สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง และการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบวิจัยของ บพท. ปีนี้ ดร.ปุ่น ในบทบาทรองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับคณะทำงาน ได้ริเริ่มโปรแกรมวิจัยใหม่ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสมาคมเทศบาลนครและเมือง องค์กรที่เป็นดั่งหัวใจหลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำเมืองระดับท้องถิ่นครอบคลุมทั่วประเทศ กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ ที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเยือนอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี ภายหลังที่ บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในปี 2538 จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อแผนการทำร้อยเอ็ดให้น่าอยู่และน่าเที่ยวถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมือง ภูมิทัศน์ของเมืองร้อยเอ็ดค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทั้งการบูรณะบึงพลาญชัย การสร้างประตูเมืองจำลอง ‘สาเกตนคร’ ให้เป็นสัญลักษณ์และเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์คูเมืองโบราณให้น่ามองไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียว
THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP
- LIVABLE & SMART CITY
- LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
- LEARNING CITY
Topics
Criticism
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
World
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Pandemic
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Finance
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Criticism
Join our Mailing List
We hate spams like you do
Satire
Latest
“หลังจากได้เข้าร่วมกิจกรรมเมืองราชบุรีกับโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ หนูก็ได้รวมทีมกับเพื่อนๆ เข้าประกวดแนวคิดการออกแบบพื้นที่การเรียนรู้ของเมือง เราตั้งชื่อทีมว่า Jungle Kids โดยนำเสนอเส้นทางการท่องเที่ยวเมืองราชบุรี แบ่งออกเป็น 5 พื้นที่หลัก พร้อมออกแบบของที่ระลึกในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้นักท่องเที่ยวสะสมให้ครบ โดย 5 พื้นที่ได้แก่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ตลาดโคยกี๊ ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง วัดช่องลม และวัดมหาธาตุ ส่วนของที่ระลึกที่เราออกแบบกัน ก็คำนึงถึงการถอดอัตลักษณ์ของพื้นที่นั้นๆ
“ความที่ชาวบ้านคูบัวส่วนหนึ่งเป็นลูกหลานชาวไทยวนที่ถูกกวาดต้อนจากเชียงแสนมาที่เมืองราชบุรีในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ ศิลปวัฒนธรรมไทยวนจึงยังคงมีการสืบสานต่อกันที่นี่ หลายบ้านยังคงพูดคำเมือง อาศัยในบ้านเรือนยกสูง นุ่งผ้าซิ่น และที่สำคัญคือยังคงทอผ้าซิ่นตีนจกแบบดั้งเดิมอยู่ เนื่องจากเราสอนวิชาเกี่ยวกับการออกแบบสิ่งทอที่คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เราเห็นว่าราชบุรีคือเมืองที่เป็นคล้ายชั้นเรียนเรื่องการทอผ้าอันยอดเยี่ยมโดยที่ไม่ต้องพานักศึกษาเดินทางไปดูงานที่ไหนไกล เพราะที่นี่มีครบตั้งแต่โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของแบรนด์ Pasaya โรงงานทอผ้าขาวม้าขนาดกลางที่มีอยู่หลายแห่ง และที่สำคัญคือแหล่งผลิตผ้าซิ่นตีนจกในระดับครัวเรือนอย่างที่เห็นในบ้านคูบัวแห่งนี้ โจทย์หนึ่งของงานวิจัยในโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ ที่เรารับผิดชอบในโครงการย่อยที่ 2 คือการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการทางศิลปะหัตถศิลป์ (Art & Craft LAB)
“ทีมมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ลงพื้นที่เมืองราชบุรีร่วมกับทางคณะโบราณคดี มาตั้งแต่โครงการเมืองน่าอยู่และสร้างสรรค์ในปี 2563 ซึ่งได้รับทุนจาก บพท. เช่นเดียวกับโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ปี 2564-2565 โดยในโครงการนั้น เราได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านศิลปหัตถศิลป์ท้องถิ่น ครอบคลุมตั้งแต่การวาดรูป การปั้นดิน การทำความเข้าใจงานหัตถกรรมพื้นบ้าน และการแชร์ความคิดด้านการออกแบบเมืองที่ทุกคนอยากเห็น กิจกรรมครั้งนั้นทำให้เราพบว่าเด็กราชบุรีหลายคนแม้จะคุ้นเคยกับโอ่งมังกร แต่ก็แทบไม่เคยสัมผัสดินที่ใช้ปั้นโอ่งเลย เราก็เลยให้เขาลองปั้นดิน และมาร่วมกันออกแบบประติมากรรมที่สะท้อนความเป็นเมืองราชบุรี เพื่อนำไปติดตั้งบริเวณริมแม่น้ำแม่กลองกัน ประติมากรรมรูปมังกร ‘ราชาก้อน’
“แม่เรียนทอผ้ามาจากแม่ (คุณยายซ้อน กำลังหาญ) และพี่สาว (ทองอยู่ กำลังหาญ) แม่ของแม่มีลูก 5 คน ลูกชาย 2 ลูกสาว 3 โดยลูกสาว 3 คนของบ้านจะทอผ้าเป็นทุกคน เพราะเกิดมาก็เห็นแม่ทอผ้าอยู่ใต้ถุนบ้านแล้ว ลูกๆ หลานๆ ที่เป็นผู้หญิงครอบครัวนี้ จะถูกจับมาฝึกทอผ้ากันทุกคน ชุมชนคูบัวที่แม่อยู่เป็นคนไทยวน
“ความที่เราเป็นนักวิจัยด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ และศึกษาเรื่องประวัติศาสตร์และศิลปะจีนในประเทศไทยมาอยู่แล้ว พอได้ลงพื้นที่ราชบุรี ทำโครงการเมืองน่าอยู่และสร้างสรรค์เมื่อปี 2563 บริเวณชุมชนตลาดเก่า (ตลาดโคยกี๊) เมืองราชบุรี ซึ่งมีรากเหง้าของวัฒนธรรมชาวจีนที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในไทย จึงทำให้การศึกษาวิจัยของเราโครงการนี้เชื่อมร้อยกันได้ง่าย เราพบว่าผู้คนในชุมชนตลาดเก่าต่างตระหนักดีถึงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ในพื้นที่ และมีความแอคทีฟอยากเห็นย่านที่พวกเขาอาศัยได้รับการพัฒนา เพียงแต่เขาไม่รู้จะสื่อสารออกมาอย่างไร พอเราได้แลกเปลี่ยนกันก็พบว่า ชาวชุมชนต้องการสร้างสื่อที่เป็นรูปธรรมจากฐานข้อมูลทางประวัติศาสตร์ โดยคิดถึงการสร้างแลนด์มาร์ค หรือจุดถ่ายรูปเพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาถ่ายรูปและเรียนรู้ในพื้นที่ ด้วยเหตุนี้ นอกจากการจัดทำฐานข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรมทั้งในรูปแบบของเอกสารและฐานข้อมูลออนไลน์ รวมถึงเส้นทางการท่องเที่ยวเมืองเก่า เราจึงร่วมกับทีมนักวิจัยจากคณะมัณฑนศิลป์
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและเชิงเกษตรเป็นที่นิยมและเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งสะท้อนค่านิยมและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไปในทางใฝ่หาการเรียนรู้ความดั้งเดิม จริงแท้ของชุมชนท้องถิ่นมากขึ้น ประเทศต่างๆ จึงใช้การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเป็นกลไกสำคัญหนึ่งในกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ สำหรับจังหวัดจันทบุรีเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมที่มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและเชิงเกษตรที่สำคัญมากมาย ตั้งแต่แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ที่หมู่บ้านไร้แผ่นดิน บ้านบางชัน (อำเภอขลุง) และบ้านหนองชิ่ม-เกาะเปริด (อำเภอแหลมสิงห์) มีที่พักแบบโฮมสเตย์และกิจกรรมล่องแพเปียก ชมป่าชายเลน ดูเหยี่ยว เที่ยวทะเลใน และทะเลแหวกปากน้ำเวฬุ (อำเภอขลุง) ส่วนแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ เช่น อาสนวิหารพระนางมารีปฏิสนธินิรมล ชุมชนริมน้ำจันทบูร
จังหวัดจันทบุรีอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติทั้งพื้นที่ป่า ภูเขา ทะเล เป็นแหล่งผลิตสินค้าทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์อาหารทะเล อีกทั้งมีความหลากหลายของวิถีชีวิตความเป็นอยู่ชุมชนที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมหลายชนชาติซึ่งเคยอาศัยอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ของจันทบุรีมาแต่อดีตกาล อาทิ ชาวจีน ชาวญวน และชาวชอง ซึ่งถือเป็นชนพื้นเมืองจันทบุรี มีภาษาพูดเป็นภาษาชองที่แตกต่างจากภาษาเขมรและภาษาไทย ทางมานุษยวิทยาจัดให้อยู่ในจำพวกตระกูลมอญ-เขมร เช่นเดียวกับพวกขอมโบราณ โดยอาศัยอยู่บริเวณอำเภอขลุง ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด อันเป็นชุมชนที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ภูเขา น้ำตก ป่าชายเลน และแหล่งท่องเที่ยวเชิงศิลปะวัฒนธรรมที่สะท้อนความเป็นมาของอำเภอขลุงในปัจจุบัน คำว่า
ชุดโครงการวิจัย “การสร้างกลไกและเครือข่ายการยกระดับระบบนิเวศเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) เพื่อพัฒนาเมืองต้นแบบแห่งการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมดิจิทัล อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี” ให้ความสำคัญกับการสร้างคุณค่าของผลิตภัณฑ์ของอำเภอขลุง โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาบริหารจัดการข้อมูล ถอดอัตลักษณ์ในเชิงวัฒนธรรม ชาติพันธุ์ สถาปัตยกรรม วิถีเกษตรภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน และวิสาหกิจชุมชน เพื่อสร้างเป็นฐานข้อมูลของอำเภอขลุง ขับเคลื่อนกระบวนการบริหารเมืองบนพื้นที่เมืองแห่งการเรียนรู้อำเภอขลุง ด้วยแนวคิด “เมืองขลุงพหุวัฒนธรรมและเกษตรนำวิถี มีความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งเรียนรู้และสร้างรายได้” ซึ่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชินวุธ
ในการดำเนินโครงการวิจัย “การสร้างกลไกและเครือข่ายการยกระดับระบบนิเวศเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) เพื่อพัฒนาเมืองต้นแบบแห่งการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมดิจิทัล อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี” อาศัยการสร้างกระบวนการศึกษาและสังเคราะห์เนื้อหาที่ทีมวิจัยได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเชิงลึกด้านวัฒนธรรมและเกษตร อำเภอขลุง นำมาสร้างกลไกความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อสร้างและจัดทำพื้นที่การเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมและเกษตรอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี รวมถึงการรวบรวมชุดข้อมูลพื้นฐานด้านการท่องเที่ยว อาหารพื้นถิ่น วัฒนธรรมท้องถิ่น ปราชญ์ท้องถิ่น การเกษตร และวิสาหกิจชุมชนของอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี นำมาวิเคราะห์
Recent Posts
- [เมืองเหนือ : เมืองวัฒนธรรม เกษตร ผู้สูงอายุ และ E-sport city] ผศ. ดร.จุฑาทิพย์ เฉลิมผล
- [ CIAP 4 ภาค ผลักดันต้นแบบเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ด้วยพลังท้องถิ่น และงานวิจัย ] ผศ. ดร.มณีรัตน์ วงษ์ซิ้ม
- [ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม
- THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
- WeCitizens : The Concept
Recent Comments
Categories
Error: No feed found.
Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.