Livable & Smart City

เมืองพนัสนิคม จ.ชลบุรี ภารกิจเชื่อมพนัสนิคมให้เป็นนิคมของคนรุ่นใหม่

แม้จะมีจุดเด่นคือความสงบและน่าอยู่ แต่ด้วยทำเลที่อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ และเมืองหลักศูนย์กลางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคอย่างชลบุรี ฉะเชิงเทรา หรือระยอง เทศบาลเมืองพนัสนิคมจึงไม่สามารถฉกฉวยโอกาสต่อยอดฐานเศรษฐกิจจากเมืองหลักที่รายล้อม และทำให้คนรุ่นใหม่ในเมืองจำใจละทิ้งบ้านเกิดไปแสวงหาโอกาสจากเมืองเหล่านั้นแทนอย่างเลี่ยงไม่ได้ นั่นทำให้ในขณะที่พนัสนิคมกำลังประสบกับสภาวะ “เมืองหด” จากการที่ประชากรรุ่นใหม่ย้ายออกไปทำงานต่างถิ่น ขณะที่ตัวเมืองก็เข้าสู่สภาวะสังคมสูงวัยอย่างเต็มรูปแบบ โดยในปี 2564 เมืองแห่งนี้มีผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 25.89 ของประชากรทั้งหมด (ผู้สูงอายุจำนวน 2,594 คน จากทั้งหมด…

2 months ago

[ ท้องถิ่น + วิชาการ อนาคตเมืองที่ออกแบบได้ ]<br />บรรจง โฆษิตจิรนันท์ นายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง (ส.ท.น.ม.)

การทำงานวิชาการ ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัย การทดลองต้นแบบ หรือการปฏิบัติการจริงบนฐานความรู้ร่วมกับชุมชน และหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศไทยนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ วิธีการนี้ถูกติดตั้งและใช้งานกันมาจนคุ้นเคยผ่านระบบของสภาเทศบาล การทำงานของกองยุทธศาสตร์ และแผนงบประมาณ รวมไปถึงกลไกของภาคประชาชน บรรดานักวิชาการ ภาคประชาสังคม และเอกชน ทุกฝ่ายจึงต่างใช้เครื่องมือวิชาการ และงานวิจัยเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินงานร่วมกับท้องถิ่นแทบทั้งสิ้น  แต่ในยุคที่ความท้าทายทางด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิต ทวีความรุนแรงจนยากจะรับมือ โดยเฉพาะในเขตพื้นที่เมืองที่ภาพของผลกระทบนั้นแจ่มชัด การตอบสนองให้ทั้งเท่าทัน…

3 months ago

[ เมืองหด เมืองอุทกภัย และการใช้งานวิจัยนำการพัฒนาเมือง ]<br />รศ. ดร.ชนิษฎา ชูสุข

รศ. ดร.ชนิษฎา ชูสุข คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ หัวหน้าคณะประสานงานโปรแกรม CIAP​ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ การทำงานร่วมกับโปรแกรมฯ ในภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ อาจารย์เข้าไปมีส่วนช่วยสนับสนุนใน 3 พื้นที่ ได้แก่ เทศบาลเมืองพนัสนิคม จ.ชลบุรี…

3 months ago

[เมืองเหนือ : เมืองวัฒนธรรม เกษตร ผู้สูงอายุ และ E-sport city]<br />ผศ. ดร.จุฑาทิพย์ เฉลิมผล

ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และหัวหน้าคณะประสานงานโปรแกรม CIAP​ ภาคเหนือ “ส่วนดีนอกจากงานวิจัยจะเข้าไปช่วยงานเทศบาลได้แล้วก็คือ เราสามารถเปรียบเทียบงานพัฒนาเมืองในปัจจุบันของแต่ละพื้นที่ว่ามีความท้าทายอะไร และผลลัพธ์เป็นไปตามที่คาดหมายหรือไม่” การทำงานโดยใช้โปรแกรม CIAP ในปีนี้ถือว่าเป็นรูปแบบใหม่ เรื่องหนึ่งคือ บริบท และโจทย์ของแต่ละเมืองไม่เหมือนกัน แต่จากประสบการณ์การทำงานวิจัยพัฒนาเมืองของ บพท. และคณะทำงาน เราพบว่ามีเครื่องมือ และนวัตกรรมอยู่ชุดหนึ่งที่น่าจะเวิร์คกับเมืองของเราได้ โดยหัวใจอยู่ที่โจทย์วิจัยที่ต้องมาจากท้องถิ่น…

3 months ago

[ CIAP 4 ภาค ผลักดันต้นแบบเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ด้วยพลังท้องถิ่น และงานวิจัย ]<br />ผศ. ดร.มณีรัตน์ วงษ์ซิ้ม

หัวหน้าโปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) และหัวหน้าคณะประสานโปรแกรมฯ ภาคอีสาน “4 เมืองในอีสาน ต่างมุ่งไปที่เรื่องพัฒนาเศรษฐกิจ เพราะผู้นำเมือง มองเห็นแล้วว่า เมืองรองของอีสานวันนี้มีโอกาส และเติบโตได้จริง” เมืองในภาคอีสาน  “โปรแกรมนี้ เรื่องสำคัญ คือ โจทย์วิจัยเพื่อการพัฒนาเมืองต้องมาจากตัวเทศบาลเป็นหลัก เราจะไม่เอานักวิจัยเป็นตัวตั้ง ตัวหลักต้องเป็นเทศบาล คำถามง่าย ๆ แต่สำคัญมาก…

3 months ago

[ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] <br />อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม

สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม  ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง…

4 months ago

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ และก็ไม่มีการลงทุนอะไรที่ดึงดูดมากพอ จะทำให้คนรุ่นใหม่อยากมาใช้ชีวิต กระทั่งช่วงเราไปเรียนกรุงเทพฯ  เราก็ทราบข่าวว่าร้อยเอ็ดจะมีการสร้างหอโหวดขึ้น ตอนนั้นยอมรับว่า เราก็ไม่ได้คาดหวังอะไรกับสิ่งนี้สักเท่าไหร่ที่ไหนได้…

5 months ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ…

6 months ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย เศรษฐกิจดีเกินร้อย: การยกระดับนิเวศเศรษฐกิจของเมืองร้อยเอ็ด" สนับสนุนโดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และสถาบันวิจัยและพัฒนา…

6 months ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว และหวังกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นให้ผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น            โครงการระยะยาวเริ่มตั้งแต่การปรับปรุงภูมิทัศน์บึงพลาญชัย และสวนสาธารณะกลางบึง  การสร้างซุ้มประตูสาเกตนคร การขอคืนพื้นที่รอบสี่เหลี่ยมคูเมืองซึ่งเป็นเขตโบราณสถาน ไปพร้อมกับจัดสรรที่อยู่อาศัยใหม่ให้กับชุมชนที่รุกล้ำพื้นที่…

6 months ago