“ตอนจบมาใหม่ๆ เราทำอาชีพครู แต่ความที่เราชอบทำกิจกรรมและงานภาคสนาม จึงพบว่าครูไม่ตอบโจทย์ชีวิตเราเท่าไหร่ จนมาเจอกับพี่ชมพู่ (วรรณกนก เปาะอีแตดาโอะ) ผู้ก่อตั้งกลุ่มลูกเหรียง (สมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ – ผู้เรียบเรียง) พี่ชมพู่ก็ชวนมาทำงาน เรารู้จักกลุ่มนี้ตั้งแต่สมัยที่เราทำกิจกรรมในมหาวิทยาลัยอยู่แล้ว จึงตกปากรับคำ
ลูกเหรียงคือชื่อของพืชท้องถิ่นในภาคใต้ เป็นต้นไม้ใหญ่ที่กว่าจะออกเมล็ดพันธุ์ต้องใช้เวลาเป็นสิบๆ ปี คือต้องใช้เวลาพอสมควรในการฟูมฟัก แต่เมื่อมันแตกกิ่งก้านสาขาแล้ว ก็จะให้ร่มเงาแผ่กว้าง และเมล็ดพันธุ์ก็พร้อมจะงอกไปยังพื้นที่อื่นๆ ต่อ เราชอบความคิดของพี่ชมพู่ที่เปรียบเทียบการฟูมฟักและสนับสนุนด้านการศึกษาแก่เด็กและเยาวชนกลุ่มเปราะบางในพื้นที่สามจังหวัดกับวงจรชีวิตของลูกเหรียง
กลุ่มลูกเหรียงดูแลอยู่ 4 ด้านคือ เยียวยา พัฒนา ป้องกัน และทำธุรกิจเพื่อสังคม เราเริ่มงานที่นี่เมื่อ 9 ปีที่แล้วในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ทั่วไป ช่วยออกแบบและจัดกิจกรรมของกลุ่ม แต่ความที่กลุ่มลูกเหรียงมักจะมีผู้ใหญ่มาเยี่ยมเยือน ประชุม หรือมาดูงานบ่อยๆ บางทีผู้มาเยือนเขาไม่อยากออกไปกินข้าวข้างนอก ก็คิดกันว่าจากเดิมที่เราทำอาหารเลี้ยงเด็กๆ ในกลุ่มที่ตอนนี้มีกัน 24 คนอยู่แล้ว ก็น่าจะเปิดเป็นร้านอาหารรับแขกด้วย แต่เพราะทุกคนก็มีหน้าที่รับผิดชอบประจำอยู่ การทำอาหารเป็นหลักไม่น่าจะได้ สุดท้ายเราเลยคิดจะทำร้านอาหารแบบเชฟส์เทเบิล (Chef’s Table) ขึ้น
เชฟส์เทเบิลของเราจะเสิร์ฟอาหารอย่างน้อย 6 คอร์ส ใช้วัตถุดิบจากเกษตรกรในท้องที่ ส่วนอาหารก็เป็นอาหารพื้นบ้านที่เรานำมาประยุกต์หรือตบแต่งให้ดูมีสีสัน มีความน่ารับประทาน เปลี่ยนมุมมองอาหารที่คนใต้คุ้นเคยให้ดูแปลกใหม่ โดยเราจะเปิดรับลูกค้าแบบจองล่วงหน้าเท่านั้น ไม่ได้ทำการตลาดหรือโฆษณาอะไร แต่ก็ได้ลูกค้าจากแขกที่มาเยือนบ้านเราและบอกปากต่อปาก พอผู้ใหญ่และข้าราชการในยะลามารับประทานแล้วถูกปาก เขาก็บอกต่อ กลายเป็นว่าพอในระดับจังหวัดเรามีแขกกิตติมศักดิ์มา เขาก็จองให้พวกเราทำอาหารต้อนรับ
เราไม่เคยเรียนทำอาหารจากสถาบันไหนมาก่อน อาศัยว่าชอบทำอาหารอยู่แล้ว ก็ไปเรียนเพิ่มเติมจากยูทูป หรือรายการทำอาหารของไทยและต่างประเทศ หาเรฟเฟอร์เรนซ์ในการออกแบบหน้าตาอาหารจากพินเทอเรส (Pinterest) และความที่ถ้าพี่ชมพู่เห็นเด็กคนไหนในกลุ่มเรามีความสนใจหรือมีแววทำอะไรได้ดี ก็จะส่งเสริมเต็มที่ เลยมีน้องๆ หลายคนได้เรียนต่อด้านคหกรรม บางคนไปเรียนทำอาหารถึงมหาวิทยาลัยสวนดุสิต น้องๆ เหล่านี้ก็นำองค์ความรู้ที่ได้มาแลกเปลี่ยนกับเรา มาพัฒนาเมนูอาหารที่เราทำเสิร์ฟเรื่อยมา
เราคิดคอร์สเริ่มต้นที่ท่านละ 500 บาท หลายคนบอกว่าทำไมถูกจัง เราบอกว่าต้นทุนอาหารเราถูกแถมยังคุณภาพดี ที่คิดเท่านี้ เราก็ได้กำไรแล้ว ซึ่งต้องยกเครดิตให้ความอุดมสมบูรณ์ของพืชผักและวัตถุดิบประกอบอาหารของยะลา หรือพวกดอกไม้สีสันสวยๆ ที่เรามาประดับจานอย่าง ดอกพวงชมพู หรือกระดุมทอง นี่หาได้ง่ายตามบ้าน รั้วสถานีรถไฟยะลาก็มีดอกไม้สีสันสวยๆ เยอะ
และหลายคนยังไม่รู้ว่ายะลาเรามีวัตถุดิบที่มีคุณภาพมากๆ อาทิ ปลานิลสายน้ำไหลที่เลี้ยงในบ่อกลางหุบเขาของอำเภอเบตง ปลาพลวงชมพู หรือกบภูเขา เหล่านี้ราคาต่อกิโลกรัมค่อนข้างสูง แต่ก็เพราะอย่างนี้คนยะลาเลยไม่ค่อยได้กิน ชาวบ้านเพาะเลี้ยงเพื่อส่งขายตามภัตตาคารในกรุงเทพฯ หมด เราก็อยากนำวัตถุดิบเหล่านี้มานำเสนอในเชฟส์เทเบิลด้วยเหมือนกัน แต่ก็ต้องคำนวณต้นทุนอีกที
ทุกวันนี้เรายังทำงานในด้านการเยียวยาและจัดกิจกรรมพัฒนาเด็กๆ และงานด้านสังคมของกลุ่มลูกเหรียงอยู่ แต่ขณะเดียวกันถ้ามีแขกจองโต๊ะเข้ามา เราก็จะชวนน้องๆ ที่นี่มาทำเชฟส์เทเบิล หรือไปเป็นวิทยากรบรรยายเรื่องการออกแบบอาหารให้แก่หน่วยงานต่างๆ เป็นรายได้เสริมให้พวกเขา
หลายคนมักจะติดภาพว่าสมาคมเด็กและเยาวชนแบบเรา ก็เหมือนบ้านเด็กกำพร้าหรือมูลนิธิที่ช่วยเหลือด้านการศึกษาให้เยาวชนที่มาจากครอบครัวที่เปราะบางอย่างเดียว แต่ความที่พี่ชมพู่ได้ปลูกฝังรากฐานที่ดีไว้ ทั้งการเรียนรู้ด้วยการลงมือทำ การสนับสนุนให้เด็กๆ ค้นหาตัวเอง รู้จักการเป็นผู้ให้ และเปิดกว้างทางความคิด ที่สำคัญคือการสนับสนุนซึ่งกันและกัน จากพื้นเพของเด็กๆ ที่หลายคนมองว่าเป็นปมด้อย เราว่าด้วยสิ่งเหล่านี้นี่แหละที่หนุนเสริมให้เด็กๆ ได้ค้นพบปมเด่น และเติบโตขึ้นมาอย่างมีเป้าหมายและความคิดสร้างสรรค์”
แอลลี่-อิสมาแอ ตอกอย
เจ้าหน้าที่ด้านทุนการศึกษาและเยียวยา และเชฟประจำกลุ่มลูกเหรียง
https://www.facebook.com/luukrieang/
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…