Categories: Citizenยะลา

เพราะเราต้องบอกนักเรียนให้ได้ว่าเราจะเรียนรู้เรื่องเมืองของเราไปทำไม

“ส่วนบริหารการศึกษา สำนักการศึกษา เทศบาลนครยะลา กำลังอยู่ระหว่างจัดทำเอกสารประกอบการเรียนการสอนเรื่องราวท้องถิ่นของเมืองยะลา เพราะเราคิดว่าการทำให้คนยะลารู้จักประวัติศาสตร์และที่มาของบ้านเกิดตัวเองได้ดีนั้น ต้องเริ่มจากการปูพื้นที่การศึกษาในห้องเรียนตั้งแต่เด็ก

ก่อนหน้านี้เรามีการบรรจุวิชาท้องถิ่นเมืองยะลาไว้อยู่ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลอยู่แล้ว เพียงแต่เรายังไม่มีตำราเรียนใช้อย่างเป็นทางการที่สามารถเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปได้อ่าน ทั้งนี้ การที่เทศบาลนครยะลาได้ร่วมงานกับโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ จัดงาน ‘ยะลาสตอรี่’ ซึ่งมีรูปแบบการเล่าเรื่องเมืองยะลาอย่างสร้างสรรค์และทันสมัย ก็มีส่วนสำคัญทำให้ทางเรากลับมาปรับปรุงหลักสูตรการสอนเรื่องท้องถิ่นให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตปัจจุบันของคนรุ่นใหม่


เพราะเราต้องบอกนักเรียนให้ได้ก่อนว่าเราจะเรียนรู้เรื่องเมืองของเราไปทำไม เรียนเพื่อได้รู้จักตัวเอง รู้จักบ้านเกิดของเราเอง และรู้จักที่จะใช้ต้นทุนตรงนี้มาพัฒนาเมืองและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเราเอง จากนั้นก็เป็นเรื่องจำเป็นที่บทเรียนเรื่องท้องถิ่นมีความสนุกสนานหรือเพลิดเพลิน เพราะสิ่งนี้จะทำให้การศึกษาเข้าถึงนักเรียนได้มากที่สุด

หลังจากปรับปรุงเอกสารประกอบการเรียนการสอนอันนี้ เราก็มีแผนจะเผยแพร่ไปยังโรงเรียนนอกสังกัดเทศบาลที่อยู่ในตัวเมืองยะลาทั้งหมด รวมถึงประสานไปยังมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาให้นำเอกสารนี้ไปใช้ต่อไป เช่นเดียวกับเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปในเมืองยะลาได้เรียนรู้ด้วยเช่นกัน

หลายคนอาจไม่ทราบว่ายะลาได้รับเลือกให้เป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ตาม พรบ.นวัตกรรมการศึกษา มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกสรี ลัดเลีย เป็นหัวหน้าโครงการ และมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน โดยพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาคือพื้นที่ที่ท้องถิ่นได้รับอิสระในการทดลองออกแบบหลักสูตรและสื่อการศึกษาของตัวเองให้มีความสอดคล้องกับบริบทและความต้องการของชุมชน ซึ่งที่ผ่านมาเรามีโครงการทางนวัตกรรมอันหลากหลาย และหนึ่งในนั้นคือการปรับปรุงหลักสูตรและจัดทำเอกสารประกอบการเรียนการสอนท้องถิ่นยะลาเช่นที่กล่าวไปแล้ว

ส่วนคำถามที่ว่าอยากให้คนยะลาเรียนรู้เรื่องอะไรเป็นพิเศษ พี่คิดว่าอยากให้พวกเราได้เรียนรู้เรื่องความร่วมมือและมีจิตสาธารณะค่ะ เพราะที่ผ่านมา อย่างที่ทราบกันว่าเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ฉุดรั้งการพัฒนาเมืองของเราอย่างมาก แต่ทุกวันนี้เราไม่มีเหตุการณ์ดังกล่าวอีกแล้ว เพียงแต่สถานการณ์ดังกล่าวอาจทำให้หลายคนหวาดระแวง และสภาพความกลมเกลียวในสังคมก็เริ่มอ่อนแอ ในขณะที่เมืองของเรามีเครือข่ายที่พยายามพัฒนาเมืองในด้านต่างๆ อยู่หลายเครือข่าย แต่พอผู้คนบางส่วนไม่มีจิตสาธารณะ หรือไม่เห็นความสำคัญในเรื่องส่วนร่วม การขับเคลื่อนดังกล่าวก็ไม่เป็นผล

เมืองจะไม่มีทางพัฒนา ถ้าคนในเมืองไม่พัฒนา และไม่มีจิตสำนึกในการเป็นเจ้าของเมืองร่วมกัน ก็เลยคิดว่าถ้าคนส่วนใหญ่ได้เรียนรู้ มีทักษะทางวัฒนธรรม และมีจิตสาธารณะ ยะลาจะพัฒนาได้มากกว่านี้อีกเยอะค่ะ”  

ยะสี ลาเต๊ะ

ผู้อำนวยการส่วนบริหารการศึกษา สำนักการศึกษา เทศบาลนครยะลา

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

6 days ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

1 week ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

2 months ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

2 months ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

2 months ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago