[The Key Success]
รศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม
รองผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาพื้นที่ (บพท.)

ก่อนอื่นผมขอขอบคุณท่านนายกฯ สมาคมเทศบาลนครและเมือง เจ้าหน้าที่เทศบาล อาจารย์ นักวิจัยทุกท่าน ขอขอบคุณที่ร่วมยืนหยัดในเรื่องการใช้ความรู้ ใช้ข้อมูลเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง วันนี้เราจะได้รับฟังกันและกันถึงประสบการณ์ ที่เราร่วมทำงานกันเกือบ 1 ปี  ที่ผ่านมาเราต่างพบว่า ข้อมูล คือ ต้นทุนสำคัญ วันนี้ความท้าทายจึงอยู่ที่ว่าเราจะทํายังไงเพื่อใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ผมเชื่อมั่นว่าในเรื่องของความรู้ข้อมูล ถ้าไม่ลงมือทำในระดับ ท้องถิ่นของเรา โอกาสที่จะประสบความสําเร็จในงานพัฒนาเมืองจะเป็นไปได้ยากมาก เพราะอย่างที่เราทราบโครงสร้างสังคมและการบริหารของเรามันแยกส่วนเป็นขนมชั้น แบ่งระหว่างรัฐบาลส่วนกลาง ท้องถิ่นและภาคประชาชน การทำงานเป็นแบบแนวตั้ง ไม่ต่อเนื่องกัน และมีรอยแยก  วัตถุประสงค์หลักของพวกเรา คือ การใช้ข้อมูลเมืองให้ได้มากที่สุด และผมคิดว่าเราน่าจะเป็นทีมแรกๆ ที่จัดการและใช้ข้อมูล ผสานกับองค์ความรู้ เทคโนโลยี และกลไกซึ่งก็คือผู้คน ช่วยกันสร้างเมืองที่เรารักให้น่าอยู่ กลไกที่เราพูดถึง คือ ผู้คน รวมกันเป็นขบวนแล้วออกเดินทางไปด้วยกัน คือ ขบวนของคนที่รัก เมือง และช่วยกันมองเมือง และตั้งคำถามว่าเมืองของเราเป็นอย่างไรเรารู้จักเมืองของเราดีแค่ไหน  ตัวชี้วัดสําคัญ ในการบริหารท้องถิ่น ที่จะนำพาให้เมืองของเราดีขึ้น  อย่าลืมนะครับว่าคือ ครูบาศรีวิชัย ท่านไม่ได้สร้างถนนขึ้นดอยสุเทพด้วยตัวคนเดียว มันคือ Crowdfunding ที่มีศรัทธาประชาชนมากมายเป็นแรงหนุน งานสำคัญของเราอีกข้อคือ การปลุกให้ภาคประชาชนและพลเมืองลุกขึ้นมาทำงานบนข้อมูลและองค์ความรู้ แล้วมาช่วยกันมอง และเลือกประเด็นสำคัญในการพัฒนาเมือง บางเมืองอาจเลือกเรื่อง ผู้สูงอายุ บางเมืองเลือกเรื่องภัยพิบัติ  บางเมืองเป็นสิ่งแวดล้อม หรือเมืองวัฒนธรรม  นี่คือสิ่งที่เราทำด้วยกันวันนี้คือ

THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP

  • LIVABLE & SMART CITY
  • LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
  • LEARNING CITY

[WeCitizens : เมืองปากเกร็ด]

เมืองริมแม่น้ำที่การจัดการความเสี่ยงอุทภัยเป็นเลิศระดับประเทศ สู่การขับเคลื่อนเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด อ่าน Ebook ได้ที่ https://anyflip.com/jnmvd/xoso/ Download PDF File : https://shorturl.asia/ijgQb บอกเล่าเรื่องราวมุมมองคนปากเกร็ดนำโดย นายกฯ วิชัย บรรดาศักดิ์ นายกเทศมนตรี เทศบาลนครปากเกร็ด และคณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาลนครปากเกร็ด และหัวหน้าโครงการวิจัยปากเกร็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด รศ.ดร.สมพร คุณวิชิต อาจารย์สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่ จ.สงขลา ___ WeCitizens ดำเนินการผลิตโดย โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) สนับสนุนโดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) #เทศบาลนครปากเกร็ด #มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ #CIAP #โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด #บพท #pmua #wecitizens

[THE CITIZENS]
ธีรธรรม เตชะฤทธิ์
ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน 

“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์

[THE CITIZENS]
ชนัญชิดา บุณฑริกบุตร
ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน

“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม)  จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี

[THE CITIZENS]
นงเยาว์ ชัยพรหม
คนทำโคมจากชุมชนชัยมงคล

“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว  สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้

1 2 3 78