สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง และการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบวิจัยของ บพท. ปีนี้ ดร.ปุ่น ในบทบาทรองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับคณะทำงาน ได้ริเริ่มโปรแกรมวิจัยใหม่ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสมาคมเทศบาลนครและเมือง องค์กรที่เป็นดั่งหัวใจหลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำเมืองระดับท้องถิ่นครอบคลุมทั่วประเทศ กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ ที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเยือนอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี ภายหลังที่ บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในปี 2538 จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อแผนการทำร้อยเอ็ดให้น่าอยู่และน่าเที่ยวถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมือง ภูมิทัศน์ของเมืองร้อยเอ็ดค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทั้งการบูรณะบึงพลาญชัย การสร้างประตูเมืองจำลอง ‘สาเกตนคร’ ให้เป็นสัญลักษณ์และเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์คูเมืองโบราณให้น่ามองไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียว
THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP
- LIVABLE & SMART CITY
- LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
- LEARNING CITY
Topics
Criticism
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
World
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Pandemic
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Finance
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Criticism
Join our Mailing List
We hate spams like you do
Satire
Latest
“ผมเป็นคนขอนแก่น เรียนที่ขอนแก่นตั้งแต่โรงเรียนสาธิต จนไปจบ ป.โท เรียนวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น ก็ที่มข. บ้านผมทำร้านกระจกอลูมิเนียม ผมช่วยที่บ้าน แล้วก็มีร้านหมูกระทะชื่อบุญดีหมูกระทะ ก่อนหน้าที่จะมาทำร้านหมูกระทะ ผมเคยสนใจเรื่องการเมือง หนึ่งปีก่อนเกิดโควิดเคยไปเดินแจกแมสกับทางนายกธีรศักดิ์ ตอนนั้นคือนายกชวนมาลง สท. แต่พอไปทำแบบนั้นก็รู้สึกไม่ใช่ตัวตนของเรา ก็เลยตัดสินใจว่าทำมาธุรกิจเต็มตัวจะดีกว่า ส่วนเพื่อนๆ ที่ทำ YEC มาด้วยกันระยะหนึ่งที่เขามีความพร้อมจะลงเป็นประธาน ก็พากันไปลงเป็น สท.
“ภาคอีสานของเรา Gross Provincial Product GPP จังหวัด 20 จังหวัดรวมกันเป็นแค่ 10% ของ GDP ประเทศ เป็นพื้นที่ที่มีคนมากสุด พื้นที่มากสุด แต่เรากลับจนที่สุด เราก็มองสัดส่วนปัญหาส่วนที่เราพึ่งพาอยู่จึงพบว่าเราบอกว่าประเทศเราเป็นประเทศเกษตรกรรมแต่จริง ๆ เราพึ่งพาภาคบริการ 60% ขนาดเศรษฐกิจภาคอีสานพึ่งพาภาคบริการ 60.1% เกษตรกรรมแค่
“จริง ๆ การทำงานขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ที่ขอนแก่น เข้ามาเติมเต็มให้กับขอนแก่นโมเดลในเรื่องเกี่ยวกับการสร้างความมีส่วนร่วมของประชาชน การสร้างความตระหนักรู้เพิ่มขึ้นให้กับผู้คน คือต้องเรียนตามตรงว่า ตัวขอนแก่นโมเดลที่ผ่านมาขับเคลื่อนในลักษณะองค์กร ภาคเอกชน วิชาการ ภาครัฐต่าง ๆ ประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้ติดตามก็อาจจะงง ๆ อยู่ว่ามันคืออะไร แต่พอมีโครงการ Learning City ขึ้นมา โครงการทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อม และเติมเรื่องการมีส่วนร่วมการรับรู้ของคนเพิ่มเข้าไป ผนวกกับ Learning
“พื้นฐานเราเป็นบริษัทเกษตรทำน้ำตาลกับอาหาร และมี operation อยู่แถวอีสาน เหตุผลแรกที่เราเลือกที่นี่ เพราะลักษณะทางภูมิศาสตร์และที่ตั้งของอีสานอยู่บนเส้นแวงเป็น east west corridor ปลูกอ้อยได้ดีที่สุด และมีขอนแก่นเป็นศูนย์กลาง นั่นเป็นเหตุผลที่ทำไมเราสนใจขอนแก่น เรื่องที่สอง เรามองว่าขอนแก่นมีศักยภาพมาก เป็นศูนย์กลางคมนาคม การศึกษา การวิจัยพัฒนา มีอุทยานวิทยาศาสตร์ มีบุคลากรที่ผลิตนิสิตนักศึกษา ครูอาจารย์ ศูนย์การแพทย์ ศูนย์ราชการ
“ตอนนี้เป็นคนขอนแก่น แต่จริงๆ ผมเกิดหนองคาย พ่อแม่รับราชการ ไปโตที่โคราช เรียนมหาลัยจบแล้วก็ไปทำงานที่ The Nation พอ The Nation เขาจะตั้งศูนย์ข่าวภูมิภาคที่ขอนแก่น และต้องการคนที่อยู่ในภูมิภาคให้กลับมาทำศูนย์ข่าว ผมก็เลยย้ายมาอยู่ที่นี่ ส่วนตัวผมมองว่าเมืองขอนแก่น ด้วย Location มันเป็นศูนย์กลางของภาคอีสาน เป็นศูนย์กลางอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ถ้ากางแผนที่ดูจะพบว่าขอนแก่นตั้งอยู่ตรงกลางพอดี ไม่แปลกใจที่โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ จึงถูกวางไว้ที่นี่ย้อนไปไกลถึงยุคจอมพลสฤษดิ์
“ผมเป็นคนบ้านโต้น เข้ามาหางานในเมืองขอนแก่นตอนอยู่อายุ 18 ความรู้เรื่องตัดผ้า ผมมาหัดเอาตอนมาทำงานเป็นลูกจ้างเขา จนสามารถเปิดร้านตัดผ้าของตนเองปี 2516 ตอนนั้นเป็นแผงลอยอยู่แถวธนาคารออมสิน ก่อนจะย้ายมาตั้งที่นี่ตอนปี 2521 ชื่อร้าน ‘ฮาร่า’ ผมก็เอาชื่อจากโรงงานชื่อดังยุคนั้น ถ้าใครรู้สึกคุ้นๆ หู ก็เข้าใจถูกแล้ว เป็นชื่อของโรงงานตัดผ้าที่กรุงเทพ ที่มีการรวมตัวสหภาพแรงงานนั่นแหละ ทีแรกผมเองก็ไม่ได้คิดว่าตัวเองจะมาเป็นช่างตัดผ้าหรอก ถามว่าชอบไหมก็คงต้องบอกว่าชอบ เพราะทำมานานแล้ว
“ความที่ CEA ขอนแก่น เพิ่งตั้งได้ไม่นาน แต่หนึ่งในเป้าหมายการทำงานของเราคือ การบ่มเพาะนักสร้างสรรค์ Creative People และสนับสนุนงานเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาพื้นที่ เราจึงมีโอกาสได้ทำงานกับพลเมืองขอนแก่นหลากหลายกลุ่ม อย่าง KKTT และ Learning City เราก็เข้าไปร่วมประชุมนำเสนอความคิดเห็น และได้เชื่อมงานเชื่อมความร่วมมือกันผ่านการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ศรีจันทร์ในช่วงการเตรียมงานและจัดงาน Isan Creative Festival ปีแรก ซึ่งทางเครือข่ายก็เข้ามีส่วนช่วยเราในการกำหนดย่านสร้างสรรค์
WeCitizens ชวนผู้อ่านมาอ่านเมืองกาฬสินธุ์ผ่าน e-book ฉบับ “เสียงกาฬสินธุ์” ที่รวบรวมเรื่องราวของเมืองแห่งการเรียนรู้กาฬสินธุ์ที่เต็มไปด้วยสีสันของงานศิลปะ ครื้นเครงด้วยเสียงดนตรีท้องถิ่นอีสาน และน่าตื่นตาตื่นใจไปกับซากไดโนเสาร์ในแหล่งโบราณคดีสำคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย อ่าน “เสียงกาฬสินธุ์” ได้ที่ WeCitizens : เสียง กาฬสินธุ์ – WeCitizens Flip PDF | AnyFlip
“ผมเริ่มจากการเป็นนักพัฒนาที่ดิน โรงแรมนี้น่าประมาณ 16-17 ปีได้แล้ว เป็นรีสอร์ทสไตล์โรงแรม ตอนที่สร้างขอนแก่นยังไม่มีโรงแรมสไตล์แนวราบฟิลรีสอร์ทแบบนี้ ที่เลือกมาทำที่นี่เพราะผมเห็นศักยภาพของถนนเส้นนี้ที่อยู่หน้าสนามบินเชื่อว่า traffic ส่วนหนึ่งคาดหวังจากการท่องเที่ยว และนักเดินทาง แต่ในช่วงหลังทิศทางธุรกิจจะเป็นจากลูกค้ากลุ่มประชุมสัมมนา และกลายก็เป็นรายได้ราว 60% ของเรา ส่วนหนึ่งผมคิดว่าไม่ใช่เพราะขอนแก่นถูกเลือกเป็นเมือง MICE City แต่เพราะว่าที่นี่เรามีสำนักงานเขตของราชการ บริษัทเอกชน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล หน่วยงานองค์กรราชการ
Recent Posts
- [ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม
- THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
- WeCitizens : The Concept
- WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด
- City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร
Recent Comments
Categories
Error: No feed found.
Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.