Categories: Citizenยะลา

เราจะไม่ทำให้ชาวบ้านขายของได้ เพียงเพราะผู้ซื้อรู้สึกสงสาร แต่ต้องเกิดจากที่ผู้ซื้อตระหนักถึงมูลค่าของผลิตภัณฑ์นั้นจริงๆ

“เราแค่อยากกลับมาอยู่บ้าน ตอนแรกก็ไม่รู้หรอกว่าจะกลับมาทำอะไร เราเรียนจบศิลปะ (ศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ผู้เรียบเรียง) และทำงานสายครีเอทีฟตั้งแต่เรียนจบ ย้อนกลับไปเมื่อราว 10 ปีที่แล้ว เรานึกไม่ออกเลยนะว่าทักษะทางวิชาชีพที่มี จะไปประกอบอาชีพอะไรในยะลาได้

เราเริ่มอาชีพใหม่ในบ้านเกิดของตัวเองด้วยการร่วมกับน้องสาวเปิดร้านอาหารกึ่งคาเฟ่ชื่อ Living Room ที่เลือกทำร้านก็เพราะเราทั้งสองคนชอบทำอาหาร และเห็นว่ายะลายังไม่มีร้านที่นำเสนอไลฟ์สไตล์ร่วมสมัยแบบนี้ด้วย ขณะเดียวกันก็เป็นรูปแบบหนึ่งของงานครีเอทีฟที่เราถนัดด้วยเช่นกัน ทั้งการทำสไตล์ลิ่ง การออกแบบเมนูอาหาร และอื่นๆ และอาจเพราะเหตุนี้ ร้านเราจึงได้รับผลตอบรับค่อนข้างดี ซึ่งหลังจากทำร้านได้สักพักจนร้านอยู่ตัว เราก็พอมีเวลาไปทำอย่างอื่น

พอดีอีกกับที่วันหนึ่งเมื่อราวๆ 4-5 ปีก่อน มีผู้ชายชาวมุสลิมคนหนึ่งมาหาเราที่ร้าน เราไม่รู้จักกันมาก่อน เขาบอกว่าเขามีลูกสิบกว่าคน งานที่ทำอยู่ตอนนี้มีรายได้ไม่พอเลี้ยงคนในครอบครัว เขาอยากขายข้าวเหนียวไก่ทอด แต่ทำยังไงก็ไม่อร่อย และอยากให้เราช่วยเขา

ตอนแรกก็งง เราไม่เคยขายข้าวเหนียวไก่ทอด จะช่วยเขาได้อย่างไร แต่เห็นว่าเขาอยากให้เราช่วยจริงๆ ก็เลยนัดให้เขามาอีกวัน ชวนเขาลองปรับสูตรไก่ทอดด้วยกัน จากนั้นเราก็ออกแบบบรรจุภัณฑ์และแบรนด์ดิ้งของร้านให้เขา พอทำเสร็จ เขาก็สามารถเอาไปเปิดร้านเอง จากนั้นก็เหมือนการบอกกันปากต่อปาก มีคนมาให้เราช่วยคิดเรื่องการพัฒนาสินค้าให้อีก ตรงนี้แหละที่ทำให้เราตระหนักว่าที่ผ่านมาเมืองเราขาด creative economy คือแม้จะมีต้นทุนดี แต่คนในพื้นที่ส่วนใหญ่ก็ไม่รู้วิธีจะนำเสนอหรือยกระดับสิ่งที่พวกเขามีอย่างไร

ยะลาไอคอน (Yala Icon) มีที่มาเช่นนี้ ผู้ประกอบการเขามีผลิตภัณฑ์ของตัวเองอยู่แล้ว ส่วนเราเข้าไปเรียนรู้ และใช้ทักษะทางการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์ไปช่วยพัฒนาสินค้าร่วมกับเขา หัวใจสำคัญคือ เราจะไม่ทำให้ชาวบ้านขายของได้ เพียงเพราะผู้ซื้อรู้สึกสงสาร แต่ต้องเกิดจากที่ผู้ซื้อตระหนักถึงมูลค่าของผลิตภัณฑ์นั้นจริงๆ

ยะลาไอคอนตอบโจทย์ชีวิตการทำงานที่ยะลาให้กับเรามาก จากที่เคยคิดว่าคงไม่ได้ทำงานครีเอทีฟในยะลาเท่าไหร่ กลับกลายเป็นว่าเราได้กลับมาทำสิ่งที่เราชอบ ถนัด และอยากทำอยู่แล้ว แถมยังได้ช่วยเหลือคนในพื้นที่อีก เราทำยะลาไอคอนจนเป็นที่รู้จักประมาณหนึ่ง และมีโอกาสไปร่วมแสดงผลงานในเทศกาลด้านความคิดสร้างสรรค์ที่เมืองอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งพอออกงานที่อื่นอยู่หลายครั้ง ก็มาแอบคิดน้อยใจว่าทำไมยะลาของเราถึงไม่มีงานแบบนี้จัดขึ้นบ้าง

ก็พอดีกับทางศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรกำลังทำโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ โดยร่วมกับเยาวชนในพื้นที่จัดทำนิทรรศการบอกเล่าแง่มุมต่างๆ ของเมืองในชื่อ ‘ยะลาสตอรี่’ โดยทางศูนย์ฯ ชวนให้เรามาร่วมโครงการในฝั่งครีเอทีฟ รวมถึงชักชวนเครือข่ายต่างๆ มาร่วมงาน แน่นอน เรายินดีช่วยเต็มที่ เพราะเราเห็นว่ายะลามีของดี แต่เราแค่กลุ่มเดียวก็ไม่สามารถผลักดันสิ่งนี้ออกไปได้ เมื่อมีคนมาช่วย มีเครือข่ายมาร่วมด้วย เทศกาลทางความคิดสร้างสรรค์ของเมืองที่เราฝันอยากเห็นมาตลอดจึงได้ฤกษ์เกิดขึ้นเสียที


ผลจากงานครั้งนั้น ไม่เพียงทำให้เรารู้จักยะลาในแง่มุมใหม่ รวมถึงแง่มุมที่เราอาจหลงลืมไปแล้ว ยังทำให้เรามั่นใจอีกว่าเราสามารถเปิดครีเอทีฟสตูดิโอที่เมืองบ้านเกิดของเราได้ เราพบว่ามีนักออกแบบ ครีเอทีฟ รวมถึงคนทำงานด้านสื่อรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยอยากกลับมาทำงานที่บ้านเกิดของตัวเอง ขณะเดียวกันผู้ประกอบการหลายๆ คน รวมถึงหน่วยงานรัฐ ก็เริ่มตระหนักถึงความสำคัญของการยกระดับสินค้าและบริการด้วยความคิดสร้างสรรค์ โดยเราสามารถเป็นตัวกลางเชื่อมสองฝั่งนี้ให้เข้าหากันได้

ทุกวันนี้เราเปิดสตูดิโอครีเอทีฟที่ชื่อว่า SoulSouth Studio โดยรวมทีมกับน้องๆ ที่จบศิลปะจาก ม.อ.ปัตตานี ซึ่งก็เป็นทีมที่อยู่เบื้องหลังงานออกแบบของยะลาสตอรี่ด้วย นอกจากจะใช้ทักษะที่เชี่ยวชาญช่วยเหลือผู้ประกอบการ เรายังหวังให้ออฟฟิศเล็กๆ แห่งนี้ เป็นหนึ่งในกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองยะลา ขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ในพื้นที่สาธารณะอย่างสร้างสรรค์ รวมถึงมีส่วนเพิ่มและยกระดับพื้นที่การเรียนรู้ให้กับเมือง

เราเชื่อว่ายะลาจะพัฒนาได้มันต้องเกิดจากการร่วมมือกันของคนหลากรุ่น เมื่อเมืองเกิดการพัฒนาและมีความน่าอยู่ มันจะดึงดูดให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจ และเมื่อเศรษฐกิจดี เมืองก็จะตอบโจทย์การใช้ชีวิตของผู้คน เรามองภาพไกลๆ ให้คนรุ่นใหม่มองยะลาอย่างที่เราเห็น มองเห็นถึงความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในเมืองเมืองนี้ มองเห็นถึงความเป็นเมืองที่คนรุ่นใหม่อยู่ได้ และสามารถทำงานที่ตอบโจทย์ความฝันของพวกเขาไปพร้อมกัน”  

เอกรัตน์ สุวรรณรัตน์
นักออกแบบ ครีเอทีฟงาน
Yala Stories และผู้ก่อตั้ง SoulSouth Studio
https://www.facebook.com/SoulSouthStudio

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[THE RESEARCHER]<br />ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์<br />หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เทศบาลเมืองลำพูน<br />นักวิจัยจากสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…

4 days ago

[THE CITIZENS]<br />ปริยาพร วีระศิริ<br />เจ้าของแบรนด์ผ้าไหม “อภิรมย์ลำพูน”

“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ   และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม   ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ไชยยง รัตนอังกูร<br />ผู้ก่อตั้ง ลำพูน ซิตี้ แลป

“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ธีรธรรม เตชฤทธ์<br />ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน

“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ชนัญชิดา บุณฑริกบุตร<br />ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน

“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม)  จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />นงเยาว์ ชัยพรหม<br />คนทำโคมจากชุมชนชัยมงคล

“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว  สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…

2 weeks ago