป็นหนึ่งในร้านอาหารเช้าเจ้าประจำของคนที่นี่ ปกติเราจะเตรียมร้านตั้งแต่ตี 5 บางทีก็มีคนมากินตั้งแต่ตอนนั้น ถ้าพร้อมเราก็ขายให้ แต่ไม่พร้อมก็ให้เขาดื่มน้ำชารอไปก่อน น้องชายกับน้องสาวผมขายเป็นหลักครับ ถ้าผมว่างก็มาช่วยเขารับออเดอร์และเสิร์ฟด้วย เหมือนเป็นงานที่ผูกพันกันมากกว่า ผมช่วยพ่อเสิร์ฟตั้งแต่เด็ก จนโตขึ้นมาทำงานธนาคาร พอเกษียณก็กลับมาช่วยน้องชายเสิร์ฟต่อ เห็นลูกค้ากินก๋วยจั๊บแล้วบอกว่าอร่อย ก็รู้สึกดีใจกับน้องไปด้วย”

จิรวิทย์ แซ่เจ็ง

ร้านก๋วยจั๊บเฮียตง (ข้างโรงแรมเทพวิมาน)

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

4 days ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

6 days ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

1 month ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

1 month ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

1 month ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago