สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง และการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบวิจัยของ บพท. ปีนี้ ดร.ปุ่น ในบทบาทรองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับคณะทำงาน ได้ริเริ่มโปรแกรมวิจัยใหม่ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสมาคมเทศบาลนครและเมือง องค์กรที่เป็นดั่งหัวใจหลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำเมืองระดับท้องถิ่นครอบคลุมทั่วประเทศ กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ ที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเยือนอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี ภายหลังที่ บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในปี 2538 จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อแผนการทำร้อยเอ็ดให้น่าอยู่และน่าเที่ยวถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมือง ภูมิทัศน์ของเมืองร้อยเอ็ดค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทั้งการบูรณะบึงพลาญชัย การสร้างประตูเมืองจำลอง ‘สาเกตนคร’ ให้เป็นสัญลักษณ์และเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์คูเมืองโบราณให้น่ามองไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียว
THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP
- LIVABLE & SMART CITY
- LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
- LEARNING CITY
Topics
Criticism
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
World
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Pandemic
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Finance
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Criticism
Join our Mailing List
We hate spams like you do
Satire
Latest
We Citizens Thailand ชวนผู้อ่านเรียนรู้เมืองขลุงอย่างกระชับ ผ่าน infographic เส้นทางเรียนรู้เมืองขลุง 3 วัฒนธรรม 2 ศาสนา และสวนสวรรค์ผลไม้เมืองขลุง ดาวน์โหลด infographic ฉบับขยาย 100% ได้ที่ infographic เส้นทางเรียนรู้เมืองขลุง
We Citizens Thailand ชวนผู้อ่านมาฟังเสียงของเมืองขลุงที่อบอวลไปด้วยกลิ่นหอมของผลไม้ มนต์เสน่ห์หนึ่งของดินแดนตะวันออกของไทยผ่าน e-book ดาวน์โหลดเพื่อผ่าน e-book ฉบับ “เสียงขลุง” ได้ที่ WeCitizens : เสียงขลุง – WeCitizens Flip PDF | AnyFlip
ไลเร่: ดินแดนแห่งตำนาน (Lejre: Land of Legends) เป็นชื่อพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งขนาด 106 เอเคอร์ (ประมาณ 265 ไร่) ซึ่งอยู่ห่างจากโคเปนเฮเกนเมืองหลวงของเดนมาร์กเพียง 47 กิโลเมตร ไลเร่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2507 แบ่งออกเป็นเขตห้องปฏิบัติการช่างฝีมือ (ทอผ้า ปั้นหม้อและตีเหล็ก) เขตการตั้งแค้มป์ยุคหิน
เขาว่ากันว่า Love makes the world go round. คุณเชื่อไหม ฉันเชื่อนะเพราะเคยผ่านพบอะไรหลายอย่างที่ทำให้นึกขึ้นมาว่าเออ โลกนี้หมุนได้ด้วยรักจริงๆ แหละ อย่างเช่นตอนที่จบการพูดคุยทางโทรศัพท์กับลูกศิษย์คนหนึ่งถึงกิจกรรมในรอบปีที่ผ่านมา ลูกศิษย์คนนี้เป็นนักศึกษาเกรดเอและเธอไม่ได้เก่งแต่การเรียน การจัดการเธอก็ทำได้คล่องแคล่วและมีมนุษยสัมพันธ์ดี ถ้าหากจะหางานทำในเมือง เธอก็คงไปได้สวย แต่เมื่อเรียนจบ เธอเลือกไปทำงานพัฒนาในหมู่บ้านแห่งหนึ่งในฉะเชิงเทรา เกือบ 30 ปีผ่านไป เธอก็ยังอยู่ที่นั่น
“หนูสอบได้แค่ที่สองค่ะ” สาวน้อยวัย 9 ขวบตอบพร้อมๆ กับที่น้ำใสเริ่มปริ่มขอบตา ถึงแม้ฉันจะบอกว่าได้ที่สองก็ยังดีกว่าเพื่อนคนอื่นๆ อีกตั้งมากมาย แต่น้ำใสๆ ที่หยาดลงอาบแก้มก็บอกฉันว่าเพื่อนอีกเกือบ 40 คนนั้นไม่มีความหมายเพราะสายตาของเธอเห็นแต่คนที่ได้ที่หนึ่งเพียงคนเดียว… นี่เป็นเพียงหนึ่งในหลายๆ เหตุการณ์ที่บอกฉันว่าเด็กๆ เห็นความสำคัญของชัยชนะและการได้เป็นที่หนึ่งเพียงไร และบนเส้นทางไปสู่ชัยชนะนั้น เด็กหลายคนทุ่มเททุกวิถีทางถึงแม้จะต้องเล่นขี้โกง แอบดูคำตอบหรือปัดแข้งปัดขาเพื่อน ทำอย่างไรก็ได้ ขอให้ชนะก็แล้วกัน สังคมเราปลูกฝังให้รังเกียจ “คนขี้แพ้” และมักลืมไปว่าความพ่ายแพ้หรือความล้มเหลวนั้น
“อยู่ข้างล่างครับ” เป็นคำตอบที่ได้รับในทันทีที่ฉันถามว่าแผนกเครื่องเขียนอยู่ที่ไหน หลังจากไปเดินวนอยู่พักหนึ่งฉันก็ถามเจ้าหน้าที่ข้างล่างด้วยคำถามเดียวกัน แต่คราวนี้ได้คำตอบว่าอยู่ข้างบน! วันนั้น ฉันไม่ได้ของที่ต้องการติดมือกลับบ้านเพราะร้านเก็บกลับไปหมดแล้ว แต่กว่าจะรู้ ก็ถูกส่งจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งเพื่อไปอีกที่หนึ่งแล้วย้อนกลับไปที่เดิมอยู่ร่วมชั่วโมงด้วยความมั่นใจของพนักงานขายที่ไม่รู้ว่าแผนกของตัวมีของที่ลูกค้าถามหาหรือเปล่า เหตุการณ์นี้ตอกย้ำความเศร้าของฉันที่มักรู้สึกเสมอว่าคนไทยไม่ค่อยจะนิยมการเรียนรู้เอาเสียเลย ฉันมักจะพบ “ความมั่นใจ” ที่ตั้งอยู่บนความเชื่อมั่นในตัวเองมากกว่าจะอยู่บนฐานของการศึกษาหาข้อมูล และมักจะพบว่าคนจำนวนมากไม่ใส่ใจเรียนรู้เกี่ยวกับงานของตน แค่อยากได้ตำแหน่งหน้าที่แต่ไม่สนใจว่าอาชีพของตัวควรมีความรู้ในเรื่องอะไรบ้าง ในขณะที่คนไทยแต่ก่อนมักถูกวิจารณ์ว่าขี้อาย ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง คนไทยสมัยใหม่กลับมักจะมีความมั่นใจในตัวเองสูง ที่น่าเสียดายก็คือความมั่นใจนั้นมักไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้จนแน่ใจว่าสิ่ง ที่ตัวเองคิดหรือรู้นั้นถูกต้อง ฉันพบงานแปลในท้องตลาดที่แปลผิดอย่างไม่น่าเชื่อ ซึ่งทำให้ฉันคิดว่าคนแปลต้องมั่นใจในภาษาของตัวเองมากจนไม่คิดจะเปิดพจนานุกรมทั้งที่แปลเป็นภาษาไทยออกมาแล้วอ่านแทบไม่รู้เรื่อง ได้ฟังคนกล่าวสุนทรพจน์ผิดๆ
ช่วงหลังมานี่ ได้ยินคนถามกันบ่อยว่าทั้งที่กระทรวงศึกษาฯ ได้รับงบสูงสุดมากกว่ากระทรวงอื่นใดมากี่ปีก็จำไม่ได้แล้ว ทำไมผลการศึกษาเราจึงตกต่ำจนเป็นที่โหล่หรือเกือบจะเป็นที่โหล่ของอาเซียนไปเสียทุกวิชา นอกจากนั้นผลการสอบโอเน็ตทั่วประเทศของเรายังบอกเราว่าโดยเฉลี่ยแล้ว นักเรียนในบ้านเราสอบตกทุกวิชาหลัก (ไทย อังกฤษ สังคมศึกษา วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์) แถมยิ่งช่วงชั้นสูงขึ้นไป คะแนนเฉลี่ยของโอเน็ตก็ยิ่งตกต่ำมากขึ้นจนมีคนพูดกันเล่นๆ ว่ายิ่งเรียนก็คงยิ่งโง่มั้ง ฉันไม่ได้แปลกใจเรื่องผลการเรียนตกต่ำเพราะเท่าที่รับรู้มาเรื่องการศึกษา มันก็น่าจะตกต่ำจนน่าใจหายอยู่หรอก สิ่งที่ฉันแปลกใจคือดูเหมือนทุกคนจะเป็นห่วงแต่เรื่องผลการศึกษาในขณะที่ สิ่งที่ทำให้ฉันรู้สึกเศร้าใจมากกว่าคือในทุกวิชา คะแนนสูงสุดคือเต็มร้อย ส่วนคะแนนต่ำสุดคือศูนย์ เราพูดกันเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมบ่อยมากจนเกือบจะกลายเป็นแฟชั่นไปแล้ว แต่ทำไมจึงแทบไม่ได้ยินใครพูดถึงการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษากันอย่างจริงจังบ้างเลย แถมนโยบายที่เป็นข่าวอยู่ตอนนี้ก็ยิ่งทำให้ฉันกังวลเรื่องนี้มากขึ้นไปอีก
“ผมเป็นนักธุรกิจที่ตระหนักอยู่เสมอว่าความสำเร็จทางธุรกิจ เกิดจากการที่คุณมีพื้นฐานการศึกษาที่ดี และไม่ยอมหยุดเรียนรู้เรื่องราวใหม่ๆ นั่นทำให้ผมสนใจเรื่องการศึกษาเป็นพิเศษ แน่นอน รากเหง้าของปัญหาหลากหลายที่มีในประเทศนี้ คือผู้คนขาดหรือเข้าไม่ถึงการศึกษา โรงงานหลายแห่งในระยองก็ทำวิจัยกันถึงเรื่องการศึกษากับทรัพยากรบุคคล คุณเชื่อไหม ผลการวิจัยนี้ตรงกับสิ่งที่ผมคิดเลย ข้อสรุปคือโรงงานเขาไม่ได้ต้องการบุคลากรที่มีความรู้หลากหลายตามที่มีคนบอกให้คุณต้องฝึกฝนมา เขาต้องการแค่คนทำงานที่มีความรู้พื้นฐานในสิ่งที่ต้องทำ มีวินัย อดทน แก้ปัญหาเป็น และสื่อสารภาษาอังกฤษได้นิดหน่อย เพราะทักษะที่เหลือ องค์กรแห่งนั้นๆ เขาพร้อมจะฝึกฝนให้ ทำไมเป็นแบบนั้น? เพราะทุกวันนี้โลกเปลี่ยนเร็วมาก องค์ความรู้จึงเปลี่ยนเร็วตาม
“เหตุผลที่ พรบ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (2562) ให้จังหวัดจัดการการศึกษาของตนเอง อาจยังไม่เพียงพอกับการเรียนรู้ของคนระยอง ก็เพราะระยองเราอยู่ในระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) พลวัตการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก คุณจบการศึกษาในมหาวิทยาลัยแล้ว ดีไม่ดีองค์ความรู้ที่คุณมีอาจไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงก็ได้ ทีมจากสถาบันอาศรมศิลป์ ทีมจากมูลนิธิสยามกัมมาจล ทางจังหวัด รวมถึงผู้เชี่ยวชาญจากส่วนกลางก็มาคุยกันว่าแล้วเราจะทำยังไงให้การ reskill, upskill และการเรียนรู้ใหม่ มันจะเกิดขึ้นกับคนทุกกลุ่ม ทำให้คนระยองพัฒนาเท่าทันกับเทคโนโลยีและเมือง แนวคิดเรื่องสถาบันการเรียนรู้ทุกช่วงวัย หรือ RILA
Recent Posts
- [ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม
- THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
- WeCitizens : The Concept
- WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด
- City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร
Recent Comments
Categories
Error: No feed found.
Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.