default
น้ำเป็นทั้งพรและภัยของผู้คนในเทศบาลนครปากเกร็ด เมืองริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเมืองนี้เติบโตมาจากหมู่บ้านชาวสวนในสมัยอยุธยา โดยสายน้ำไม่เพียงหล่อเลี้ยงชีวิต แต่ยังหลอมรวมวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของชาวไทย จีน และมอญ เข้าด้วยกัน กลายเป็นอัตลักษณ์และรากฐานสำคัญของการพัฒนาเมืองจนถึงปัจจุบัน
แต่ดังที่กล่าว น้ำก็เป็นภัยคุกคามที่ไม่อาจมองข้าม ในพื้นที่ 36 ตารางกิโลเมตรของเทศบาลนครปากเกร็ด แนวริมน้ำยาวกว่า 15 กิโลเมตรคือแนวหน้าที่ชุมชนหลายสิบแห่งต้องเผชิญกับมวลน้ำมหาศาลของเจ้าพระยา แม้ชาวบ้านหลายรุ่นจะคุ้นชินกับน้ำที่ท่วมเรือกสวนและบ้านเรือนในฤดูน้ำหลาก หากไม่ใช่กับปัจจุบัน เมื่อชุมชนปากเกร็ดกลายมาเป็นนครขนาดใหญ่ที่มีส่วนขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการบริหารจัดการระดับประเทศเช่นนี้
เทศบาลนครปากเกร็ดเป็นเทศบาลขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาในจังหวัดนนทบุรี ครอบคลุม 5 ตำบล ได้แก่ ปากเกร็ด บางตลาด คลองเกลือ บางพูด และบ้านใหม่ มีชุมชนด้วยกันทั้งหมด 66 ชุมชน และมีประชากรราว 190,000 คน (ไม่นับประชากรแฝง) ซึ่งมากเป็นอันดับสองของประเทศ (รองจากเทศบาลนครนนทบุรี) โดยมีพื้นที่ติดต่อกับกรุงเทพฯ ทางทิศตะวันออก และเทศบาลนครนนทบุรีทางทิศใต้
ที่นี่เป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการกลางของประเทศ ศูนย์การค้า สถานศึกษา สถานีรถไฟฟ้าที่เชื่อมต่อเข้าสู่เมืองหลวง ไปจนถึงศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าระดับนานาชาติอย่างอิมแพ็ค เมืองทองธานี ขณะเดียวกัน ปากเกร็ดก็ยังคงเปี่ยมเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิม ผ่านชุมชนเก่าแก่ของชาวมอญ วัดวาอารามในสมัยอยุธยา ไปจนถึงสวนผลไม้และพื้นที่ทางการเกษตรที่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คน การปล่อยให้น้ำจากเจ้าพระยาเอ่อล้นข้ามชายฝั่ง หมายถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจที่รุนแรงและส่งผลกระทบอย่างมหาศาล
ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการเพื่ออำนวยความสะดวกผู้คน และการสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาและการอนุรักษ์ ภารกิจที่เทศบาลนครปากเกร็ดให้ความสำคัญเสมอ คือการทำให้ปากเกร็ดแคล้วคลาดจากอุทกภัย ภารกิจนี้ประจักษ์ชัดจากเหตุการณ์มหาอุทกภัยปี 2554 ที่มวลน้ำมหาศาลเข้าท่วมพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพฯ หลายจุด แต่กลับไม่สามารถฝ่าปราการอันแน่นหนาของเทศบาลฯ ไปได้
ความสำเร็จนี้ไม่เพียงสร้างชื่อเสียงให้ปากเกร็ด แต่ยังผลักดันให้เทศบาลฯ พัฒนา “ปากเกร็ดโมเดล” ระบบจัดการน้ำที่ผสานเทคโนโลยี GIS และกล้องวงจรปิดเพื่อเฝ้าระวังและรับมือน้ำท่วมอย่างเป็นระบบ ต่อมาได้ยกระดับสู่ “ปากเกร็ดโมเดลใหม่ (ICS Pakkret Model)” เพิ่มประสิทธิภาพการแจ้งเตือนภัยแก่ประชาชน ก่อนจะร่วมมือกับ บพท. ในโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด พัฒนาระบบแจ้งเตือนสาธารณะ และจัดทำหลักสูตรป้องกันภัยพิบัติสำหรับนักเรียน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและปลูกฝังจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมแก่คนรุ่นใหม่
พร้อมไปกับการสำรวจว่าเหตุใด เทศบาลที่มีประชากรหนาแน่นและมากเป็นอันดับสองของประเทศ อีกทั้งยังคงต้องเผชิญกับภัยคุกคามทางน้ำ กลับยังคงสถานะความเป็นเมืองน่าลงทุนและน่าใช้ชีวิตสำหรับผู้คนทุกวัย รวมถึงยังได้รับรางวัลระดับประเทศ (ชนะเลิศด้านสิ่งแวดล้อมยั่งยืนยอดเยี่ยมระดับประเทศ และรองชนะเลิศอันดับ 1 เทศบาลน่าอยู่อย่างยั่งยืน ประเภทเทศบาลนคร ปี 2564) WeCitizens ฉบับนี้จะพาไปลงลึกถึงโครงการที่ช่วยเสริมศักยภาพปากเกร็ด ให้เป็นมากกว่าเมืองน่าอยู่ แต่ยังเป็นเมืองต้นแบบของการรับมือกับภัยพิบัติในระดับสากลต่อไป
#เทศบาลนครปากเกร็ด #CIAP #โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด #PMUA #บพท #Wecitizens
เมื่อความเสี่ยงจากภัยพิบัติกลายมาเป็นต้นทุนของเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด จริงอยู่ที่การเป็นเมืองติดแม่น้ำซึ่งเผชิญกับความเสี่ยงด้านอุทกภัยจะดูไกลห่างจากความเป็น “เมืองน่าอยู่” กระนั้น เทศบาลนครปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ก็นำสิ่งที่ถูกมองว่าเป็นจุดด้อย แปรเปลี่ยนเป็นต้นทุนสำคัญในการพัฒนาเมืองอย่างชาญฉลาด โครงการบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด และการพัฒนาความเป็นเลิศในการบริหารจัดการความเสี่ยงอุทกภัย เป็นโครงการที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างเทศบาลนครปากเกร็ดและบพท. ในการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลเมือง (City Data…
WeCitizens สนทนากับ รศ. ดร.สมพร คุณวิชิต หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เทศบาลนครปากเกร็ด ถึง “โครงการบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดและการพัฒนาความเป็นเลิศในการบริหารจัดการความเสี่ยงอุทกภัยในพื้นที่เทศบาลนครปากเกร็ด” ที่เขาขับเคลื่อน ว่าด้วยจุดเริ่มต้นและเป้าหมายในการทำให้ปากเกร็ดเป็นเมืองต้นแบบของการจัดการภัยพิบัติในระดับนานาชาติ เทศบาลนครปากเกร็ดมีความพร้อมมากน้อยแค่ไหน และการจัดการน้ำท่วมส่งผลต่อการทำปากเกร็ดให้เป็นเมืองน่าอยู่ได้อย่างไร ไปติดตามกัน ก่อนอื่น…
“ป้าเป็นคนอ่างทอง แต่ย้ายมาเรียนที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่ประถมฯ พอเรียนจบ ไม่อยากอยู่เมืองที่พลุกพล่าน น้ำท่วมบ่อย บ้านแพง เลยมองหาชานเมืองที่สงบและราคาจับต้องได้ จนมาเจอปากเกร็ด ชุมชนประชานิเวศน์ 2 ระยะ 3 เป็นบ้านจัดสรรของการเคหะ ตั้งอยู่เยื้อง…
“คลองในพื้นที่ปากเกร็ดเป็นทั้งคลองดั้งเดิมและคลองที่ขุดขึ้นใหม่ ปัจจุบันมีทั้งหมด 17 คลอง รวมถึงลำราง ลำกระโดง และคูน้ำจำนวนหนึ่ง การดูแลพื้นที่ดังกล่าวเป็นงานที่ซับซ้อน เนื่องจากคลองบางแห่งมีปัญหาด้านกายภาพ ส่งผลกระทบต่อการไหลของน้ำและการป้องกันน้ำท่วมคลองบางพูดเป็นหนึ่งในคลองที่มีปัญหาหนักที่สุด โดยเฉพาะบริเวณใกล้ถนนแจ้งวัฒนะ เนื่องจากคลองมีลักษณะคดเคี้ยวและอยู่ติดกับบ้านเรือนประชาชน อีกทั้งประตูระบายน้ำบางแห่งยังชำรุด ส่งผลให้การควบคุมระดับน้ำเป็นไปได้ยาก เราจึงต้องเฝ้าระวังคุณภาพน้ำอย่างใกล้ชิด…
“ผมเป็นคนสุพรรณบุรี มาได้ภรรยาที่เกาะเกร็ด เลยย้ายมาอยู่ที่นี่ตั้งแต่วัยรุ่น ทำอาชีพขับเรือรับส่งคนจากเกาะเกร็ดไปปากเกร็ดหรือเมืองนนท์บ้าง รับ-ส่งตามท่าเรือต่าง ๆ คล้ายกับวินมอเตอร์ไซค์นี่แหละมีเรือรับส่งทั้งหมด 14 ลำ คนขับทุกคนเป็นคนเกาะเกร็ด ในวันธรรมดา คนบนเกาะส่วนหนึ่งเขาจะเลือกเดินทางเข้าเมืองด้วยการนั่งเรือข้ามฟากที่ท่าวัดสนามเหนือ แล้วก็นั่งรถเมล์ หรือรถสาธารณะอื่น ๆ…
“โครงการ ‘รู้สู้น้ำ’ เป็นนวัตกรรมการบริหารจัดการน้ำที่พัฒนาโดยเทศบาลนครปากเกร็ด เพื่อแก้ปัญหาน้ำขังระบายไม่ทันในเขตเทศบาลฯ ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2554 โดยพัฒนาต่อยอดจาก ‘ปากเกร็ดโมเดล’ เดิม สู่ ‘ปากเกร็ดโมเดลใหม่’ ที่ผสานเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ากับระบบบัญชาการเหตุการณ์ (ICS)หัวใจสำคัญของโครงการนี้ คือความสามารถของเทศบาลฯ ในการจัดการข้อมูลจำนวนมากให้เป็นระบบ…