เมืองน่าอยู่อุดมสุข ด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อม และพลังของความร่วมมือ สู่เมืองน่าอยู่อุดมสุข กับความความร่วมมือ บพท. “สำหรับการทำงานปีนี้ร่วมกับ บพท. ถือว่าเป็นเรื่องใหม่ เพราะปีนี้เรานำโจทย์ของเทศบาลเป็นตัวตั้ง ส่วนหนึ่งผมคิดว่าเพราะเราทำงานร่วมกันมานาน และบพท. ก็มีแนวทางที่ชัดเจนว่าอยากสนับสนุนท้องถิ่น ด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม เพื่อช่วยพัฒนาเมืองให้น่าอยู่ ซึ่งตรงกับวิสัยทัศน์และแนวทางการทำงานของเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ของเรา ที่เราจะพัฒนาเมืองไปสู่การเป็นเมืองอุดมสุข อุดมสุข นั้นหมายความว่า เป็นเมืองน่าอยู่ น่าลงทุน น่าท่องเที่ยว แล้วก็น่าศึกษา หัวใจสำคัญของประเด็นทั้งหมดนี้ คือ…
WeCitizens ชวนผู้อ่านมาอ่านเมืองกาฬสินธุ์ผ่าน e-book ฉบับ "เสียงกาฬสินธุ์" ที่รวบรวมเรื่องราวของเมืองแห่งการเรียนรู้กาฬสินธุ์ที่เต็มไปด้วยสีสันของงานศิลปะ ครื้นเครงด้วยเสียงดนตรีท้องถิ่นอีสาน และน่าตื่นตาตื่นใจไปกับซากไดโนเสาร์ในแหล่งโบราณคดีสำคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย อ่าน "เสียงกาฬสินธุ์" ได้ที่ WeCitizens : เสียง กาฬสินธุ์ - WeCitizens Flip PDF |…
หากคุณไม่ใช่คนในพื้นที่หรือมีโอกาสได้แวะเวียนผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือบ่อยๆ เราค่อนข้างมั่นใจว่าคงนึกภาพเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดที่อยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองขอนแก่นและทางทิศเหนือของเมืองร้อยเอ็ดไม่ออก ณ ผืนดินที่ระหว่างกลางของแอ่งอารยธรรมโคราชและแอ่งอารยธรรมสกลนคร สองแอ่งอารยธรรมหลักที่รวมกันเกิดเป็นภาคอีสาน การอธิบายทัศนียภาพปัจจุบันของกาฬสินธุ์ให้ชัดเจนมากที่สุด บางทีอาจไม่ใช่ วิถีชีวิตริมเขื่อนลำปาว แหล่งขุดพบไดโนเสาร์ หรือตำนานเก่าแก่ว่าด้วยเมืองฟ้าแดดสงยาง หรือองค์ประกอบอื่นๆ ในคำขวัญจังหวัดหากเป็นความเคลื่อนไหวเล็กๆ ที่เราพบบนถนนคนเดินงานมหกรรมฟื้นใจเมือง ‘ภูมิถิ่น แก่งสำโรง โค้งสงเปลือย’ ที่ทางเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ และ…
“หนูชื่อเด็กหญิงสุมินตรา ศรีงาม อยู่ชั้น ป.5 โรงเรียนเทศบาล 6 ทุ่งศรีเมืองประชาวิทย์ ส่วนหนูชื่อเด็กหญิงยิ่งลักษณ์ ถิ่นกระไสย อยู่ชั้น ป.6 โรงเรียนเดียวกัน เราสองคนอยู่ชมรมดนตรี และเป็นสมาชิกวงดอกพะยอม วงดนตรีประจำโรงเรียน มีครูเสนีย์และครูชลลดาเป็นผู้ฝึกสอนและดูแลวง วงเรามีสมาชิกประมาณ 12-13 คน เป็นวงสตริงผสมโปงลาง…
“ผมเป็นคนนครปฐม ย้ายมาตั้งครอบครัวที่กาฬสินธุ์ อยู่ที่นี่มาสามสิบกว่าปีแล้ว สมัยก่อนผมเป็นผู้จัดการบริษัทไทยสมุทรประกันชีวิต พออายุ 55 ก็เกษียณก่อนกำหนด และมาทำงานจิตอาสาจริงๆ ก็เริ่มงานจิตอาสามาก่อนเกษียณด้วยซ้ำ ที่ทำงานนี้เพราะครั้งหนึ่งผมเคยป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับปอด น้ำหนักลดเหลือไม่ถึง 50 กิโลกรัม ตอนนั้นคิดว่าเราอาจจะตายได้ แต่ก็ยังรอด ก็เลยคิดว่าเราอาจตายอีกทีเมื่อไหร่ไม่รู้ งั้นเอาเวลาที่เหลือไปช่วยคนอื่นดีกว่า ก็เลยไปทำงานมูลนิธิ ปรับปรุงรถกระบะตัวเองให้มีเครื่องอำนวยความสะดวก สำหรับรับส่งผู้ป่วยหรือคนชราที่ไม่สามารถเดินทางเองได้ไปโรงพยาบาล…
Kalasin Learning Dialogue Forumเบื้องหลังวงสนทนาขับเคลื่อนเมืองผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์ลิขิต แก้วหานาม WeCitizens พูดคุยกับ ผศ.ดร. พิมพ์ลิขิต ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ และนักวิจัยในโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้กาฬสินธุ์ ถึงการจัดทำ Kalasin Learning Dialogue Forum อีกหนึ่งกิจกรรมสำคัญของโครงการ ที่ทางมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ได้ชักชวนปราชญ์ชาวบ้าน…
WeCitizens นัดหมายกับ รศ.ดร.กตัญญู แก้วหานาม อาจารย์สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ที่บริเวณสวนสาธารณะริมปาว ติดกับศาลเจ้าพ่อโสมพะมิตร ในเขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์นี่เป็นการสนทนาที่อาจไม่ได้ราบรื่นนัก เพราะพื้นที่แห่งนี้กำลังจัดพิธีเปิดมหกรรมฟื้นใจเมือง ‘ภูมิถิ่น แก่งสำโรง โค้งสงเปลือย’ มหกรรมทางวัฒนธรรมประจำปีของเมืองที่จัดเป็นครั้งแรก โดยต่อยอดมาจากพิธีสักการะพระยาชัยสุนทร (ท้าวโสมพะมิตร) นั่นทำให้การสนทนาของเราถูกแทรกด้วยเสียงจากกิจกรรมบนเวที และเสียงของผู้คนที่มาร่วมงานอยู่บ่อยๆแน่นอน ที่เรานัดคุยกับอาจารย์ในพื้นที่อันแสนอึกทึกขนาดนี้…
“ผมเป็นผู้อำนวยการสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ นอกจากดูแลโรงเรียนและศูนย์เด็กเล็กในสังกัดเทศบาลแล้ว พันธกิจของเราคือการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ให้กับคนทุกวัย เช่น ตลาดนัดที่มีพื้นที่กิจกรรมสำหรับเด็กและเยาวชน หอศิลป์เมืองกาฬสินธุ์ที่เป็นพื้นที่จุดประกายด้านศิลปะ หรือโรงเรียนผู้สูงอายุ ที่มีหลักสูตรการเรียนรู้สำหรับคนสูงวัย และกิจกรรมให้พวกเขาได้ผ่อนคลาย เป็นต้นผมไม่เคยคิดมาก่อนว่ากาฬสินธุ์พร้อมด้วยคุณสมบัติของเมืองแห่งการเรียนรู้ เพิ่งมารู้ก็เพราะเมื่อทางอาจารย์จากมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์มาสร้างความร่วมมือขับเคลื่อนกลไกเมืองแห่งการเรียนรู้นี่แหละ คือเราก็ทำของเรามาเรื่อยๆ จนทางมหาวิทยาลัยเอาหลักวิชาการเข้ามา และเชื่อมโยงกิจกรรมการเรียนรู้กับชุมชนต่างๆ จนพบว่าทางเทศบาลกับมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์มีเป้าหมายเดียวกัน อย่างงานตลาดสร้างสุขที่จัดทุกเย็นวันอังคารและพฤหัสบดีรอบหอศิลป์เมืองกาฬสินธุ์ ที่เทศบาลร่วมเป็นเจ้าภาพ นายกเทศมนตรีท่านยังมอบหมายงานนี้ให้กับสำนักงานผม ซึ่งดูไม่น่าจะเกี่ยวข้องอะไรกับการทำตลาดเลย…
“ผมเป็นเด็กที่ไม่ชอบเรียนมากๆ ไม่ชอบวิชาการและไม่ชอบท่องจำ เอาเป็นว่าการศึกษาไทยในสมัยนั้นมันแทบไม่มีพื้นที่ให้เด็กอย่างผมเลยซึ่งแน่นอน ผมสอบเอ็นทรานซ์ไม่ติด จึงต้องสมัครเข้าเรียนภาคสมทบของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม สาขาการออกแบบ (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์) จนได้พบพื้นที่ของตัวเองจากที่นั่น ทั้งการได้คิด ได้ทำโปรเจกต์ และได้ออกแบบ ช่วงเวลานั้นทำให้จากเด็กขี้เกียจคนหนึ่งกลายมาเป็นคนขวนขวายในการสร้างสรรค์ไปเลย ขณะเดียวกัน ก็อยากสื่อสารภาษาอังกฤษให้ได้ เพราะถ้าเราทำงานออกแบบได้และพูดอังกฤษได้ มันจะพาเราไปได้ไกล ก็ไปตีสนิทกับอาจารย์ที่สอนสาขาภาษาอังกฤษให้เขาสอน จะพรีเซนท์งานอาจารย์ทีก็ทำทั้งสองภาษา…
“ผมเป็นนายกเทศมนตรีเมืองกาฬสินธุ์ครั้งแรกปี 2545 ก่อนหน้านี้ผมทำงานเป็นทนายความ ควบคู่ไปกับบริหารธุรกิจกงสีที่บ้าน ซึ่งนั่นช่วยผมในการทำงานเทศบาลได้มากเลยนะ เพราะขณะที่ผมเอาทักษะของการบริหารธุรกิจมาบริหารราชการ การเป็นทนายความก็ทำให้ผมหนักแน่นในหลักการ และตระหนักดีว่าไม่ว่าจะทำงานอะไรก็แล้วแต่ จำเป็นต้องมียุทธศาสตร์และเครื่องชี้วัด และเพราะเหตุนี้ช่วงปีแรก ผมจึงวางยุทธศาสตร์ก่อนเลยว่าต้องทำให้กาฬสินธุ์เป็นเมืองน่าอยู่ด้วยการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้เมืองสะอาด ควบคู่ไปกับการทำสาธารณูปโภคให้ดี น้ำไหล ไฟสว่าง และแก้ปัญหาสังคมและยาเสพติด โดยเริ่มเข้าไปแก้ปัญหาชุมชนแออัดที่รุกล้ำพื้นที่ริมน้ำปาว ซึ่งสร้างปัญหาเรื่องทัศนียภาพและสุขอนามัยให้กับเมืองมาช้านาน พร้อมไปกับการกวดขันเจ้าหน้าที่ในการเก็บขยะในพื้นที่ จนได้ทั้งรางวัลด้านความสะอาดระดับประเทศในปี 2546…