สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง และการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบวิจัยของ บพท. ปีนี้ ดร.ปุ่น ในบทบาทรองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับคณะทำงาน ได้ริเริ่มโปรแกรมวิจัยใหม่ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสมาคมเทศบาลนครและเมือง องค์กรที่เป็นดั่งหัวใจหลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำเมืองระดับท้องถิ่นครอบคลุมทั่วประเทศ กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ ที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเยือนอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี ภายหลังที่ บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในปี 2538 จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อแผนการทำร้อยเอ็ดให้น่าอยู่และน่าเที่ยวถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมือง ภูมิทัศน์ของเมืองร้อยเอ็ดค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทั้งการบูรณะบึงพลาญชัย การสร้างประตูเมืองจำลอง ‘สาเกตนคร’ ให้เป็นสัญลักษณ์และเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์คูเมืองโบราณให้น่ามองไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียว
THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP
- LIVABLE & SMART CITY
- LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
- LEARNING CITY
Topics
Criticism
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
World
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Pandemic
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Finance
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Criticism
Join our Mailing List
We hate spams like you do
Satire
Latest
หากกล่าวถึงย่านฝั่งธนฯ ในการรับรู้และความทรงจำของใครหลายคนที่เคยอ่านนวนิยายเรื่อง “แวววัน” นั้นคือพื้นที่ฝั่งตรงข้ามของพระนครที่ความเจริญยังไม่เข้าถึง เต็มไปด้วยสวนผลไม้ สวนหมากพลูที่แวววันมีหน้าที่เรียงพลูเพื่อหาเงินพิเศษไว้ใช้จ่าย เรือข้ามฟากคือพาหนะหลักในการจะข้ามไปฝั่งพระนคร ในนิยายเรื่องแวววันนั้น ใช้เวลาหลายสิบปีกว่าที่บ้านสวนของแวววันจะมีไฟฟ้า มีน้ำประปาเข้าถึง ฝั่งธนฯ ในความคิดคำนึงของใครหลายคนที่ได้อ่านนวนิยายเรื่องนี้เมื่อกว่าสี่สิบปีที่ผ่านมา จึงไม่ต่างอะไรจากบ้านนอกทั่วไปของไทย แต่ในเมื่อฝั่งธนฯ คือพื้นที่ที่เชื่อมต่อกับพระนครและเป็นหนึ่งเขตการปกครองของกรุงเทพมหานครฯ การพัฒนาพื้นที่ในฝั่งธนฯ จึงก้าวไปพร้อมๆ กับที่กรุงเทพฯ พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว สวนผลไม้ที่เคยส่งกลิ่นหอมในบันทึกของเฟรเดอริก อาร์เธอร์ นีลในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่
“บ้านหลังนี้เป็นของคุณป้า คุณป้าคุณลุงเสีย ก็ปิดไว้เฉยๆ เพราะลูกชายเขาที่เป็นลูกพี่ลูกน้องกันย้ายไปอยู่นอกกุฎีจีน พอคิดทำพิพิธภัณฑ์เลยทาบทาม เขาก็ตกลง โอนสิทธิ์การเช่าที่ดินแล้วก็มาปรับโครงสร้างข้างล่างซึ่งสูงแค่เมตรยี่สิบ เราทำอะไรไม่ได้เลย ก็ยกบ้านดีดขึ้นไปเป็นสามเมตรกว่า เสริมคาน ฐานราก ปรับพื้นที่ข้างบน แล้วก็ได้พื้นที่เพิ่มด้านหลังกับที่อีกนิดนึงของสำนักมิสซัง ก็ขออนุญาตเช่าจากวัดซางตาครู้ส แล้วก่อนทำ เราก็เชิญคนรอบบ้านที่จะมีผลกระทบจากการทำตรงนี้มาคุย ก็ไม่มีใครคัดค้าน เขาก็มีข้อแนะนำ คนที่อยู่ในนี้ก็อยู่กันมานาน เป็นพี่เป็นน้อง นับถือกันเป็นญาติ รู้จักกันหมด
“คำว่า ย่าน คือพื้นที่ที่เป็นจิตสำนึกของคนใน แต่เนื่องจากพื้นที่การบริหารการปกครองเปลี่ยนตั้งแต่อำเภอ ตำบล เขต ทำให้พื้นที่ทางวัฒนธรรมของคนที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา รัตนโกสินทร์ เลือนหายไป เลยคิดว่าเราควรสร้างสำนึกชุมชนของความเป็นย่านขึ้นมา ที่จะใช้ต่อรองกับฝ่ายปกครองได้ ซึ่งทำให้มีโอกาสเจอกับอาจารย์แดง (ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง – UddC) ที่มาทำงานในย่านนี้กว่าสิบปี ต้องบอกว่าอาจารย์มาทางสายสถาปัตย์ฯ แล้วขยายไปทางการผังเมือง ทิศทางการพัฒนาเมือง ก็เป็นองค์ความรู้ที่บ้านเราเพิ่งตื่นเรื่องการวางผังเมืองสักยี่สิบปีมานี้
“ไอคอนสยามเปิดมาปีนี้เป็นปีที่สี่ แต่เรามีโอกาสมีส่วนร่วมกับโครงการและกิจกรรมอนุรักษ์และฟื้นฟูในพื้นที่ย่านกะดีจีน-คลองสานและต่อยอดโครงการขับเคลื่อนย่านกะดีจีน-คลองสาน สู่การเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้มาก่อนที่ห้างจะเปิด คือโดยคอนเซปต์ เราไม่ใช่แค่ศูนย์การค้า เราบอกทุกคนว่า ไม่ใช่ที่ที่มาเพื่อซื้อของ แต่เราอยากให้เป็นพื้นที่แห่งการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ อีกอย่างคือจุดเริ่มต้นนโยบายของผู้บริหารเลยว่า เมื่อไหร่ที่เรามีบิ๊กโพรเจกต์เกิดขึ้น มันจะมาทั้งความต้อนรับและข้อสงสัย เราจะเตรียมพื้นที่ยังไงไม่ให้เราสร้างความเดือดร้อน แต่เราจะเป็นคนที่มาด้วยความมีประโยชน์มากกว่า เลยเป็นที่มาที่เราอยากร่วมมือกับภาคการศึกษาหรือใครก็ตามที่มีแนวคิดนี้เหมือนกัน คือไอคอนสยามจะมาพร้อมกับนักท่องเที่ยววันละสองแสนคน เพราะฉะนั้นพื้นที่รอบๆ ต้องเตรียมความพร้อมเพื่อเขาจะได้รับประโยชน์ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ค้าขายหรือทำเรื่องการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เรามีคอนเซปต์เดียวกับโครงการวิจัยฯ ที่จะทำให้ทุกพื้นที่ที่มีเอกลักษณ์ของตัวเองเข้มแข็ง และมั่นใจในศักยภาพที่เขามี คือตอนนี้ห้างสร้างเสร็จแล้ว
“คลองสานมีศักยภาพทั้งมิติเชิงประวัติศาสตร์ มิติเชิงวัฒนธรรม มิติของกลุ่มคนที่มีความหลากหลาย บริบทตัวพื้นที่คลองสานเองที่อยู่ริมน้ำ ชุมชนเก่าผสมกับวิถีชีวิตใหม่ๆ มีความเป็นย่านท่องเที่ยวด้วย ประกอบกับมีพื้นที่เอกชนแปลงหนึ่งที่เกิดขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติลดหย่อนภาษีให้เอกชนให้ที่ดินกับรัฐเพื่อสาธารณประโยชน์ ก็เลยพัฒนาพื้นที่คลองสานเป็นต้นแบบ และเป็นย่านที่หลายๆ กลุ่มให้ความสนใจเข้าไปอยู่แล้ว ถ้าสามารถกระตุ้นให้ไปในทิศทางที่ไม่ได้ไปในทางท่องเที่ยวอย่างเดียว แต่สามารถพัฒนาเพื่อชุมชนด้วย ก็จะทำให้เกิดความยั่งยืนได้ ทำยังไงให้การพัฒนาพื้นที่สาธารณะตรงนี้ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมจริงๆ เราหาสามเครือข่าย กลุ่มรัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม มาคุยกัน ให้คนทุกกลุ่มเข้ามาร่วมออกแบบโปรแกรมที่ทำให้มีการใช้งานที่ตอบสนองกับคนในพื้นที่จริงๆ ทางศูนย์นวัตกรรมเพื่อพัฒนาการออกแบบเอง เราเป็นสถาบันการศึกษา
“จุดเริ่มต้นของร้าน Deep Root Café คือการปั่นจักรยานมาเจอ นึกว่าคุ้นๆ นะ เป็นทางเดินกลับบ้านเราเองตอนยังเด็กมาก บ้านผมอยู่สำเพ็ง ฝั่งโน้น ผมเรียนโรงเรียนแสงอรุณ จากวัดซางตาครู้สเดินผ่านทางนี้ ก็ร้างๆ อยู่แล้วล่ะ พอมาเห็นรู้สึกสงสารพื้นที่ที่ถูกทิ้งร้างมาเป็นห้าสิบปี รู้สึกว่าเราพอจะทำอะไรบางอย่างได้มั้ย อีกข้อนึง ผมทำงานในตัวเมืองโซนสยามสแควร์ เราอยากหนีความวุ่นวาย อยากให้มีพื้นที่รีแลกซ์สำหรับคนในเมืองที่วุ่นวายกับชีวิตในวันหนึ่งๆ ความคิดแรกคือทำร้านกาแฟ แต่หลักๆ
“ในตัวผมมีสองบทบาทคือนักวิชาการที่เป็นอาจารย์สอนสถาปัตย์ฯ และทำงานสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ กับบทบาทที่เป็นคนในชุมชนกุฎีจีน คือผมเป็นเขย แต่งงานก็เข้าไปอยู่ในย่านจนทุกวันนี้ ลูกก็โตอยู่ในย่าน ซึ่งสองบทบาทนี้เกื้อหนุนกัน เห็นมุมมองตั้งแต่ระดับนโยบาย การช่วยเหลือของหน่วยงานต่างๆ เช่น สมาคมสถาปนิกสยามฯ คณะสถาปัตย์ฯ จุฬาฯ กรุงเทพมหานคร ที่เข้ามา ทำให้มองภาพรวมของชุมชนได้กว้างกว่าคนที่อยู่ในชุมชนเอง ขณะเดียวกัน ก็เห็นความต้องการของคนที่อยู่ในชุมชน รู้ว่าลิมิตของเขามีแค่ไหน เขาทำอะไรได้บ้าง ปัญหาอุปสรรค
“ผมเป็นคนอุดรฯ แต่มาจบนิติศาสตร์ ที่มข.ครับ จริง ๆ ไม่ได้เรียนมาทางสายศิลปะ ด้วยความที่ทางบ้านไม่ได้มีฐานะ ช่วงเรียนก็เลยหางานทำ ทำมันทุกอย่างรับหมด ตั้งแต่แจกใบปลิว ไปถึงขายน้ำปั่น หรือจะเล่นดนตรีอันนี้ก็รับ อย่างหลังนี่คือผมถนัด ชอบ และก็ทำวงกับเพื่อนแบบจริงจัง ก่อนจะจบได้มีโอกาสลงพื้นที่ทำบทความ แล้วนิตยสารชื่อ ‘ทางอีสาน’ เป็นนิตยสาร Local รวมบทความประวัติศาสตร์ และท้องถิ่นสาน
เปิดแนวคิด กลยุทธ์ และแนวทางการขับเคลื่อนเมืองพะเยา และเมืองหาดใหญ่ สู่การเป็นสมาชิกใหม่เครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ UNSECO โดยนักวิจัยเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) [ เมืองพะเยา ] – รศ.ดร.ผณินทรา ธรานนท์ ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยพะเยา การพัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการเมืองแห่งการเรียนรู้บนพื้นที่พะเยาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานนอกระบบบนพื้นฐาน BCG โมเดล [ เมืองหาดใหญ่
Recent Posts
- [เมืองเหนือ : เมืองวัฒนธรรม เกษตร ผู้สูงอายุ และ E-sport city] ผศ. ดร.จุฑาทิพย์ เฉลิมผล
- [ CIAP 4 ภาค ผลักดันต้นแบบเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ด้วยพลังท้องถิ่น และงานวิจัย ] ผศ. ดร.มณีรัตน์ วงษ์ซิ้ม
- [ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม
- THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
- WeCitizens : The Concept
Recent Comments
Categories
Error: No feed found.
Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.