หากผู้เฒ่าผู้แก่ในย่านไม่บอก เราก็อาจไม่รู้ว่าอันที่จริงลำคลองน้อยๆ ที่ตึกแถวในย่านพากันหันหลังให้ในย่านยมจินดา แต่เดิมคือทางสัญจร และเส้นเลือดหลักในการค้าของเมืองระยอง
นั่นคือเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว เมื่อความเจริญยังไม่ชักพาให้รถราวิ่งบนท้องถนน แม่น้ำจึงเป็นทางคมนาคมหลักที่เชื่อมพ่อค้าจากที่ต่างๆ ทั่วภูมิภาคล่องเรือจากอ่าวไทยสู่ปากแม่น้ำระยอง มาทอดสมอทำการค้าในย่านแห่งนี้
กระทั่งมาถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2443 ถนนยมจินดา ถนนสายแรกระยะทางราว 700 เมตรของระยอง ซึ่งตั้งชื่อตามนามสกุลของเจ้าเมืองระยองคนสุดท้าย (เกตุ ยมจินดา) ก็ถูกตัดขึ้น ถนนสายที่แล่นผ่านใจกลางเมืองและวางตัวขนานกับแม่น้ำระยองสายนี้ เปลี่ยนภูมิทัศน์เมืองระยองไปอย่างน่าสนใจ จากทิวบ้านที่หันหน้าเข้าหาแม่น้ำ ก็ถูกเคลื่อนย้าย (ทั้งวิธีการดีดและงัดบ้าน) กลับหลังหันเข้าหาถนน จากแม่น้ำสายสำคัญ ก็ถูกเปลี่ยนเป็นคลองหลังบ้าน และจุดเริ่มต้นของถนนยมจินดาในฐานะถนนสายประวัติศาสตร์ของเมืองก็เริ่มต้นขึ้น
หากระยองเป็นเมืองที่มีรายได้ต่อหัวหรือ GDP สูงที่สุดในประเทศในปัจจุบัน ย้อนกลับไปเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว ถนนยมจินดาก็เป็นถนนที่เต็มไปด้วยคหบดีที่ร่ำรวยในระดับที่ว่าเป็นศูนย์กลาง GDP ของเมือง อาคารพาณิชย์ที่เรียงรายตลอดสองข้างทางอัดแน่นไปด้วยร้านค้า ธนาคาร ร้านทอง อู่ต่อเรือ โรงภาพยนตร์ โรงสี ไปจนถึงโรงฝิ่น รวมถึงบ้านพักอาศัยของทั้งชาวระยองและชาวจีนที่มาตั้งรกราก ก่อนจะเป็นบรรพบุรุษของชาวไทยเชื้อสายจีนหลากตระกูลในระยอง ณ ปัจจุบัน
แน่นอนที่ว่าเมื่อกระแสของเวลา ความเจริญจึงกระจายตัวไปทั่วเมือง ความรุ่งเรืองของยมจินดาจึงเหลือเพียงความทรงจำที่บอกเล่าจากรุ่นสู่รุ่น กระนั้นหลักฐานแห่งอดีตก็ยังคงหลงเหลืออยู่ผ่านสถาปัตยกรรมอันงดงาม ตระหง่านเป็นมรดกสำคัญของเมืองมากกว่าศตวรรษ
หลักฐานที่ไม่เพียงบ่งชี้ถึงความรุ่งโรจน์ในอดีต แต่ยังเป็น ‘ต้นทุน’ สำคัญของการพัฒนาระยองในแง่มุมของศิลปวัฒนธรรม วิถีชุมชน และการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของระยองในอนาคต และเหล่านี้เป็นเพียงบางส่วน
บ้านเจ้าเมือง ต้นตระกูลยมจินดา
บ้านไม้สีฟ้าริมแม่น้ำระยองหลังนี้เคยเป็นที่พักและที่ทำการของของพระยาศรีสมุทรโภคชัยโชคชิตสงคราม (เกตุ ยมจินดา) เจ้าเมืองระยองคนสุดท้าย ต้นตระกูลยมจินดา และนักพัฒนาผู้ริเริ่มให้มีการตัดถนนสายแรกสายนี้ ปัจจุบันทายาทตระกูลยมจินดา เปิดบ้านหลังนี้เป็นทั้งพิพิธภัณฑ์ขนาดย่อมที่จัดแสดงสารพัดข้าวของเครื่องใช้ในยุคเก่าก่อน รวมถึงเป็นร้านอาหารต้นตำรับระยอง
บ้านบุญศิริ
บ้านบุญศิริถูกสร้างขึ้นพร้อมบ้านเจ้าเมืองเมื่อปี 2474 เป็นบ้านคอนกรีตสูงสองชั้นที่ถือว่าทันสมัยที่สุดเมื่อศตวรรษที่แล้ว เนื่องจากนำรูปแบบก่อสร้างมาจากบ้านในกรุงเทพฯ บ้านหลังนี้เดิมเป็นของทายาทเกตุ ยมจินดา เจ้าเมืองระยองคนสุดท้าย ซึ่งสมรสกับ พูน บุญศิริ อดีตนายกเทศมนตรีเมืองระยอง และนั่นจึงเป็นที่มาของชื่อ ‘บ้านบุญศิริ’ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ๆ กับบ้านเจ้าเมือง
ตึกกี่พ้ง (หลานเอกคอฟฟี่เฮาส์)
ตึกกี่พ้งเป็นอาคารสไตล์ตะวันตกรูปแบบชิโน-โปรตุกีสหลักแรกของเมืองระยอง สร้างขึ้นเมื่อปี 2456 โดย กี่พ้ง แซ่ตั๋น เศรษฐีจากภาคใต้ที่มาทำธุรกิจในระยอง สมัยก่อนเคยเป็นร้านจำหน่ายพริกไทยและเสื้อผ้านำเข้าจากเมืองจีน ต่อมาทายาทได้อนุรักษ์บ้านหลังนี้ไว้อย่างดี และต่อยอดเป็น ‘หลานเอกคอฟฟี่เฮาส์’ หนึ่งในคาเฟ่ระดับแลนด์มาร์คของเมือง
บ้านมาลีวณิชย์
บ้านมาลีวณิชย์เป็นมาสเตอร์พีชของการสร้างอาคารไม้แบบโบราณ ทั้งการกั้นผนังด้วยไม้ฝาแบบบานเกล็ด และเป็นประตูแบบบานเฟี้ยม อันเป็นลักษณะดั้งเดิมของร้านค้าชาวจีนมาตั้งแต่อดีต หากยังมีความโมเดิร์นด้วยการใช้กระเบื้องโมเสกจากอิตาลีปูพื้น ซึ่งปัจจุบันยังคงเก็บรักษาพื้นเดิมไว้อยู่ ปัจจุบันบ้านนี้เป็นร้านขายหนังสือและหมอน
พิพิธภัณฑ์เมืองระยอง (บ้านสัตย์อุดม)
ก่อนจะเป็นพิพิธภัณฑ์ที่บอกเล่าเรื่องเก่าก่อนผ่านรูปถ่ายและโบราณวัตถุของเมืองระยอง บ้านหลังนี้เคยเป็นของขุนศรีอุทัยเขตร์ ขุนนางผู้เป็นเจ้าของโรงสี โรงหนัง และอู่ต่อเรือ บ้านไม้สองชั้นหลังนี้มีจุดเด่นคือช่องลมที่มีลวดลายฉลุแบบจีนไว้ ซึ่งยังคงได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างสมบูรณ์
ศาลเจ้าแม่ทับทิม
ก่อตั้งมาตั้งแต่ก่อนจะมีถนนยมจินดา (พ.ศ. 2421) ศาลเจ้าแม่ทับทิม หรือศาลตุ้ยบ้วยเนี่ย เป็นที่ประดิษฐานองค์เจ้าแม่ทับทิมและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นที่กราบไหว้ของชาวระยอง อาคารศาลเจ้าหันออกสู่แม่น้ำระยอง ยังเป็นหลักฐานสำคัญที่บ่งบอกว่าแม่น้ำระยองเคยเป็นชีพจรหลักของเมือง ปัจจุบันไม่เพียงศาลเจ้าจะเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวไทยเชื้อสายจีนในย่านและในระยอง แต่ยังเป็น ‘พื้นที่กลาง’ ที่เชื่อมกิจกรรมอันสร้างสรรค์ของคนระยองทุกรุ่นเข้าด้วยกัน ผ่านกิจกรรมอันหลากหลายตลอดปี
“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…
“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…
“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…
“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…
“ไม่ว่าเชียงรายจะพัฒนาสู่เมืองในนิยามใดเป้าหมายเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าผู้คนไม่รู้จักเรียนรู้ต้นทุนของเมือง และไม่รู้จักปรับตัวรับกับการเปลี่ยนแปลง” “เวลาพูดถึงเครื่องมือการพัฒนาเมือง ความยากของเชียงรายคือ เราต้องรับมือกับความท้าทายหลายมิติ และไม่อาจละทิ้งประเด็นใดได้เลย เชียงรายเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ (Brown City) ที่กำลังเผชิญปัญหาเศรษฐกิจซบเซาเหมือนหลายเมืองทั่วประเทศ ขณะเดียวกันก็ต้องรับมือกับสังคมสูงวัย (Silver City) รวมถึงภัยคุกคามด้านสิ่งแวดล้อม…
“เราหวังให้ที่นี่เป็นมากกว่าห้องสมุดแต่เป็นพื้นที่กลางให้ผู้คนทุกช่วงวัยได้มีความสุขร่วมกัน” “ห้องสมุดเสมสิกขาลัย เกิดจากดำริของ ศ. นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว นายแพทย์คนสำคัญผู้บุกเบิกการแพทย์ชนบท และผู้ร่วมจัดทำแผนสาธารณสุขแห่งชาติ ห้องสมุดแห่งนี้ตั้งอยู่บนที่ดินของท่านซึ่งมอบให้เทศบาลนครเชียงรายนำไปใช้เป็นสาธารณประโยชน์ห้องสมุดเปิดเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2556 ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันเกิดของท่าน (เกิดปี 2454…