Categories: Citizenยะลา

ทั้งผังเมืองและสวนสาธารณะตอกย้ำว่าเมืองยะลาเป็นเมืองสำหรับคนยะลาจริงๆ เป็นเมืองที่เป็นมิตรกับคนในพื้นที่ และเป็นเมืองน่าอยู่

“เมื่อก่อนถนนรวมมิตร ที่ตั้งของร้านกาแฟผม เป็นหนึ่งในถนนสายเศรษฐกิจของเมืองยะลา มีโชว์รูมร้านค้ามาเปิดเยอะ พลุกพล่านแทบทั้งวัน กระทั่งมีเหตุการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนใต้ช่วงปี 2547 ผู้ประกอบการก็พากันย้ายหนีไปที่อื่นเกือบหมด แม้หลายปีผ่านไป สถานการณ์คลี่คลาย ถนนที่อยู่ในตัวเมืองสายนี้ก็เงียบลงไปแบบหน้ามือเป็นหลังมือ

หลังเรียนจบและไปฝึกประสบการณ์ทำกาแฟในร้านที่ผมหุ้นกับเพื่อนที่ปัตตานีมาหนึ่งปี ผมก็คิดถึงการกลับบ้านมาเปิดร้านกาแฟที่ยะลา เพราะตอนนั้นยะลายังไม่ค่อยมีร้านกาแฟแบบ specialty ขณะที่คนดื่มกาแฟหลายคนก็เริ่มมองหาร้านแบบนี้ จนมาเจออาคารให้เช่าบนถนนรวมมิตรนี่แหละ ซึ่งตอนนั้นก็เริ่มมีผู้ประกอบการกลับมาเปิดร้านค้าบนถนนสายนี้บ้างแล้วหลังจากซบเซามานาน

เกรโช (Gratio) เป็นการรวมกันของคำศัพท์ภาษาอังกฤษสองคำ คือ Grey สีเทา ซึ่งมาจากอิฐที่ใช้เป็นวัสดุก่อสร้างหลักของร้าน และ Ratio ที่แปลว่าอัตราส่วน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการทำกาแฟ ผมเปิดร้านนี้ช่วงโควิด-19 มาใหม่ๆ พอดี จากที่คิดว่าย่านนี้จะกลับมาคึกคักอีกครั้ง โควิดก็ทำใหซบเซาลงไปอีก แต่ความที่ผมไม่ได้ลงทุนเยอะ และยังสามารถขายแบบเทคอะเวย์ได้ จึงมีลูกค้ามาซื้อเรื่อยๆ จนโรคระบาดเริ่มซา ลูกค้าสามารถนั่งที่ร้านได้ ย่านนี้ก็เริ่มกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง มีผู้ประกอบการมาเปิดร้าน แฟนผมที่เป็นคนนราธิวาส ก็ยังย้ายมาเปิดร้านอาหารอยู่ติดกัน (ร้าน The Local)

สำหรับผมยะลาคือเมืองของคนยะลาครับ เรามีสถาบันการศึกษาหลายแห่ง ซึ่งเกือบทั้งหมดรองรับคนในจังหวัดยะลาเป็นหลัก ขณะที่นักท่องเที่ยวจะจดจำยะลาในฐานะจังหวัดที่ตั้งของอำเภอเบตง ในตัวเมืองจึงไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวนัก เศรษฐกิจในยะลาจึงอยู่ได้จากการสนับสนุนของคนในพื้นที่เอง ซึ่งก็มั่นคงพอสมควร

อีกเรื่องคือยะลาเป็นเมืองของอาหารการกินด้วย หลายคนจะติดภาพว่ายะลาเป็นเมืองที่มีร้านอาหารเช้าคึกคัก แต่จริงๆ เรามีร้านอร่อยๆ ให้กินตั้งแต่เช้าจรดมื้อเย็น กระทั่งนักท่องเที่ยวหลายคนที่ขับรถจากหาดใหญ่ลงไปเบตง ส่วนหนึ่งก็เลือกที่จะแวะเข้ามาหาอะไรกินที่นี่ รวมถึงแวะดื่มกาแฟในคาเฟ่ที่ช่วงหลังมานี้ผุดขึ้นมาหลายแห่ง โดยแต่ละร้านก็ล้วนมีคุณภาพและมีบุคลิกเป็นของตัวเอง

ถามว่าถ้ามาเยือนเมืองยะลาไปทำอะไรดี ก็ต้องตอบว่ามากินครับ (หัวเราะ) ซุปเนื้อ ซีฟู้ด ข้าวหมกไก่ อาหารปักษ์ใต้ โรตี และน้ำชา มีร้านเด็ดๆ เต็มไปหมด กับอีกที่คือมาแวะนั่งและเดินเล่นที่สวนสาธารณะพรุบาโกย (สวนขวัญเมือง) ผมว่าสวนที่นี่เป็นไฮไลท์ของเมือง สวนที่นี่ไม่ใหญ่มาก แต่ก็ร่มรื่นและสวย ยิ่งมันตั้งอยู่ใกล้ๆ กับวงเวียนกลางเมืองซึ่งได้ชื่อว่าเป็นผังเมืองที่สวยที่สุดในประเทศ ยิ่งเสริมความงามเข้าไปใหญ่

และอย่างที่บอกว่านอกจากสถานศึกษา และร้านอาหารอร่อยๆ ทั้งผังเมืองและสวนสาธารณะตอกย้ำว่าเมืองยะลาเป็นเมืองสำหรับคนยะลาจริงๆ เป็นเมืองที่เป็นมิตรกับคนในพื้นที่ และเป็นเมืองน่าอยู่”   

อาดัม หะยีสาแล
เจ้าของร้าน
Gratio
https://www.facebook.com/profile.php?id=100064251303968

ทั้งผังเมืองและสวนสาธารณะตอกย้ำว่าเมืองยะลาเป็นเมืองสำหรับคนยะลาจริงๆ เป็นเมืองที่เป็นมิตรกับคนในพื้นที่ และเป็นเมืองน่าอยู่

อาดัม หะยีสาแล
เจ้าของร้าน
Gratio

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

7 days ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

1 week ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

2 months ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

2 months ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

2 months ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago