[ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม

สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม  ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง และการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบวิจัยของ บพท.  ปีนี้ ดร.ปุ่น ในบทบาทรองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับคณะทำงาน ได้ริเริ่มโปรแกรมวิจัยใหม่ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสมาคมเทศบาลนครและเมือง องค์กรที่เป็นดั่งหัวใจหลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำเมืองระดับท้องถิ่นครอบคลุมทั่วประเทศ กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ ที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเยือนอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี ภายหลังที่ บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในปี 2538 จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อแผนการทำร้อยเอ็ดให้น่าอยู่และน่าเที่ยวถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมือง ภูมิทัศน์ของเมืองร้อยเอ็ดค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทั้งการบูรณะบึงพลาญชัย การสร้างประตูเมืองจำลอง ‘สาเกตนคร’ ให้เป็นสัญลักษณ์และเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์คูเมืองโบราณให้น่ามองไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียว

THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP

  • LIVABLE & SMART CITY
  • LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
  • LEARNING CITY

Topics

Criticism

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

World

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Pandemic

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Finance

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Criticism

Join our Mailing List

We hate spams like you do

Satire

Latest

“คนอื่นเขาไม่สนใจหรอกว่าเมืองเรามีอะไร เขาสนใจว่าเมืองเราจะให้อะไรกับเขามากกว่า”

“สำหรับพี่ พิษณุโลกเป็นเมืองเสน่ห์หลบในน่ะ… คือมันเป็นเมืองที่มีเสน่ห์นะ แต่คุณจะไม่มีทางพบเจอ ถ้าเพียงแค่มองผ่านๆ ถ้าให้เปรียบก็เหมือนผู้หญิงคนหนึ่งที่หน้าตาอาจไม่ได้สวยเด่นอะไร แต่พอคุณได้นั่งคุย ได้ทำความรู้จัก ผู้หญิงคนนี้อาจมีเสน่ห์มากไปกว่าผู้หญิงสวยๆ หลายคนเสียอีก แต่ก็เพราะเมืองเรามันเป็นเมืองเสน่ห์หลบในแบบนี้ ความท้าทายของคนที่ทำงานที่เกี่ยวกับเมือง คือการสื่อสารเสน่ห์ของเมืองเมืองนี้ออกไปให้คนอื่นๆ ได้รู้จัก ในฐานะที่พี่เป็นเจ้าของบริษัท พาวเวอร์พลัสครีเอชั่น จำกัด ซึ่งทำงานด้านการจัดอีเวนท์และสัมมนาในเมืองพิษณุโลก รวมถึงทำงานหอการค้าจังหวัดพิษณุโลกมาหลายปี พี่พอจะถอดดีเอ็นเอของเมืองเมืองนี้มาได้ 4 เรื่องด้วยกัน

ศักยภาพที่มากไปกว่าตลาด
ทอดน่องชมตลาด และสนทนากับ
ธนวัฒน์ ขวัญบุญ หัวหน้าโครงการ “ย่านเก่าเล่าเรื่อง” เมืองเรียนรู้ตลอดชีวิต เทศบาลนครพิษณุโลก

WeCitizens นัดหมาย อาจารย์ธนวัฒน์ ขวัญบุญ หัวหน้าภาควิชาการท่องเที่ยว คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร ให้มาพบกันที่ตลาดใต้ พิษณุโลก ตอน 9 โมงเช้า แต่ทันทีที่เราบอกเวลา อาจารย์ก็รีบตอบกลับมาว่า 9 โมงเช้าตลาดก็เริ่มวายแล้ว นั่นหมายถึงเราจะพลาดอะไรดีๆ ไปเยอะ “ตลาดใต้เป็นตลาดเช้าครับ และเช้าของที่นี่คือตั้งแต่พระอาทิตย์ยังไม่ขึ้นด้วยซ้ำ”

“ถ้าหน่วยงานท้องถิ่นมีอำนาจและอิสระพอจะจัดการเมืองของตัวเองให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้คน มันจะย้อนกลับมาที่ภาคประชาชน ในการทำให้พวกเขาแอคทีฟกับเมืองของตัวเอง”

“ผมเกิดลำปาง เรียนกรุงเทพฯ และย้ายมาเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม สอนที่นี่มาได้ 11 ปีแล้ว โดยซื้อบ้านอยู่กับภรรยาที่สอนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ผมกับภรรยามีลูกแฝด 2 คน ตอนนี้ทั้งคู่เข้าเรียนที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร พวกเขาเกิดและโตที่นี่ จะบอกว่าครอบครัวเราเป็นคนพิษณุโลกแล้วก็ได้ ความที่ผมสอนคณะครุศาสตร์ ผมจึงสนใจด้านการศึกษาและพื้นที่การเรียนรู้เป็นพิเศษ ซึ่งถ้าถามถึงเมืองพิษณุโลก แน่นอน เรามีสถาบันการศึกษาที่พร้อมในทุกระดับ แต่ในแง่มุมของพื้นที่การเรียนรู้ เมืองเรายังขาดอยู่มาก ถามว่าเมืองมีพื้นที่การเรียนรู้ไหม ตอบว่ามีครับ…

“มันอาจไม่ได้ดังระดับไวรัล แต่แค่สื่อที่เราทำช่วยสร้างความหมายให้กับคนในย่าน เท่านั้นก็ประสบความสำเร็จมากแล้ว”

“ก่อนหน้าที่จะทำโครงการ ย่านเก่าเล่าเรื่อง เมืองเรียนรู้ตลอดชีวิต นักศึกษาในสาขาของอาจารย์ (นิเทศศาสตร์) ได้ลงพื้นที่ตลาดใต้ พิษณุโลก เพื่อทำสื่อการท่องเที่ยวประกวดในโครงการของธนาคารไทยพาณิชย์และได้รางวัลชนะเลิศกลับมา ตอนนั้นโครงการเราทำคลิปวิดีโอ และทำป้ายสื่อสารพร้อม QR Code เพื่อบอกเล่าถึงความสำคัญตามแลนด์มาร์คต่างๆ ของพื้นที่ตลาดใต้และตลาดเจริญผล โครงการดังกล่าวมีอาจารย์ธนวัฒน์ ขวัญบุญ จากภาควิชาการท่องเที่ยวมาเป็นที่ปรึกษา ซึ่งต่อมาอาจารย์ธนวัฒน์ ได้รับทุนจาก สกสว. มาทำโครงการย่านสร้างสรรค์ที่ตลาดใต้เมื่อปี 2562

“ขนาดผมเป็นคนพิจิตร ซึ่งเจริญน้อยกว่าพิษณุโลก ยังไม่มีตลาดเช้าที่มีกลิ่นอายแบบนี้หลงเหลืออยู่เลย”

“ในงานวิจัยเมืองแห่งการเรียนรู้ ย่านเก่าเล่าเรื่อง ตลาดใต้ พิษณุโลก ผมรับหน้าที่เป็นทีมนักวิจัยในโครงการย่อยที่ 2 สื่อนวัตกรรมการเรียนรู้เมืองท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ มีอาจารย์อรวรรณ (ดร.อรวรรณ ศิริสวัสดิ์ อภิชยกุล) เป็นหัวหน้าโครงการ โดยผมรับผิดชอบในการจัดการข้อมูลสารสนเทศที่จะเผยแพร่ทางออนไลน์ ทั้งเพจเฟซบุ๊ค WordPress รวมถึง E-book จริงๆ ผมเป็นคนติดตามคอนเทนต์ออนไลน์อยู่แล้วครับ โดยเฉพาะคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับเมืองหรือชุมชน อย่างไรก็ตาม ที่ประทับใจโครงการตลาดใต้ซึ่งผมมีส่วนร่วมนี้ก็คือ ในขณะที่คอนเทนต์ออนไลน์ส่วนใหญ่มักจะมาจากการที่สื่อมวลชนที่เป็นคนนอกเข้าไปเก็บข้อมูลมาเผยแพร่

“พวกป้าทำงานแบบนี้มาสี่สิบกว่าปีแล้ว ไม่เบื่อหรอก เพลินดี ทำงานกับพระแล้วมีสมาธิ มีความสุข”

ป้ายับ (พยับ สิงห์ราม) ทำงานที่นี่มา 40 กว่าปีแล้ว มาทีหลังป้าเล็ก (ทับทิม พัดจั่น) ที่มาทำงานก่อนหลายปี ตอนนั้นเรียนจบมาแล้วว่างงาน โรงหล่อพระบูรณะไทยของจ่าทวีเขากำลังหาคนงานโรงหล่อพระอยู่ ก็เลยมาสมัคร สมัยก่อนจ่าทวีแกสอนงานป้าเล็กเองเลย ป้าได้ค่าแรงวันละ 9 บาท ส่วนป้าเล็กมีประสบการณ์จะได้วันละ 15 บาท เดือนนึงป้าจะได้ประมาณเดือนละ 270

“ไหบางใบที่รูปทรงบิดเบี้ยว คนอื่น
อาจมองว่ามันใช้งานไม่ได้ ไม่มีประโยชน์ แต่คนเล่นของเก่าเขาจะมองว่ามันสวยงามจากความผิดพลาดระหว่างเผา แถมยังมีแค่ใบเดียวด้วย”

“ผมเป็นคนฝั่งธนบุรี จำได้ว่าสมัยตอนเป็นเด็ก มันมีตึกร้างแถวบ้านโดนน้ำท่วม หลังจากน้ำลดแล้ว ผมกับเพื่อนก็เข้าไปหาของเก่าที่เหลือในตึกนั้น เมื่อก่อนตึกนั้นเคยเป็นบ่อนการพนันของคนจีน ก็เลยเจอ ‘ปี้’ ที่มีลักษณะเหมือนกระเบื้องที่นายบ่อนใช้แทนเงินสมัยก่อน รวมถึงเศษสตางค์ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 7 ไปจนถึงเงินพดด้วง เห็นแล้วแปลกตาดีเลยเก็บไว้ ซึ่งก็มีเถ้าแก่คนจีนมาหลอกเอาขนมมาแลกด้วยนะ ผมก็ยอมแลกเพราะอยากกินขนม มารู้ทีหลังว่าของที่เราเก็บได้มันมีค่ากว่าขนมเยอะ (หัวเราะ) หลังเรียนจบผมย้ายมาทำงานการไฟฟ้าที่จังหวัดพิษณุโลกราวปี พ.ศ. 2513 ความที่เราชอบเก็บชอบดูของเก่าตั้งแต่เด็ก พอมีรายได้

“อาคารทุกหลังในตลาดใต้ถูกสร้างหลังยุค 2500 ทั้งหมดเป็นอาคารโมเดิร์นชุดแรกในเมืองพิษณุโลกซึ่งยังคงถูกใช้งานมาจนถึงทุกวันนี้”

“ย่านตลาดใต้ พิษณุโลก เป็นหนึ่งในอีกหลายๆ ย่านเก่าในเมืองต่างจังหวัดทั่วประเทศที่กำลังเผชิญปรากฏการณ์ Gentrification หรือภาวะที่คนรุ่นใหม่ทยอยกันย้ายออกไปทำมาหากินนอกเมือง พื้นที่จึงเหลือแต่คนชรากับธุรกิจเดิมๆ ที่ขาดการสานต่อ และนั่นทำให้ย่านค่อยๆ ตายลง ผมมีโอกาสร่วมกับทีมของอาจารย์ธนวัฒน์ ขวัญบุญ, ดร.อรวรรณ ศิริสวัสดิ์ อภิชยกุล และ ผศ.ดร.อุดมพร ธีระวิริยะกุล ทำวิจัยโครงการย่านสร้างสรรค์ที่ตลาดใต้ พิษณุโลก โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก สกสว.

“ความที่ชุมชนตลาดใต้อยู่ติดกับแม่น้ำน่านซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมหลักเมื่อครั้งอดีต ตลาดแห่งนี้จึงมีประวัติศาสตร์ที่ย้อนไปไกลถึงรัชกาลที่ 3 หรือกว่าสองร้อยปีมาแล้ว”

“เวลาพูดถึงเรื่องประวัติศาสตร์เมืองพิษณุโลก หลายคนจะคิดถึงสมเด็จพระนเรศวร พระพุทธชินราช หรือประวัติศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับรัฐชาติ ที่มักปรากฏในแบบเรียน หรือถ้าลงลึกไปอีกด้วยการไปถามคนเฒ่าคนแก่ ส่วนใหญ่พวกเขาจะนึกถึงอยู่เหตุการณ์เดียว คือเหตุการณ์ไฟไหม้ครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2500 เพราะนี่เป็นเหตุการณ์ที่อยู่ในความทรงจำผู้คนจำนวนมาก เวลาไปร้านอาหารดังๆ ร้านไหนในเมือง ก็จะเห็นรูปเหตุการณ์แขวนประดับไว้เป็นที่ระลึก   อย่างไรก็ตาม พิษณุโลกไม่ได้มีแค่สิ่งเหล่านี้เท่านั้น เพราะอย่าลืมว่าพัฒนาการของเมืองตลอดหลายร้อยปีที่ผ่านมาเกิดขึ้นจากผู้คน โครงการวิจัยเรื่องเมืองแห่งการเรียนรู้พิษณุโลกที่เราทำในพื้นที่ตลาดใต้ จึงเป็นเหมือนความพยายามถ่ายทอดความเป็นมาและเป็นไปของย่านย่านนี้ เชื่อมร้อยไปกับภาพรวมของเมือง

1 11 12 13 14 15 62

Recent Comments

No comments to show.

Follow

Instagram

This error message is only visible to WordPress admins

Error: No feed found.

Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.

Video