สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง และการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบวิจัยของ บพท. ปีนี้ ดร.ปุ่น ในบทบาทรองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับคณะทำงาน ได้ริเริ่มโปรแกรมวิจัยใหม่ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสมาคมเทศบาลนครและเมือง องค์กรที่เป็นดั่งหัวใจหลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำเมืองระดับท้องถิ่นครอบคลุมทั่วประเทศ กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ ที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเยือนอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี ภายหลังที่ บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในปี 2538 จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อแผนการทำร้อยเอ็ดให้น่าอยู่และน่าเที่ยวถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมือง ภูมิทัศน์ของเมืองร้อยเอ็ดค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทั้งการบูรณะบึงพลาญชัย การสร้างประตูเมืองจำลอง ‘สาเกตนคร’ ให้เป็นสัญลักษณ์และเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์คูเมืองโบราณให้น่ามองไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียว
THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP
- LIVABLE & SMART CITY
- LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
- LEARNING CITY
Topics
Criticism
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
World
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Pandemic
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Finance
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Criticism
Join our Mailing List
We hate spams like you do
Satire
Latest
“ก่อนมาสอนหนังสือ ผมทำงานเป็นนักออกแบบกราฟิกและแบบอักษร รวมถึงเป็นศิลปินอิสระที่กรุงเทพฯ แต่ทำไปทำมารู้สึกอิ่มตัว และพอดีที่บ้านอยากให้กลับมาด้วย บ้านผมอยู่อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ไม่ไกลจากพิษณุโลกเท่าไหร่ และความที่ผมเรียนปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยนเรศวร ก็เลยมาสมัครเป็นอาจารย์ที่นี่ เป็นงานที่แปลกใหม่ดี เพราะแต่ก่อนผมจะทำงานที่ค่อนข้างเป็นอิสระ ตั้งโจทย์ให้ตัวเองและสร้างมันออกมา หรือทำกับลูกค้ารายใดรายหนึ่งไปเรื่อยๆ แต่พอกลับมาสอนหนังสือ กลายเป็นว่าเราต้องทำตามโจทย์ของหลักสูตร รวมถึงตั้งโจทย์ให้นักศึกษามาทำ และที่ใหม่ที่สุด คือการทำงานวิจัยที่สอดคล้องไปกับชุมชน ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานศิลปะในพื้นที่สาธารณะตามชุมชนอยู่บ้าง แต่พอมาเป็นอาจารย์ ก็ต้องทำในกรอบวิชาการหรือถ้าเป็นงานวิจัยก็ต้องมีกระบวนการการมีส่วนร่วมกับชุมชนอย่างเป็นระบบ
“ผมเกิดและโตที่ย่านตลาดใต้ พิษณุโลก ในบ้านหลังนี้ ซึ่งเป็นบ้านที่สร้างมาตั้งแต่รุ่นทวดเมื่อราวปี พ.ศ. 2480 ชั้นล่างเคยเป็นร้านโชห่วย ชั้นบนใช้อยู่อาศัย ผมเป็นรุ่นที่ 4 ความที่ที่นี่เป็นที่อยู่อาศัยของครอบครัวผมมา 4 ชั่วรุ่น มันจึงเป็นมวลรวมของความทรงจำและวัฒนธรรมที่สั่งสมกันมา ผมเกิดในยุคที่รุ่นพ่อแม่เขาเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเต็มตัว คือ ตื่นเช้ามาพวกท่านก็เปิดร้าน ทำงานเลย ตกเย็นก็ปิดร้าน กินข้าว คุยกัน และเข้านอน
“ผมอยู่กับการออกแบบและก่อสร้างมาตั้งแต่เด็ก เพราะครอบครัวผมทำธุรกิจติดตั้งอลูมิเนียมและกระจกชื่อ เอสที อลูมิเนียม และนั่นทำให้พอเรียนจบกลับมาบ้าน ผมก็เลยเริ่มทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ด้วยความเชื่อที่ว่า ไม่ใช่แค่การทำอาคารหรือทำบ้านให้คนอื่นอาศัย แต่ถ้าเราทำที่อยู่อาศัยให้มั่นคงแข็งแรงและมีความสวยงาม จะช่วยทำให้ภูมิทัศน์เมืองในภาพรวมดูดีขึ้น และทำให้เมืองน่าอยู่ขึ้นได้ และจากความที่เป็นนายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์พิษณุโลก เมื่อมีผู้ประกอบการที่อยากเห็นบ้านเมืองดีขึ้นจนนำมาสู่การตั้ง บริษัท พิษณุโลกพัฒนาเมือง จำกัด ผมจึงได้รับการชักชวนให้เข้ามาเป็นคณะกรรมการ ซึ่งผมก็ยินดีอย่างมาก เพราะเรามีเป้าหมายเดียวกัน จากบทบาทแรกที่คอยประสานงานกับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ด้วยกัน ในการสร้างมาตรฐานการก่อสร้างให้ตอบโจทย์กับผู้คน รวมถึงช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเครือข่าย
“ผมทำบริษัททัวร์ต่างประเทศอยู่ที่กรุงเทพฯ ครอบครัวฝั่งพ่อเป็นคนพิษณุโลก ป้าไม่มีลูกหลาน พอป้าเสีย พ่อจึงรับช่วงดูแลตึกแถวหลายคูหาบนถนนสุรสีห์ก่อนถึงศาลเจ้าพ่อปุ่นเถ่ากง-ม่า ในย่านตลาดใต้ พิษณุโลก ก่อนจะมาเป็นรุ่นผม ความที่พ่อเป็นข้าราชการ แกจึงไม่ได้มองเรื่องการค้าขายอะไร จึงปล่อยตึกให้เขาเช่า บางส่วนก็ปิดไว้ ซึ่งความที่เรามีตึกติดกันหลายหลัง ผมเลยมีความคิดที่จะรีโนเวทเพื่อสร้างย่านการค้าที่มีลักษณะเฉพาะตัวร่วมกัน แต่ความที่งานที่ทำประจำอยู่ค่อนข้างรัดตัว จึงผัดวันประกันพรุ่งเรื่อยมา กระทั่งมีโควิด-19 นี่ล่ะครับ ที่ทำให้เราเดินทางออกนอกประเทศไม่ได้ ผมจึงเบรกบริษัททัวร์ และกลับมาเริ่มธุรกิจที่พิษณุโลก ผมเปิดร้านอาหารชื่อ
“ผมเป็นคนไทยเชื้อสายจีนรุ่นที่ 4 ตาทวดผมเป็นซินแสที่รับดูดวงและฮวงจุ้ย สมัยก่อนบ้านตาทวดอยู่ตรงตลาดเจริญผล จะซื้อหาอะไรก็เดินมาที่ตลาดใต้ ครอบครัวผมจึงผูกพันกับตลาดใต้แต่ไหนแต่ไร ตาทวดมีลูกทั้งหมด 15 คน อาม่าผมคือหนึ่งในนั้น ซึ่งน้องสาวอาม่า หรือลูกคนที่สิบของตาทวดคือ คุณมนสินีย์ วัฒนกุลชัย ประธานมูลนิธิประสาทบุญสถาน เป็นผู้ก่อตั้งศาลเจ้าพ่อเสือ เมื่อปี 2562 ที่ผ่านมา แต่เดิมตลาดใต้จะมีศาลเจ้าอยู่สองแห่ง คือศาลเจ้าปุ่นเถ่ากง-ม่า และศาลเจ้าแม่ทับทิมของชาวไหหลำ
“ผมย้ายมาอยู่พิษณุโลกปี 2530 มาเป็นผู้จัดการฝ่ายขายบริษัทขายรถแมคโคร รถตักดิน รถเกรดเดอร์ ทำอยู่เกือบ 10 ปี ก็ลาออกมาทำบริษัทของตัวเอง จนราว 5-6 ปีที่แล้ว รู้สึกอิ่มตัว จึงเคลียร์ธุรกิจเพื่อเกษียณ เป็นช่วงเวลาใกล้ๆ กันเนี่ย ทางสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทยเขาอยากสร้างเครือข่ายอสังหาริมทรัพย์ท้องถิ่น เขาก็ชวนผมไปให้คำปรึกษา ผมไม่เคยทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ แต่ความที่คลุกคลีอยู่กับการก่อสร้างและอยู่ในเครือข่ายนักธุรกิจของเมืองมานาน ไปๆ มาๆ ผมก็รับตำแหน่งที่ปรึกษาสมาคมอสังหาริมทรัพย์ของจังหวัดพิษณุโลก
“พี่เป็นคนพิจิตร มาเรียนมหาวิทยาลัยที่พิษณุโลก จบมาก็ไปทำงานกรุงเทพฯ อยู่พักหนึ่ง และมีครอบครัว มีลูกสองคน อยากให้ลูกกลับมาเรียนแถวบ้าน พี่เลยย้ายมาอยู่พิษณุโลก เพราะพี่มองว่านี่เป็นเมืองที่โรงเรียนมีมาตรฐานดี และมีบรรยากาศที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ของลูกๆ พี่เป็นแม่บ้านค่ะ สามีจะทำงานเป็นหลัก พอย้ายมาพิษณุโลก เราก็ทุ่มเวลากับการเลี้ยงลูก จนลูกคนโตสอบเข้าโรงเรียนจุฬาภรณ์ (โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก) ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำ พี่ก็เลยมีเวลาว่าง จึงคิดหางานเสริม พอดีกับมีเพื่อนมาบอกว่าศาลเจ้าปุ่นเถ่ากง-ม่าและศาลเจ้าพ่อเสือ ตรงตลาดใต้
“อาม่ามีธุรกิจขายอะไหล่รถชื่อเสรียนต์ อยู่แถวโรงพยาบาลพุทธชินราช ช่วงไหนที่ลูกค้าไม่เข้า เรานั่งว่างๆ ก็เลยหยิบกระดาษกับดินสอสีมาวาดรูป อาม่าเล่นคอมพิวเตอร์ไม่เป็นน่ะ พวกมือถือก็ตัวเล็กไปเลยไม่เล่น เลยฆ่าเวลาด้วยการวาดรูปจนกลายเป็นงานอดิเรก จนพออายุมาก ลูกหลานเขาก็ขอให้อาม่าไม่ต้องมาดูร้านแล้ว ให้กลับมาพักผ่อนอยู่บ้านที่ตลาดใต้ อาม่าว่างๆ ก็เลยวาดรูปเล่นบนกระดาษลัง และเอามาแขวนหน้าบ้าน และไปขอแขวนตั้งโชว์ตามหน้าบ้านที่เขาปิดไว้ ตลาดใต้เดี๋ยวนี้มันเงียบน่ะ อยากให้มีสีสัน มีอะไรดูบ้าง คนที่นี่เขาก็ชอบกันนะ และมารู้ทีหลังว่ามีวัยรุ่นถ่ายรูปเช็คอินลงอินเตอร์เน็ทด้วย อาม่าก็ดีใจ จริงๆ
“สมัยก่อนผมเป็นนักข่าวของหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ประจำจังหวัดพิษณุโลก ความที่หนังสือพิมพ์แต่ละวันมีจำนวนหน้าจำกัด และเมื่อสี่สิบกว่าปีที่แล้วยังไม่มีอินเตอร์เน็ท หลายข่าวที่ผมเขียนส่งไป บรรณาธิการไม่ได้เอาไปตีพิมพ์ ก็เลยเกิดเสียดาย ทั้งๆ ที่บางข่าวมันเป็นประโยชน์ต่อคนพิษณุโลก จึงตัดสินใจเปิดหนังสือพิมพ์เป็นของตัวเอง ชื่อว่า ประชามติ ผมเป็นสมาชิกของสภาหนังสือพิมพ์แห่งชาติอยู่แล้ว ก็ทำเรื่องไปขออบรมผู้บริหารสื่อระดับสูง เพื่อจะได้ออกมาทำหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น โดยทำเป็นรายปักษ์ ออกทุกวันที่ 1 และ 16 ของเดือน ตอนแรกผมก็ทำของผมคนเดียว
Recent Posts
- [ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม
- THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
- WeCitizens : The Concept
- WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด
- City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร
Recent Comments
Categories
Error: No feed found.
Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.