[ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม

สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม  ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง และการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบวิจัยของ บพท.  ปีนี้ ดร.ปุ่น ในบทบาทรองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับคณะทำงาน ได้ริเริ่มโปรแกรมวิจัยใหม่ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสมาคมเทศบาลนครและเมือง องค์กรที่เป็นดั่งหัวใจหลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำเมืองระดับท้องถิ่นครอบคลุมทั่วประเทศ กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ ที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเยือนอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี ภายหลังที่ บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในปี 2538 จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อแผนการทำร้อยเอ็ดให้น่าอยู่และน่าเที่ยวถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมือง ภูมิทัศน์ของเมืองร้อยเอ็ดค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทั้งการบูรณะบึงพลาญชัย การสร้างประตูเมืองจำลอง ‘สาเกตนคร’ ให้เป็นสัญลักษณ์และเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์คูเมืองโบราณให้น่ามองไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียว

THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP

  • LIVABLE & SMART CITY
  • LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
  • LEARNING CITY

Topics

Criticism

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

World

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Pandemic

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Finance

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Criticism

Join our Mailing List

We hate spams like you do

Satire

Latest

ฟังเสียงคลื่น ฟังเสียงคน
ฟังเสียงหัวหิน

We Citizens Thailand ชวนผู้อ่านมาเรียนรู้ผู้คนจากเมืองท่องเที่ยวขึ้นชื่อที่ชื่อ “หัวหิน” นอกจากจะมาฟังเสียงคลื่น ยังมีเสียงของผู้คน เสียงของเมืองให้อ่านกันใน E-Book ฉบับ “เสียงหัวหิน” WeCitizens : เสียงหัวหิน – WeCitizens Flip PDF | AnyFlip

ฉันตอนนี้อายุ 76 ก็ไม่มีโรคอะไร
ส่วนพี่ฉันอายุ 87 ยังแข็งแรง

“บ้านหลังนี้ก็อยู่มาตั้งแต่เกิด แต่ก่อนเป็นบ้านไม้ 2 ชั้น แล้วบ้านผุ เลยยกบ้านเก่าออกแล้วทำบ้านใหม่ ตอนนี้เป็นตึก 2 ชั้น ประมาณ 80 ปี เมื่อก่อนมี 3 ห้อง ตอนนี้มี 2 ห้อง ประตูบ้านเป็นไม้ แล้วพี่สาวอยากได้ประตูใหม่ เลยทำห้องนึงเป็นเหล็กม้วน ประตูเก่าก็ค่อยๆ

ธรรมชาติแปรเปลี่ยนไป วัฒนธรรมก็เปลี่ยนไปอีก แล้วเราจะอนุรักษ์ยังไง
นี่แหละคือปัญหา

“ขลุงเป็นเมืองที่สงบ ไม่ทะเลาะวิวาท ไม่แตกแยก คือก็มีแหละ แต่ไม่ขัดแย้งกันมากนัก เพราะเรามีบรรพบุรุษที่เป็นโรงเรียนศรีหฤทัยซึ่งปีนี้ก็ครบ 75 ปี (สถาปนาโรงเรียนวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2490) ก็หลอมรวมคนคริสต์ พุทธ คนที่อยู่ในตลาด 30% คนนอกอีกประมาณ 60% ทั้งไร่หนองบอน นาวง ฉะนั้นวัฒนธรรมตรงนี้จึงหลอมรวมความหลากหลายของเชื้อชาติของคนขลุงมารวมกัน

อยากให้ชาวสวนขลุงเป็นยังไงเหรอ ผมขอยืมคำในหลวงท่าน “ใครจะว่าเราเชยก็ช่างเขา ขอให้เราอยู่แบบพอมี พอกิน และมีไมตรีจิตต่อกันจริงๆ ไม่ได้เชย มันล้ำหน้าต่างหาก...”

“ที่สวนลุงต้อยนี่ หน้าผลไม้มา ผมรับเฉพาะเสาร์อาทิตย์ กินฟรีหมด คุณจะซื้อกลับหรือไม่ซื้อกลับไม่เป็นไร อยากให้มาชิมทุเรียนแปลกๆ ของผมเป็นแปลงทุเรียนโบราณ ปีนี้จะมีไม่ต่ำกว่า 15 สายพันธุ์ และผมรวบรวมสายพันธุ์ทุเรียนไว้ ทั้งหมดตอนนี้มี 52 พันธุ์ ทำให้กับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระองค์ทรงให้ที่นี่เป็นแปลงรวบรวมของเกษตรกรจริงๆ แล้วในสวนผมเป็นต้นแม่ที่ไปหายอดมาปลูก ไม่ได้เพาะเม็ด เราขึ้นทะเบียน ใส่โค้ด

ต้นสันดานเป็นเถาไม้เลื้อย ใบมีรสเปรี้ยว มีช่วงหน้าฝน หน้าแล้ง ถ้าใส่มะนาวเยอะก็เปรี้ยวเยอะ แต่ใบสันดานใส่เท่าไหร่ เปรี้ยวเท่าเดิม คือเปรี้ยวเป็นสันดาน

“จุดเด่นของตะปอนคือความเก่าแก่ของวัฒนธรรมประเพณีที่มีคุณค่ากับชุมชนเรา อย่างประเพณีแห่เกวียนพระบาท มีแต่ที่บ้านเรา ที่อื่นไม่มี เป็นเรื่องเล่ากันมาว่า สมัยโบราณที่มีโรคห่าระบาด ชาวบ้านมาปรึกษาท่านพ่อเพชร (หลวงพ่อเพชร อินฺทฺปญฺโญ เจ้าคณะและอดีตเจ้าอาวาสวัดโพธิธาราม (วัดตะปอนใหญ่)) ท่านเลยให้เอาผ้าพระบาท (ผ้าเขียนรอยพระบาทจำลองสี่รอยซ้อนกัน) ที่วัดตะปอนน้อย อายุประมาณ 400 กว่าปี อัญเชิญมาจากวัดช้างไห้ จังหวัดปัตตานี มาลองแห่ดูเพื่อช่วยปัดเป่าให้ชาวบ้าน แห่เสร็จฝนก็ตกใหญ่ โรคระบาดก็หายไป

“ในหลวงสอนว่าให้อะไรก็แล้วแต่
ไม่ดีเท่าความรู้”

“ผมคิดทำศูนย์เรียนรู้วิถีเกษตรอินทรีย์มานานแล้ว เพราะได้เรียนรู้จากหลายๆ แหล่ง ก็อยากมาทำที่บ้านผม รวมหมดทุกอย่างที่จุดนี้ ไม่ต้องไปที่ไหนไกล เรามีเครือข่าย อยากมีความรู้ด้านไหนก็แจ้งมา ด้านการเกษตร ปลูกผัก ปลูกพืช ขยายพันธุ์พืชด้านการตอน การเสียบยอด เลี้ยงไส้เดือน เลี้ยงไก่ ปั้นกระถาง ทำถ่านอัดแท่ง ผมทำบ้านต้นไม้ไว้ 3 หลัง ยังไม่ได้ติดแอร์ไม่มีเฟอร์นิเจอร์ภายใน ตอนนี้ผมไม่สบายก็ดูแลตัวเองก่อน

อยากให้ใครมาเที่ยวขลุง ขลุงมีอะไรดี ส่วนใหญ่บอกว่าอาหารทะเล แต่ผมบอกว่าข้าว อ้าว ขลุงมีข้าวด้วยเหรอ นี่ไง ไม่รู้ มันเรียกข้าวสองน้ำ เป็นน้ำจืดน้ำเค็ม

“พื้นที่ของขลุงมี 3 พื้นที่ เดิมทีคนไทยเราอยู่ตามริมคลองขลุง ตั้งแต่ถนนสุขุมวิทไล่มาจนถึงแยกบ้านขลุง รีสอร์ท ชุมชนคนจีนอยู่ในตลาด คนเวียดนามอยู่โซนบ้านล่าง ซึ่งแต่ก่อนเขากีดกันกันหมด คนเวียดนามไม่มีน้ำจืดกิน ต้องเดินมาตักน้ำ ไม่แลกปลากุ้ง เลยทำให้วัฒนธรรมความผูกพันมีก็จริงแต่ไม่ได้ลึกซึ้งนัก ตัวผมเองเข้ามาโครงการพื้นที่เมืองแห่งการเรียนรู้ คือเป็นจิ๊กซอว์ตัวหนึ่ง แม่ผมเป็นคนขลุงพื้นถิ่นที่นี่ มีเชื้อสายชองมาพัวพันด้วย พ่อผมเป็นลูกจีนกับลูกเวียดนามผสมกัน เป็นคาทอลิก ผมเป็นลูกเสี้ยวละ เป็นพุทธ เลยผสมวัฒนธรรมของจีน

ผมมองทั้งเมืองขลุงเป็นศูนย์เรียนรู้ได้หมด มีเรื่องเล่า เมืองน่าติดตาม และพื้นที่เราเล็ก 3.18 ตารางกิโลเมตร ขี่จักรยานแป๊บเดียวก็รอบเมือง

“เดิมอำเภอขลุงมีฐานะเป็น “เมืองขลุง” มีเจ้าเมืองปกครอง จนในสมัยรัชกาลที่ 5 ร.ศ. 128 ขลุงได้รวมกับเมืองทุ่งใหญ่ คือเมืองแสนตุ้ง รวมมาเป็นเมืองขลุง ต่อมารวมเมืองจันทบุรี เมืองระยอง เมืองขลุง เป็นมณฑลเทศาภิบาล เรียกว่า “มณฑลจันทบุรี” มาเป็นได้ปีเดียวก็ยกเลิก ทำให้เรามีศาลหลักเมือง ปกติตามอำเภอจะไม่มีศาลหลักเมือง มีตามจังหวัดเท่านั้น ภารกิจเทศบาลในการพัฒนาเมือง เราพยายามทำกิจกรรมสองศาสนา

อำเภอขลุงเป็นอำเภอใหญ่ ก็เหมาะที่จะทำเป็น Learning City เนื่องจากเกษตรกรที่นี่เก่งมาก และข้อเด่นคือมีหลายจุดเรียนรู้

“หน่วยงานเกษตรอำเภอขลุงเป็นหน่วยงานหนึ่งภายใต้กรมส่งเสริมการเกษตร มีหน้าที่ทำให้เกษตรกรอยู่ดีมีสุข ทีนี้อำเภอขลุงเป็นอำเภอใหญ่ ก็เหมาะที่จะทำเป็น Learning City เนื่องจากเกษตรกรที่นี่เก่งมาก และข้อเด่นคือมีหลายจุดเรียนรู้ จุดแรกคือศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ที่ตำบลตะปอน กลุ่มทองใส สมศรี ซึ่งเป็นตัวแทนให้กรมเราได้เวลามีงานถ่ายทอดความรู้และบูรณาการกับหน่วยงานอื่น อีกจุดก็ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ที่ตำบลซึ้ง เป็นตำบลที่มีทุเรียนมาก เป็นทุเรียนพันธุ์กระดุม ซึ่งปลูกก่อนใคร ออกก่อนใคร เขาทำเชื้อไตรโคเดอร์มา เป็นการใช้สารชีวภัณฑ์ รักษาโรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียน

1 31 32 33 34 35 62

Recent Comments

No comments to show.

Follow

Instagram

This error message is only visible to WordPress admins

Error: No feed found.

Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.

Video