Categories: Learning City

We Citizens เสียงของคนจากทุกเมืองแห่งการเรียนรู้

ในปีพ.ศ.2563-2564 หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ได้สนับสนุนและผลักดันการพัฒนาเมืองในประเทศไทยเพื่อพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) โดยเริ่มดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมแล้วทั้งหมด 18 เมือง 20 ชุดโครงการ และ 41 ชุดโครงการย่อย

ในปีพ.ศ.2565-2566 บพท. ได้วางแผนและดำเนินการต่อยอดการสนับสนุนงานวิจัย “การพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้” โครงการ “การขับเคลื่อนผลงานวิจัยผ่านการสื่อสารสาธารณะเพื่อพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้” จึงมีหน้าที่ในการต่อยอดงานวิจัย โดยการสังเคราะห์และสรุปทเรียนจากการทำงานของนักวิจัย และนักจัดการพัฒนาเมืองจาก 18 เมืองทั่วทุกภูมิภาคที่ได้รับทุนวิจัย และเผยแพร่สู่สาธารณะเพื่อสื่อสารและส่งต่อการเรียนรู้ ประสบการณ์ของนักวิจัยและนักพัฒนาเมืองจาก 18 เมืองไปสู่เมืองต่างๆ ที่กำลังดำเนินงานพัฒนาเมืองในแนวทางเดียวกัน เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนองค์ความรู้การวิจัย และนำไปสู่การพัฒนาต่อยอดปฏิบัติการในพื้นที่ต่างๆ ในประเทศไทยต่อไปในอนาคต

เว็บไซต์ที่ทุกท่านติดตามอยู่นี้ จึงเป็นสื่อกลางในการสื่อสารเรื่องราวของผู้คนหลากหลายในเมืองแห่งการเรียนรู้ จาก18 เมืองทั่วประเทศ ซึ่งประกอบไปด้วย

1. จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย 2 โครงการวิจัย ดำเนินการวิจัยในพื้นที่เมืองเชียงใหม่

2. จังหวัดลำปาง ดำเนินการวิจัยในพื้นที่เมืองลำปาง

3. จังหวัดราชบุรี ดำเนินการวิจัยในพื้นที่เมืองราชบุรี

4. จังหวัดกรุงเทพฯ ดำเนินการวิจัยในพื้นที่ย่านกะดีจีน

5. จังหวัดกาฬสินธุ์ ดำเนินการวิจัยในพื้นที่เมืองกาฬสินธุ์

6. จังหวัดนครศรีธรรมราช ดำเนินการวิจัยในพื้นที่เมืองปากพูน

7. จังหวัดพิษณุโลก ดำเนินการวิจัยในพื้นที่ตลาดใต้ เมืองพิษณุโลก

8. จังหวัดจันทบุรี ดำเนินการวิจัยในพื้นที่อำเภอขลุง

9. จังหวัดพะเยา ดำเนินการวิจัยในพื้นที่เทศบาลเมืองพะเยา

10. จังหวัดปทุมธานี ดำเนินการวิจัยในพื้นที่อำเภอธัญบุรี

11. จังหวัดระยอง ประกอบด้วย 2 โครงการวิจัย ดำเนินการวิจัยในพื้นที่เทศบาลนครระยอง

12. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ดำเนินการวิจัยในพื้นที่ชุมชนพูนสุข เทศบาลเมืองหัวหิน

13. จังหวัดยะลา ดำเนินการวิจัยในพื้นที่เทศบาลนครยะลา

14. จังหวัดสงขลา ดำเนินการวิจัยในพื้นที่ย่านเมืองเก่าหาดใหญ่

15. จังหวัดขอนแก่น ดำเนินการวิจัยในพื้นที่รอบเมืองขอนแก่น

16. จังหวัดสระบุรี ดำเนินการวิจัยในพื้นที่เทศบาลเมืองแก่งคอย

17. จังหวัดนครราชสีมา ดำเนินการวิจัยในพื้นที่เขาใหญ่ อำเภอปากช่อง

18. จังหวัดนครสวรรค์ ดำเนินการวิจัยในพื้นที่ย่านอัจฉริยะเมืองนครสวรรค์

ผู้คนและเมืองในแต่ละภูมิภาคล้วนแต่มีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน ด้วยบริบททางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ ทำให้ทุกเมืองมีแนวคิด แนวทางในการพัฒนาเมืองของตนเองให้เป็นเมืองน่าอยู่ เมืองแห่งการเรียนรู้ที่แตกต่างกันไป


เรื่องราวของผู้คนจาก 18 เมืองแห่งการเรียนรู้ในปีที่ 1 จะถูกถอดบทเรียนและถ่ายทอดโดยทีมงานโครงการการขับเคลื่อนผลงานวิจัยผ่านการสื่อสารสาธารณะเพื่อพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ (WeCitizens) ในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นบทความออนไลน์ หนังสือสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิดีทัศน์ เพื่อเผยแพร่บนช่องทางต่างๆ อาทิ เว็บไซต์ wecitizensthailand.com / Facebook fanpage / Twitter

ทีมงานของเราประกอบด้วย

หัวหน้าโครงการ

สามารถ สุวรรณรัตน์

บรรณาธิการ

นพดล พงษ์สุขถาวร

เรื่องเล่าจากผู้คน (เสียงเชียงใหม่)

นพดล พงษ์สุขถาวร

จิรัฎฐ์ ประเสริฐทรัพย์

ปิยะลักษณ์ นาคะโยธิน

ธิตินัดดา จินาจันทร์

สามารถ สุวรรณรัตน์ 

ออกแบบปก/รูปเล่ม

สังวรณ์ หอชัยศิวะนนท์

อินโฟกราฟิกส์

etceen studio

ถ่ายภาพ

กรินทร์ มงคลพันธุ์

พรพจน์ นันทจีวรวัฒน์

วิดีโอ

 ธรณิศ กีรติปาล

วัชระพันธ์ ปัญญา

เอกรินทร์ นันปินตา

ประสานงาน

ลลิตา จิตเมตตาบริสุทธิ์

สามารถติดต่อทีมงานได้ที่
Email: wecitizen2022@gmail.com
Facebook: wecitizens
twitter: wecitizens
เว็บไซต์: www. wecitizensthailand.com

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[The Insider]<br />พัชรี แซมสนธ์

“เมืองอาหารปลอดภัยไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เฉพาะผู้คนในเขตเทศบาลฯแต่มันสามารถเป็นต้นแบบให้เมืองอื่น ๆ ที่อยากส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนได้เช่นกัน” “งานประชุมนานาชาติของสมาคมพืชสวนโลก (AIPH Spring Meeting Green City Conference 2025) ที่เชียงรายเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา เน้นย้ำถึงทิศทางการพัฒนาเมืองสีเขียว…

2 weeks ago

[The Insider]<br />พรทิพย์ จันทร์ตระกูล

“ทั้งพื้นที่การเรียนรู้ นโยบายเมืองอาหารปลอดภัย และโรงเรียนสำหรับผู้สูงวัยคือสารตั้งต้นที่จะทำให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Wellness City)” “กล่าวอย่างรวบรัด ภารกิจของกองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย คือการทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วย หรือถ้าป่วยแล้วก็ต้องมีกระบวนการรักษาที่เหมาะสม ครบวงจร ที่นี่เราจึงมีครบทั้งงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และระบบดูแลต่อเนื่องถึงบ้าน…

2 weeks ago

[The Insider]<br />ณรงค์ศักดิ์ เตือนสกุล

“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…

3 weeks ago

[The Insider]<br />นนทพัฒ ถปะติวงศ์

“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…

3 weeks ago

[The Citizens]<br />ชวนพิศ สุริยวงค์

“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว  ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…

3 weeks ago

[The Citizens]<br />กาญจนา ใจปา และพิทักษ์พงศ์ เชอมือ

“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…

3 weeks ago