[ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม

สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม  ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง และการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบวิจัยของ บพท.  ปีนี้ ดร.ปุ่น ในบทบาทรองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับคณะทำงาน ได้ริเริ่มโปรแกรมวิจัยใหม่ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสมาคมเทศบาลนครและเมือง องค์กรที่เป็นดั่งหัวใจหลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำเมืองระดับท้องถิ่นครอบคลุมทั่วประเทศ กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ ที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเยือนอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี ภายหลังที่ บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในปี 2538 จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อแผนการทำร้อยเอ็ดให้น่าอยู่และน่าเที่ยวถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมือง ภูมิทัศน์ของเมืองร้อยเอ็ดค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทั้งการบูรณะบึงพลาญชัย การสร้างประตูเมืองจำลอง ‘สาเกตนคร’ ให้เป็นสัญลักษณ์และเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์คูเมืองโบราณให้น่ามองไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียว

THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP

  • LIVABLE & SMART CITY
  • LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
  • LEARNING CITY

Topics

Criticism

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

World

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Pandemic

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Finance

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Criticism

Join our Mailing List

We hate spams like you do

Satire

Latest

คนขลุงเป็นคนแบบ slow life
ไม่ได้เดือดร้อน สบายๆ อยากกินอะไรก็มีหมด ผลไม้ ปลาทะเล ชุมชนยังเหนียวแน่น วันนี้อยากกินปู ก็แบ่งเอาไป ที่อื่นเขาอาจขาย ได้กุ้งมา ก็เอามาให้ ความเอื้ออาทรยังมี ความมีน้ำใจคือข้อดีของเรา

“ตามความเข้าใจของคน ขลุงคืออำเภอขลุงทั้งหมด แต่จริงๆ คำว่า ขลุง คือส่วนเทศบาลเมืองขลุง อย่างที่เขาพูด ตรงนี้คือตำบลตะปอน ตรงนี้ตำบลซึ้ง เลยไปเป็นตำบลบ่อ เขาจะเรียกตัวเองว่า คนบ่อ เราอยู่ในเมือง ก็คนขลุง ในแต่ละที่การใช้ชีวิตไม่เหมือนกัน คนในเมืองจะแบ่งออกเป็นสองฝั่ง บ้านล่างกับบ้านบนกั้นที่สามแยก ถ้าบ้านบน (อยู่ตอนบนของเขตเทศบาลเมืองขลุง ย่านตลาดขลุง) จะค้าขาย ส่วนใหญ่เป็นคนพุทธ

คุณต้องรู้วิถีชีวิตว่าเราอยู่ยังไง เวลาอาบน้ำ เราใช้การอาบน้ำเป็นขันนะ อาบน้ำสามขันได้มั้ย เพราะเป็นประเด็นใหญ่

“พื้นที่หมู่ 2 ตำบลบางชัน มี 3 หมู่บ้านย่อย บ้านเลนตัก บ้านแหลมหญ้า และบ้านโรงไม้ ตรงนี้ใช้ 3 ชื่อ ชื่อภาษาราชการคือ บ้านปากน้ำเวฬุ เพราะตั้งอยู่ปากแม่น้ำเวฬุ ชื่อภาษาถิ่น เรียก บ้านโรงไม้ มาจากคนจีนที่อพยพมา เก่งเรื่องค้าขาย ใช้เรือสำเภาขนสินค้าประมง สินค้าทางเกษตร

อาหารแต่ละบ้านอาจจะทำเหมือนกันแต่รสชาติไม่เหมือนกัน แล้วแต่รสมือของแต่ละบ้าน เราอยากให้คนต่างถิ่นเข้ามารู้

“ผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านตะปอนน้อยมี 2 งาน คืองานฝีมือ กับงานแปรรูปสินค้าทางการเกษตรซึ่งแปรรูปจากผลไม้ท้องถิ่นของเราเอง คือเรามีปัญหาว่า ในช่วงที่ผลไม้เยอะ อย่างมังคุดนี่เหลือแค่กิโลละ 4 บาทเท่านั้น เลยปรึกษากับอาจารย์ที่มทร.จันทบุรี (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี) ว่าสกัดน้ำมังคุดไว้แต่ไม่รู้เอาไปทำอะไรได้อีก อาจารย์แนะนำให้ทำน้ำจิ้มสุกี้ มีองค์ความรู้ที่ทำไว้แล้ว ก็เอามาทำ พอเข้าโครงการของ U2T (โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ – 1

ผมคิดว่าวันอาทิตย์ตลาดเปิด เทศบาลควรสนับสนุนมีที่สำหรับคนในท้องถิ่น ทุกวันนี้คือแม่ค้ามาจากที่อื่น

“ครัวอัจฉราร้านแรกเป็นรถเข็นอยู่ในตลาดสดเทศบาลเมืองขลุง ปีนี้ปีที่ 40 ปีแล้ว ขายโจ๊ก ข้าวต้ม แล้วผมมาเปิดเป็นรุ่นที่สองของร้าน ผมเข้าไปเรียนมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ จบแล้วก็ทำบริษัทออร์แกไนซ์กับเพื่อน ทีนี้แม่อยากให้กลับมาทำเพราะได้ที่ตรงนี้ เป็นศูนย์อาหารเล็กๆ มี 6 ร้าน ร้านเราขายช่วงเช้า ตี 5 ถึงประมาณบ่าย 2 เมนูก็เหมือนร้านข้างในตลาดที่ตอนนี้ป้าทำ มีข้าวต้ม ต้มเลือดหมู

อย่างน้องไข่ตุ๋น อยู่ป. 3 แม่ไม่อยู่เขาก็นั่งขายของให้แม่เขาได้ นี่ไง ตำราชีวิตเขาได้แล้ว

“โรงเรียนวัดตะปอนใหญ่เป็นโรงเรียนในตำบลตะปอน ตั้งอยู่ในที่ดินของวัด ตอนเย็นชุมชนได้ใช้เป็นสนามออกกำลังเล่นฟุตบอล เรามาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน ก็ได้กลับมาบ้านเก่านะ ก็ตั้งใจเต็มที่ที่จะพัฒนา มีประสบปัญหาเรื่องงบประมาณเป็นหลัก เพราะโดยรวม อาคารโครงสร้างชำรุดทรุดโทรม ส่วนที่เราทำเองได้ หน่วยงานต้นสังกัดช่วยเหลือแล้ว บางทีก็ไม่เพียงพอ ของเราเลยยึดหลัก บวร บ้าน-วัด-โรงเรียน เอาให้แน่นเลย ท่านพ่อ พระครูสาราภินันท์ เจ้าอาวาสวัดตะปอนใหญ่รูปปัจจุบัน ซึ่งท่านเป็นเจ้าคณะตำบลเกวียนหักด้วย ดูแลตั้งแต่วัดเกวียนหัก วัดตะปอนใหญ่

ขลุงเป็นเมืองที่สะอาดมาก ทุกคนทิ้งขยะลงถัง ไม่มีใครวางระเกะระกะ ไม่สกปรก ตลาดขลุงล้างทุกวันจันทร์

“เปิดร้าน One More Cafe 3-4 เดือนแรกไม่มีลูกค้าเลย ผมจัดร้านค่อนข้างอินดี้ บาร์ชงกาแฟอยู่ข้างใน ด้านหน้าจัดโซนเก้าอี้ให้ลูกค้านั่ง ป้ายไวนิลก็ไม่มี มีแค่ป้ายตั้งหน้าร้าน กลายเป็นว่าไม่มีใครเห็นร้าน นี่คือจุดที่เราพลาด พอขยับบาร์ชงกาแฟมาอยู่หน้าร้านก็ดีขึ้น จนเปิดร้านได้ครึ่งปีถึงเริ่มอยู่ตัว คอนเซปต์ร้านคือมีเครื่องดื่มแก้วโปรดให้ลูกค้าทุกคน บางทีลูกค้าถามว่าอะไรอร่อย ผมไม่สามารถตอบได้ เครื่องดื่มมีรสชาติของตัวเอง ก็ถามว่าลูกค้าชอบแบบไหน กาแฟ ใส่นม

เมืองขลุงนี่ใครมาอยู่ก็ไม่อยากย้ายกลับ อยู่แล้วมีความสุข ไม่มีการทะเลาะเบาะแว้งเรื่องราวใหญ่โต มันมีวัฒนธรรม

“โรงเจขลุงก่อตั้งมาประมาณร้อยปี รับฟังจากคนเก่าคนแก่ว่า โรงเจเดิมอยู่ตรงสามแยกที่จะไปวัดคริสต์ มีบ้านจีนโบราณอยู่หลังนึง ย้ายมาเป็นที่ปัจจุบันนี้แล้วก็พัฒนากันขึ้นมาด้วยความร่วมมือร่วมใจของคณะกรรมการและเจอิ๊วคือบุคคลที่มาร่วมกินเจ ปี 2500-01 มีการล้างป่าช้าที่โรงเรียนเทศบาลขลุงเป็นครั้งแรก เหมือนเป็นจุดเริ่มต้นของการล้างป่าช้าครั้งแรก ทางราชการ ชาวเมืองขลุงต้องใช้พื้นที่ เลยขวนขวายมีความเลื่อมใสอัญเชิญเซี๊ยโจ้วฮุดโจ้วมาประทับอยู่ที่นี่ไม่ต่ำกว่า 60 ปีแล้ว ผู้อาวุโสที่ถ้าอยู่ถึงเวลานี้ก็น่าจะอายุ 90-100 ปีแล้ว ท่านชี้ส่วนหัวหางมังกร เริ่มตรงศาลหลักเมือง ให้ถนนเทศบาลสาย 1 โรงเจเป็นหัวมังกร

แนวทางเพิ่มเติมที่เสนอโครงการพื้นที่เมืองเรียนรู้คือต้องมีทายาทสืบทอด คนเล่าเรื่องน่ะมี ขาดเด็กรุ่นใหม่มาดำเนินการต่อ

“วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวัฒนธรรม รวมตัวกันเพราะอยากให้คนข้างนอกรู้จักชุมชนเรา ที่มีทั้งวัฒนธรรม โบราณสถาน ชุมชนเก่าแก่ และมีพื้นที่ทำการเกษตรคู่กับชุมชนมาหลายร้อยปี แล้วเวลาคนมาเที่ยวจันท์ ก็ไปที่ท่องเที่ยวหลักอย่างน้ำตกพลิ้ว หาดเจ้าหลาว ทะเล เขาไม่เน้นวัฒนธรรม ไม่ได้มาลงพื้นที่ชุมชน รายได้ก็เลยกระจุก เพราะบริบทชุมชนไม่มี เราก็ไปดูงานที่อื่น กลับมาทำโปรแกรมท่องเที่ยว เช่น นั่งรถโมบายล์เที่ยวดูรอบชุมชนว่าเรามีอาชีพอะไรบ้าง ทำสวน ทำนา ประมงเล็ก มีร้านค้าสวัสดิการของกลุ่ม

นักท่องเที่ยวบางรายกินปูขลุงแล้วจะรู้เลยว่าอร่อยกว่าปูที่อื่น เนื่องจากพื้นที่เป็นป่าเลน ตัวใหญ่ รสชาติมัน เนื้อแน่น

“อำเภอขลุงมีจุดเด่นเรื่องภูมิประเทศ ทั้งทะเล ภูเขา ทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ อาหาร มีทั้งอาหารทะเล สวนผลไม้ ทุเรียนขลุงก็ติดอันดับต้นๆ ของจังหวัดจันทบุรี ความอร่อยของทุเรียนพันธุ์ชะนีที่ตำบลซึ้ง ตำบลวันยาว เนื้อละเอียด หวานมัน พื้นที่ซึ้งเป็นพื้นที่ดินปนทราย รสชาติไม่เหมือนทุเรียนบนเขา อำเภอบางชันมีอาหารทะเลที่โดดเด่น นักท่องเที่ยวบางรายกินปูขลุงแล้วจะรู้เลยว่าอร่อยกว่าปูที่อื่น เนื่องจากพื้นที่เป็นป่าเลน ปูดำตัวใหญ่ๆ รสชาติมัน เนื้อแน่น ราคาค่อนข้างสูง

1 32 33 34 35 36 62

Recent Comments

No comments to show.

Follow

Instagram

This error message is only visible to WordPress admins

Error: No feed found.

Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.

Video