[ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม

สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม  ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง และการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบวิจัยของ บพท.  ปีนี้ ดร.ปุ่น ในบทบาทรองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับคณะทำงาน ได้ริเริ่มโปรแกรมวิจัยใหม่ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสมาคมเทศบาลนครและเมือง องค์กรที่เป็นดั่งหัวใจหลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำเมืองระดับท้องถิ่นครอบคลุมทั่วประเทศ กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ ที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเยือนอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี ภายหลังที่ บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในปี 2538 จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อแผนการทำร้อยเอ็ดให้น่าอยู่และน่าเที่ยวถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมือง ภูมิทัศน์ของเมืองร้อยเอ็ดค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทั้งการบูรณะบึงพลาญชัย การสร้างประตูเมืองจำลอง ‘สาเกตนคร’ ให้เป็นสัญลักษณ์และเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์คูเมืองโบราณให้น่ามองไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียว

THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP

  • LIVABLE & SMART CITY
  • LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
  • LEARNING CITY

Topics

Criticism

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

World

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Pandemic

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Finance

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Criticism

Join our Mailing List

We hate spams like you do

Satire

Latest

“ถ้าคุณไปเที่ยวเมืองไหน การมาเดินตลาดเช้าที่มีความดั้งเดิมของเมืองนั้น ก็จะทำให้คุณรู้จักเมืองนั้นได้ลึกซึ้งที่สุด”

“บ้านผมอยู่แถวตลาดเหนือ ซึ่งอยู่บริเวณวัดใหญ่ (วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร) สมัยเด็กๆ ยังทันเห็นตลาดในสภาพดั้งเดิม ที่พ่อค้าแม่ค้าจับปลาในแม่น้ำน่านขึ้นมาขาย มีผู้คนจากทั่วสารทิศนำของป่าและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรมาแบกะดินขาย เห็นวิถีชีวิตกึ่งชนบทกึ่งเมืองหมุนเวียนในตลาด อย่างไรก็ตาม เมื่อยุคสมัยเปลี่ยน ตลาดแห่งนี้ก็เปลี่ยนตาม ทุกวันนี้ตลาดเหนือก็เป็นตลาดในแบบที่เราเห็นได้ทั่วไปจากที่อื่นๆ ทั้งนี้ การได้มาเดินตลาดใต้ตอนเช้า จึงเป็นเหมือนได้เห็นตลาดใกล้บ้านที่ผมคุ้นเคยในอดีต เพราะตลาดแห่งนี้ยังคงรักษาความดั้งเดิมของตัวเองไว้ได้อย่างดีเยี่ยม และในฐานะที่ผมทำงานสำนักงานการท่องเที่ยวเทศบาลนครพิษณุโลก ซึ่งตลาดใต้ก็อยู่ในพื้นที่ดูแลของเราด้วย ผมจึงพร้อมประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการอนุรักษ์ไปพร้อมกับฟื้นฟูตลาดใต้ เมืองพิษณุโลก ให้ยั่งยืนไปกับยุคสมัย เพนพอยท์

“ไม่ใช่ย่านนี้ไม่มีคนอยู่นะครับ หลายบ้านเขาก็ยังอยู่ เพียงแต่เหลือแค่ผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ จึงปิดบ้านไว้เฉยๆ”

“บ้านหลังนี้สร้างปีเดียวกับที่ผมเกิดเลย ปีนี้เป็นปีที่ 49 ล่ะครับ สมัยก่อนเราเปิดเป็นร้านโชห่วย ขายดีมาก เพราะอยู่ใกล้ๆ กับโรงหนังกิตติกร ซึ่งเป็นโรงหนังที่ฉายหนังจีนเป็นหลัก ซึ่งก็สอดรับกับบรรยากาศของย่านตลาดใต้ดีที่เป็นย่านคนจีน จนโรงหนังปิดตัวลง ร้านโชห่วยก็เลิกตามไป ผมอยู่ตลาดใต้ตั้งแต่ยุคที่มีทั้งโรงหนัง โรงแรม ตลาดที่เปิดตั้งแต่เช้าจนค่ำ รวมถึงบางส่วนของย่านที่ยังเป็นป่ารก พอมาสมัยนี้ไม่เหลือป่ารกแล้ว โรงหนังถูกทุบทิ้งกลายเป็นทาวน์เฮ้าส์ ส่วนโรงแรมยังอยู่ (โรงแรมเทพประทาน) แต่ไม่ได้ถูกบูรณะอะไร ส่วนตลาดจะเหลือเพียงขายตอนเช้าเท่านั้น

“ทอดปาท่องโก๋ดูเหมือนง่ายๆ แบบนี้
แต่กว่าจะดูไฟเป็น มันต้องใช้ทั้งเวลาและประสบการณ์”

“ก่อนหน้านี้ผมเป็นพนักงานฉายหนังที่โรงหนังกิตติกรในตลาดใต้ สมัยที่เขายังพากย์เสียงอยู่นั่นแหละ หน้าที่ผมจะฉายฟิล์มจากห้องฉาย และเปิดเทปเสียงประกอบไปพร้อมกับที่นักพากย์พากย์หนังไป วันนึงหนังจะฉาย 4 รอบ ก็ดูเรื่องเดิมๆ ซ้ำๆ ประมาณ 10 วันแล้วค่อยเปลี่ยนเรื่องใหม่ ตอนนั้นได้ค่าแรงวันละ 50 บาท ก็โอเคอยู่ เพราะสมัยก่อนของยังราคาถูก และบ้านผมอยู่หลังศาลปุ่นเถ่ากง-ม่า เดินมาทำงานได้ ทำไปได้สักพักก็เริ่มมีอายุ ประกอบกับผมแต่งงานและเริ่มทำปาท่องโก๋ขายเป็นรายได้เสริม มีอยู่วันหนึ่ง

“ทวดพี่เคยเป็นทหารของซุนยัดเซ็น และเป็นเพื่อนกับเจียง ไคเชก ก่อนจีนกำลังจะแตก ทวดพี่จึงตัดสินใจอพยพมาเมืองไทย มาตั้งรกรากอยู่พิษณุโลก”

“ทวดพี่เคยเป็นทหารของซุนยัดเซ็น และเป็นเพื่อนกับเจียง ไคเชก สมัยนั้นจีนกำลังจะแตกเพราะสงครามกลางเมือง ผู้คนก็ต่างอพยพออกจากประเทศ เจียง ไคเชก ไปอยู่ไต้หวัน ส่วนทวดนั่งเรืออพยพมาอยู่เมืองไทย มาขึ้นฝั่งที่ย่านที่ทุกวันนี้คือตลาดใต้ เมืองพิษณุโลก สมัยที่ทวดพี่มาที่นี่เป็นยุคที่คนจีนอพยพมาประเทศไทยกันมากที่สุด รวมถึงเมืองพิษณุโลก มาถึงท่านก็ทำหลายอย่างจนเก็บเงินตั้งตัวเปิดร้านขายของได้ สมัยก่อนทวดชื่อ เตียก้ำชอ ยังไม่ได้สัญชาติไทย กระทั่งในหลวง รัชกาลที่ 5 เสด็จมาพิษณุโลก ทวดท่านก็รวบรวมพ่อค้าชาวจีนในตลาดมาตั้งซุ้มขบวนรับเสด็จ

“หลายคนอาจยังไม่ทราบว่านอกจากกล้วยตาก พิษณุโลกยังมีหมี่ซั่วที่อร่อยและขึ้นชื่อมาก เส้นของเขาจะนุ่ม ผัดแล้วไม่เละ”

“อากงของผมเป็นคนจีนแต้จิ๋วที่อพยพมาตั้งรกรากที่พิษณุโลก เริ่มจากเป็นจับกังที่ท่าเรือ และได้เป็นผู้ช่วยกุ๊กที่รถเสบียง นั่นทำให้อากงได้เจอกับอาม่าที่เป็นลูกของเจ้าของร้านขายยาแผนโบราณที่ลำปาง อากงก็แต่งงานและพากลับมาที่พิษณุโลก โดยเปิดร้านขายของชำชื่อ ซุ่นฮะฮวด อาม่าเป็นคนมีต้นทุนเรื่องการทำอาหารและสมุนไพรจีน ก็ถ่ายทอดให้แม่ผมต่อมา โดยอาม่าเคยเปิดร้านอาหารเล็กๆ อยู่พักหนึ่ง แต่รุ่นพ่อกับแม่ผมทำร้านโชห่วยและไปได้ดี เลยไม่ได้คิดถึงการเปิดร้านอาหารเลย พวกเราเป็นรุ่นสามของบ้าน ธุรกิจแรกๆ ก็ราบรื่นดีครับ โดยนอกจากขายของหน้าร้าน เราก็ได้ส่งวัตถุดิบประกอบอาหารให้ตามภัตตาคารและโรงแรมทั่วเมืองพิษณุโลก จนกระทั่งมาปี 2540 เจอวิกฤตฟองสบู่ ธุรกิจโรงแรมเลยเจ๊งกันระนาว

“ผมโตมาได้ก็เพราะร้านแกงของแม่ จะบอกว่าโตมาในตลาดใต้นี้ก็ได้ เพราะเด็กๆ ก็ตามแม่มาขาย”

“ยายผมเริ่มขายก่อน แล้วแม่ก็มาขายต่อ ขายอยู่ที่เดิมในตลาดใต้ตอนเช้ามา 50 กว่าปีแล้วครับ ขายตั้งแต่ 7 โมงเช้า ประมาณ 9 โมงก็หมด วันธรรมดาจะทำแกงมา 4 อย่าง ส่วนเสาร์-อาทิตย์ ลูกค้าเยอะก็จะทำมา 6-7 อย่าง เป็นกับข้าวตำรับโบราณ พวกแกงขี้เหล็ก แกงบอน แกงบวบ

“เจ๊มีความสุขนะที่เห็นลูกค้ามากินแล้วบอกอร่อย ก็มักจะกำชับลูกค้าว่าอย่าทิ้งไว้นาน เดี๋ยวเต้าหู้ไม่กรอบ”

“แม่เจ๊เคยขายก๋วยเตี๋ยวตอนเช้า และตอนบ่ายก็ขายเต้าหู้ทอดที่ตลาดเช้ามาก่อน แต่เขาเสียชีวิตไปแล้ว พอดีกับลูกเจ๊เรียนจบและทำงานในกรุงเทพฯ กันหมด เจ๊ก็เลยกลับมาอยู่บ้านที่พิษณุโลก และเช่าล็อคขายขนมปังหน้าหมู เผือกทอด เต้าหู้ทอด โดยประยุกต์สูตรของแม่มาอีกทีหนึ่ง ขายอยู่ตลาดใต้ฝั่งริมน้ำน่าน ขายมา 10 กว่าปีแล้ว ปกติก็ออกจากบ้านตี 4 เกือบตี 5 จัดร้านเสร็จ 7 โมงเช้า ขายถึงสัก

“ข้อดีของวัฒนธรรมจีนก็คือ การส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นที่ไม่เฉพาะแค่ด้านการบริหารกิจการของตัวเอง แต่ยังรวมถึงบทบาทในงานทางสังคมต่างๆ”

“พิษณุโลกเป็นเมืองที่มีคนไทยเชื้อสายจีนอยู่มากที่สุดเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ รองจาก กรุงเทพฯ ภูเก็ต และนครสวรรค์ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าความเจริญย่านใจกลางเมือง บริเวณหอนาฬิกาเรื่อยไปถึงหน้าศูนย์การค้าท็อปแลนด์ ส่วนหนึ่งก็มาจากการบุกเบิกของลูกหลานชาวจีนที่บรรพบุรุษของพวกเขาเข้ามาตั้งรกรากที่นี่ และเพราะมีลูกหลานชาวจีนอยู่มาก กลุ่มพ่อค้าชาวจีนในพิษณุโลกจึงก่อตั้งโรงเรียนสิ่นหมิน บนถนนบรมไตรโลกนาถขึ้น โดยแต่เดิมใช้ชื่อว่าโรงเรียนแชมิน เปิดทำการสอนครั้งแรกในปี พ.ศ. 2465 ปัจจุบันโรงเรียนมีอายุ 101 ปี จนทุกวันนี้ โรงเรียนก็ยังเปิดสอนภาษาไทยและจีนควบคู่การเรียนวิชาสามัญ โดยเน้นการบริการการศึกษาแก่ชุมชนเป็นหลัก

“ถ้าตลาดไนท์บาซาร์ได้รับการปรับปรุงแล้วเสร็จ ที่นี่จะกลายเป็นจุดขายแห่งใหม่ให้กับเมืองเราได้อย่างดีเยี่ยม”

“พิษณุโลกเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของภาคเหนือตอนล่างมาแต่ไหนแต่ไร และเพราะเหตุนี้ แต่เดิมพื้นที่ย่านใจกลางเมืองที่อยู่ในความดูแลของเทศบาลนครพิษณุโลกจึงมีความคึกคัก ทั้งการเป็นแหล่งจับจ่ายใช้สอย รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในฐานะที่ตั้งของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร พระราชวังจันทน์ ไปจนถึงวัดเก่าแก่และพิพิธภัณฑ์อื่นๆ นอกจากนี้ พื้นที่ดังกล่าวยังเป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการที่มีมากถึง 300 กว่าหน่วย นั่นทำให้แม้ในช่วงโควิดที่ผ่านมา เมืองจะไม่มีนักท่องเที่ยวเข้า แต่เศรษฐกิจส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่ภาคบริการการท่องเที่ยวจึงยังพอไปรอด เพราะยังมีการจับจ่ายใช้สอยของพนักงานราชการและพนักงานบริษัทเอกชนหมุนเวียนอยู่ อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดที่กล่าวมานี้กำลังจะเปลี่ยนไป เพราะอย่างที่ทราบกันว่าปัจจุบันมีการขยายตัวเมืองออกไปรอบนอกกันมากขึ้น ย่านเศรษฐกิจกระจายออกไปนอกเขตเทศบาล รวมถึง แผนการที่จะย้ายศูนย์ราชการออกไปนอกเมือง ซึ่งนั่นจะสร้างผลกระทบแก่เราโดยตรงในอนาคต

1 10 11 12 13 14 62

Recent Comments

No comments to show.

Follow

Instagram

This error message is only visible to WordPress admins

Error: No feed found.

Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.

Video