สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง และการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบวิจัยของ บพท. ปีนี้ ดร.ปุ่น ในบทบาทรองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับคณะทำงาน ได้ริเริ่มโปรแกรมวิจัยใหม่ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสมาคมเทศบาลนครและเมือง องค์กรที่เป็นดั่งหัวใจหลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำเมืองระดับท้องถิ่นครอบคลุมทั่วประเทศ กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ ที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเยือนอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี ภายหลังที่ บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในปี 2538 จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อแผนการทำร้อยเอ็ดให้น่าอยู่และน่าเที่ยวถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมือง ภูมิทัศน์ของเมืองร้อยเอ็ดค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทั้งการบูรณะบึงพลาญชัย การสร้างประตูเมืองจำลอง ‘สาเกตนคร’ ให้เป็นสัญลักษณ์และเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์คูเมืองโบราณให้น่ามองไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียว
THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP
- LIVABLE & SMART CITY
- LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
- LEARNING CITY
Topics
Criticism
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
World
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Pandemic
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Finance
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Criticism
Join our Mailing List
We hate spams like you do
Satire
Latest
“ชุดโครงการวิจัย “การสร้างกลไกและเครือข่ายการยกระดับระบบนิเวศเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) เพื่อพัฒนาเมืองต้นแบบแห่งการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมดิจิทัล อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี” มีสองโครงการวิจัยย่อย หนึ่ง. คือการพัฒนาศูนย์เรียนรู้เชิงวัฒนธรรมและเกษตรอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี และ สอง. การพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์ม พื้นที่การเรียนรู้เทศบาลเมืองขลุง จังหวัดจันทบุรี ซึ่งผมรับหน้าที่หัวหน้าโครงการฯ โดยรวบรวมข้อมูลพื้นฐานต่างๆ จากโครงการย่อยที่หนึ่ง ซึ่งทีมดร.ลัญจกร สัตย์สงวน และผศ.ดร.ปัทมา
“ภายใต้โครงการวิจัยย่อยที่ 1 การพัฒนาศูนย์เรียนรู้เชิงวัฒนธรรมและเกษตรอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี เรารับผิดชอบดูแลการจัดศูนย์เรียนรู้เชิงเกษตร เก็บข้อมูลทั้งอำเภอขลุง ครอบคลุมทั้ง 12 ตำบล เราแยกกลุ่มชัดเจน กลุ่มที่เป็นเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มชาวบ้าน กลุ่มนักท่องเที่ยว กลุ่มนิสิตนักศึกษา กระจายไป 200 กว่าชุดข้อมูล เพื่อสอบถามและหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องเชิงเกษตร ไม่ว่าจะเป็นเกษตรดั้งเดิม เกษตรภูมิปัญญาชาวบ้าน เกษตรปัจจุบัน
“สิบสี่ปีที่แล้ว เราทำงานอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ยุคนั้นเป็นยุคที่มีการนำเด็กๆ ในพื้นที่มาเป็นยุวมัคคุเทศก์กัน พิพิธภัณฑ์เราก็ทำกิจกรรมยุวมัคคุเทศก์อาสาเหมือนกัน โดยชวนนักเรียนจากสถานศึกษาต่างๆ ในจังหวัดมาเรียนรู้เกี่ยวกับเมืองและวัตถุจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์ เพื่อให้พวกเขาสามารถนำชมพิพิธภัณฑ์ได้ ความน่าสนใจก็คือ เมื่อเราไปชวนเด็กนักเรียน ส่วนมากเขาจะถามคำแรกก่อนว่ามีใบประกาศนียบัตรไหม เพราะเขาอยากเอาไปเป็นพอร์ตโฟลิโอ ขณะเดียวกัน เมื่อประสานไปยังโรงเรียนต่างๆ คุณครูก็มักจะเลือกเด็กนักเรียนที่เก่งที่สุดหรือมีทักษะทางการสื่อสารที่ดีที่สุดมาร่วมกิจกรรม ผลปรากฏว่า หลังจากที่เราอบรมความรู้ต่างๆ แก่เด็กๆ และมอบใบประกาศนียบัตรเสร็จเรียบร้อย เด็กๆ ส่วนใหญ่ก็ไม่มาเป็นยุวมัคคุเทศก์อาสาของพิพิธภัณฑ์เราเลย
“น้าของตาลเคยทำงานที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี ตาลจึงมีความผูกพันและสนใจเรื่องโบราณคดีและประวัติศาสตร์ตั้งแต่เด็ก จนขึ้นมัธยมปลาย และเห็นว่าโรงเรียนเรา (เบญจมราชูทิศ ราชบุรี) มีชมรมโบราณคดีที่เป็นชมรมใหญ่ด้วย ก็เลยสมัครเข้ามา ความที่ตาลสนใจเรื่องเก่าๆ ก็เลยชอบเล่าเรื่อง กิจกรรมของชมรมที่ชอบเป็นพิเศษ จึงเป็นการนำชมพิพิธภัณฑ์ (เบญจมราชูทิศพิพิธภัณฑ์) เพราะมันไม่ใช่แค่การท่องจำเพื่อเล่าให้คนอื่นฟังว่าโบราณวัตถุชิ้นนี้คืออะไรหรือมีความหมายอย่างไร แต่ยังเป็นการหาวิธีสื่อสารให้กับผู้ฟังหลากหลายที่มา อย่างเพื่อนนักเรียนจากสถาบันอื่น คณะครูที่เข้ามาดูงานเพื่อไปพัฒนาพิพิธภัณฑ์ที่โรงเรียนของเขา บุคคลทั่วไป รวมถึงชาวต่างชาติ แต่ละกลุ่มล้วนมีพื้นฐานไม่เหมือนกัน บางคนรู้ว่าอาณาจักรทวารวดีคืออะไร
“ผมเริ่มทำประติมากรรม ‘โคยกี๊ก้อน’ ราวปี 2564 ซึ่งเป็นประติมากรรมรูปมังกรสีเหลือง คลุมทับท่อน้ำบริเวณเขื่อนริมแม่น้ำแม่กลองตรงตลาดโคยกี๊ ที่เลือกทำมังกรตัวนี้ก็เพราะเมื่อทีมงานมัณฑนศิลป์ร่วมกับชาวชุมชนสร้างสรรค์งานศิลปะในที่สาธารณะบริเวณริมแม่น้ำตามจุดต่างๆ ตัวแทนชุมชนเห็นว่าท่อน้ำตรงนี้มีทัศนะที่ไม่น่ามอง เราเลยตกลงกันว่า งั้นทำงานศิลปะปิดมันไปเลยดีกว่า นั่นล่ะครับ มังกรตัวนี้จึงยาวเป็นพิเศษ เพราะจะได้คลุมทับท่อน้ำ และเป็นที่นั่งพักให้กับผู้สัญจรไปมาด้วย ผมชอบกระบวนการสร้างสรรค์มังกรตัวนี้เป็นพิเศษ เพราะนี่เป็นผลจากโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการของเมืองแห่งการเรียนรู้ ซึ่งผมชวนนักศึกษาที่ผมสอนร่วมลงพื้นที่กับเยาวชนและตัวแทนชุมชนในเมืองราชบุรี เรียนรู้เรื่องการทำเซรามิกด้วยกัน และเราก็นำเซรามิกที่ได้จากเวิร์คช็อปนี้แหละ มาให้ทุกคนช่วยกันประกอบเป็นเกล็ดของเจ้าโคยกี๊ก้อน หลังจากโคยกี๊ก้อนแล้วเสร็จ ผมก็ได้งบประมาณจากโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้มาพัฒนาพื้นที่ต่อ
“ในกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการที่ทางอาจารย์มหาวิทยาลัยศิลปากรให้เรารวมกลุ่มกับเพื่อน ร่วมกันออกแบบแนวคิดพื้นที่การเรียนรู้ของเมืองราชบุรี พวกเราเห็นตรงกันว่าอยากสร้างแลนด์มาร์คทางศิลปะให้กับเมืองค่ะ เราตั้งชื่อทีมว่า T.5 New Modern โดยเริ่มจากการวาดแผนที่เมืองราชบุรีพร้อมแลนด์มาร์คของเมืองประกอบเข้าไป อาทิ โอ่งมังกรที่เถ้าฮ่งไถ่ พระพุทธรูปที่เขาแก่นจันทร์และวัดช่องลม สะพานดำ ไปจนถึงผึ้งที่อำเภอสวนผึ้ง และอื่นๆ หลังจากนั้น เราก็ลดขนาดของพื้นที่ให้เล็กลงมา เพราะเห็นว่าสถานที่ท่องเที่ยวดังๆ นั้น นักท่องเที่ยวต่างรู้จักอยู่แล้ว แต่ถ้าเราทำเป็นเส้นทางเดินเท้าในตัวเมือง ก็คงจะน่าสนใจไม่น้อย อย่างไรก็ตาม
“ราชบุรีเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่ทำโอ่งมังกร เพราะดินเหนียวแดงที่นี่มีคุณสมบัติเหมาะแก่การทำโอ่ง มันทนความร้อนได้มากกว่า 1,200 องศาเซลเซียส นั่นทำให้เมื่อเผาออกมา โอ่งจึงสามารถกักเก็บน้ำได้อย่างดีเยี่ยม ไม่รั่วซึม โอ่งมังกรเป็นตัวแทนการผสมผสานของจีนและไทย ชาวจีนที่อพยพมาราชบุรีมีทักษะในการทำเครื่องปั้นดินเผาติดตัวมา ส่วนราชบุรีก็มีดินที่มีคุณสมบัติเหมาะจะเป็นเครื่องปั้นดินเผาคุณภาพดี และก็เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ของชาวจีน นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมลวดลายบนโอ่งจึงเป็นมังกร แต่ก่อนตรงริมน้ำแม่กลอง บริเวณที่เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี จะมีท่าน้ำที่พ่อค้าจากทั่วสารทิศเดินเรือเข้ามาเพื่อรับซื้อโอ่งมังกรไปขายตามเมืองที่อยู่ร่องน้ำต่างๆ ในภาคกลาง จากแม่กลองไปลุ่มน้ำป่าสัก เข้าอยุธยา สระบุรี
“ปีที่แล้ว ทางโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยศิลปากรประกาศรับสมัครนักเรียนในราชบุรีให้มาประกวดการออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยวของเมือง หนูกับเพื่อนอีก 4 คนก็รวมกลุ่มไปสมัคร ตั้งชื่อทีมว่า จาร์ ดรีมเมอร์ (Jar Dreamer) โดยนำโอ่ง (jar) ที่เป็นสัญลักษณ์ของเมืองมาตั้ง ประมาณว่าเป็นทีมนักฝันที่อยากเห็นเมืองราชบุรีเติบโตไปในแบบที่เราเป็น ราชบุรีเป็นเมืองที่มีพื้นที่ทางประวัติศาสตร์เยอะมาก ย้อนไปตั้งแต่ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์มาจนถึงปัจจุบัน ทั้งยังมีโบราณสถานสวยงามที่หลงเหลือมาถึงทุกวันนี้ไม่น้อย โดยเฉพาะวัดมหาธาตุที่หนูชอบ วัดแห่งนี้เป็นวัดเก่าที่มีศิลปะจากยุคสมัยต่างๆ ของบ้านเราซ้อนทับกันอยู่ เวลาเข้าไปในบริเวณวัด เหมือนเราได้ย้อนเวลากลับไปในอดีตจริงๆ
ก่อนหน้านี้ผมเป็นวิศวกรที่ประเทศเยอรมนี แต่มีเหตุให้ต้องกลับมาบ้านที่อัมพวา แล้วบังเอิญได้รู้จักคุณพ่อ (บาทหลวง) ที่สอนหนังสือที่โรงเรียนดรุณาราชบุรี ท่านชวนให้ผมมาสอนที่นี่ ความที่ช่วงนั้นผมรับงานติวเตอร์สอนภาษาเยอรมันและวิชาฟิสิกส์ให้นักเรียนที่ราชบุรีอยู่แล้ว จนพบว่าเราชอบสอนหนังสือให้เด็กๆ ก็เลยตกลงมาสอนประจำที่โรงเรียนนี้ ตอนนี้สอนมาได้ 4 ปีแล้วครับ ผมเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ และเป็นหัวหน้างานหลักสูตรการอาชีพ โดยตำแหน่งหลังนี้ เป็นหลักสูตรที่เปิดให้นักเรียนได้เลือกวิชาชีพที่เขาอยากเรียนเสริมไปพร้อมกับหลักสูตรการศึกษาทั่วไป แบ่งออกเป็น 2 แผน ได้แก่ แผนศิลป์-ธุรกิจ และแผนศิลป์-กีฬา
Recent Posts
- [เมืองเหนือ : เมืองวัฒนธรรม เกษตร ผู้สูงอายุ และ E-sport city] ผศ. ดร.จุฑาทิพย์ เฉลิมผล
- [ CIAP 4 ภาค ผลักดันต้นแบบเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ด้วยพลังท้องถิ่น และงานวิจัย ] ผศ. ดร.มณีรัตน์ วงษ์ซิ้ม
- [ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม
- THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
- WeCitizens : The Concept
Recent Comments
Categories
Error: No feed found.
Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.