“เพราะชาวปากน้ำโพเห็นตรงกันว่าเราไม่อยากให้นครสวรรค์เป็นแค่เมืองผ่าน จึงมาหารือร่วมกันกับเทศบาลนครนครสวรรค์ว่าเราควรจะกำหนดทิศทางให้เมืองของเราเป็นไปในทางไหนตอนที่คุยกันตอนนั้น เทศบาลได้ร่วมกับเครือข่ายผู้ประกอบการในเมืองและภาคส่วนต่างๆ จัดตั้งกฎบัตรนครสวรรค์ เพื่อเป็นหนึ่งในกลไกการพัฒนาเมืองแล้ว เราได้สร้างพาสานเป็นแลนด์มาร์คใหม่บริเวณต้นแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว และได้ฟื้นฟูพื้นที่บริเวณเกาะญวนให้กลายเป็นสวนสาธารณะในชื่อคลองญวนชวนรักษ์แล้ว ก็มาพิจารณาจากต้นทุนและศักยภาพที่เรามี จนได้คำตอบว่าเมืองของเราที่ส่วนหนึ่งขับเคลื่อนด้วยชาวไทยเชื้อสายจีน และอีกส่วนก็มีความเป็นพหุวัฒนธรรมค่อนข้างสูง ก็ควรจะเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เมื่อตกลงกันได้แบบนั้น ทุกคนก็เห็นตรงกันว่าเรามีที่ดินราว 3 ไร่เศษด้านหลังพาสาน ที่ผู้ประกอบการปากน้ำโพร่วมลงขันกันซื้อที่ดินไว้และยกให้เทศบาล ก็ประชุมกันแล้วตกลงจะทำ ‘อุทยานวัฒนธรรมต้นน้ำเจ้าพระยา’ ซึ่งเป็นทั้งแหล่งท่องเที่ยว แลนด์มาร์ค…
“ก่อนจะมีการจัดตั้ง บพท. หน่วยงานที่สนับสนุนการจัดทำกฎบัตรคือ สกสว. เขาให้งบการทำวิจัยกับ 6 เมืองนำร่อง ได้แก่ ขอนแก่น ระยอง เชียงใหม่ ป่าตอง (ภูเก็ต) สระบุรี และอุดรธานี ส่วนเมืองนครสวรรค์ไม่ได้อยู่ในแผนนี้ตั้งแต่แรกอย่างไรก็ตาม เมื่อผมทราบข่าวถึงเครื่องมือการพัฒนาเมืองรูปแบบใหม่นี้ ผมก็ติดตามอย่างต่อเนื่อง เพราะต้องการนำองค์ความรู้นี้มาช่วยกำหนดทิศทางการพัฒนาเมืองอย่างเป็นระบบ ผมมีโอกาสได้อ่านบทความของอาจารย์ฐาปนา…
“ผมเป็นคนปากน้ำโพ เรียนจบวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พอกลับมาอยู่บ้าน ช่วงปี 2527 เห็นเมืองกำลังเติบโต และก็เห็นวัสดุก่อสร้างกำลังเป็นที่ต้องการอย่างมาก ขณะเดียวกันพื้นเพของบ้านแฟนผมเขาขายวัสดุก่อสร้างอยู่แล้ว ผมก็เลยเข้ามาช่วยเต็มตัว โดยพยายามเปลี่ยนให้ร้านค้าแบบเดิมให้เข้าสู่โมเดิร์นเทรด ก่อนจะไปจับมือกับ SCG เป็นผู้แทนจำหน่ายรายใหญ่ให้เขาในโซนนี้ เมื่อก่อนเราเปิดร้านอยู่บนถนนสวรรค์วิถี ย่านใจกลางเมืองปากน้ำโพ มีบริการส่งวัสดุก่อสร้างไปที่ไซท์งานเลย ร้านเราจึงไม่ต้องการที่จอดรถอะไรมาก แต่ช่วงหลังพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ผู้รับเหมาเขาอยากลดต้นทุนเรื่องค่าส่ง…
หลายคนปรามาสว่านครสวรรค์เป็นเมืองพ่อค้า จะทำพื้นที่ศิลปะยังไงก็ไม่ขึ้นหรอก แต่นั่นล่ะ ผมมองว่าเพราะเราเป็นเมืองพ่อค้า นครสวรรค์จึงจำเป็นต้องมีพื้นที่ทางศิลปะทำไมจึงคิดเช่นนั้น? เพราะที่ผ่านมาลูกหลานชาวปากน้ำโพไม่ค่อยได้รับการปลูกฝังให้มีใจรักในศิลปะ พวกเขาเติบโตมาด้วยความคาดหวังจากพ่อแม่ให้เป็นหมอ เป็นวิศวกร เป็นนักธุรกิจ ซึ่งผมคิดว่าถ้าเด็กสักคนมีศิลปะไว้จรรโลงจิตใจ พวกเขาน่าจะเป็นหมอ วิศวกร หรือนักธุรกิจที่ดีมากๆ ได้ผมไม่ได้หมายความว่าจะให้ลูกหลานหันมาเป็นศิลปินกัน ขอแค่ชีวิตได้ใกล้ชิดศิลปะ และมีสุนทรียะในการมองโลกบ้างก็พอ เหมือนประเทศที่เจริญแล้วอย่างญี่ปุ่นเอย หรือในยุโรปเอย แม้แต่ในเมืองเล็กๆ เขาก็ยังมีหอศิลป์ให้เด็กๆ…
“ผมเป็นเจ้าของคณะสิงโต เห็นลูกหลานชอบดูและอยากเชิดสิงโต ผมเลยทำหัวสิงโตขนาดเล็กให้พวกเขาได้เล่น ต่อมาก็มีคนมาขอซื้อ แล้วเสียงตอบรับดีมาก จึงกลายเป็นธุรกิจครอบครัวไปเลย ตอนนี้ทำมาได้ 4-5 ปีแล้ว สิงโตที่ผมทำเรียกสิงโตกวางตุ้งของคณะกว๋องสิว คนปากน้ำโพจะไม่คุ้นคำว่าสิงโตกวางตุ้ง เท่ากับคำว่าสิงโตกว๋องสิว ต้นฉบับเป็นหัวสิงโตที่ชาวจีนกวางตุ้งที่ก่อตั้งสมาคมกว๋องสินในเมืองนครสวรรค์ประดิษฐ์ขึ้น ใช้แห่ในงานประเพณีตรุษจีนมา 100 กว่าปีแล้ว เชื่อกันว่านี่คือหัวสิงโตกวนกง หรือหัวสิงโตของเทพเจ้ากวนอู ใบหน้าของสิงโตจึงมีสีแดง เป็นสัญลักษณ์ของความจงรักภักดี…
“พื้นเพผมเป็นคนท่าตะโก ซึ่งคนที่นั่นเขาทำโรงสี ตอนคุณขับรถผ่านท่าตะโกมาที่นี่ (อ.ไพศาลี) จะเห็นปล่องลมสูงตระหง่านเต็มไปหมด ซึ่งนั่นมีมานานมากแล้ว ลูกหลานเจ้าของโรงสีจากท่าตะโกเขาก็กระจายตัว มาอยู่ที่ไพศาลีก็เยอะ ผมก็หนึ่งในนั้น ที่ท่าตะโกและไพศาลีมีโรงสีเยอะ เพราะมันอุดมสมบูรณ์ ที่นาปลูกข้าวขึ้น อย่างไพศาลีนี่มีข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง แต่เดี๋ยวนี้คนปลูกข้าวโพดและถั่วงาลดลงเยอะ อ่อ เมื่อก่อนปลูกฝ้ายกันด้วย แต่เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว เกษตรกรไพศาลีจะปลูกข้าวหอมมะลินาดินปนทราย…
“ก่อนมาขายกาแฟ ผมทำงานอยู่องค์การมหาชนที่ขับเคลื่อนเรื่องการพัฒนาชุมชนในสำนักงานที่กรุงเทพฯ ผมทำที่นั่นอยู่ราว 10 ปี หลักๆ คือทำเรื่องที่อยู่อาศัย เรื่องเอกสารสิทธิ์ในที่ดินและที่ทำกินของชาวบ้าน หรือการทำให้เมืองยังคงพัฒนาต่อไปได้โดยที่ชุมชนไม่ถูกทิ้งไว้ข้างหลังนี่เป็นงานที่ผมรัก เพราะได้อยู่กับชาวบ้าน ได้มีส่วนทำให้พวกเขาเข้าถึงและรักษาสิทธิ์ของตัวเอง รวมถึงทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องชุมชนดีขึ้นผ่านการมีที่อยู่อาศัยที่ถูกต้องและมั่นคง แต่พอทำงานไปในช่วงหลังๆ อาจด้วยปัจจัยหลายอย่าง และนี่เป็นมุมมองส่วนตัวของผมนะ ผมเห็นว่าองค์กรที่ผมเคยทำงานด้วย จากที่เคยเป็นตัวกลางเชื่อมชาวบ้านกับภาครัฐ กลับกลายเป็นว่าองค์กรไปรับใช้รัฐมากกว่าจะอยู่ข้างชาวบ้าน ผมเชื่อเรื่องการกระจายอำนาจให้คนเล็กคนน้อย เชื่อว่าคนเล็กคนน้อยเหล่านี้คือเจ้าของเมือง ไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐ…
“นครสวรรค์เป็นเมืองเศรษฐกิจสำคัญของภาคกลาง และเพราะเป็นแบบนั้นทำให้ที่ดินในเมืองมีราคาสูง ประชาชนที่มีรายได้น้อยจึงไม่สามารถเข้าถึงที่ดินหรือการมีบ้านได้ ดังนั้นพวกเราก็จำเป็นต้องอาศัยอยู่ในเมืองที่เป็นแหล่งทำมาหากิน ซึ่งแน่นอน พอเป็นแบบนั้น บางคนอาจได้เช่าบ้านราคาประหยัด แต่ก็มีอยู่มากมายที่ต้องไปบุกรุกอาศัยในที่ดินราชพัสดุ หรือพื้นที่สาธารณะ และนั่นนำมาซึ่งปัญหาชุมชนแออัด ขยะ น้ำเน่าเสีย ไปจนถึงความเครียดที่นำมาซึ่งความรุนแรงในครอบครัว ทั้งหมดส่งผลโดยตรงต่อภาพรวมของเมือง พี่เป็นคณะทำงานของเครือข่ายพี่น้องคนจนเมือง หรือคนยากจนในเมืองนครสวรรค์ เริ่มขับเคลื่อนโครงการบ้านมั่นคงมาตั้งแต่ปี 2553 ร่วมกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.)…
We Citizens Thailand ชวนผู้อ่านร่วมสำรวจเส้นทางเรียนรู้วิถีเกษตรกรรมเมืองขลุงผ่าน infographic ที่จะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร พื้นที่เกษตรกรรมที่น่าสนใจและไม่ควรพลาดในเมืองขลุง ดาวน์โหลด infographic ฉบับขยาย 100% ได้ที่ infographic เส้นทางเรียนรู้วิถีเกษตรกรรมเมืองขลุง
We Citizens Thailand ชวนผู้อ่านเรียนรู้เมืองขลุงอย่างกระชับ ผ่าน infographic เส้นทางเรียนรู้เมืองขลุง 3 วัฒนธรรม 2 ศาสนา และสวนสวรรค์ผลไม้เมืองขลุง ดาวน์โหลด infographic ฉบับขยาย 100% ได้ที่ infographic เส้นทางเรียนรู้เมืองขลุง