[ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม

สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม  ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง และการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบวิจัยของ บพท.  ปีนี้ ดร.ปุ่น ในบทบาทรองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับคณะทำงาน ได้ริเริ่มโปรแกรมวิจัยใหม่ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสมาคมเทศบาลนครและเมือง องค์กรที่เป็นดั่งหัวใจหลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำเมืองระดับท้องถิ่นครอบคลุมทั่วประเทศ กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ ที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเยือนอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี ภายหลังที่ บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในปี 2538 จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อแผนการทำร้อยเอ็ดให้น่าอยู่และน่าเที่ยวถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมือง ภูมิทัศน์ของเมืองร้อยเอ็ดค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทั้งการบูรณะบึงพลาญชัย การสร้างประตูเมืองจำลอง ‘สาเกตนคร’ ให้เป็นสัญลักษณ์และเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์คูเมืองโบราณให้น่ามองไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียว

THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP

  • LIVABLE & SMART CITY
  • LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
  • LEARNING CITY

Topics

Criticism

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

World

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Pandemic

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Finance

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Criticism

Join our Mailing List

We hate spams like you do

Satire

Latest

“ผืนป่า ภูเขา หรือทะเลอยู่ได้โดยไม่มีมนุษย์ แต่มนุษย์จะอยู่ไม่ได้หากไม่มีสิ่งเหล่านี้”

“ก่อนหน้านี้ผมเป็นหัวหน้าสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ความรับผิดชอบหลักคือการป้องกันปราบปรามการรุกล้ำพื้นที่ป่าชายเลนของกลุ่มทุนและชาวบ้าน หรืออีกนัยหนึ่งคือการบังคับใช้กฎหมายและไล่จับผู้ที่กระทำความผิดนั่นแหละครับ ไม่ใช่งานที่สนุก แถมเครียดอีกต่างหาก เพราะในอีกมุม แม้เราจะคุ้มครองทรัพยากรไม่ให้นายทุนเข้ามาหาประโยชน์ เช่น การทำฟาร์มกุ้ง หรือการรุกล้ำพื้นที่ส่วนกลางมาเป็นส่วนตัว แต่ผมก็เข้าใจในฝั่งชาวบ้านที่เขาก็มีวิถีชีวิตและการทำมาหากิน หาปูหาปลาภายในพื้นที่ป่าชายเลนเหมือนกัน เราเข้าใจหัวอกเขา แต่ด้วยหน้าที่ เราก็จำต้องปราบปราม ผมอยู่ที่นั่นสิบกว่าปี โดนมาหมดแล้ว ทั้งนายทุนเอาคนมายิงปืนขู่ จอดเรือทิ้งไว้ก็มีมือดีที่ไหนไม่รู้เอาทรายมาหยอดถังน้ำมัน เรือพังไปไม่รู้กี่ลำ จนมาคิดว่าจริงๆ

RILA กับการพัฒนาคนระยองให้เท่าทันการพัฒนาเมือง
สนทนากับ รศ.ประภาภัทร นิยม
ผู้ร่วมก่อตั้งสถาบันการเรียนรู้ของคนทุกวัยจังหวัดระยอง (RILA)

‘การวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อขับเคลื่อนสถาบันการเรียนรู้ของคนทุกวัยในบทบาทกลไกสนับสนุนความเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้จังหวัดระยอง’ คือชื่อเต็มของอีกหนึ่งโครงการวิจัยในจังหวัดระยองที่สถาบันอาศรมศิลป์ ได้รับทุนจาก บพท. มาขับเคลื่อนในปี 2564-2565 (อีกหนึ่งโครงการมีเจ้าภาพคือ บริษัท ระยองพัฒนาเมือง จำกัด) โครงการดังกล่าวมี รศ.ประภาภัทร นิยม อธิการบดีสถาบันอาศรมศิลป์ และผู้ก่อตั้งโรงเรียนรุ่งอรุณ เป็นหัวหน้าโครงการ โดยโครงการเองมีองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองเป็นพาร์ทเนอร์หลัก รวมถึงการร่วมกับภาคีเครือข่ายต่างๆ ในจังหวัด จัดตั้งสถาบันการเรียนรู้ของคนทุกวัยจังหวัดระยอง (RILA) ขึ้น

เทศบาลนคร X ระยองพัฒนาเมือง หมวกสองใบในการขับเคลื่อนเมืองระยองของภูษิต ไชยฉ่ำ

ภูษิต ไชยฉ่ำ มีหมวกหลายใบ หมวกที่ว่าไม่ได้หมายความถึงเครื่องแต่งกาย หากแต่เป็นบทบาทในการทำงานส่วนตัวของเขาซึ่งเชื่อมโยงกับเมืองระยอง – บ้านเกิด เมืองที่เขาใช้เป็นที่ทำงาน และอาศัย หมวกใบหนึ่งเขาเป็นนักธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์และเจ้าของโรงแรมชั้นนำของเมือง ขณะที่หมวกอีกใบ คือรองนายกเทศมนตรีนครระยอง รับผิดชอบกองสวัสดิการสังคม ทำหน้าที่ออกนโยบายเพื่อดูแลสวัสดิภาพของพี่น้องประชาชนในเขตเทศบาลนครระยองกว่า 60,000 คน และหมวกใบที่สาม ในฐานะผู้ก่อตั้งบริษัท ระยองพัฒนาเมือง (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด ทั้งนี้

“ถ้าตึกแถวในซอยนี้ไม่โดนไฟไหม้ไปก่อน ตลาดเก้าห้องที่สุพรรณบุรีอาจไม่ได้เกิด เพราะตึกของเขาสวยสู้ของเราไม่ได้ ”

“ผมเกิดและโตบนในย่านยมจินดา เปิดร้านก๋วยเตี๋ยวตรงนี้มา 20 ปี เช่าเขาตั้งแต่ราคาหลักร้อยจนขึ้นมาเป็นหลักพัน ขณะที่ตึกแถวอื่นๆ มีค่าเช่าขึ้นไปถึงหลักหมื่น อยู่ตั้งแต่ถนนยมจินดายังคึกคัก ก่อนจะเงียบเหงาไปพักใหญ่ แล้วก็เริ่มกลับมามีชีวิตชีวาจากที่คนรุ่นใหม่เริ่มเห็นคุณค่าของการพัฒนาธุรกิจในย่านเมืองเก่า ราว 10 กว่าปีก่อน มีทีมเทศบาลชุดหนึ่งจัดกิจกรรมให้ชาวบ้านในย่านเมืองเก่าเลือกรูปเก่าที่บ้านตัวเองมาคนละหนึ่งรูป นัดหมายกันที่ศาลเจ้าแม่ทับทิม และให้แต่ละคนเล่าถึงเบื้องหลังรูปถ่ายนั้นๆ จากที่ผมโตมาโดยไม่ค่อยสนใจคุณค่าของย่านตัวเองเท่าไหร่ กิจกรรมนั้นทำให้ผมอินกับชุมชนบ้านเกิดตัวเองไปเลย เพราะได้รู้ว่าเออ เมื่อก่อนท่าเรือประดู่เรามีเรือสำเภามาเทียบท่า มีคนลงไปดำกุ้งตรงนี้ เคยมีโรงหนังตั้งอยู่

ผมมักจะถามนักวิจัยที่ทำหน้าที่ประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมให้โรงงานต่างๆ ในระยองทุกคนว่า คุณเป็นคนระยอง หรือมีญาติพี่น้องอยู่ในระยองหรือเปล่า?

“ผมมักจะถามนักวิจัยที่ทำหน้าที่ประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมให้โรงงานต่างๆ ในระยองทุกคนว่า คุณเป็นคนระยอง หรือมีญาติพี่น้องอยู่ในระยองหรือเปล่า? เพราะผมทำงานด้านสิ่งแวดล้อมจึงรู้ดี เวลาที่บริษัทใดก็ตามในระยองมีโครงการจะขยายโรงงานหรือเปิดโรงงานเพิ่ม หน่วยงานภาครัฐก็จะต้องว่าจ้างที่ปรึกษาที่เป็นนักวิจัยให้มาทำหน้าที่ตรวจสอบว่าโรงงานใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น มีมาตรการจัดการมลภาวะผ่านเกณฑ์ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ซึ่งมันเป็นเรื่องย้อนแย้งที่นักวิจัยเหล่านั้นส่วนใหญ่ ก็ได้รับว่าจ้างโดยกลุ่มทุนและบริษัทที่จะขยายกิจการพร้อมกัน ดังนั้น ท้ายที่สุด พวกเขาก็จะประเมินให้โครงการที่เปิดใหม่เกือบทั้งหมดผ่านเกณฑ์อยู่ดี ผมจึงมักถามพวกเขาว่ามันไม่ใช่แค่การประเมินให้ผ่านเกณฑ์ไปตามหน้าที่ แต่ต้องคำนึงถึงความเป็นจริงที่คนระยองต้องประสบด้วย ขณะเดียวกันก็พยายามจะบอกกับเจ้าของโรงงานอยู่เสมอว่าบางทีคุณลดกำไรลงมาหน่อย และใส่ใจเรื่องการทำ eco factory บ้าง สร้างกำไรในเชิงความยั่งยืนคืนให้แก่คนในเมือง ระยองตอนนี้มีโรงงานอยู่ราว

“ผมมักพบคำถามว่าสิ่งที่ชาวบ้านทำอยู่ คนอื่นจะไปเรียนรู้อย่างไร หรือเขาจะได้อะไร ผมก็ตอบเขาว่าวิถีชีวิตที่พวกเขาเป็นอยู่นี่แหละ คือองค์ความรู้ที่มีคุณค่า และยิ่งคุณเปิดให้คนอื่นเข้ามาเรียนรู้ นั่นหมายถึงโอกาสในการพัฒนาต่ออาชีพหรือวิถีที่คุณเป็นอยู่”

ผมเป็นคนพ่ายแพ้กับการศึกษาในระบบ เรียนไม่เก่ง เป็นเด็กหลังห้อง แต่อาศัยว่าตัวเองชอบทำกิจกรรมจึงจบออกมาได้ โดยเริ่มจากทำงานค่ายอาสาสมัยเรียนมัธยม พอเข้ามหาวิทยาลัยก็ไม่ค่อยได้ไปเรียน แต่ทำกิจกรรมกับชมรม พร้อมกับรับงานพิเศษที่ดูแลเรื่องการศึกษานอกห้องเรียนเรื่อยมา เริ่มจากเป็นเจ้าหน้าที่ที่ทำงานด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นกับเยาวชนของ สสส. ตามมาด้วยงานออกแบบกระบวนการสอนเด็กๆ ในสถานพินิจ ซึ่งเป็นโครงการของ กสศ. (กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา) รวมถึงงานภาคประชาสังคมกับกลุ่มรักษ์เขาชะเมา ซึ่งงานหลังผมมีโอกาสได้ทำมาตั้งแต่สมัยมัธยม ด้วยประสบการณ์แบบนี้ ทำให้ผมเชื่อว่า ควบคู่ไปกับการจัดการเรียนการสอนในระบบ การศึกษานอกระบบก็เป็นสิ่งสำคัญในการสร้างพลวัตรขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่นั้นๆ ความที่เป็นคนปากน้ำประแสบ้านเดียวกับยีนส์

“เอกสารโบราณระบุว่าระยองเคยมีผ้าพื้นเมืองชื่อว่าผ้าตาสมุก แต่ความที่ตอนนี้ไม่มีให้เห็นแล้ว ผมจึงอ้างอิงข้อมูลจากเอกสารโบราณ และทดลองถักทอผ้าชนิดนี้ออกมาด้วยตัวเอง”

“ผมเกิดที่ตำบลบ้านเพ จังหวัดระยอง อย่างที่รู้กันว่าถ้าคุณจะมีอาชีพที่ความมั่นคงในจังหวัดนี้ก็ต้องทำงานโรงงาน ผมจึงเลือกเรียนการไฟฟ้าเพื่อจบออกมาเป็นช่างไฟฟ้าอยู่โรงงานสิบกว่าปี อย่างไรก็ตาม ผมพบว่าแต่ไหนแต่ไรมาเป็นคนชอบศิลปะ พอทำงานไฟฟ้าจนเริ่มอิ่มตัว จึงซื้อเครื่องดนตรีไทยและหนังสือมาหัดเล่นด้วยตัวเอง เล่นอยู่หลายชนิดจนมาถึงซอสามสาย ซึ่งไม่มีหนังสือบอกวิธีการเล่นให้อ่าน จึงไปหาครูสอนดนตรีไทยตามโรงเรียนที่ระยองให้เขาสอนให้ พอเรียนจนเล่นได้แม่น ครูท่านก็ชวนให้ผมมาเป็นครูสอนเด็กนักเรียนคนอื่นๆ ต่ออีกที เลยมีงานพิเศษเป็นครูสอนดนตรีไทยนอกเวลางานช่างไฟฟ้า พอเข้าสู่โลกดนตรีไทย ผมก็เริ่มสนใจเอกสารโบราณรวมถึงการเขียนอักษรโบราณ ก็เหมือนเดิม ไปหาหนังสือมาอ่าน และเริ่มหัดเขียนอักษรโบราณด้วยตัวเอง ผมสนุกกับงานอดิเรกนี้จนภายหลังมาเปิดเพจเกี่ยวกับการเขียนอักษร (อักษราร้อยวลีลิขิต

“ที่ประเทศไทยเรามาถึงทุกวันนี้ได้
มาจากพงศาวดารความยาวแค่ 15 บรรทัดที่บอกว่าพระเจ้าตากมาตั้งค่ายรวบรวมไพร่พลอยู่เมืองระยอง”

“ผมชื่อเฉลียว นามสกุลราชบุรี หลายคนเข้าใจว่าผมเป็นคนราชบุรี แต่จริงๆ ผมเกิดที่ตรัง ทำงานอยู่ระยองมาหลายสิบปี ตอนนี้เกษียณ ใครถามก็จะบอกว่าเป็นคนระยอง ผมเคยรับราชการเขตพื้นที่ประถมการศึกษาระยอง ควบคู่ไปกับการทำงานสภาวัฒนธรรม พอทำงานด้านการศึกษาและศิลปวัฒนธรรมมากเข้า ก็พบว่าระยองยังไม่ค่อยมีการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ของเมืองเท่าที่ควร หรือคุณไปหาอ่านเอกสารเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ จะพบเพียงข้อมูลเกี่ยวกับเมืองนี้สั้นๆ ถ้าไม่มีการบอกเล่าปากต่อปาก ลูกหลานคนระยองคงไม่มีใครได้รู้ประวัติศาสตร์บ้านเกิดตัวเอง ด้วยเหตุนี้ผมจึงเริ่มรวบรวมข้อมูล ทั้งจากจดหมายเหตุ ประวัติท้องถิ่น ไปจนถึงการสัมภาษณ์ผู้เฒ่าผู้แก่ จนสามารถเรียบเรียงออกมาเป็นหนังสือประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยเขียนเล่มแรกเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เมืองแกลง

“ผมอยากเห็นการโต้เถียงกันถึงอนาคตเมืองระยองอย่างเปิดกว้าง พร้อมคำถามใหม่ๆ ที่ท้าทาย”

“ผมไม่เคยชอบไปโรงเรียนตอนเด็กมากๆ เหตุเพราะโดนครูทำโทษด้วยไม้เรียวจากเรื่องที่ไร้สาระ และถ้าเราตั้งคำถามครู ก็มักจะโดนด่าว่าเป็นเด็กเถียงผู้ใหญ่…เลยคิดว่าถ้าโตมา ผมอยากเป็นครูที่ดีกว่านี้ และนั่นทำให้พอเลือกเรียนในระดับมหาวิทยาลัย ผมจึงเลือกคณะครุศาสตร์ (ครุศาสตร์อุตสาหกรรม คอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ) จนเรียนจบออกมา ก็คิดว่าการเป็นแค่ครูยังไม่พอ ถ้าเราอยากออกแบบโรงเรียนหรือวิธีการสอนหนังสือในแบบของเราได้ ก็ควรต้องเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน (หัวเราะ) หากระหว่างนั้นช่วงคาบเกี่ยวก่อนเรียนจบ ผมได้ชวนเพื่อนๆ ที่มีความคิดแบบเดียวกันมาตั้งกลุ่ม Dot to Dot ทำงานด้านการพัฒนาหลักสูตรการศึกษา

1 20 21 22 23 24 62

Recent Comments

No comments to show.

Follow

Instagram

This error message is only visible to WordPress admins

Error: No feed found.

Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.

Video