[ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม

สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม  ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง และการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบวิจัยของ บพท.  ปีนี้ ดร.ปุ่น ในบทบาทรองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับคณะทำงาน ได้ริเริ่มโปรแกรมวิจัยใหม่ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสมาคมเทศบาลนครและเมือง องค์กรที่เป็นดั่งหัวใจหลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำเมืองระดับท้องถิ่นครอบคลุมทั่วประเทศ กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ ที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเยือนอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี ภายหลังที่ บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในปี 2538 จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อแผนการทำร้อยเอ็ดให้น่าอยู่และน่าเที่ยวถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมือง ภูมิทัศน์ของเมืองร้อยเอ็ดค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทั้งการบูรณะบึงพลาญชัย การสร้างประตูเมืองจำลอง ‘สาเกตนคร’ ให้เป็นสัญลักษณ์และเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์คูเมืองโบราณให้น่ามองไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียว

THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP

  • LIVABLE & SMART CITY
  • LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
  • LEARNING CITY

Topics

Criticism

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

World

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Pandemic

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Finance

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Criticism

Join our Mailing List

We hate spams like you do

Satire

Latest

“การที่เมืองมีศูนย์การเรียนรู้สำหรับเด็กๆ เป็นเรื่องดีมากๆ แต่พออยู่ในรูปแบบที่เป็นทางการ เด็กบางคนก็อาจไม่อยากไป เราจึงคิดวิธีการที่จะทำให้พื้นที่เรียนรู้กลมกลืนไปกับการพักผ่อน ทำให้เป็นกิจกรรมการเล่นของพวกเขา”

“ในโครงการวิจัยเมืองแห่งการเรียนรู้กาฬสินธุ์ เรารับผิดชอบในการออกแบบกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่การเรียนรู้ของโครงการ โดยพื้นที่เรียนรู้ที่ว่า คือ ‘ตลาดสร้างสุข’ ซึ่งจัดขึ้นทุกวันอังคารบนถนนรอบอาคารศาลากลางหลังเก่า หรือหอศิลป์เมืองกาฬสินธุ์ ตลาดนี้ (ตลาดสร้างสุข) เป็นโครงการที่ทีมวิจัยของเราต่อยอดมาจาก ‘ตลาดนัดเด็กดี’ ซึ่งเป็นพื้นที่การเรียนรู้ภายในตลาดเมืองเก่าย้อนเวลา ณ ชุมชนเมืองกาฬสินธุ์ ในปี 2564 เพราะตลาดหรือถนนคนเดินคือพื้นที่จับจ่ายใช้สอยและผ่อนคลายสำหรับทุกคนในครอบครัว เราจึงเห็นว่าควรหนุนเสริมพื้นที่กิจกรรมให้เด็กๆ ที่มากับผู้ปกครอง รวมถึงวัยรุ่นได้มีสถานที่ให้พบปะและทำกิจกรรมในเชิงสร้างสรรค์ พอมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ได้งบประมาณจาก บพท.

“แม่อยากเห็นคนรุ่นใหม่กลับมาที่บ้านกันเยอะๆ ค่ะ แต่ก็เข้าใจได้ เพราะเมืองเราขนาดเล็ก ถ้าไม่ได้ทำราชการ หรือมีธุรกิจส่วนตัว พวกเขาก็ไม่รู้จะกลับมาทำอะไร”

“พื้นเพแม่เป็นคนอำเภอสหัสขันธ์เดิม แต่ก่อนอำเภอแม่น้ำท่วมบ่อยมาก ก็เลยมีการย้ายตัวอำเภอมาอยู่บริเวณอุทยานไดโนเสาร์ในปัจจุบัน ส่วนแม่ก็ย้ายบ้านเหมือนกัน เพราะได้แฟนเป็นคนอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จึงย้ายมาอยู่ที่นี่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 แม่เป็นประธานชุมชนทุ่งสระ ทำธุรกิจรับทำโต๊ะจีน และทำกับข้าวตามงานหรือพิธีต่างๆ นอกจากนี้ก็ยังรับจ้างเทศบาลกวาดถนนด้วย จะกวาดสองรอบต่อวันคือช่วงเช้าและเย็น แม่กวาดเอง แต่ถ้าวันไหนมีงานที่ต้องทำอาหาร ก็จะจ้างให้คนอื่นมากวาดแทน ก่อนหน้านี้แม่ทำงานโรงพยาบาลเอกชนในเมืองนี่แหละ ทำมา 20 กว่าปีแล้ว ต่อมาก็ทำงานกับนักการเมืองท้องถิ่นท่านหนึ่ง จนท่านเสียชีวิต

“ไม่ว่าเทคโนโลยีจะรุดหน้าไปมากเท่าไหร่ แต่บทบาทของวัดกลาง ก็ยังคงเป็นศูนย์กลางทางจิตใจของชาวเมืองกาฬสินธุ์”

“วัดกลาง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งอยู่ในย่านเมืองเก่ากาฬสินธุ์ และเป็นวัดประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ วัดแห่งนี้สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2378 ปีนี้ก็ 179 ปีแล้ว แม้ไม่ปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนถึงผู้สร้าง แต่ดูจากศิลปกรรมแล้ว เข้าใจว่าช่างกลุ่มลาวเป็นคนสร้างวัดนี้ขึ้น วัดนี้มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่คู่กับเมืองหลายสิ่ง โดยเฉพาะรอยพระพุทธบาทจำลองแก่งสำโรง และพระพุทธสัมฤทธิ์นิรโรคันตราย หรือหลวงพ่อองค์ดำ พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองกาฬสินธุ์ อาตมาไม่ทราบว่ารอยพระพุทธจำลองนี้มีอายุเท่าไหร่แล้ว แต่นักโบราณคดีเขาสันนิษฐานกันว่าสร้างตั้งแต่สมัยขอม ยุคก่อนจะมีเมืองกาฬสินธุ์ แต่เดิมมีการพบรอยพระพุทธบาทนี้อยู่ใกล้กับแก่งสำโรง

“จากที่คิดว่าเราไม่มีอะไรผูกพันกับกาฬสินธุ์ แต่พอได้ย้ายมาทำงานที่นี่ ผ่านมา 25 ปีแล้ว ครูก็แทบไม่มีความคิดจะย้ายไปสอนที่ไหนอีกเลย”

“ครูเป็นคนอำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ค่ะ อำเภอห้วยเม็กอยู่ด้านตะวันตก ชายขอบสุดของจังหวัด ติดกับอำเภอชื่นชมของจังหวัดมหาสารคาม ความที่สมัยก่อน รถสาธารณะยังไม่ได้ครอบคลุมเส้นทางเหมือนทุกวันนี้ ครูเลยเลือกเรียนมัธยมที่โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม ในอำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเดินทางจากบ้านเราไปสะดวกกว่าในตัวอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ก่อนจะไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย จึงกลายเป็นว่า แม้เราเกิดที่กาฬสินธุ์ แต่ก็ไม่ได้มีความทรงจำหรือประสบการณ์อะไรเกี่ยวกับเมืองนี้สักเท่าไหร่ อย่างไรก็ตาม หลังเรียนจบ ครูก็ดันสอบบรรจุได้ที่โรงเรียนเทศบาล 2 วัดสว่างคงคา อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ในปี 2541

“อาคารหอศิลป์หลังนี้เป็นภาพสะท้อนของความร่วมมือของคนกาฬสินธุ์ ที่ไม่ใช่แค่มาจากหน่วยงานรัฐฝ่ายเดียว”

“พิพิธภัณฑ์ของดีเมืองกาฬสินธุ์ตั้งอยู่บนชั้น 2 ของอาคารศาลากลางหลังเก่า ซึ่งปัจจุบันได้รับการพัฒนาเป็นหอศิลป์เมืองกาฬสินธุ์ แต่เดิมพิพิธภัณฑ์นี้เป็นของสำนักงานจังหวัดฯ มีสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดดูแลตรงนั้น กระทั่งมีการย้ายศาลากลางไปอยู่นอกเมือง จึงมีการถ่ายโอนพิพิธภัณฑ์ให้มาอยู่ในความดูแลของเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ในปี 2563 ก่อนที่เทศบาลฯ จะร่วมมือกับเครือข่ายภาคประชาชนจัดตั้งหอศิลป์เมืองกาฬสินธุ์ที่บริเวณชั้นล่าง และเปิดทำการมาถึงปัจจุบัน หอศิลป์เมืองกาฬสินธุ์เปิดก่อนโควิด-19 ไม่นาน จึงไม่เป็นที่รับรู้ของคนส่วนใหญ่เท่าไหร่ จนสถานการณ์เริ่มซา ทางมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์เขาก็มาร่วมกับเทศบาลฯ เพื่อทำวิจัยเรื่องพื้นที่การเรียนรู้ และใช้หอศิลป์กับพิพิธภัณฑ์ของดีเมืองกาฬสินธุ์ของเราเป็นศูนย์กลาง จึงมีกิจกรรมต่างๆ จัดขึ้นเรื่อยมา โดยเฉพาะการย้ายถนนคนเดินจากย่านเมืองเก่ามาตั้งอยู่รอบอาคารหอศิลป์โดยจัดขึ้นทุกเย็นวันอังคาร

“โรงเรียนเราให้ความสำคัญกับการเรียนรู้นอกห้องเรียนอยู่แล้ว แต่เมื่อมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์เข้ามาทำโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ เราจึงขยายการเรียนรู้ไปสู่นอกรั้วโรงเรียน ในตัวเมืองกาฬสินธุ์ด้วย”

โรงเรียนเทศบาล 1 กาฬสินธุ์พิทยาสิทธิ์ เปิดทำการสอนระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 มีนักเรียนประมาณ 1,200 คน ข้อได้เปรียบของโรงเรียนเราคือ ทำเลที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง ตรงข้ามโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ โรงพยาบาลประจำจังหวัด และรายล้อมด้วยสถานที่สำคัญๆ ของเมือง เช่น อนุสาวรีย์พระยาชัยสุนทร หอศิลป์เมืองกาฬสินธุ์ พิพิธภัณฑ์ของดีเมืองกาฬสินธุ์ และอื่นๆ นี่จึงเป็นสิ่งแวดล้อมที่ดีเยี่ยมสำหรับให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้เมืองของตัวเอง นอกจากทำเลที่ตั้ง โรงเรียนเรายังมีจุดเด่นเรื่องศิลปะและดนตรี

“ความเงียบสงบของกาฬสินธุ์ทำให้คนอยู่มีสุขภาพจิตดีไปด้วย”

“พี่ทำงานกองสวัสดิการสังคม เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ บทบาทคือการฝึกอบรมและส่งเสริมอาชีพให้ชาวบ้านในเขตเทศบาล เนื่องจากทางมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ทำโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ร่วมกับทางเทศบาล พี่เลยได้รับมอบหมายให้ช่วยประสานงานในโครงการย่อยที่ 1 เรื่องข้อมูลพื้นฐานของชุมชนในเขตเทศบาล ว่าแต่ละชุมชนมีความสัมพันธ์กันอย่างไร จุดเด่น จุดด้อย รวมถึงของดีของชุมชนที่สามารถนำมาต่อยอดเป็นพื้นที่การเรียนรู้ และก็เพราะพี่ทำงานตรงนี้ จึงพบว่าหลายชุมชนต่างมีผลิตภัณฑ์ วิถีชีวิต ไปจนถึงศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ชัดเจน ที่ไม่เพียงจะต่อยอดด้วยการนำหลักสูตรการเรียนรู้ไปพัฒนาพื้นที่ แต่ยังสามารถนำผลผลิตนั้นๆ มาจำหน่ายได้ นั่นจึงเป็นที่มาของตลาดสร้างสุข ถนนคนเดินในรูปแบบตลาดวัฒนธรรม ซึ่งจัดขึ้นบริเวณรอบหอศิลป์เมืองกาฬสินธุ์ทุกวันอังคารและพฤหัสบดี กลายเป็นว่าตอนนี้เมืองเรามีพื้นที่การเรียนรู้ที่สามารถแบ่งออกได้ถึง

ถึงจะบอกว่าเป็นบ้านหลังสุดท้าย แต่ทุกวันนี้ลุงโชแกก็ยังมีไอเดียจะพัฒนาพื้นที่ตรงนี้อีกเยอะ ท่าจะเหนื่อยน่าดู แต่นั่นล่ะ เห็นแกมีความสุข ป้าก็ดีใจ

“ราว 30 ปีที่แล้ว ป้าตามลุงโช (โชฎึก คงสมของ) ไปทำงานที่กรุงเทพฯ ลุงโชไปทำงานที่การบินไทย ส่วนป้าขายส้มตำและไก่ย่างด้วยรถเข็นคันเล็กๆ โดยเริ่มจากขายจากหน้าหมู่บ้าน อาศัยป้ายโฆษณาหมู่บ้านอันใหญ่เป็นที่วางรถเข็นและหลบแดด ช่วงแรกขายไม่ดี ท้อใจมาก ร้อนก็ร้อน ก็คิดจะเลิกขายแล้ว แต่พอผ่านไป 6 เดือน ลูกค้าบอกปากต่อปาก ทีนี้เลยมีคนมารุมซื้อเยอะมาก ก็เลยมีกำลังใจทำต่อ ป้าขายบนรถเข็นจนเก็บเงินได้ก้อนหนึ่ง

ผมปลื้มใจที่ได้จัดตลาดนัดที่ขับเคลื่อนโดยชุมชน ไม่ใช่เพราะเห็นพ่อค้าแม่ค้าขายดี แต่การได้เห็นคนกาฬสินธุ์ทุกเพศทุกวัยได้พักผ่อน สังสรรค์ร่วมกัน มันเป็นภาพที่ชื่นใจ

“หลายคนเข้าใจว่าการเป็นคนจัดตลาดจะต้องสวมเสื้อเชิ้ตผ้าลื่นๆ ถือกระเป๋าแบบอาเสี่ย และห้อยพระด้วยสร้อยทองเส้นโตๆ คอยเก็บเงินพ่อค้าแม่ค้าในตลาด ซึ่งจริงๆ ไม่ใช่เลยครับ (หัวเราะ) ผมก็แต่งตัวง่ายๆ เหมือนพ่อค้าทั่วไปแหละ ที่สำคัญ ผมเก็บค่าเช่าแผงแค่หลักสิบบาทเท่านั้น ผมเรียนจบการตลาดมา แต่ไม่เคยมีความคิดว่าจบมาจะเป็นคนจัดตลาดเลย หลังเรียนจบผมไปทำงานบริษัทอยู่พักใหญ่ จนรู้สึกอิ่มตัว เลยกลับกาฬสินธุ์มาช่วยธุรกิจที่บ้าน ครอบครัวผมทำฟาร์มออร์แกนิก ชื่อสวนจารุวรรณ Organic พอกลับมา ก็ได้มีโอกาสรู้จักกับทางสำนักงานพาณิชย์จังหวัด ซึ่งก็พอดีกับที่สำนักงานพาณิชย์ฯ

1 8 9 10 11 12 62

Recent Comments

No comments to show.

Follow

Instagram

This error message is only visible to WordPress admins

Error: No feed found.

Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.

Video