สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง และการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบวิจัยของ บพท. ปีนี้ ดร.ปุ่น ในบทบาทรองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับคณะทำงาน ได้ริเริ่มโปรแกรมวิจัยใหม่ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสมาคมเทศบาลนครและเมือง องค์กรที่เป็นดั่งหัวใจหลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำเมืองระดับท้องถิ่นครอบคลุมทั่วประเทศ กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ ที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเยือนอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี ภายหลังที่ บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในปี 2538 จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อแผนการทำร้อยเอ็ดให้น่าอยู่และน่าเที่ยวถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมือง ภูมิทัศน์ของเมืองร้อยเอ็ดค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทั้งการบูรณะบึงพลาญชัย การสร้างประตูเมืองจำลอง ‘สาเกตนคร’ ให้เป็นสัญลักษณ์และเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์คูเมืองโบราณให้น่ามองไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียว
THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP
- LIVABLE & SMART CITY
- LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
- LEARNING CITY
Topics
Criticism
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
World
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Pandemic
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Finance
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Criticism
Join our Mailing List
We hate spams like you do
Satire
Latest
นอกจากจะถูกจดจำจากเพลงดังที่มีชื่อเดียวกับชื่ออำเภอของ ก้าน แก้วสุพรรณ และเพลงฮิตของคาราบาว ซึ่งสื่อถึงที่มาของชื่อ ‘แก่งคอย’ อย่าง ‘แร้งคอย’ หากไม่ใช่คนในพื้นที่ อาจนึกภาพไม่ออกว่าอำเภอของจังหวัดสระบุรีที่เป็นปากทางขึ้นอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และประตูสู่ภาคอีสาน มีความสำคัญอย่างไร? ไม่เพียงเป็นเมืองท่าที่สำคัญในการขนส่งสินค้าผ่านแม่น้ำป่าสักและทางรถไฟ อำเภอแก่งคอย ยังเป็นจุดเริ่มต้น (ต่อจากอำเภอเมืองสระบุรี) ของถนนมิตรภาพ ถนนสายสำคัญที่รถทุกคันต้องวิ่งผ่านจากกรุงเทพฯ สู่ภาคอีสาน ไม่เพียงเท่านั้น อำเภอแห่งนี้ยังเรียงรายไปด้วยโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โดยเฉพาะโรงงานปูนซีเมนต์ อันเป็นแหล่งผลิตปูนที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ
เพราะเมือง คือ ผู้คน และผู้คน คือ ตัวแปรสำคัญที่สุดในการพัฒนาเมือง ความเจริญงอกงามทางวัฒนธรรมหรือการเติบโตทางเศรษฐกิจ และมาตรฐานคุณภาพชีวิต จึงขึ้นอยู่กับศักยภาพ ความสามารถ และความร่วมมือร่วมใจของคนในเมืองเป็นฐานสำคัญ กว่าทศวรรษที่ ‘ขอนแก่นโมเดล’ เป็นโมเดลการพัฒนาเมืองที่ได้รับการยอมรับ และพูดถึงในฐานะแนวคิดและปฏิบัติการการพัฒนาเมืองที่ก้าวหน้ามากที่สุด โดยสามารถผสานพลังของคนในเมืองจากทุกภาคส่วน ให้ขยับขับเคลื่อนเดินหน้าด้วยเครื่องมือ และความท้าทายใหม่ๆ อย่างเป็นรูปธรรม กลายเป็นต้นแบบที่สร้างแรงบันดาลใจให้งานพัฒนาเมือง และการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาเมืองให้กับเมืองต่าง ๆ
เมืองขอนแก่น ผู้คน กับการเรียนรู้เพื่อก้าวต่อไป ไม่มีภูเขา ไม่มีแม่น้ำสายใหญ่ อยู่ไกลโพ้นจากชายทะเล แหล่งท่องเที่ยวมีชื่อ หรือทรัพยากรธรรมชาติสำคัญก็น้อยนิด แต่มีคนที่เอาจริงเอาจังกับการพัฒนาเมืองกลุ่มใหญ่ที่กล้าคิดกล้าฝัน พยายามทำทุกลู่ให้ความหวังเป็นจริงได้ นี่คือปัจจัยที่ทำให้ช่วงเวลาเพียงกึงศตวรรษนำพาเมืองขอนแก่น เติบโตได้อย่างก้าวกระโดด ‘ผู้คน และความร่วมมือ คือกุญแจสำคัญของการพัฒนาเมือง’ WeCitizens ฉบับเสียงขอนแก่น พาทุกท่านมาร่วมพูดคุย Update งานพัฒนาเมืองขอนแก่น
“เมื่อพูดถึงเรื่องเมืองแห่งการเรียนรู้ หรือ Learning City ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่รับผิดชอบของเทศบาลนครขอนแก่น เราดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ที่ว่า ‘พัฒนาเมืองสู่สากล สร้างสังคมแห่งความสุข’ การที่เมืองจะพัฒนาได้และสร้างสังคมที่เป็นสุข ต้องเริ่มที่ ‘คน’ คนที่เป็นกำลังสำคัญในการร่วมกันพัฒนาเมือง ยกตัวอย่างในกรณีที่เปรียบเทียบง่าย ๆ เช่น ถ้าเราจะพัฒนาขอนแก่นเป็นเมือง Smart City แต่ถามว่า Smart City จะไม่เกิดขึ้นได้จริง ถ้าเราไม่พัฒนาคนให้เป็น Smart People วิธีการของเทศบาล
“ผมขอพูดถึงแวดวงการอ่านของขอนแก่นก่อนนะ จริง ๆ ขอนแก่นมีกลุ่มนักอ่านอยู่ค่อนข้างหลากหลาย แล้วก็เยอะด้วย ส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่แถวหลัง มข. แถวย่านกังสดาล มีกิจกรรมพวกบุ๊กคลับอะไรอยู่บ้าง มีร้านหนังสือ และก็พวกคาเฟ่ ร้านอาหารที่มีส่วนของชั้นหนังสือให้ซื้อให้อ่าน ถือว่าบรรยากาศการอ่านโดยรวมน่าสนใจทีเดียว แต่อาจจะไม่ได้คึกคักเท่ากรุงเทพฯ หรือเชียงใหม่ ที่นี่มีงานสัปดาห์หนังสือ จัดปีละ 2 ครั้ง ส่วนใหญ่ก็จะเป็นสำนักพิมพ์ใหญ่ๆ มาลง แล้วก็พวกผู้ค้าที่ตระเวนตามงานหนังสือ
“ตระกูลของผมเริ่มต้นมาจากรุ่นอากงท่านมาจากเมืองจีน ลงหลักปักฐานที่ขอนแก่นกับกิจการร้านโชห่วย แล้วคุณพ่อก็สืบทอดธุรกิจต่อมาอีกที ผมเป็นรุ่นที่ 3 แล้วครับ ขายของทั้งปลีกและส่งใน จ.ขอนแก่น ครอบครัวเรามีร้านและบ้านในย่านศรีจันทร์ แม้ตอนนี้ร้านใหญ่จะย้ายมาอยู่นอกเมือง แต่ทุกวันนี้เราก็ยังมีสาขาที่ศรีจันทร์ ที่ขยายมาข้างนอกเพราะต้องทำคลังสินค้า ที่ในไม่พอก็เลยต้องย้ายทั้งออฟฟิศทั้งคลังออกมาอยู่ข้างนอก แต่ทุกวันนี้เราก็ยังอาศัยนอนกันอยู่ที่ศรีจันทร์ทุกวันครับ ส่วนตัวผมจบด้านการเงิน แต่จริง ๆ เราไม่ค่อยชอบเท่าไหร่ ผมชอบค้าขายกับเรื่องการตลาดมากกว่า เพียงแต่ว่าตอนเข้ามหาวิทยาลัย ตอนนั้น
“ผมมีบ้านอยู่ที่นี่ครับ แต่ไปทำงานที่อื่น ไม่ได้อยู่ขอนแก่นมา 17 ปีแล้ว คือ พึ่งกลับมาได้ไม่นาน พอมาถึงก็รู้สึกแปลกใจพอสมควร เพราะขอนแก่นเปลี่ยนไปเยอะมาก พัฒนาขึ้นมีอะไร ๆ ที่เหมือนเมืองใหญ่ ๆ มี ผมจึงมาเริ่มทำร้านกาแฟ ตอนแรกก็คิดอยู่ว่า คนจะกินกันเยอะไหมนะ คนจะอินรึเปล่า แบบที่เราเห็นเทรนด์ในเมืองอื่น ๆ ไปมา ๆ
“เป็นคนขอนแก่น และมีบ้านอยู่ย่านศรีจันทร์ค่ะ จบสถาปัตย์ ม.ลาดกระบัง พอจบก็ทำงานที่ กทม.อยู่พักหนึ่ง แล้วเห็นว่าทาง TCDC เขาเปิดรับเจ้าหน้าที่ที่ขอนแก่น เราเองก็เป็นแฟนคลับไปเอ็มโพเรียมบ่อยมากรู้สึกว่าน่าจะดีถ้าได้ทำงานที่เราชอบ และได้อยู่ในบ้านเกิด ก็เลยตัดสินใจสมัครและได้กลับมาทำงานที่นี่ ตอนนั้นน่าจะก่อนโควิดประมาณสัก 5-6 ปี จำได้ว่าตอนนั้น Cafe ร้านกาแฟในเมืองขอนแก่นนี่เฟื่องฟูมาก และมี Character และ Design
“ปีนี้แม่อายุ 71 แล้ว เป็นนายกสามาคมหมอลำ จังหวัดขอนแก่น ตอนนี้สอนในนามศูนย์การเรียนภูมิปัญญาไทย จะมีทั้งลูกศิษย์คนอื่น ทั้งลูกศิษย์ตัวเองเข้ามาอยู่ในสมาคมเป็นร้อย แล้วก็ที่อยู่ตามออนไลน์พวกโซเชียล อีกไม่รู้เท่าไหร่ เพราะแม่ทำคลิปเผยแพร่ทางนั้นด้วย มีบางคนที่อยู่ใกล้ๆ เขาเรียนจากออนไลน์แล้วก็จะนัดมาขอซ้อมให้ดูที่ศูนย์การเรียนก็มี นอกจากสอนที่ศูนย์ และสอนออนไลน์ แม่ก็รับเชิญไปสอนเป็นอาจารย์พิเศษช่วงเสาร์อาทิตย์ที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ ม.ขอนแก่น พวกที่เรียกเอกการแสดง แล้วสนใจหมอลำก็จะได้มาเรียนกับแม่ แม่สอนนักเรียนพวก ป.โท กับป.เอก
Recent Posts
- [ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม
- THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
- WeCitizens : The Concept
- WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด
- City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร
Recent Comments
Categories
Error: No feed found.
Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.