พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ซึ่งจำเพาะเจาะจงเนื้อหานิทรรศการด้านมานุษยวิทยา ที่มีพิพิธภัณฑ์ด้านนี้ไม่มากนักในประเทศไทย ดำเนินงานโดยคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มีคลังของสะสมโบราณวัตถุจากการขุดค้นแหล่งโบราณคดีภาคสนาม และได้รับบริจาคโบราณวัตถุและวัตถุทางวัฒนธรรมจำนวนมากจาก ดร.วินิจ วินิจนัยภาค จึงนำมาจัดแสดงเพื่อนำเสนอวิชาว่าด้วยเรื่องตัวคน และสิ่งที่คนสร้างขึ้น ทำให้ผู้เข้าชมได้ขยายมุมมอง ใคร่ครวญถึงสิ่งของที่นำมาจัดแสดง นำไปสู่การเข้าใจผู้คนในมิติที่รอบด้านขึ้น พร้อมกับมีนิทรรศการหมุนเวียนในหัวข้อต่างๆ เช่น นิทรรศการ “ทุ่งรังสิต” จากสมัน…
จากเทคโนธานี บนถนนเลียบคลองห้า ทางหลวงชนบทสาย ปท.3010 เดินรถต่อไปราว 3-4 กิโลเมตรถึงพื้นที่กลุ่มอาคารพิพิธภัณฑ์ 5 แห่ง ประกอบด้วยหออัครศิลปิน, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติธรณีวิทยาเฉลิมพระเกียรติ, หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ซึ่งนำเสนอเรื่องราวชาติพันธุ์วิทยาของกลุ่มชนเผ่าพันธุ์หลากหลายที่ปรากฏอยู่ในแผ่นดินไทย และคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร จะเห็นได้ว่าบริเวณคลองห้านี้อุดมด้วยแหล่งเรียนรู้ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อม ประวัติศาสตร์…
“หัวหินเมื่อร้อยกว่าปีก่อนเป็นดอนทราย ไม่มีคนอยู่ ยังไม่มีคำว่า “หัวหิน” เลย แล้วทางเพชรบุรีทำมาหากินไม่ค่อยดี ทางนี้ที่เยอะ เขาเลยพากันย้ายลงมาอยู่แถวนี้ สมัยนั้นเรียกกันว่า “บ้านสมอเรียง” มาจากคำว่าถมอเรียง ภาษาขอมแปลว่าหินหรือศิลาเรียงกัน พอน้ำทะเลลด มองไปชายทะเล จะเห็นหินเป็นก้อนๆ เรียงๆ ต่อกันเป็นแหลมยื่นออกไปในทะเล เลยเรียกกันว่า “แหลมหิน”…
“พวกเราเป็นกลุ่มช่างตัดผมชายมีอยู่ทั่วประเทศไทย เราเริ่มโครงการคนดีจิตอาสา ตัดผมฟรี ทำดีเพื่อพ่อร.๙ ได้ทำกิจกรรมจิตอาสาตัดผมฟรีให้คนที่มาร่วมถวายความอาลัยในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ท้องสนามหลวง แล้วผมก็สานต่อกิจกรรมตรงนั้นมาจนถึงทุกวันนี้ อย่างวันนี้ที่เรามาทำกิจกรรมออกหน่วยให้กับประชาชนชาวหัวหินและบุคคลทั่วไปที่หน้าสถานีรถไฟหัวหิน ผมก็จะลงในเพจพลเมืองหัวหินนะครับ บางคนเขาตามเรา ถ้าอาจารย์ป้อมมา จะมารอเลย เอาน้ำ ขนมมาให้เวลาเราทำงาน เรามีรอบออกหน่วยบริการตัดผมฟรีอาทิตย์ละ 4 วัน วันจันทร์ อังคาร…
"ตะโก้เสวยคือเราทำเป็นชิ้นเล็กในกระทงใบเตย กินคำเดียว แล้วก็เพราะมีคนจากในวังมาซื้อ ตอนหลังก็กลับมาซื้อประจำ เวลาในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จแปรพระราชฐานที่พระราชวังไกลกังวล ทรงโปรดให้ขึ้นโต๊ะเสวย พอมาสั่ง เขาก็จะบอกว่า "ขึ้นที่" เราก็รู้ละ เวลาทำตะโก้เข้าวัง เราไม่ใช้แม็กติดกระทง ไม่กลัด ต้องเลือกใบเตยแข็งๆ เอามาพับให้กระทงอยู่ตัว สมเด็จฟ้าหญิงเพชรรัตน์ (สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ…
“ผมปั่นสามล้อมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 ตอนอายุ 17 สมัยนั้นไม่มีรถอะไร มีแต่สามล้ออย่างเดียว ตอนนั้นคล้ายๆ ว่าเราก็ทำสนุกๆ งั้นแหละ ไม่ได้คิดเป็นอาชีพจริงจัง ก็ทำๆ หยุดๆ มาจริงจังช่วงหลังนี้ 40 ปีละ รถก็ซื้อมาตั้งแต่แรกเริ่ม ถูก คันละ 5-600…
“Learning City เป็นโครงการที่เทศบาลเมืองหัวหินให้ความสำคัญเรื่องการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกช่วงวัย เพราะเราต้องการสร้างหัวหินเป็น Learning Community เป็นสังคมแห่งการตระหนักรู้ รู้เท่าทัน ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรเราใช้โมเดลนี้ในการแก้ปัญหาได้ ทีนี้การที่เราไปตั้งต้นที่พูลสุขเพราะเป็นชุมชนในเขตเทศบาลฯ ที่มีความเก่าแก่ มีจุดเด่นเรื่องวัฒนธรรม ความเป็นท้องถิ่น เพราะเป็นคนดั้งเดิมของหัวหิน แล้วประธานชุมชนตอนนั้นอายุน่าจะ 90 ปี ปัญหาอุปสรรคที่ดำเนินโครงการ คืออายุของผู้ที่เราไปสัมภาษณ์…
ผศ.ดร. ดำรงพันธ์ ใจห้าววีระพงศ์ ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช เล่าให้เราฟังว่า คำว่า ‘ปากพูน’ ซึ่งเป็นชื่อของตำบลหนึ่งในอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช เป็นชื่อที่ถูกเรียกตามสัณฐานของปากแม่น้ำที่เชื่อมลำคลองหลากสาขาของชุมชนสู่อ่าวไทย “คำว่าปากพูนมาจากปากน้ำทะเลที่พูนขึ้นไป พูนเป็นภาษาใต้แปลว่า เยอะ มาก หรือล้นออกไป ด้วยลักษณะแบบนี้ ภูมิศาสตร์ของมันจึงเป็นที่สังเกตง่าย ทั้งทางเรือและทางอากาศ ขณะเดียวกันก็มีร่องน้ำอีกแห่งที่อยู่ไม่ไกลจากกันคือปากนคร…
“ผมชอบดื่มกาแฟ นั่งทำงาน และพักผ่อนที่ร้านกาแฟอยู่แล้ว ก่อนเรียนจบ จึงมีความตั้งใจจะเปิดร้านกาแฟที่เมืองนคร เพราะตอนนั้นในตัวเมืองยังมีร้านกาแฟที่เป็นร้านแบบจริงจังไม่เยอะ แต่ครอบครัวก็ท้วง อยากให้ผมใช้เวลาทบทวนมากกว่านี้ ผมก็รับฟังโดยเลือกเรียนปริญญาโทที่กรุงเทพฯ ต่อ จนพอเรียนจบ ผมก็ไม่คิดจะทำอย่างอื่นเลย นอกจากกลับบ้านมาเปิดร้านกาแฟ Glur House คือร้านกาแฟเล็กๆ ที่ถอดมาจากความชอบส่วนตัวของผม เช้าและกลางวันขายกาแฟ ส่วนตอนเย็นในวันศุกร์และเสาร์เปิดเป็นบาร์ และความที่ผมชอบเล่นสเก็ตบอร์ด…
“เราเกิดและเติบโตที่ปากพูน ครอบครัวทำร้านขายของชำและร้านน้ำชาอยู่ในชุมชน ช่วงก่อนเรียนจบ เรามีโอกาสช่วยอาจารย์มานะ (ผศ.มานะ ขุนวีช่วย) ทำโครงการวิจัยเมืองแห่งการเรียนรู้ในตำบลปากพูน เรื่องการศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนแม้เราเป็นคนปากพูนเอง เราก็ไม่เคยรู้มาก่อน คือมารู้ตอนทำวิจัยนี่แหละค่ะว่าสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นล่องเรือมาขึ้นฝั่งที่หมู่บ้านเราเลยคือปกติ คนปากพูนจะทราบกันเรื่องยกพลขึ้นบก แต่จะรู้แค่ว่ามีเหตุการณ์เกิดที่บริเวณอนุสาวรีย์พ่อจ่าดำในค่ายวชิราวุธ ใกล้ๆ ตลาดท่าแพ (อนุสาวรีย์พ่อจ่าดำ หรืออนุสาวรีย์วีรไทย สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงความกล้าหาญของทหารไทยในสงครามโลกครั้งที่ 2…