“เราเติบโตมาในสังคมมุสลิม เรียนโรงเรียนสอนศาสนา และใช้ชีวิตประจำวันท่ามกลางบรรยากาศที่ค่อนข้างเคร่งครัด ขัดแย้งกับตัวตนที่เป็น LGBT ของเรา
ตอนเป็นวัยรุ่นเราคิดมาตลอดว่าสิ่งที่เราเป็นคือปมด้อย เราก็พยายามกลบปมด้อยด้วยการตั้งใจเรียน เป็นตัวแทนโรงเรียนไปสอบแข่งขันที่นั่นที่นี่ และทำกิจกรรมสม่ำเสมอ เคยคิดว่าถ้าเราเรียนเก่ง คนที่คอยตั้งแง่กับเพศสภาพก็อาจจะลืมตัวตนที่แท้จริงของเรา ซึ่งเหนื่อยนะที่ต้องทำแบบนี้ เป็นความเคยชินในวัยเด็กที่ดูตลกร้ายมากๆ
จนได้มารู้จักพี่บอล (เอกรัตน์ สุวรรณรัตน์) ในช่วงที่เราเรียนมหาวิทยาลัยนี่แหละ ที่ทำให้เรากล้าที่จะเป็นตัวของตัวเอง พี่บอลเป็นเหมือนแม่ที่คอยให้กำลังใจลูกสาวอย่างพวกเราทุกคนไม่ว่าเราจะนับถือศาสนาอะไร เราเหมือนเจอเพื่อนจริงๆ ที่คอยสนับสนุน และกระตุ้นให้พวกเรานำสิ่งที่เรามีเปลี่ยนเป็นพลังงานบวกส่งต่อให้คนอื่น จากที่เราเคยชอบทำกิจกรรมซึ่งส่วนหนึ่งมาจากเพราะอยากกลบสิ่งที่คิดว่าเป็นปมด้อย ก็เปลี่ยนมาเป็นคนที่อยากร่วมกิจกรรมเพราะความสนุก และเห็นถึงผลกระทบเชิงบวกต่อคนอื่นๆ ในกิจกรรมนั้นๆ ได้จริง ก็เลยร่วมงานกับพี่บอลหลายงาน รวมถึงล่าสุดกับงานยะลาสตอรี่ ที่เราเป็นผู้ประสานงานของโครงการ
เราชอบการประสานงาน ชอบพูดคุยกับผู้คน และชอบที่ได้เรียนรู้ ยิ่งเมื่อเรามีความมั่นใจในตัวเอง และพบว่าผู้คนในยะลาส่วนใหญ่ก็พร้อมเปิดใจพูดคุยกับเรา แตกต่างจากภาพที่เราคิดในสมัยก่อนซึ่งทำให้เรามีความกดดันไปเอง หลังจากงานยะลาสตอรี่ เราได้งานประจำเป็นเจ้าหน้าที่รับฟังและประสานงานชุมชนของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ซึ่งดูแลด้านความมั่นคงทางอาหารในพื้นที่จังหวัดยะลา งานนี้ทำให้เรามีโอกาสลงพื้นที่ไปเก็บข้อมูลและพูดคุยกับพี่ๆ น้องๆ ลุงๆ ป้าๆ ที่อยู่ในห่วงโซ่ของการผลิตอาหารกว่า 60 ชุมชน
เราชอบงานที่เราทำอยู่มาก เพราะอย่างที่บอกว่าเราชอบพูดคุยกับผู้คน การพูดคุยแลกเปลี่ยนทำให้เราได้ความรู้หรือได้เรียนรู้ในวิถีและวัฒนธรรมของชาวบ้านที่หลายพื้นที่ก็แตกต่างจากเรามาก ขณะเดียวกันงานที่เราทำก็มีส่วนในการพัฒนาสังคม จากการนำข้อมูลที่เราได้มาสังเคราะห์เพื่อส่งต่อไปยังหน่วยงานที่ช่วยหนุนเสริมการพัฒนาหรือแก้ปัญหาด้านความมั่นคงทางอาหารของจังหวัดยะลาต่อไป
และยิ่งมาได้ทำงานนี้ รวมถึงงานยะลาสตอรี่ ทำให้เราประทับใจในวิถีของคนยะลา เราไม่รู้ว่าเมืองอื่นๆ เป็นอย่างไร แต่กับยะลา เมื่อมีกิจกรรมอะไรเกิดขึ้นในเมือง ผู้คนดูมีความกระตือรือร้นอยากเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงาน เหมือนว่าคนยะลามีความรักและความรู้สึกในการเป็นเจ้าของเมืองร่วมกัน ที่เห็นได้ชัดคือจากวงน้ำชาตามร้านต่างๆ ที่เราจะเห็นผู้คนนั่งจิบน้ำชาและคอยพูดคุยแลกเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อสังคมและเมืองเราอยู่เสมอ สิ่งนี้ยิ่งปรากฏชัดผ่านการทำงานยะลาสตอรี่ ที่เมื่อเราติดต่อไปขอข้อมูลจากใคร ทุกคนก็พร้อมจะช่วยเราอย่างเต็มที่จนเราเองรู้สึกเกรงใจเอง (ยิ้ม)
ถามว่าปัญหายะลาตอนนี้คืออะไร นอกจากความมั่นคงทางอาหาร และการที่เกษตรกรยังไม่สามารถสร้างรายได้จากการผลิตมากเท่าที่ควร เราคิดว่ายะลายังมีความเหลื่อมล้ำในเชิงกายภาพหรือในแง่มุมสาธารณูปโภคอยู่พอสมควร สังเกตดูว่าถ้าเข้ามาในตัวเมือง เราจะเห็นสิ่งอำนวยความสะดวกครบหมด เมืองสวยและน่าอยู่ แต่พอออกนอกเมืองไปยังพื้นที่ชนบท เราจะเห็นถึงความเหลื่อมล้ำของการพัฒนาอย่างชัดเจน ก็คิดว่าถ้าทุกส่วนมีการแก้ไขตรงนี้ได้ เมืองก็น่าจะดีขึ้นมาก
เรามีแผนไกลๆ ว่าจะเก็บประสบการณ์จากงานที่ทำตอนนี้ให้ได้เยอะที่สุด และลองย้ายไปทำงานและเรียนรู้ในเมืองอื่นๆ ก่อน เราชอบเรียนรู้ อยากเก็บประสบการณ์และความรู้ให้มากๆ คิดเอาไว้ว่าเราอาจต้องเติบโตจากที่อื่น เพื่อสุดท้ายจะได้กลับมาที่ยะลาอีกครั้ง และนำทั้งหมดที่เราสั่งสม มาช่วยพัฒนาบ้านเกิดของเราต่อไป”
ตัรมีซี อนันต์สัย
เจ้าหน้าที่รับฟังและประสานงานชุมชนของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP)
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…