[ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม

สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม  ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง และการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบวิจัยของ บพท.  ปีนี้ ดร.ปุ่น ในบทบาทรองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับคณะทำงาน ได้ริเริ่มโปรแกรมวิจัยใหม่ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสมาคมเทศบาลนครและเมือง องค์กรที่เป็นดั่งหัวใจหลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำเมืองระดับท้องถิ่นครอบคลุมทั่วประเทศ กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ ที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเยือนอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี ภายหลังที่ บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในปี 2538 จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อแผนการทำร้อยเอ็ดให้น่าอยู่และน่าเที่ยวถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมือง ภูมิทัศน์ของเมืองร้อยเอ็ดค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทั้งการบูรณะบึงพลาญชัย การสร้างประตูเมืองจำลอง ‘สาเกตนคร’ ให้เป็นสัญลักษณ์และเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์คูเมืองโบราณให้น่ามองไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียว

THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP

  • LIVABLE & SMART CITY
  • LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
  • LEARNING CITY

Topics

Criticism

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

World

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Pandemic

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Finance

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Criticism

Join our Mailing List

We hate spams like you do

Satire

Latest

“ถ้าถามว่าเด็กรุ่นใหม่สมัยนี้ควรเรียนรู้อะไรให้มากๆ ป้าคิดว่าคือเรื่องบุญนิยมนะ ไม่ใช่ทุนนิยม”

ป้าเป็นคนตะเคียนเลื่อน (ตำบลตะเคียนเลื่อน อำเภอเมืองนครสวรรค์) ปลูกผักพื้นบ้านและทำเกษตรตามวิถีธรรมชาติมาหลายสิบปีแล้ว ป้าทำเพราะเห็นว่าเราปลูกอะไร เราก็กินแบบนั้น ก็เลยไม่ใช้เคมี เพราะเราไม่อยากกินเคมีเข้าไป ใช่แล้ว จะบอกว่าป้าทำมาก่อนที่จะเข้าใจเรื่องเกษตรปลอดภัยหรือเกษตรอินทรีย์ก็ได้ ถึงแม้ตอนหลังป้าอยากทำสวนป้าเป็นออร์แกนิก 100% แต่ก็พบว่ามีเงื่อนไขหลายประการที่ยังทำไม่ได้ ซึ่งก็ไม่เป็นไร เราทำเกษตรปลอดภัยที่เรามั่นใจกับผลผลิตเราได้ไปก่อน แล้วเดี๋ยวค่อยๆ ขยับต่อไป พอมารู้จักกฎบัตรนครสวรรค์ จะบอกว่าเจอเพื่อนร่วมอุดมการณ์เดียวกันก็ได้ เพราะได้รู้จักเครือข่ายเกษตรกรที่ทำอาหารปลอดภัยเหมือนเรา และเขาก็ช่วยหาตลาดให้ พร้อมสร้างแนวร่วมส่งเสริมอาหารปลอดภัยให้คนในเมืองได้กิน

“มันไม่มีทางเลยที่ห้างสรรพสินค้าหรือศูนย์ท่ารถจะโตฝั่งเดียว แต่ย่านการค้าและชุมชนโดยรอบไม่โตไปด้วยกัน เพราะถ้าเป็นเช่นนั้น อีกไม่นานย่านก็จะพบกับทางตัน”  

“ก่อนหน้านี้เคยแต่ขับรถผ่านครับ ผมเริ่มเข้ามาและรู้จักนครสวรรค์จริงๆ ในฐานะเป็นนักวิจัยของสมาคมการผังเมือง โดยช่วยอาจารย์ฐาปนา (ฐาปนา บุณยประวิตร เลขานุการกฎบัตรไทย) จัดตั้งคณะกรรมการกฎบัตรนครสวรรค์ และเริ่มโครงการสมาร์ทซิตี้ตั้งแต่ปี 2562 จากนั้นก็ทำโครงการที่เมืองนี้มาเรื่อยๆ จนปี 2564 เราได้รับการสนับสนุนจาก บพท. ทำโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ควบคู่กับสมาร์ทซิตี้ ผ่านรูปแบบการทำ Smart Block บริเวณศูนย์การค้า (สถานีขนส่งผู้โดยสาร จังหวัดนครสวรรค์)

“นครสวรรค์ไม่จำเป็นเมืองโดดเด่นหรือหวือหวาใดๆ ในอีกมุมผมมองว่าดีไม่ดี เมืองแห่งนี้มีความพร้อมเป็นต้นแบบของเมืองเกษตรสมัยใหม่ก็ได้”   

ในฐานะตัวแทนสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ DEPA ผมจึงได้รับเชิญจากทางกฎบัตรนครสวรรค์ให้เป็นที่ปรึกษาเรื่องการขับเคลื่อนเมืองในกรอบของสมาร์ทซิตี้ รวมถึงได้ไปบรรยายองค์ความรู้ต่างๆ ให้กับทางเทศบาลและเครือข่ายภาคประชาชน เมื่อเรามองเห็นความตั้งใจของผู้นำเมืองสักแห่งในการเป็นสมาร์ทซิตี้ สิ่งแรกที่ผู้นำหรือภาคส่วนต่างๆ ในเมืองต้องตอบให้ได้คือ แล้วประชาชนจะได้อะไรจากสิ่งนี้ ซึ่งคำตอบของผู้คนในแต่ละเมืองอาจจะคล้ายกันบ้าง แต่ด้วยบริบทหรือข้อท้าทายของแต่ละเมือง ความต้องการจึงไม่มีทางเหมือนกัน ผมอยู่กรุงเทพฯ ไม่มีทางรู้หรอกว่าคนนครสวรรค์กำลังเผชิญกับปัญหาอะไร คนที่รู้ดีคือผู้บริหารเมือง ซึ่งเป็นฝ่ายที่รับฟังเสียงของประชาชน และหาแนวทางในการแก้ปัญหา โดยทาง DEPA จะเข้าไปหนุนเสริมเรื่องการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีต่างๆ ผมก็ไปพูดเรื่องการคิดเชิงออกแบบ

“เอาจริงๆ การขับเคลื่อนเรื่องกฎบัตรของเมืองนครสวรรค์นี่เขาอยู่ในระดับเดียวกันกับหลายเมืองในยุโรปเลยนะครับ”

“สถาบันศึกษาการพัฒนาการประชาธิปไตย (Institute of Democratization Studies: iDS) เป็นพาร์ทเนอร์กับมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ (Konrad-Adenauer-Stiftung) ประเทศเยอรมนี มาร่วม 10 ปีแล้ว เรามีภารกิจเดียวกันคือการส่งเสริมกระบวนการกระจายอำนาจของท้องถิ่น และหาโซลูชั่นใหม่ๆ ในการพัฒนาประเทศตั้งแต่ระดับบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ในปี 2560 รัฐบาลไทยได้ทำกรอบการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ หรือ Smart

“สร้างเขื่อนปิดทางน้ำธรรมชาติ
การบุกรุกพื้นที่โดยรอบ บึงบอระเพ็ดจึงสูญเสียศักยภาพของการเป็นแหล่งธรรมชาติและแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์ลงไปอย่างน่าเศร้า”

“ผมเกิดนครสวรรค์ เรียนที่นี่อยู่พักหนึ่ง ก่อนไปเรียนและทำงานที่อื่น ความที่รู้จักคุ้นเคยกับ คุณสมศักดิ์ อรุณสุรัตน์ (ประธานสภาเทศบาลนครนครสวรรค์) ท่านเห็นว่าผมมีประสบการณ์ในการพัฒนาพื้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ก็เลยชวนผมมาเป็นที่ปรึกษา ร่วมวางผังและออกแบบแนวทางการพัฒนาพื้นที่เมืองนครสวรรค์ บ้านผมอยู่แถวบึงบอระเพ็ด เห็นมาตั้งแต่เกิดว่าบึงน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยแห่งนี้มันมีความสมบูรณ์ขนาดไหน แต่นั่นล่ะ ด้วยปัจจัยหลายประการ ทุกวันนี้ บึงแห่งนี้มีความตื้นเขิน ควบคู่ไปกับการให้คำปรึกษาเรื่องการขยายเศรษฐกิจให้กับเมือง ผมจึงให้ความสำคัญกับข้อเสนอเรื่องการฟื้นฟูบึงบอระเพ็ดแห่งนี้ก่อน ประเด็นก็คือเคยมีอยู่ช่วงหนึ่ง จะด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรืออะไรก็ตามแต่ ภาครัฐสมัยนั้นดันไปสร้างเขื่อนปิดทางน้ำธรรมชาติ ไม่ให้มันไหลเข้าบึงบอระเพ็ด

“เราสามารถนำจุดขายเรื่องอาหารการกินของนครสวรรค์ที่อร่อยมากๆ ผสานเข้ากับการทำเกษตรอินทรีย์ ยกระดับเป็นเมืองอาหารปลอดภัยได้”

“ผมทำโรงแรมแกรนด์ฮิลล์ฯ มา 16 ปี เพราะเห็นศักยภาพของการเป็นศูนย์กลางทางภาคเหนือตอนล่างของจังหวัดนครสวรรค์ โรงแรมผมจึงมีห้องประชุมที่ครบวงจร สปา ร้านอาหาร และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อเป็นตัวเลือกของนักท่องเที่ยวและหน่วยงานต่างๆ ที่มองหาสถานที่สำหรับจัดสัมมนาและกิจกรรมอื่นๆ หลังจากที่การทำเกษตรอินทรีย์เริ่มเป็นที่รับรู้ในไทย ผมก็มองหาวัตถุดิบประเภทผักออร์แกนิกมาใช้ประกอบอาหารเช้าเสิร์ฟลูกค้าโรงแรมด้วย แต่หลายปีก่อน การจะหาฟาร์มเกษตรอินทรีย์ในนครสวรรค์นี่แทบจะเป็นไปไม่ได้ เพราะยังไม่แพร่หลายในบ้านเรานัก ถ้าจะซื้อ ต้องสั่งให้เขาส่งมาจากเชียงใหม่ ต้นทุนจึงสูงไปอีก กระทั่งมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการสมาร์ทฟาร์มของกฎบัตรนครสวรรค์ และก็พบว่าจริงๆ เราทำสวนเกษตรอินทรีย์ของเราได้เองนี่

“สิ่งที่จะช่วยหนุนเสริมผู้ประกอบการรุ่นใหม่ให้สามารถทำธุรกิจที่บ้านเกิดตัวเองได้อย่างยั่งยืน คือการมีข้อมูลระดับท้องถิ่นที่พร้อมให้ทุกๆ คนเข้าถึง”

“ต้องยอมรับว่าพื้นที่การเรียนรู้ภายในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ยังไม่โดดเด่นเท่าไหร่ ถึงอย่างนั้น เทศบาลเราก็พยายามจะปรับความได้เปรียบเรื่องพื้นที่สาธารณะที่เรามีอยู่หลายแห่ง ให้กลายเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้สำหรับทุกคนในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นอุทยานสวรรค์ หรือที่คนนครสวรรค์เรียกว่า ‘หนองสมบุญ’ สวนสาธารณะขนาดใหญ่กลางใจเมือง แหล่งพักผ่อนสำคัญของผู้คนในเขตเทศบาล ซึ่งเราก็พยายามประสานความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ให้เข้ามาจัดกิจกรรมด้านการเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือ ‘คลองญวนชวนรักษ์’ พื้นที่สาธารณะกว่า 300 ไร่ ที่ทางเทศบาลเข้าไปปรับปรุงเกาะญวน บริเวณที่อยู่อาศัยเดิมของชาวญวนที่ถูกแม่น้ำตัดขาด จนเกิดเป็นเกาะใกล้ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา ให้กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงาน การบำบัดน้ำเสีย และการหมุนเวียนน้ำ

นครสวรรค์: เมืองหลวงแห่งกฎบัตรไทย
สนทนากับ ฐาปนา บุณยประวิตร
นายกสมาคมการผังเมืองไทย และเลขานุการกฎบัตรไทย

อาจารย์ฐาปนา บุณยประวิตร เป็นนายกสมาคมการผังเมืองไทย ผู้บุกเบิกและก่อตั้ง ‘กฎบัตรไทย’ หนึ่งในกลไกการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนและชาญฉลาดรูปแบบใหม่ที่เพิ่งถูกนำมาใช้ในประเทศไทยตลอด 4 ปีที่ผ่านมา โดยผ่านสมาคมการผังเมืองไทย อาจารย์ฐาปนาได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อขับเคลื่อนเครื่องมือนี้เข้าสู่กลไกการพัฒนาเมือง โดยนำร่องที่จังหวัดเชียงใหม่ ระยอง อุดรธานี ภูเก็ต และนครสวรรค์ เมื่อปี พ.ศ. 2562 “ตอนแรกยังไม่มีคำว่า กฎบัตร

“กับคำถามที่ว่าโครงการวิจัยนี้เป็นการเอื้อกลุ่มทุนใหญ่ และอาจส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการรายเล็กๆ ที่มีอยู่เดิมของเมืองหรือไม่? ผมขออธิบายเช่นนี้”

“ก่อนที่เราจะขับเคลื่อนแนวคิด Smart Block ในพื้นที่บริเวณศูนย์ขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ของเมือง คณะกรรมการกฎบัตรนครสวรรค์และสมาคมผังเมืองไทย ใช้เวลาหนึ่งปีแรกไปกับการแก้ไขผังเมืองรวมเฉพาะจุด ปลดล็อคพื้นที่บริเวณนี้ให้สามารถมีการก่อสร้างอาคารที่มีความสูงและขนาดไม่จำกัด นั่นทำให้เครือเซ็นทรัลและเครือโรงพยาบาลสินแพทย์ตัดสินใจลงทุนทำศูนย์การค้าและโรงพยาบาลขนาดใหญ่แห่งใหม่ของเมือง ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างในเวลานี้ กับคำถามที่ว่าโครงการวิจัยที่เราได้รับทุนจาก บพท. เป็นการเอื้อกลุ่มทุนใหญ่ ซึ่งอาจส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการรายเล็กๆ ที่มีอยู่เดิมของเมืองหรือไม่? ผมขออธิบายเช่นนี้ ก่อนอื่น ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา คณะนักวิจัยของเราได้จัดวงเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับชาวนครสวรรค์ทุกภาคส่วนทั้งรัฐ เอกชน

1 16 17 18 19 20 62

Recent Comments

No comments to show.

Follow

Instagram

This error message is only visible to WordPress admins

Error: No feed found.

Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.

Video