[ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม

สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม  ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง และการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบวิจัยของ บพท.  ปีนี้ ดร.ปุ่น ในบทบาทรองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับคณะทำงาน ได้ริเริ่มโปรแกรมวิจัยใหม่ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสมาคมเทศบาลนครและเมือง องค์กรที่เป็นดั่งหัวใจหลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำเมืองระดับท้องถิ่นครอบคลุมทั่วประเทศ กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ ที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเยือนอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี ภายหลังที่ บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในปี 2538 จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อแผนการทำร้อยเอ็ดให้น่าอยู่และน่าเที่ยวถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมือง ภูมิทัศน์ของเมืองร้อยเอ็ดค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทั้งการบูรณะบึงพลาญชัย การสร้างประตูเมืองจำลอง ‘สาเกตนคร’ ให้เป็นสัญลักษณ์และเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์คูเมืองโบราณให้น่ามองไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียว

THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP

  • LIVABLE & SMART CITY
  • LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
  • LEARNING CITY

Topics

Criticism

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

World

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Pandemic

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Finance

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Criticism

Join our Mailing List

We hate spams like you do

Satire

Latest

“อบจ.ระยองพยายามขับเคลื่อนให้เมืองสมาร์ทไปพร้อมกับเทคโนโลยี และทำให้คนรุ่นใหม่ในระยองสมาร์ทไปพร้อมกับเมือง”

“หนึ่งในโปรเจกต์สำคัญที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองกำลังเร่งขับเคลื่อนอยู่ในขณะนี้คือการพัฒนาศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวมแบบครบวงจรของจังหวัด ให้สร้างมูลค่าผ่านการเปลี่ยนขยะให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งที่นี่ยังจะเป็นแห่งแรกๆ ของประเทศอีกด้วย เพราะอย่างที่หลายคนทราบดี ระยองอยู่ในระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) เป็นเมืองอุตสาหกรรม ผู้ผลิตพลังงาน และผู้นำเทคโนโลยีใหม่ๆ ของประเทศ ในฐานะ อบจ. ที่กำกับดูแลสาธารณูปโภคต่างๆ ของจังหวัด เราก็ควรใช้จุดแข็งที่เมืองเรามีอยู่แล้วมาช่วยบริหารจัดการให้มีความสมาร์ท สอดคล้องไปกับเมืองและบริบทของการเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัย ในเฟสแรกเราได้จับมือกับ GPSC (บริษัท โกลบอล เพาเวอร์

“จริงๆ แล้ว RILA ก็ไม่ต่างจากกระจก ที่สะท้อนให้ชาวระยองเห็นตัวตนของพวกเขาเอง และเห็นถึงความเชื่อมโยงกัน”

“ก่อนหน้านี้อาจารย์ประภาภัทร (รศ.ประภาภัทร นิยม อธิการบดีสถาบันอาศรมศิลป์) ได้เข้ามาร่วมกับ อบจ.ระยอง และเครือข่ายต่างๆ ในจังหวัด ทำเรื่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาก่อน ในช่วงนั้นท่านก็คิดว่าต้องมี body หรือกลไกบางอย่างขับเคลื่อนการทำงานร่วมกัน จึงชวนให้ผมเข้ามาทำ social lab ร่วมออกแบบการทำงานเพื่อประสานเครือข่ายต่างๆ พอระยองมีคณะกรรมการนวัตกรรมการศึกษาเป็นทางการ เราก็พบว่าลำพังแค่การพัฒนาหลักสูตรแต่เพียงในสถาบันการศึกษายังไม่พอ เมืองจำเป็นต้องมีเครือข่ายและแพลตฟอร์มการเรียนรู้นอกห้องเรียนสำหรับคนทุกเพศทุกวัย จึงเกิดการจัดตั้ง ‘สถาบันการเรียนรู้ของคนทุกช่วงวัย จังหวัดระยอง’

“ป้าภูมิใจและมีความสุขทุกครั้งที่ได้บรรยายเรื่องราวในพิพิธภัณฑ์ เพราะได้เผยแพร่ความรู้ให้คนที่สนใจ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่”

“ป้าย้ายมาอยู่ระยองตอนอายุ 17 ปี มาทำงานเป็นเด็กเดินตั๋วโรงหนังให้โรงหนังวิกศรีอุดมในย่านยมจินดานี่ สมัยนั้นคือเมื่อเกือบๆ 50 ปีที่แล้ว ถนนยมจินดาที่มีระยะทางไม่ถึงหนึ่งกิโลเมตรสายนี้นี่คึกคักมากเลยนะ มีโรงฝิ่น โรงแรม ร้านขายทอง ร้านรวง ร้านนั่งดื่ม มีที่ขึ้นสินค้าทางเรือ และโรงหนังตั้งอยู่ถึง 2 โรง คนระยองคิดอะไรไม่ออกก็มาพักผ่อน มาจับจ่ายใช้สอยบนถนนสายนี้ จุดเปลี่ยนน่าจะช่วงราวปี พ.ศ. 2527

“ผมอยากเห็นสิ่งที่มีใน Converstation เกิดในวงสังคมทั่วไป ให้ทุกคนรู้สึกปลอดภัยที่ได้แสดงความคิดเห็นเพื่อช่วยกันขับเคลื่อนการพัฒนาเมือง”

“กระทั่งเรียนถึง ม.6 ผมก็ยังไม่แน่ใจว่าจะเรียนต่อมหาวิทยาลัยคณะอะไร ใจหนึ่งก็อยากเรียนด้านการศึกษา แต่ก็ไม่ได้อยากเรียนเพื่อเป็นครูแบบในระบบที่เราโตมา จนมาเจอว่าที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขามีคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ ซึ่งหลักสูตรเขาไม่ได้เน้นสร้างครู แต่เป็นการสร้างคนที่มาออกแบบกระบวนการการเรียนรู้เชื่อมไปกับบริบทสังคมและชุมชน ผมเลยตัดสินใจยื่นคะแนนเข้าสาขานี้ ผมเกิดกรุงเทพฯ และอยู่ที่นั่นมาทั้งชีวิต จนได้เรียนที่คณะนี้ในวิชา community engagement ที่เขาจะให้นักศึกษาเลือกลงไปใช้ชีวิตกับชุมชนเป็นเดือนๆ เพื่อถอดองค์ความรู้จากชุมชนนั้น โดยผมเลือกลงชุมชนชาวไทยทรงดำที่จังหวัดราชบุรี ซึ่งนั่นเป็นครั้งแรกที่ผมไปใช้ชีวิตอยู่ต่างจังหวัดนานๆ และก็เพราะได้เรียนคณะนี้และวิชานี้ จึงทำให้ตระหนักว่าการเรียนรู้ มันไม่ได้จำกัดอยู่แค่การศึกษาในระบบ

“ผมโตมาก็เห็นหนังใหญ่แล้ว เลยไม่คิดว่ามันพิเศษยังไง จนมาได้แสดงเองในที่ต่างๆ จึงพบว่าสิ่งที่เราทำอยู่ มันเป็นศิลปะที่หลงเหลืออยู่เป็นที่ท้ายๆ ของประเทศแล้ว”

“ผมเริ่มฝึกเชิดหนังใหญ่ตอนอายุ 10 ขวบครับ ตอนนั้น พระครูบรุเขต วุฒิกร อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านดอน มาถามเด็กนักเรียนในโรงเรียนวัดบ้านดอนว่าใครอยากเรียนเชิดหนังใหญ่บ้าง ผมเห็นว่าน่าสนใจดีก็เลยเข้าร่วม จากตอนแรกก็แค่เล่นสนุกๆ แถมยังได้ค่าขนมอีกเวลาไปออกแสดงตามที่ต่างๆ พอเล่นไปเล่นมาก็พบว่าเป็นความผูกพันที่ได้แสดงร่วมกับเพื่อน และได้ฝึกซ้อมรุ่นน้องต่อๆ มาให้มาแสดงร่วมกับเรา อีกทั้งพอได้ไปตระเวนเปิดการแสดงที่ต่างๆ รวมถึงในต่างประเทศ เล่นจบได้ยินเสียงปรบมือก็รู้สึกภาคภูมิใจ ทุกวันนี้ผมอายุ 29 อยู่ในกลุ่มหนังใหญ่วัดบ้านดอนมาได้เกือบ 20 ปีแล้ว

“อย่าปฏิเสธของเก่า แต่ขณะเดียวกันก็อย่ากำหนดกรอบแค่ว่าสิ่งเดิมนั้นสมบูรณ์ดีอยู่แล้ว ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้”

“ราวร้อยกว่าปีก่อน หลังจากที่ชาวจีนที่มาตั้งรกรากที่เกาะสมุยก่อตั้งศาลเจ้าพ่อกวนอูได้ 20 ปี ก็ถึงเวลาที่องค์เจ้าพ่อต้องเข้าพิธีเปลี่ยนเครื่องทรง พวกเขาจึงส่งเจ้าพ่อกวนอูลงเรือสำเภากลับไปยังเกาะไหหลำเพื่อให้ช่างที่นั่นทำสีและบูรณะองค์ท่าน จนแล้วเสร็จ พอจะล่องเรืออัญเชิญองค์พ่อกลับมา ความที่การล่องเรือกลับสยามในยุคนั้นต้องเผชิญมรสุมมากมาย คนจีนที่นั่นก็ได้จำลององค์เจ้าแม่ทับทิม ซึ่งเป็นเทพแห่งสายน้ำ อัญเชิญลงเรือมาพร้อมกันด้วย เพื่อให้การเดินทางแคล้วคลาดปลอดภัย แล้วเรือลำดังกล่าวก็ล่องมาถึงเกาะสมุย ชาวสมุยอัญเชิญเจ้าพ่อกวนอูขึ้นฝั่งด้วยดี แต่พอถึงคราวโยนไม้เสี่ยงทายเพื่ออัญเชิญเจ้าแม่ทับทิมลงบ้าง ปรากฏว่าต่อให้โยนไม้อย่างไร ก็ตีความหมายได้ว่าเจ้าแม่ทับทิมไม่ยอมขึ้นฝั่ง หลังจากเชิญอยู่หลายวัน ก็ได้เวลาที่เรือลำนั้นต้องกลับพระนครเพื่อไปขนถ่ายสินค้าอย่างอื่นต่อ เจ้าแม่ทับทิมจึงติดกับเรือขึ้นอ่าวไทยมาด้วย จนกระทั่งเรือลำดังกล่าวล่องมาถึงปากแม่น้ำระยอง

“ถ้าคิดจะขายอะไรสักอย่าง ก็ควรขายสิ่งที่มาจากชุมชนหรือตัวตนของเราเอง”

“พี่ย้ายมาอยู่ประแสปี พ.ศ. 2536 มาเป็นสะใภ้ที่นี่ ประแสในยุคนั้นเป็นชุมชนคนทำประมงพาณิชย์ที่ใหญ่มาก โดยครอบครัวสามีพี่เขาเปิดอู่ซ่อมเรือ เรือประมงเข้าออกแทบจะทั้งวันและทุกวัน เรือขึ้นมาที ลูกเรือก็จะแห่มาซื้อของ ที่นี่จึงเต็มไปด้วยร้านโชห่วย ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ไปจนถึงคาราโอเกะและสถานบันเทิง แม่สามีพี่ก็เปิดร้านบนถนนตลาดเก่าตรงนี้ ขับรถไปที่ซื้อของที่ตัวเมืองแกลง และเอามาขายที่นี่ เอาอะไรมาก็ขายได้หมด สมัยก่อนชาวประมงเป็นคนอีสานเยอะ เวลาสาวอวนลงเรือ พวกเขาจะร้องเพลงกัน สนุกสนานเฮฮา ชุมชนเรามีเสน่ห์มากๆ

“ทางฝั่งอุตสาหกรรมเขามีระเบียงเศรษฐกิจ EEC หรือ Eastern Economic Corridor ใช่ไหม ของอีกฝั่งเขาก็บอกว่าระยองเราเป็น Education Learning Corridor หรือระเบียงทางด้านการศึกษาได้เหมือนกัน”

“จากการที่สถาบันอาศรมศิลป์ได้ร่วมขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษาในจังหวัดระยอง และพบว่าการทำงานเฉพาะแค่การศึกษาในระบบนั้น ไม่เพียงพอต่อการพัฒนาในปัจจุบัน ที่ซึ่งการพัฒนาผู้คนในปัจจุบันไปได้ไม่เท่าทันกับการพัฒนาเมือง เราจึงร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองก่อตั้ง ‘สถาบันการเรียนรู้ของคนทุกช่วงวัย’ (Rayong Inclusive Learning Academy: RILA) เพื่อเน้นการสร้างองค์ความรู้ผ่านการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้คนระยองทุกช่วงวัย สถาบันดังกล่าวหาได้เป็นมีสำนักงานหรือมีห้องเรียนที่เป็นรูปธรรม แต่เป็นพื้นที่กลางที่สานความร่วมมือไปยังหน่วยงาน เครือข่ายภาคประชาสังคม และเจ้าขององค์ความรู้ต่างๆ มาออกแบบชุดความรู้ให้กับผู้คนในเมืองระยอง ผ่านกระบวนการ Learning City Lab ซึ่งเป็นการประยุกต์มาจาก

“จริงอยู่ระยองเป็นเมืองอุตสาหกรรม หลายคนอาจมองว่าการทำงานเชิงศิลปะไม่น่าจะอยู่รอดได้ แต่อย่าลืมว่าเมืองแห่งนี้ก็มีผู้คนที่มีความหลากหลายมากพอที่จะทำให้ศิลปะเบ่งบาน เพียงแต่ผู้คนยังไม่รู้จะเข้าถึงอย่างไร”

“ราว 5 ปีที่แล้ว บริษัทด้านการเงินที่เราทำอยู่ที่ระยองถูกยุบรวมเข้ากับสำนักงานใหญ่ที่ชลบุรี เขาก็ให้พี่ย้ายไปทำงานที่นั่น แต่ความที่เราปลูกบ้านอยู่ระยอง และเป็นคนที่นี่ไปแล้ว ก็ไม่อยากย้ายไปไหน จึงตัดสินใจลาออกมา ตอนออกมาใหม่ๆ ก็เคว้งนะ เพราะเราทำงานประจำมาทั้งชีวิต แต่ในอีกทาง เราก็อยากทำธุรกิจส่วนตัวด้วย ก็เริ่มจากทำวุ้นมะพร้าวส่งขาย พออยู่ได้ จนกระทั่งช่วงโควิด เราขายของสด พอมีสถานการณ์ที่การค้าขายแบบเดิมทำได้ยาก มันจึงไม่ตอบโจทย์ คิดอยู่พักหนึ่งเหมือนกันว่าเราจะทำอะไรต่อดี รู้มาตลอดว่าตัวเองชอบงานศิลปะ

1 22 23 24 25 26 62

Recent Comments

No comments to show.

Follow

Instagram

This error message is only visible to WordPress admins

Error: No feed found.

Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.

Video