สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง และการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบวิจัยของ บพท. ปีนี้ ดร.ปุ่น ในบทบาทรองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับคณะทำงาน ได้ริเริ่มโปรแกรมวิจัยใหม่ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสมาคมเทศบาลนครและเมือง องค์กรที่เป็นดั่งหัวใจหลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำเมืองระดับท้องถิ่นครอบคลุมทั่วประเทศ กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ ที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเยือนอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี ภายหลังที่ บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในปี 2538 จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อแผนการทำร้อยเอ็ดให้น่าอยู่และน่าเที่ยวถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมือง ภูมิทัศน์ของเมืองร้อยเอ็ดค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทั้งการบูรณะบึงพลาญชัย การสร้างประตูเมืองจำลอง ‘สาเกตนคร’ ให้เป็นสัญลักษณ์และเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์คูเมืองโบราณให้น่ามองไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียว
THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP
- LIVABLE & SMART CITY
- LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
- LEARNING CITY
Topics
Criticism
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
World
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Pandemic
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Finance
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Criticism
Join our Mailing List
We hate spams like you do
Satire
Latest
เมื่อเอ่ยถึงยะลาคุณนึกถึงอะไร? เมืองที่ตั้งของอำเภอเบตง ดินแดนใต้สุดของประเทศ? จังหวัดในภาคใต้ที่อาภัพที่สุด เพราะเป็นแห่งเดียวที่ไม่มีพรมแดนติดทะเล? หนึ่งในสามจังหวัดชายแดนใต้ที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม? หรือเมืองที่หลายคนคุ้นเคยจากเสียงระเบิดและเหตุการณ์ความไม่สงบ ใช่ โดยเฉพาะข้อหลัง กล่าวตามตรง แม้กาลเวลาจะผ่านมาเกือบยี่สิบปีแล้ว ทุกวันนี้ หลายคนก็ยังจดจำภาพยะลาในฐานะดินแดนแห่งความไม่สงบอยู่เลย ทีมงาน WeCitizens เพิ่งมีโอกาสลงไปเยี่ยมเยือนอำเภอเมืองยะลามาเมื่อปลายปี 2565 และพบว่าภาพที่หลายคนจดจำกลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะแม้เรายังพบบังเกอร์ปูนที่ใช้ป้องกันระเบิดอันเป็นมรดกที่ตกทอดมาจากยุคของความรุนแรงจากปี 2547 กระนั้นบังเกอร์ทั้งหมดก็ไม่เคยถูกใช้งานอีกเลยมาหลายปีแล้ว แถมยังมีศิลปินท้องถิ่นนำสีไปแต่งแต้มลวดลายจนเกิดเป็นสตรีทอาร์ทอันสดใสแก่เมืองอีก
จากหมู่บ้านชาวประมงเล็กๆ ที่มีคนอยู่อาศัยไม่มาก ชุมชนขยายตัวขึ้นจากคนจังหวัดเพชรบุรีและใกล้เคียงอพยพเข้ามาทำมาหากิน จนการมาถึงของเส้นทางรถไฟสายใต้ ณ สถานีรถไฟหัวหิน เมื่อปี พ.ศ. 2454 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ด้วยบรรยากาศรื่นรมย์และสวยงามของธรรมชาติชายฝั่งทะเล นำพาให้พระบรมวงศานุวงศ์และเจ้านายชั้นผู้ใหญ่มาสร้างตำหนักบ้านพักตากอากาศไว้มากมาย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง สร้างที่พักตากอากาศขึ้นบริเวณหัวหิน ทรงใช้ที่ดินกลุ่มบ้านเช่าเดิมของกรมรถไฟหลวง ที่อยู่ระหว่างพระตำหนักในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมืองท่องเที่ยวตากอากาศระดับโลก เป็นเมืองสำคัญของประเทศที่มีความพร้อมหลายด้านด้วยต้นทุนสังคม ต้นทุนทางวัฒนธรรม แหล่งเรียนรู้หลากหลายและมีเอกลักษณ์ ผลกระทบจากวิกฤติโรคระบาดไวรัสโคโรน่า 2019 และวิกฤติเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยว ส่งผลต่อเศรษฐกิจการดำเนินชีวิตและการเรียนรู้ของประชาชนให้ต้องปรับตัวเข้าสู่โลกยุคชีวิตวิถีใหม่ ซึ่งจะต้องพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะทักษะการเรียนรู้ อันเป็นทักษะสำคัญต่อการดำเนินชีวิต ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและพัฒนาศักยภาพบุคคล เทศบาลเมืองหัวหิน หน่วยงานท้องถิ่นที่มีพื้นที่รวม 86.36 ตารางกิโลเมตร คำนึงถึงวิสัยทัศน์เมืองว่า “หัวหินเมืองแห่งความสุข” เล็งเห็นว่า
อาจารย์เจี๊ยบ – สิทธิศักดิ์ ตันมงคล บอกว่าถ้าไปถามคนรุ่นใหม่หรือคนที่เพิ่งมาอยู่หาดใหญ่ใหม่ๆ ว่ารู้จัก ‘คลองเตย’ หรือไม่ บางคนอาจเข้าใจว่านั่นคือชื่อเขตเขตหนึ่งของกรุงเทพมหานครด้วยซ้ำ “ถ้าไม่ใช่คนดั้งเดิม น้อยคนนะครับที่จะจดจำชื่อคลอง ซึ่งความที่มันเป็นคลองระบายน้ำเสีย และหลายพื้นที่ก็ถูกดาดปิด แม้คนหาดใหญ่จะขับรถผ่านทุกวัน หลายคนก็แทบไม่ได้จดจำด้วยซ้ำว่ามันคือคลอง” อาจารย์เจี๊ยบ สถาปนิกจากกลุ่ม Songkhla Urban Lab ผู้ดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธิทักษิณคดี กล่าว
“อาตมาเป็นคนกาญจนบุรี บวชเข้าคณะสงฆ์อนัมนิกาย ตอนอายุ 17 ปี ย้ายไปเรียนที่ไต้หวัน 3 ปี และไปจำวัดที่ยุโรปอีกหลายปี ก่อนกลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดถาวรวราราม ปี พ.ศ. 2538 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่มีการก่อตั้งโรงเรียนมหาปัญญา ตอนแรกโรงเรียนมีชื่อว่าโรงเรียนถาวรวิทยาลัย เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จัดการศึกษาในระดับมัธยมต้นถึงมัธยมปลาย ก่อนจะมีการขยายการศึกษาไปถึงระดับพรียูนิเวอร์ซิตี้โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการสอน โดยเราทำข้อตกลงกับสถาบันอุดมศึกษาในไต้หวันและสหรัฐอเมริกาในการส่งนักศึกษาของเราไปเรียนระดับปริญญาตรีที่นั่น เรียกว่าเราดูแลสามเณรตั้งแต่มัธยมต้นให้มาจำวัดจนถึงส่งให้ไปเรียนต่อต่างประเทศ ทุกวันนี้เราจึงมีทั้งโรงเรียนมหาปัญญา
“บ้านผมอยู่อีกฝั่งของสถานีรถไฟ ในชุมชนดั้งเดิมก่อนจะมีการสร้างสถานีรถไฟเมื่อเกือบร้อยปีก่อน แต่เดิมหาดใหญ่จะใช้คลองเป็นเส้นแบ่งเมือง แต่พอมีรถไฟ ทางรถไฟก็กลายเป็นเส้นแบ่งความเจริญ ในฐานะที่ผมเป็นคนหาดใหญ่และสถาปนิกผังเมือง ต้องบอกว่าหาดใหญ่เติบโตแบบไร้ทิศทางมานาน จริงอยู่ที่ผังเมืองในยุคหลังรถไฟนี่มีประสิทธิภาพมาก แต่พอเมืองเจริญขึ้นตามยุคสมัย มีผู้คนต่างถิ่นมาอาศัยอยู่ร่วมกันมากๆ รูปแบบเมืองเมื่อเกือบร้อยปีที่แล้วจึงไม่ตอบโจทย์ ขณะเดียวกันนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ก็พยายามลงทุนกับที่ดินใหม่ที่อยู่ชานเมืองซึ่งมีราคาที่ถูกกว่า จึงเกิดชุมชนเมืองใหม่กระจายตัวขึ้นเรื่อยๆ เมื่อบวกรวมกับการที่รัฐไม่ได้มีแผนพัฒนามารองรับ เมืองจึงไม่ compact โดยในภาพรวม รัฐก็ต้องเสียค่าสาธารณูปโภคเพื่อรองรับการขยายตัว และเมื่อย้อนกลับมาในพื้นที่หนาแน่นใจกลางเมือง เราไม่มีแม้แต่รถประจำทางสาธารณะที่เชื่อมชุมชนเมืองต่างๆ เข้าด้วยกัน ด้วยสถานะแบบนี้จึงบีบให้คนหาดใหญ่ต้องใช้รถส่วนตัวเป็นหลัก
“หาดใหญ่ไม่ได้มีสถานที่ท่องเที่ยวมากนัก แต่ด้วยทำเลที่มีสนามบินนานาชาติและชุมทางรถไฟ ความพร้อมในด้านโรงแรมที่มีให้เลือกทุกระดับ ที่สำคัญคืออาหารการกินที่หลากหลาย และวิถีชีวิตยามค่ำคืนที่คึกคัก ผมจึงบอกคนอื่นเสมอว่า ที่นี่คือศูนย์กลางของการท่องเที่ยวในระดับภูมิภาค สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จังหวัดสงขลา อยู่ใต้ร่มของสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บทบาทของเราคล้ายๆ หอการค้า แต่จะโฟกัสไปที่การท่องเที่ยว สภาเรามีสมาชิกเป็นสมาคมต่างๆ เช่น สมาคมโรงแรม สมาคมมัคคุเทศก์ และอื่นๆ โดยเรามีหน้าที่เหมือนตัวกลางเชื่อมภาคเอกชนกับภาครัฐ ถ้าภาครัฐมีข่าวหรือโครงการใดๆ เกี่ยวกับการท่องเที่ยว ก็จะส่งมาให้เราไปกระจายต่อยังสมาชิก
“ต่อให้มีการลงทุนกับโรงบำบัดน้ำเสียมูลค่าเป็นพันพันล้าน คลองเตยหรือคลองที่ไหนในประเทศนี้ก็ไม่มีทางใสสะอาดได้ หากไม่มีการแก้ไขที่ต้นเหตุ ที่กล่าวเช่นนี้ หาได้เป็นการผลักภาระไปที่ภาคประชาชน แต่ถึงเราจะมีเครื่องมือดีแค่ไหน หากผู้คนที่อาศัยอยู่ริมสองข้างทางยังคงทิ้งขยะลงคลอง คุณก็ไม่มีทางแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน ด้วยเหตุนี้ ผมจึงเห็นด้วยกับโครงการคลองเตยลิงก์ที่ไม่เพียงมีแผนฟื้นฟูคลองเตยในเชิงกายภาพ แต่ยังสร้างความร่วมมือให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมคลองเตยมาเป็นแนวร่วมในการแก้ปัญหาไปพร้อมกัน เพราะถ้าคนในคลองไม่ทิ้งขยะ แถมยังร่วมมือในการพัฒนาพื้นที่รอบชุมชนของตัวเอง นี่จะกลายเป็นต้นแบบให้คนที่อยู่นอกพื้นที่มาเห็น ให้ความเคารพในพื้นที่ และไม่ทิ้งขยะหรือสร้างมลภาวะในพื้นที่ลำคลองใจกลางเมืองหาดใหญ่แห่งนี้ต่อไป เมื่อคลองและพื้นที่ริมคลองได้รับการฟื้นฟู ผลประโยชน์ที่ตามมาอีกข้อก็คือหาดใหญ่จะมีเส้นทางสัญจรลัดใจกลางเมืองสายสำคัญเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่ง นั่นคือถนนสองข้างทางของคลองเตย ตรงนี้เองที่ทางโครงการคลองเตยลิงก์กำลังหารือกับทางเทศบาลนครหาดใหญ่ในการทำเส้นทางขนส่งสาธารณะมารองรับ เพราะถ้าดูจากแผนที่ของลำคลอง เส้นทางดังกล่าวสามารถเชื่อมเมืองตั้งแต่สถานีรถไฟไปจนถึงสถานีขนส่งหาดใหญ่ได้เลย
“เมื่อราว 50 กว่าปีที่แล้ว ผมขับรถตุ๊กตุ๊กรับส่งนักท่องเที่ยวในตัวเมืองหาดใหญ่ ขับไปได้สักพักก็เริ่มรู้ว่าจะพานักท่องเที่ยวไปที่ไหนและไปเที่ยวอย่างไรให้ตอบโจทย์คนแต่ละกลุ่ม แล้วผมก็เลยสอบเพื่อขอใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ และทำอาชีพนี้มาจนถึงปัจจุบัน กล่าวได้ว่าหลังจากหาดใหญ่เป็นที่รู้จักในฐานะแหล่งจำหน่ายสินค้าราคาถูกมาเนิ่นนาน ผมเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของเมืองนี้ก็ว่าได้ ซึ่งในยุคแรกพูดตรงๆ ได้เลยว่า เละครับ เรายังไม่มีการจัดการ ไกด์ผีหรือไกด์เถื่อนเยอะมาก นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา หลายคนโก่งราคาหรือไปหลอกเอาเงินจากเขา บางรายฮั้วกับสถานบันเทิงเพื่อฟันราคาเพิ่ม พาไปซื้อสินค้าคุณภาพต่ำ หรือในยุคที่ยังไม่มีอินเตอร์เน็ท ก็มีการเอารูปห้องพักปลอมมาหลอกนักท่องเที่ยว และพอเช็คอินจริงกลับไม่ใช่เสียอย่างนั้นก็มี ตอนนั้นเมืองเรามีสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวแล้ว
Recent Posts
- [เมืองเหนือ : เมืองวัฒนธรรม เกษตร ผู้สูงอายุ และ E-sport city] ผศ. ดร.จุฑาทิพย์ เฉลิมผล
- [ CIAP 4 ภาค ผลักดันต้นแบบเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ด้วยพลังท้องถิ่น และงานวิจัย ] ผศ. ดร.มณีรัตน์ วงษ์ซิ้ม
- [ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม
- THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
- WeCitizens : The Concept
Recent Comments
Categories
Error: No feed found.
Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.