นครศรีธรรมราช

เพราะถ้าเราบอกให้เขาทำ แต่เราไม่เริ่ม การขับเคลื่อนก็จะไม่เกิดเสียที

“ผู้ใหญ่เกิดที่ปากพูนเลยค่ะ ก่อนหน้านี้เป็นสมาชิก อบต.ปากพูน เราผูกพันกับพื้นที่ เข้าใจปัญหา และคิดว่าด้วยหน้าที่การงานเรามีส่วนพัฒนาบ้านเกิดเราได้ จนตำแหน่งใน อบต. หมดวาระลง เลยสมัครเป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 เพราะคิดว่าในระดับหมู่บ้าน เราดูแลลูกบ้านเราได้ และก็มีอิสระในการตัดสินใจในการพัฒนาชุมชนบ้านเกิดเรา ตอนนี้ทำมา 13 ปีแล้ว ปีนี้เข้าปีที่ 14 หมู่…

2 years ago

การย้อนกลับไปศึกษาประวัติศาสตร์ หรือรากเหง้าของเราเอง คือต้นทุนอันยอดเยี่ยมสู่การพัฒนาบ้านเกิดของเราสู่อนาคต

“การอพยพแบบเทครัวคือการโยกย้ายถิ่นฐานจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งในลักษณะของการที่ผู้คนโยกย้ายไปทั้งครอบครัวหรือทั้งชุมชน ตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา มีการอพยพรูปแบบนี้นับครั้งไม่ถ้วน โดยเฉพาะช่วงศึกสงคราม เช่นที่ครั้งหนึ่งกองทัพนครศรีธรรมราชไปทำสงครามกับรัฐไทรบุรี และก็ได้นำเชลยศึกจากไทรบุรีกลับมาด้วยอย่างไรก็ดี ในตำบลปากพูน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช มีการอพยพแบบเทครัวอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งถือเป็นหมุดหมายสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ของชุมชน นั่นคือราวทศวรรษ 2470 ที่ชาวบ้านในอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ล่องเรือลงใต้มาขึ้นฝั่งยังปากพูนกันทั้งหมู่บ้าน เพื่อหาแหล่งทำมาหากินใหม่ กระทั่งในทุกวันนี้หลายชุมชนริมคลองในปากพูน ก็ล้วนเป็นลูกหลานชาวเพชรบุรีที่ยังคงพูดภาษากลางสำเนียงเพชรบุรีอยู่  นอกจากนำวิถีชีวิตและสำเนียงภาษามาปักหลักที่นี่ อีกสิ่งที่ชาวเพชรบุรีนำติดตัวมาด้วย นั่นคือนวัตกรรมพื้นบ้านในการจับสัตว์น้ำที่เรียกว่าบ้านปลา…

2 years ago

พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตในอุโมงค์ป่าโกงกาง จึงคล้ายเป็นหมุดหมายและผลสัมฤทธิ์ของการรณรงค์ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของชาวชุมชนไปพร้อมกัน

“นอกจากการที่มีป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ในระดับที่กิ่งก้านของต้นโกงกางอันสูงใหญ่โน้มเข้าหากันจนเกิดลักษณะคล้ายอุโมงค์อันงดงาม ความพิเศษของผืนป่าในหมู่ 4 ของตำบลปากพูน ซึ่งเป็นที่ตั้งของอุโมงค์ป่าโกงกาง1 ยังรวมถึงการเป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญที่ใช้หล่อเลี้ยงชาวบ้านปากพูนจากรุ่นสู่รุ่นชาวบ้านใช้พื้นที่กว่าครึ่งของป่าชายเลนทำประมง บ่อเลี้ยงกุ้ง ปู และปลาตามธรรมชาติ และหลายคนอาจยังไม่ทราบว่าป่าแห่งนี้ยังเป็นแหล่งผลิตน้ำผึ้งชั้นดี ซึ่งเกิดจากผึ้งหลวงที่อพยพมาจากป่าในอุทยานแห่งชาติเขาหลวงมาทำรังตามกิ่งไม้ของต้นแสมดำในช่วงเดือนมิถุนายนของทุกปี เป็นอีกหนึ่งอาชีพเสริมหล่อเลี้ยงชาวบ้านในชุมชนนี้กว่า 100 ครัวเรือน โครงการวิจัยย่อยของพวกเรามีชื่อว่า ‘อุโมงค์โกงกาง: ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าชายเลน เพื่อพัฒนายกระดับสู่พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต และยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน’ มีวัตถุประสงค์หลักคือการศึกษาและจัดทำฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพทั้งพืชและสัตว์…

2 years ago

ประสบการณ์และภูมิปัญญาเป็นสิ่งที่มีค่า แต่สิ่งเหล่านี้จะมีค่ามากขึ้นถ้ามันถูกแบ่งปัน

“ไอ้เฒ่า เป็นภาษาใต้ หมายถึงคนที่คงแก่เรียน หรือในบางพื้นที่ยังแปลได้ว่าเพื่อน ไม่ว่าเราจะทำงานอะไร หรืออยู่ในสังคมไหน ทุกพื้นที่จะมีไอ้เฒ่าที่เป็นเหมือนหัวเรี่ยวหัวแรง เป็นมันสมอง หรือเจ้าของภูมิปัญญาของกลุ่มนั้นๆ อยู่เสมอ ในโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ของตำบลปากพูน ผมรับผิดชอบโครงการที่ 2 ที่ชื่อ เกลอปากพูน: การสร้างกลไกความร่วมมือและเครือข่ายพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้ภายในตำบลปากพูน โดยหน้าที่ก็คือการตามหาไอ้เฒ่าจากพื้นที่ต่างๆ ยึดตามโครงการย่อยที่มี ไม่ว่าจะเป็นชาวบ้านที่ขับเคลื่อนกิจกรรมอุโมงค์ป่าโกงกาง เจ้าของสวนมะพร้าว…

2 years ago

สิ่งที่เราทำตรงนี้สามารถเป็นอาชีพต่อไปให้ลูกหลานชาวปากพูนด้วย พวกเขาจะได้ไม่ต้องออกจากบ้านไปทำงานที่ไหน

“ก่อนหน้านี้ เวลาชาวประมงในปากพูนจับสัตว์ทะเลมาได้ ก็มักจะเจอปลาตัวเล็กๆ อย่างปลาจวดหรือปลาดาบเงินติดมาด้วย เขาก็จะแยกพวกมันไปปล่อยลงทะเล เพราะปลาพวกนี้ขายไม่ได้ หรือถ้าขายก็จะได้ราคาไม่คุ้ม เพราะคนรับซื้อเขาจะเอาไปทำอาหารสัตว์จนมีช่วงหนึ่งที่เศรษฐกิจในชุมชนซบเซา ชาวบ้านก็มาคุยกันว่าเราจะทำยังไงจะหาเงินเพิ่มได้ ก็เลยคิดถึงการเอาปลาตัวเล็กๆ มาแปรรูป เพราะคนแก่ๆ อย่างป้าและแม่บ้านในชุมชนมีกันหลายคน ส่วนมากอยู่บ้านไม่ได้ทำอะไร ถ้ารวมตัวกันมาแปรรูปอาหารทะเล นอกจากมีรายได้เพิ่มเข้ามา ยังได้เจอเพื่อน ได้มีอะไรทำด้วย ทางกรมประมงจังหวัด และผู้ใหญ่กระจาย…

2 years ago

เหนียวห่อกล้วยยายศรีไม่ได้มีดีแค่สูตรโบราณ แต่เป็นเหนียวห่อกล้วยเปลี่ยนชีวิตตตตต

“เหนียวห่อกล้วยก็คือข้าวต้มมัดในภาคกลางนั่นแหละ บ้านยายทำมาตั้งแต่รุ่นคุณยายของยายแล้ว ตอนเด็กๆ ยายก็ช่วยคุณยายและแม่ของยายห่อ ตอนนั้นขายห่อละ 25 สตางค์ ขายที่บ้านบ้าง ไปฝากขายตามร้านค้า บางครั้งเอาไปขายแผงลอยริมถนน หรือไม่ก็เดินเร่ขายในปากพูน ตอนกลับมาเริ่มขายใหม่ คนในชุมชนเขาก็สงสัยว่าเหนียวห่อกล้วยนี่นะ คือที่ไหนเขาก็ทำกัน จะขายได้สักเท่าไหร่เชียว แต่ยายก็บอกว่าเราไม่ได้ขายให้คนในชุมชนน่ะ เพราะพอหลานมาช่วย เขาก็ทำเพจเฟซบุ๊คและมีหน้าร้านใน Shopee ช่วงปี…

2 years ago

สิ่งที่น่าดีใจคือได้เห็นชาวบ้านตระหนักในต้นทุนด้านสุขภาพ และการออมทรัพย์ของตัวเอง เพราะเมื่อพวกเขามีเงินเก็บและมีสุขภาพที่ดี คุณภาพชีวิตก็จะดีขึ้นตามมา

“ในส่วนของโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ปากพูน พวกเรารับผิดชอบในโครงการย่อยที่ 5 การประเมินและพัฒนาระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจชุมชนปากพูน ซึ่งได้รับมอบหมายจากหัวหน้าโครงการให้ไปสอบถามชาวบ้านในชุมชนและเจ้าหน้าที่จากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นว่าชุมชนประสบปัญหาเรื่องใด และต้องการให้โครงการวิจัยมาหนุนเสริมเรื่องใดเป็นพิเศษเราทำแบบสอบถามและการสัมภาษณ์จากชาวบ้านใน 12 หมู่บ้านของตำบลปากพูน โดยได้กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นวัยทำงานอายุระหว่าง 21-60 ปี เกือบ 400 คน พร้อมไปกับการจัดเวทีชุมชนเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในภาพรวมเราพบว่าชาวปากพูนมีคุณภาพชีวิตที่ดี แต่ในแง่มุมด้านสุขภาพ การทำงาน และสัมพันธภาพ ยังอยู่ในระดับปานกลาง…

2 years ago

เพราะชุมชนไม่ต้องการแค่วิชา แต่เป็น ‘วิชาญ’ ที่หมายถึงภูมิปัญญาบวกองค์ความรู้ เรามีความรู้อย่างเดียว แต่ไม่รู้จะใช้ยังไง ก็ไม่มีประโยชน์ รู้แล้วต้องมีวิธีใช้ความรู้นั้นให้ได้ด้วย

“ก่อนที่ อบต.ปากพูนจะได้รับการยกระดับเป็นเทศบาลเมืองปากพูน ช่วงปี 2542-2543 ผมได้ทำฐานข้อมูลประชากรชาวปากพูน ที่รวบรวมข้อมูลพื้นฐาน รายได้ ไปจนถึงข้อมูลสุขภาพเก็บไว้ เพราะคิดว่าถ้าอยากทำให้เมืองมีการพัฒนาไปพร้อมกับบรรยากาศของการเรียนรู้ การทำความเข้าใจต้นทุนและศักยภาพของตำบล ซึ่งในที่นี้หมายถึงการรู้จักชาวบ้านทุกคน เป็นเรื่องสำคัญพอได้ข้อมูลพื้นฐานตรงนี้ ผมก็ชักชวนบุคคลที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนมาพูดคุยกันเป็นระยะๆ สมมุติว่าเป็นชาวประมง ผมก็ขีดกลมๆ กลุ่มประมงไว้ เรารู้จักเขา และก็สร้างกิจกรรมให้เขาได้รู้จักผู้ประกอบการด้วยกันเอง มีกี่กลุ่มก็ทำแบบนั้น กลุ่มใบกระท่อม…

2 years ago

ผมเคยคิดว่าถ้าเราอยากประสบความสำเร็จ เราต้องเรียนให้หนัก เรียนในสิ่งที่ยากๆ แต่ทุกวันนี้ หลังทำสวนมาหลายปี ผมกลับสอนเด็กๆ ใหม่ว่า ทำเรื่องเรียนให้เป็นเรื่องที่ง่าย

“ผมเป็นคนหมู่ 4 ตำบลปากพูน เรียนจบมัธยมต้นที่โรงเรียนปากพูน และย้ายไปเรียนต่อที่อื่น จนกลับมาบรรจุเป็นครูสอนวิชาเคมีที่โรงเรียนเดิม สาเหตุที่เลือกกลับมาทำงานที่นี่ ข้อแรกคือผมต้องกลับมาดูแลครอบครัว และข้อที่สอง คือผมเห็นโอกาสที่มีในบ้านเกิดแห่งนี้ ปากพูนเป็นตำบลที่ผู้คนมีทรัพยากรเยอะมากนะครับ ประมงอุดมสมบูรณ์ ส่วนชาวสวนส่วนใหญ่ก็มีที่ดินทำกินค่อนข้างมาก อาจจะเพราะความที่อะไรก็สมบูรณ์อยู่แล้วด้วย ชาวบ้านจึงไม่ได้คิดขวนขวายกับการพัฒนาอาชีพเท่าไหร่ อย่างถ้าคุณทำสวนมะพร้าว ถึงเวลาก็จะมีล้งมารับซื้อไป บางช่วงเขาไม่มารับ คุณขายไม่ได้ ก็ไม่ได้คิดอะไรมาก…

2 years ago

หนังตะลุงสมัยนี้ไม่เพียงเป็นสื่อบันเทิงของชาวบ้าน แต่ยังเป็นสื่อสร้างสรรค์ที่สะท้อนความเป็นไปของสังคมและการเมืองไปพร้อมกัน

“พวกเรารู้จักกันเพราะความสนใจในหนังตะลุง บางคนรู้จักเพราะเป็นเพื่อนร่วมคณะ แต่ส่วนใหญ่จะรู้จักจากการประกวดการแสดงหนังตะลุงของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ซึ่งจะจัดขึ้นในงานบุญเดือนสิบของทุกปี จนนำมาสู่การร่วมชมรมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ของมหาวิทยาลัย หนังตะลุงอยู่ในวิถีชีวิตของคนใต้ ทั้งในงานเทศกาล งานบุญ งานรื่นเริง หรือกระทั่งงานศพ เราเรียกคนเชิดและพากย์หนังว่านายหนัง โดยในแต่ละคณะจะต้องมีนายหนังแค่คนเดียว มีตัวละครให้เชิดกี่ตัวก็ว่าไป นายหนังจะต้องรับบทในการเล่าเรื่องและพากย์เสียงพูดคุยให้ตัวละครทั้งหมด นายหนังที่เก่งจะแยกบุคลิกตัวละครแต่ละตัวออกมาอย่างชัดเจน และทำให้ผู้คนติดตามเรื่องราวด้วยความสนุกสนานจนจบ เราหลายคนในกลุ่มอยากเป็นนายหนังเพราะมีโอกาสได้ดูนายหนังเก่งๆ เชิดหุ่น หรือเราบางคนก็มีความสนใจอยู่ในสายเลือด เพราะเป็นลูกหลานของศิลปินหนังตะลุงอยู่แล้ว…

2 years ago