เส้นทางแห่งความสุขในชุมชนริมป่า<br />อเมซอนเมืองนคร สำรวจ 5 พื้นที่แห่งการเรียนรู้ที่ทำให้คุณอิ่มท้อง อิ่มสมอง อิ่มใจในปากพูน

3 years ago

เทศบาลเมืองปากพูน ตั้งอยู่ในตำบลปากพูน อำเภอเมือง นครศรีธรรมราช ที่นี่เป็นคล้ายปราการด่านหน้าของเมืองนคร ไม่ใช่เพียงเพราะความเป็นปากน้ำทางทิศเหนือ ซึ่งเดิมเป็นเส้นทางคมนาคมจากอ่าวไทยสู่ตัวเมือง หากยังเป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานนานาชาตินครศรีธรรมราช ที่ซึ่งหากใครเดินทางมาเยือนจังหวัดแห่งนี้ด้วยเครื่องบิน ปากพูนจะเป็นสถานที่แรกที่รอต้อนรับ บนพื้นที่ 93.78 ตารางกิโลเมตรที่ประกอบด้วย 12 หมู่บ้านของตำบลปากพูน กว่า 70% คือที่ราบลุ่มอันเกิดจากการทับถมของสันดอนดินปนทรายอันเป็นที่มาของชื่อปากพูน ส่วนพื้นที่ที่เหลืออีก 30%…

เรียนรู้ริมกว๊าน พัฒนาคน พัฒนาเมืองพะเยา

3 years ago

ดาวน์โหลด infographic "เรียนรู้ริมกว๊าน" เพื่อเรียนรู้แนวทางการขับเคลื่อนโครงการพะเยาเมืองแห่งการเรียนรู้ ได้ที่ https://drive.google.com/file/d/13rkLf-K7r56p2RRhLJrpZY2VaiNTxZ-3/view?usp=sharing

อ่านพะเยา : อ่านความเคลื่อนไหวของคนหลายรุ่นในเมืองที่อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติและประวัติศาสตร์

3 years ago

ชวนอ่านเรื่องราวของผู้คนหลายรุ่น หลายที่มา หลายเรื่องราวของชีวิตที่น่าสนใจของผู้คนในเมืองประวัติศาสตร์ เมืองแห่งกว๊าน...เมืองพะเยา ได้ที่ WeCitizens : เสียงพะเยา - WeCitizens Flip PDF | AnyFlip

อ่านเชียงใหม่ : อ่านประวัติศาสตร์ อ่านผู้คน

3 years ago

ชวนอ่านเรื่องราวหลากหลายของผู้คนที่อยู่อาศัยในเมืองเก่าที่ชื่อ "เชียงใหม่" เมืองประวัติศาสตร์ที่มีความเป็นยาวนานหลายศตวรรษ หลายระลอกประวัติศาสตร์ที่เชียงใหม่ได้ก้าวผ่านมาจนถึงปัจจุบันที่เชียงใหม่กลายเป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยว เมืองแห่งพหุวัฒนธรรม เมืองแห่งผู้คนหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ หลายกลุ่มวัฒนธรรม หลายช่วงอายุ มาอยู่อาศัยร่วมกัน อ่านเรื่องราวของการเรียนรู้เพื่อร่วมเรียนรู้เมืองเชียงใหม่ได้ในรูปแบบของ E-book ได้ที่ https://anyflip.com/jnmvd/dxpa/

อ่านปทุมธานี เรียนรู้เมืองแห่งการเรียนรู้ไม่รู้จบ

3 years ago

ชวนมาร่วมเรียนรู้จังหวัดปทุมธานี เมืองที่มีการเรียนรู้จากสถาบันการศึกษาหลายแห่ง และเป็นเมืองแห่งพิพิธภัณฑ์หลากหลายสาขาความรู้ เรื่องราวของผู้คนหลากหลายที่น่าสนใจได้ใน We Citizens ฉบับ เสียงปทุมธานี ในรูปแบบของ E-book ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายที่ https://anyflip.com/jnmvd/fpzv/

We Citizens เสียงของคนจากทุกเมืองแห่งการเรียนรู้

3 years ago

ในปีพ.ศ.2563-2564 หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ได้สนับสนุนและผลักดันการพัฒนาเมืองในประเทศไทยเพื่อพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) โดยเริ่มดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมแล้วทั้งหมด 18 เมือง 20 ชุดโครงการ และ 41 ชุดโครงการย่อย ในปีพ.ศ.2565-2566 บพท. ได้วางแผนและดำเนินการต่อยอดการสนับสนุนงานวิจัย “การพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้” โครงการ “การขับเคลื่อนผลงานวิจัยผ่านการสื่อสารสาธารณะเพื่อพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้”…

การเรียนรู้ด้วยการลงมือทำ รู้จักการเป็นผู้ให้ และสนับสนุนซึ่งกันและกัน เหล่านี้จะเปลี่ยนให้ปมด้อยของเด็กๆ กลายเป็นปมเด่น และเติบโตอย่างมีเป้าหมายและความคิดสร้างสรรค์

3 years ago

“ตอนจบมาใหม่ๆ เราทำอาชีพครู แต่ความที่เราชอบทำกิจกรรมและงานภาคสนาม จึงพบว่าครูไม่ตอบโจทย์ชีวิตเราเท่าไหร่ จนมาเจอกับพี่ชมพู่ (วรรณกนก เปาะอีแตดาโอะ) ผู้ก่อตั้งกลุ่มลูกเหรียง (สมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ - ผู้เรียบเรียง) พี่ชมพู่ก็ชวนมาทำงาน เรารู้จักกลุ่มนี้ตั้งแต่สมัยที่เราทำกิจกรรมในมหาวิทยาลัยอยู่แล้ว จึงตกปากรับคำลูกเหรียงคือชื่อของพืชท้องถิ่นในภาคใต้ เป็นต้นไม้ใหญ่ที่กว่าจะออกเมล็ดพันธุ์ต้องใช้เวลาเป็นสิบๆ ปี คือต้องใช้เวลาพอสมควรในการฟูมฟัก แต่เมื่อมันแตกกิ่งก้านสาขาแล้ว ก็จะให้ร่มเงาแผ่กว้าง และเมล็ดพันธุ์ก็พร้อมจะงอกไปยังพื้นที่อื่นๆ…

เราจะไม่ทำให้ชาวบ้านขายของได้ เพียงเพราะผู้ซื้อรู้สึกสงสาร แต่ต้องเกิดจากที่ผู้ซื้อตระหนักถึงมูลค่าของผลิตภัณฑ์นั้นจริงๆ

3 years ago

“เราแค่อยากกลับมาอยู่บ้าน ตอนแรกก็ไม่รู้หรอกว่าจะกลับมาทำอะไร เราเรียนจบศิลปะ (ศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - ผู้เรียบเรียง) และทำงานสายครีเอทีฟตั้งแต่เรียนจบ ย้อนกลับไปเมื่อราว 10 ปีที่แล้ว เรานึกไม่ออกเลยนะว่าทักษะทางวิชาชีพที่มี จะไปประกอบอาชีพอะไรในยะลาได้เราเริ่มอาชีพใหม่ในบ้านเกิดของตัวเองด้วยการร่วมกับน้องสาวเปิดร้านอาหารกึ่งคาเฟ่ชื่อ Living Room ที่เลือกทำร้านก็เพราะเราทั้งสองคนชอบทำอาหาร และเห็นว่ายะลายังไม่มีร้านที่นำเสนอไลฟ์สไตล์ร่วมสมัยแบบนี้ด้วย ขณะเดียวกันก็เป็นรูปแบบหนึ่งของงานครีเอทีฟที่เราถนัดด้วยเช่นกัน ทั้งการทำสไตล์ลิ่ง การออกแบบเมนูอาหาร…

ทั้งผังเมืองและสวนสาธารณะตอกย้ำว่าเมืองยะลาเป็นเมืองสำหรับคนยะลาจริงๆ เป็นเมืองที่เป็นมิตรกับคนในพื้นที่ และเป็นเมืองน่าอยู่

3 years ago

“เมื่อก่อนถนนรวมมิตร ที่ตั้งของร้านกาแฟผม เป็นหนึ่งในถนนสายเศรษฐกิจของเมืองยะลา มีโชว์รูมร้านค้ามาเปิดเยอะ พลุกพล่านแทบทั้งวัน กระทั่งมีเหตุการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนใต้ช่วงปี 2547 ผู้ประกอบการก็พากันย้ายหนีไปที่อื่นเกือบหมด แม้หลายปีผ่านไป สถานการณ์คลี่คลาย ถนนที่อยู่ในตัวเมืองสายนี้ก็เงียบลงไปแบบหน้ามือเป็นหลังมือ หลังเรียนจบและไปฝึกประสบการณ์ทำกาแฟในร้านที่ผมหุ้นกับเพื่อนที่ปัตตานีมาหนึ่งปี ผมก็คิดถึงการกลับบ้านมาเปิดร้านกาแฟที่ยะลา เพราะตอนนั้นยะลายังไม่ค่อยมีร้านกาแฟแบบ specialty ขณะที่คนดื่มกาแฟหลายคนก็เริ่มมองหาร้านแบบนี้ จนมาเจออาคารให้เช่าบนถนนรวมมิตรนี่แหละ ซึ่งตอนนั้นก็เริ่มมีผู้ประกอบการกลับมาเปิดร้านค้าบนถนนสายนี้บ้างแล้วหลังจากซบเซามานาน เกรโช (Gratio)…

ไม่ใช่นักออกแบบทุกคนที่อยากเข้าไปทำงานในกรุงเทพฯ หลายคนก็อยากทำงานที่ตัวเองรักในบ้านเกิดตัวเอง แต่ที่ผ่านมามันเป็นไปได้ยาก

3 years ago

“แม่ผมเป็นช่างเย็บผ้า จำได้ว่าตอนเด็กๆ ผมค่อนข้างซนและไปกวนแม่ตอนทำงาน แม่เลยเอาสมุดวาดเขียนและดินสอสีมาให้ผมวาดรูประหว่างรอแม่ กลายเป็นว่าผมชอบวาดรูปมาตั้งแต่เด็กตอนแรกอยากเรียนสถาปัตย์ครับ แต่พ่อกับแม่ไม่ค่อยโอเคเท่าไหร่ จำไม่ได้แล้วว่าทำไม พอจะสอบเข้ามหาวิทยาลัย เลยเลือกเรียนสาขานวัตกรรมการออกแบบและสร้างสรรค์สื่อ คณะวิทยาการสื่อสาร ม.อ. ปัตตานี (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี - ผู้เรียบเรียง) แทน ที่เลือกสาขานี้เพราะเหมือนเราสามารถประยุกต์ทักษะทางศิลปะที่เราชอบให้เป็นอาชีพอันหลากหลายได้ โดยระหว่างเรียนผมก็พบตัวเองว่าน่าจะจบไปทำงานด้านกราฟิกดีไซน์ ตอนทำโปรเจกต์เรียนจบ…