“ยะลาเป็นเมืองตักศิลาของการศึกษา เราเป็นเมืองศูนย์กลางการศึกษาในระดับภูมิภาคที่มีสถาบันการศึกษาในทุกระดับ ขนาดมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตภาคใต้ตอนล่าง ก็ยังตั้งอยู่ที่นี่ ผมตระหนักถึงเรื่องนี้ดี และนั่นทำให้ตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาทำงานในเทศบาลนครยะลา จึงมีวิสัยทัศน์อันเด่นชัด โดยวาง motto ไว้ว่า ‘สร้างเมืองให้น่าอยู่ สร้างความรู้สู่มวลชน’ และเพราะเหตุนี้ เทศบาลนครยะลาจึงให้ความสำคัญกับพื้นที่การเรียนรู้ของเมืองเป็นพิเศษ โดยเฉพาะการพัฒนาพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียวให้เป็นพื้นที่การเรียนรู้ เพราะเราเห็นว่าพื้นที่ของการใช้ชีวิตและพื้นที่ของการเรียนรู้คือพื้นที่เดียวกัน เรามีอุทยานการเรียนรู้ TK Park…
“ผมเป็นคนอำเภอยะรัง เรียนสาขานวัตกรรมการออกแบบและสร้างสรรค์สื่อ ม.อ. ปัตตานี ช่วงที่เรียนผมมีความฝันอยากทำภาพยนตร์ และสนใจบอกเล่าวัฒนธรรมร่วมสมัยของคนรุ่นใหม่ในสามจังหวัดชายแดนใต้ เลยรวมเพื่อนทั้งหมด 5 คน ตั้งกลุ่มทำหนังสารคดีประกวดของโครงการ Deep South Young Film Maker เรื่องแรกที่เราทำด้วยกันเป็นเรื่องเกี่ยวกับนักดนตรีสามรุ่นในสังคมมุสลิมของสามจังหวัด ตอนส่งประกวด กรรมการเขาก็ให้ตั้งชื่อกลุ่ม คุยกันอยู่สักพัก แล้วมาลงเอยที่ชื่อ…
“ถามว่าเด็กยะลาขาดอะไร มองในภาพรวม ผมว่าคงจะตอบยาก เพราะเอาจริงๆ เด็กยะลามีต้นทุนที่ดีกว่าเด็กในเมืองอื่นๆ อีกหลายเมืองมากกว่า ผมไม่ได้เกิดที่ยะลา แต่เริ่มต้นชีวิตราชการครั้งแรกที่นี่ โดยระหว่างนั้นก็มีโอกาสย้ายไปทำงานและใช้ชีวิตที่อื่นอยู่พักใหญ่ ก่อนกลับมาประจำที่เมืองแห่งนี้ เมื่อพิจารณาถึงวิถีชีวิตและสาธารณูปโภคของเมืองอื่นๆ ที่ผมไปเจอมา ผมกล้าพูดว่าถ้ามองเรื่องต้นทุน เด็กยะลากินขาด ในเขตเทศบาลนครยะลาเรามีครบทั้งสถานศึกษาที่ครอบคลุมทุกระดับ มีสนามกีฬา สวนสาธารณะ ศูนย์การเรียนรู้ และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจทั้งในสวนและพื้นที่ริมแม่น้ำ รวมถึงกิจกรรมต่างๆ…
“ย้อนกลับไปก่อนปี พ.ศ. 2547 ยะลาเคยเป็นเมืองที่น่ารักและน่าอยู่มากๆ จำได้ว่าผู้คนไม่ว่าจะเชื้อชาติหรือศาสนาอะไรก็ล้วนเป็นมิตร คนในชุมชนรู้จักและเข้าถึงกัน บางคนต่างศาสนาแต่กินข้าวโต๊ะเดียวกันก็มีให้เห็นบ่อย แต่พอมีเหตุการณ์ความไม่สงบเท่านั้นแหละ ทุกอย่างเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ พอเกิดความรุนแรง ผู้คนก็หวาดระแวงกัน แถมยังมีกระแสว่ากลุ่มผู้ก่อการร้ายแฝงตัวอยู่ในชุมชน จากที่เคยไปมาหาสู่กัน เราก็ค่อยๆ ถอยห่างคนที่อยู่ต่างศาสนา พอมีคนต่างถิ่นหรือคนแปลกหน้าเข้ามา จากที่เราเคยยิ้มแย้มต้อนรับ ก็กลายเป็นความตึงเครียดไม่ไว้วางใจ และพอไม่รู้ว่าจะมีเหตุการณ์ความรุนแรงตรงไหนหรือเวลาไหน กิจกรรมในเมืองก็ถูกระงับหมด…
“เราเติบโตมาในสังคมมุสลิม เรียนโรงเรียนสอนศาสนา และใช้ชีวิตประจำวันท่ามกลางบรรยากาศที่ค่อนข้างเคร่งครัด ขัดแย้งกับตัวตนที่เป็น LGBT ของเรา ตอนเป็นวัยรุ่นเราคิดมาตลอดว่าสิ่งที่เราเป็นคือปมด้อย เราก็พยายามกลบปมด้อยด้วยการตั้งใจเรียน เป็นตัวแทนโรงเรียนไปสอบแข่งขันที่นั่นที่นี่ และทำกิจกรรมสม่ำเสมอ เคยคิดว่าถ้าเราเรียนเก่ง คนที่คอยตั้งแง่กับเพศสภาพก็อาจจะลืมตัวตนที่แท้จริงของเรา ซึ่งเหนื่อยนะที่ต้องทำแบบนี้ เป็นความเคยชินในวัยเด็กที่ดูตลกร้ายมากๆ จนได้มารู้จักพี่บอล (เอกรัตน์ สุวรรณรัตน์) ในช่วงที่เราเรียนมหาวิทยาลัยนี่แหละ ที่ทำให้เรากล้าที่จะเป็นตัวของตัวเอง พี่บอลเป็นเหมือนแม่ที่คอยให้กำลังใจลูกสาวอย่างพวกเราทุกคนไม่ว่าเราจะนับถือศาสนาอะไร…
“ปี 2558 ผมเป็นเจ้าหน้าที่จัดทำเนื้อหานิทรรศการที่ TK Park ยะลา และมีโอกาสได้จัดนิทรรศการผ้าพื้นถิ่นภาคใต้ชื่อว่า ‘นุ่ง ห่ม พัน วิถีแดนใต้’ โดยนำผ้าโบราณจากภาคใต้ขึ้นไปจัดแสดงที่กรุงเทพฯ งานค่อนข้างใหญ่ และมีนักสะสมผ้าจากทั่วสารทิศมารับชมนิทรรศการนี้จุดประกายให้ผมสนใจศึกษาเรื่องผ้าพื้นถิ่นในเชิงลึกอย่างมาก ขณะเดียวกัน ระหว่างที่จัดงาน ก็มีกูรูเรื่องผ้าคนหนึ่งมาทักว่ามีข้อมูลในงานจุดหนึ่งคลาดเคลื่อน ข้อมูลดังกล่าวเกี่ยวกับผ้าเปอลางี ซึ่งเป็นเทคนิคการทำผ้ามัดย้อมชนิดหนึ่งในวัฒนธรรมมลายู ข้อผิดพลาดดังกล่าวเป็นปมในใจผมมาก…
“เริ่มจากอาของผมที่เป็นนายช่างเขียนคัทเอาท์ที่โรงภาพยนตร์เฉลิมเขตในอำเภอสุไหงโกลก ตอนนั้นผมเรียน ม.1 เรียนได้ครึ่งเทอม เห็นว่าที่บ้านไม่ค่อยมีเงินส่งผมเรียนแล้ว จึงลาออก และขอตามไปอยู่กับอา ไปให้อาฝึกเขียนรูปให้ หวังทำเป็นอาชีพผมไม่มีทักษะทางศิลปะเลย ก็เริ่มจากไปช่วยอาเตรียมเฟรมวาดรูป กวนสี และล้างพู่กันให้ ระหว่างที่อาเขียนรูป ผมก็ดูวิธีการทำงานของเขาแทบไม่กะพริบตา ทำแบบนี้อยู่สองปี จนรู้แล้วว่าจะวาดเส้น ลงสี หรือลงน้ำหนักพู่กันอย่างไร อาก็ให้ผมลองลงมือเขียน ที่โรงหนังเฉลิมเขตจะมีช่างใหญ่ซึ่งก็คืออาผมหนึ่งคน…
“ที่บ้านทำธุรกิจติดตั้งเครื่องเสียงรถยนต์มาก่อนค่ะ ทำได้พักใหญ่จนพ่อรู้สึกอิ่มตัว แกก็เลยขยับไปทำเครื่องเสียง PA หรือระบบกระจายเสียงกลางแจ้งสำหรับงานมหรสพและคอนเสิร์ต พ่อเป็นคนที่มีความครีเอทีฟสูง พอทำเครื่องเสียงไปได้สักพัก แกก็รับจัดออร์แกไนซ์พวกงานหรือเทศกาลต่างๆ ด้วยตัวเอง จนเปิดเป็นบริษัทที่รับจัดงานออร์แกไนซ์ที่ครบวงจรที่สุดในจังหวัดยะลา เราซึมซับกับสิ่งที่พ่อทำมาตลอด แต่ตอนแรกไม่คิดจะสานต่อเลย เราอยู่กับเขามาตั้งแต่เด็ก พอเรียนจบก็อยากไปทำงานของตัวเองบ้าง ก็เริ่มจากงานในบริษัทรับเหมาก่อสร้าง ก่อนจะย้ายมาทำงานในมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ดี ความที่เรายังอยู่บ้านเดียวกัน พ่อเป็นคนควบคุมงานด้วยตัวของแกเองคนเดียว จึงเห็นว่ามีบ่อยครั้งที่พ่อต้องขอความช่วยเหลือจากคนอื่น…
“พ่อผมมีลูก 12 คน พ่อส่งทุกคนเรียนด้วยการขายก๋วยจั๊บ น้องชายคนเล็กทำงานสายการบิน อีกคนเปิดบริษัทขายส่ง อีกคนเป็นหมอ ส่วนผมทำงานธนาคาร เกษียณมา 8 ปีแล้ว ตอนนี้เป็นประธานผู้พิพากษาสมทบศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดยะลา ถ้าวันไหนว่างก็จะมาช่วยน้องชายและน้องสาวขายก๋วยจั๊บ ซึ่งทั้งคู่สืบทอดกิจการต่อมาจากพ่อโดยตรง ก๋วยจั๊บเริ่มขายรุ่นพ่อ ทุกวันนี้ขายมา 60 ปีแล้ว เมื่อก่อนพ่อจะทำก๋วยจั๊บบนรถเข็น ตั้งขายอยู่ในตรอกเล็กๆ…
“หนูเกิดและโตที่อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี พอเรียนถึง ม.6 แม่บอกว่าที่บ้านไม่มีเงินส่งให้หนูเรียนต่อแล้ว จบ ม.6 ต้องออกมาช่วยทำงานเลยครอบครัวหนูทำงานรับจ้างทั่วไปค่ะ มีพี่น้องอยู่ 4 คน ไม่มีใครได้เรียนต่อเลย ไม่ใช่ว่าไม่อยากช่วยพ่อแม่ทำงานหาเงินนะ แต่หนูคิดว่าถ้าได้เรียนต่ออย่างน้อยระดับปริญญาตรี การศึกษาจะทำให้เรามีโอกาสได้ทำงานที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตครอบครัวได้ ซึ่งก็พอดีกับที่หนูเคยร่วมกิจกรรมของกลุ่มลูกเหรียง (สมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้) ทราบว่าทางกลุ่มมีโครงการมอบทุนการศึกษาให้แก่เยาวชนที่ขาดโอกาส หนูเลยเขียนจดหมายไปขอทุนการศึกษา หนูสอบติดคณะวิทยาการจัดการ…