“ที่บ้านทำธุรกิจติดตั้งเครื่องเสียงรถยนต์มาก่อนค่ะ ทำได้พักใหญ่จนพ่อรู้สึกอิ่มตัว แกก็เลยขยับไปทำเครื่องเสียง PA หรือระบบกระจายเสียงกลางแจ้งสำหรับงานมหรสพและคอนเสิร์ต พ่อเป็นคนที่มีความครีเอทีฟสูง พอทำเครื่องเสียงไปได้สักพัก แกก็รับจัดออร์แกไนซ์พวกงานหรือเทศกาลต่างๆ ด้วยตัวเอง จนเปิดเป็นบริษัทที่รับจัดงานออร์แกไนซ์ที่ครบวงจรที่สุดในจังหวัดยะลา
เราซึมซับกับสิ่งที่พ่อทำมาตลอด แต่ตอนแรกไม่คิดจะสานต่อเลย เราอยู่กับเขามาตั้งแต่เด็ก พอเรียนจบก็อยากไปทำงานของตัวเองบ้าง ก็เริ่มจากงานในบริษัทรับเหมาก่อสร้าง ก่อนจะย้ายมาทำงานในมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ดี ความที่เรายังอยู่บ้านเดียวกัน พ่อเป็นคนควบคุมงานด้วยตัวของแกเองคนเดียว จึงเห็นว่ามีบ่อยครั้งที่พ่อต้องขอความช่วยเหลือจากคนอื่น จึงมาคิดว่าเราเองเป็นลูกแท้ๆ ช่วยพ่อได้ง่ายๆ ทำไมไม่ช่วย ซึ่งก็ประกอบกับเราเริ่มไม่ชอบวัฒนธรรมองค์กรของที่ทำงานที่เราทำอยู่ด้วย จึงตัดสินใจออกมาช่วยพ่อ
บริษัทเรารับทำอีเวนต์น่าจะมากกว่าครึ่งหนึ่งที่จัดในจังหวัดยะลา ทั้งงานของเทศบาลนครยะลา องค์การบริหารส่วนจังหวัด และองค์การบริหารส่วนตำบลต่างๆ ไม่ว่าจะประเพณีชักพระ ตักบาตรเทโว ประเพณีสงกรานต์ งาน OTOP ถนนคนเดิน ไปจนถึงงานตาดีกาสัมพันธ์ และวันมลายูเดย์ ซึ่งเป็นเทศกาลของพี่น้องชาวมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในยะลา นอกจากนี้งานบางส่วนแกก็ต้องขนทีมไปจัดที่ปัตตานีและนราธิวาส
เราเริ่มเข้ามาช่วยพ่อเมื่อเกือบ 10 ปีที่แล้ว หลักๆ ก็ช่วยประสานงานกับลูกค้าและซัพพลายเออร์ ช่วยพรีเซนต์งาน วางแผนการจัดงาน รวมถึงด้วยความที่เราเรียนมาทางนิเทศศาสตร์ บางครั้งเราก็รับเป็นพิธีกรในงานให้ด้วยเลย (หัวเราะ) โดยงานส่วนมากคือการคิดรูปแบบงานและลงรายละเอียด เพราะลูกค้าเกือบทั้งหมดจะมีโจทย์และงบประมาณมาให้ เป็นหน้าที่ของเราและพ่อที่จะทำให้เป็นรูปเป็นร่าง ทั้งการวางผังเวที การออกแบบแสงสีเสียง ไปจนถึงการคิดกิจกรรมในงาน และการอำนวยความสะดวกให้ผู้ชม
ถามว่าทำงานกับพ่อที่มีช่องว่างระหว่างวัยมากๆ มีขัดแย้งกันบ้างไหม ไม่ค่อยเลยค่ะ เอาจริงๆ พ่อเป็นคนที่คิดงานเก่งมาก ส่วนหนึ่งเพราะแกเรียนศิลปะมาและเป็นคนชอบการเรียนรู้และชอบคิดอยู่แล้วด้วย งานที่เราทำส่วนมากเป็นงานประจำปี เชื่อไหมว่าในแต่ละปี แกคิดธีม รูปแบบงาน ไปจนถึงพิธีเปิดงานแทบไม่ซ้ำกันเลย หลายงานเราเห็นก็บอกว่า โห…พ่อคิดได้ไงเนี่ย แต่ก็มีบ้างที่แกตัน และคิดไม่ออก เราก็ไปช่วยเสริม ก็มีการถกเถียงกันเพื่อพัฒนาให้ไอเดียออกมาเวิร์คที่สุด
เราชอบงานที่ทำอยู่มากค่ะ ไม่ใช่เพราะได้ทำกับคนเก่งๆ อย่างพ่อ แต่เนื้องานที่เราทำคือการได้เรียนรู้สิ่งใหม่อยู่ตลอดเวลา อย่างเราเป็นคนพุทธ แต่มีโอกาสจัดงานให้กับพี่น้องชาวมุสลิม เราก็ต้องเรียนรู้วัฒนธรรมของเขาเพื่อจะได้คิดงานที่ไม่ผิดหลักศาสนา ได้เรียนรู้ถึงบริบททางประวัติศาสตร์และสังคมของพื้นที่ที่เราเข้าไปจัดงาน ก็ทำให้เรามีความรู้ ได้รู้จักเมืองของเรา รู้จักผู้คนและกลุ่มต่างๆ ในเมืองมากยิ่งขึ้น
ที่สำคัญคือทำให้เรามีทักษะในการสื่อสารกับคนหลากหลาย แน่นอนที่ว่าเราจัดงานให้หน่วยงานรัฐก็ย่อมมีการเมืองเข้ามาบ้าง แต่พอทำงานจนเชี่ยวชาญ ก็ทำให้เรารู้ว่าจะต้องคุยกับใครอย่างไร ต้องรับมือกับปัญหาเฉพาะหน้าอย่างไร เหล่านี้คือสิ่งที่เราได้เรียนรู้มา ก็ทำให้เราสนุกเท่าๆ กับการได้เห็นงานที่เราจัดออกมาเป็นรูปเป็นร่างและผ่านไปได้ด้วยดี
จุติพร น่วมทอง
บริษัทอีเวนท์ออร์แกไนซ์ OPAMP 741
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…