[ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม

สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม  ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง และการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบวิจัยของ บพท.  ปีนี้ ดร.ปุ่น ในบทบาทรองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับคณะทำงาน ได้ริเริ่มโปรแกรมวิจัยใหม่ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสมาคมเทศบาลนครและเมือง องค์กรที่เป็นดั่งหัวใจหลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำเมืองระดับท้องถิ่นครอบคลุมทั่วประเทศ กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ ที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเยือนอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี ภายหลังที่ บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในปี 2538 จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อแผนการทำร้อยเอ็ดให้น่าอยู่และน่าเที่ยวถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมือง ภูมิทัศน์ของเมืองร้อยเอ็ดค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทั้งการบูรณะบึงพลาญชัย การสร้างประตูเมืองจำลอง ‘สาเกตนคร’ ให้เป็นสัญลักษณ์และเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์คูเมืองโบราณให้น่ามองไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียว

THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP

  • LIVABLE & SMART CITY
  • LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
  • LEARNING CITY

Topics

Criticism

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

World

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Pandemic

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Finance

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Criticism

Join our Mailing List

We hate spams like you do

Satire

Latest

ทั้งสมาร์ทซิตี้ กรีนซิตี้ และเลิร์นนิ่งซิตี้ ล้วนเป็นกลไกที่ใช้ขับเคลื่อนเมืองไปด้วยกัน เหมือนเช่นการทำงานเพื่อพัฒนาเมืองหาดใหญ่ที่รัฐต้องทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนอย่างขาดใครไปไม่ได้เช่นกัน

“เมื่อเดือนสิงหาคม (2565) ที่ผ่านมา ทางเทศบาลนครหาดใหญ่เพิ่งเป็นเจ้าภาพจัดประชุมสภานายกเทศมนตรีเมืองสีเขียว IMT-GT ซึ่งเป็นแผนงานความร่วมมือของอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทยในการพัฒนาเมืองด้วยแนวคิดกรีนซิตี้ (Green City) โดย พล.ต.ท.สาคร ทองมุณี นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ ยังได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานสภานายกเทศมนตรีเมืองสีเขียวของทั้ง 3 ประเทศอีกด้วย การประชุมครั้งนั้นเป็นรูปธรรมอันชัดเจนว่าเทศบาลนครหาดใหญ่เรากำลังเดินหน้าขับเคลื่อนเมืองด้วยยุทธศาสตร์เมืองสีเขียว ซึ่งคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมของเมืองในทุกองค์ประกอบ ตั้งแต่ การจัดการขนส่ง การจัดการขยะ

แม้รถไฟคือกระดูกสันหลังของการพัฒนา แต่ด้วยวัฒนธรรมองค์กรที่ยึดระบบราชการแบบรวมศูนย์ ทำให้สถานีรถไฟหาดใหญ่ไม่เชื่อมโยงกับการพัฒนาเมืองเท่าที่ควร

“พ่อผมทำงานที่สถานีรถไฟหาดใหญ่ จากนั้นก็ตามมาด้วยพี่ชาย ส่วนผมทำงานบริษัทเอกชน แต่ก็เติบโตมากับชุมชนรถไฟ และคุ้นเคยกับวัฒนธรรมของคนรถไฟที่นี่ดี แต่ไหนแต่ไรรถไฟคือกระดูกสันหลังของการพัฒนา และจุดเริ่มต้นของความเจริญของเมืองหาดใหญ่ก็มาจากการตั้งชุมทางรถไฟหาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม ด้วยวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นระบบราชการรวมศูนย์ การรถไฟจึงแปลกแยกตัวเองจากชุมชนและเมืองพอสมควร กล่าวคือต่อให้หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นหรือภาคประชาชนมีโครงการพัฒนาเมืองอะไรก็ตาม แต่ถ้าหน่วยงานระดับบนของการรถไฟไม่เอาด้วย หน่วยงานส่วนท้องถิ่นก็จะไม่สามารถร่วมโครงการพัฒนานั้นได้ ด้วยเหตุนี้เมื่อย้อนกลับมามองเฉพาะในหาดใหญ่ จึงเห็นได้ชัดว่าแม้พื้นที่ของสถานีและชุมชนรถไฟที่มีหลายร้อยไร่ส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่สีเขียวที่ร่มรื่นมาก แต่พื้นที่ดังกล่าวกลับดูคล้ายเป็นพื้นที่ปิด ไม่มีการเชื่อมโยงกับเมือง การรถไฟเรามีพื้นที่ที่เต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่ แต่ด้วยบรรยากาศบางอย่าง คนหาดใหญ่ก็ไม่ค่อยอยากเข้ามาใช้งาน ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดาย เมื่ออาจารย์เจี๊ยบ

มีน้องคนหนึ่งที่จบ ม.6 และตัดสินใจไม่ต่อมหาวิทยาลัย มานั่งพัฒนา metaverse ที่พื้นที่ของเราแทน

“ผมเริ่ม Tuber เมื่อ 8 ปีที่แล้ว จากความที่ก่อนหน้านี้ผมทำงานกรุงเทพฯ และพบว่าวงการสตาร์ทอัพในไทยกำลังมา พร้อมๆ กับการเกิด Co-working space หลายแห่ง ประกอบกับที่พบว่าคนหาดใหญ่ที่มีศักยภาพในวงการเทคโนโลยีต้องเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ จำนวนไม่น้อย ก็คิดว่าถ้าเราเปิดพื้นที่ในบ้านเกิดเราได้ ก็คงมีส่วนขับเคลื่อนแวดวงสตาร์ทอัพให้หาดใหญ่และภาคใต้ จึงตัดสินใจเปิดที่นี่ขึ้นมาเป็น Co-working space แห่งแรกของเมือง แต่ด้วยปัจจัยหลายอย่าง สิ่งที่คิดไว้ไม่เป็นไปตามนั้น

ถ้าเราไม่สมาร์ทก่อน เทศบาลยังไม่
สมาร์ทระบบราชการยังไม่สมาร์ท คนหาดใหญ่ก็จะไม่เห็นว่าสมาร์ทซิตี้มีประโยชน์ตรงไหน

“คณะผู้บริหารเทศบาลนครหาดใหญ่กำหนดทิศทางการพัฒนาไว้ 3 เรื่อง คือการทำให้หาดใหญ่เป็นเมืองน่าอยู่ น่าเที่ยว และน่าลงทุน ด้วยเหตุนี้ เมืองเราจึงขับเคลื่อนด้วย 3 กลไกหลัก ได้แก่ สมาร์ทซิตี้ (smart city) กรีนซิตี้ (green city) และเลิร์นนิ่งซิตี้ (learning city) หรือเมืองแห่งการเรียนรู้ ทำไมเมืองต้องสมาร์ท

ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่ามากที่สุดของเมืองคือคุณภาพชีวิตของผู้คน ถ้าคนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และเมืองมีสุนทรียะ คุณแทบไม่ต้องโปรโมทอะไรมากเลย การท่องเที่ยวจะตามมาเอง

“ผมเรียนกรุงเทพฯ จบมา ก็ทำงานเป็นสถาปนิก ก่อนจะเปิดบริษัทรับจัดอีเวนท์และคอนเสิร์ต ทำอยู่พักใหญ่ แล้วรู้สึกเบื่อกรุงเทพฯ ประกอบกับที่อยากกลับมาดูแลแม่ด้วย เลยตัดสินใจปิดบริษัท กลับมาเริ่มใหม่ที่หาดใหญ่ พอมาอยู่บ้าน ผมก็ทำงานคล้ายๆ กับที่กรุงเทพฯ ทำบริษัทออกแบบ และเปิดอีกบริษัทไว้ทำอีเวนท์ ทำอย่างนี้มาได้ประมาณ 2-3 ปี จนมีโอกาสไปเยี่ยมเยียน a.e.y. space ของพี่เอ๋ (ปกรณ์

เราก็ต้องมาดูกันต่อว่าทางโครงการจะได้รับการสนับสนุนให้ไปต่อได้มากขนาดไหน แต่ที่ผ่านมา โครงการมีความก้าวหน้าที่น่าดีใจนะ ทางเทศบาลก็พร้อมรับข้อเสนอไปพัฒนาต่อในอนาคต

“หาดใหญ่มีคลองระบายน้ำอยู่สองแห่ง คลองอู่ตะเภาทางทิศตะวันตกของเมือง และคลองเตยทางทิศตะวันออก ทั้งสองแห่งทำหน้าที่ระบายน้ำจากในเมืองออกสู่ทะเล โดยคลองที่ตัดผ่านย่านใจกลางเมือง และอยู่คู่กับวิถีคนหาดใหญ่ จนคนส่วนใหญ่เคยชินจึงไม่ได้เห็นว่ามันมีความสำคัญอะไรคือคลองเตย คลองนี้เป็นกลไกหนึ่งที่ทำให้ตัวเมืองไม่เกิดน้ำท่วมเมื่อฝนตกหนัก ซึ่งตลอดหลายปีที่ผ่านมา มีหลายครัวเรือนรุกล้ำพื้นที่ริมคลอง หรือหนักเข้าก็มีบางคนเอาขยะไปทิ้งในนั้น ทำให้ไม่เพียงน้ำในคลองเน่าเสีย แต่ขยะยังไปอุดตันทำให้คลองบางช่วงสูญเสียศักยภาพในการระบายน้ำอีก พี่เป็นหนึ่งในทีมงานของพี่เจี๊ยบ (สิทธิศักดิ์ ตันมงคล, หัวหน้าโครงการคลองเตยลิงก์) โดยเป็นตัวแทนของหน่วยงานรัฐซึ่งก็คือเทศบาลนครหาดใหญ่ ก็ช่วยดูเรื่องผังเมือง และเป็นตัวกลางเชื่อมหน่วยงานหรือชุมชนต่างๆ เข้ากับโครงการ เพราะต้องเข้าใจว่าพอทำงานกับหลายชุมชน

หาดใหญ่เคยเป็นเมืองที่พระอาทิตย์ไม่เคยตก เป็นเมืองที่มีความสว่างรุ่งโรจน์ตลอดเวลา และเราทำให้เมืองกลับมาเป็นแบบนั้นได้ แถมยังทำได้อย่างยั่งยืนกว่าด้วย

“ผมย้ายมาอยู่หาดใหญ่ตั้งแต่ ป.4 มีแค่ช่วงเรียนมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้อยู่ที่นี่ แต่ก็อยู่ทันเห็นช่วงที่หาดใหญ่รุ่งเรืองมากๆ ในแบบที่ถนนใจกลางเมืองคับคั่งไปด้วยผู้คนทั้งวันทั้งคืนมาแล้ว แต่ภาพแบบนี้ไม่มีในหาดใหญ่มาร่วมๆ 20 ปีแล้ว และสถานการณ์มันก็ดร็อปลงเรื่อยๆ จนมาตกสุดช่วงโควิด-19 ก่อนที่จะมีแนวโน้มกลับมาดีขึ้นในช่วงเวลานี้ ถ้าเทียบหาดใหญ่ยุคหลังโควิดกับช่วงเวลาของวัน ผมคิดว่าเราอยู่ราวๆ ตี 4 คือสำหรับคนที่นี่ยังเห็นว่ามืดอยู่ แต่คนที่อยู่ในแวดวงธุรกิจเริ่มจะเห็นแนวโน้มแล้วว่าอีกสัก 2 ชั่วโมงก็เช้า อย่างไรก็ดี การเปรียบเทียบนี้เป็นแค่ความรู้สึก เราต่างไม่รู้ว่าเป็นตี

เราจะค้าขายกันอย่างเดียวเหมือนเมื่อก่อน หรือจะขายของไปด้วยและหาวิธีทำมาหากินอย่างยั่งยืนในอนาคตไปด้วย ก็เป็นหน้าที่ของคนรุ่นคุณไปคิดต่อแล้ว

“ปู่ผมทำนาอยู่ที่นี่ตั้งแต่ยังไม่มีการสร้างสถานีรถไฟโคกเสม็ดชุน หรือชุมทางหาดใหญ่อย่างทุกวันนี้ ตอนผมเป็นนักเรียน เมืองหาดใหญ่ยังมีถนนหน้าสถานีรถไฟแค่ 3 สาย ซึ่งตอนแรกยังไม่มีชื่อด้วยซ้ำ เราเลยเรียกกันว่าถนนสาย 1 สาย 2 และสาย 3 บ้านเรือนสมัยนั้นเป็นเรือนไม้อยู่ห่างๆ กัน พ้นจากถนน 3 สายนี้ไปก็เป็นทุ่งนาแล้ว สมัยก่อนรถไฟที่วิ่งผ่านสถานีหาดใหญ่ส่วนหนึ่งจะใช้สำหรับขนปศุสัตว์ไปขายที่มาเลเซีย ข้ามอุโมงค์เลยพื้นที่ที่ตอนนี้คือถนนศรีภูวนาถไป เคยเป็นด่านกักสัตว์เพื่อให้สัตวแพทย์ตรวจก่อนส่งออก เพื่อนร่วมชั้นของผมที่โรงเรียนมอชาย

อาตมาแก่แล้ว จึงไม่ได้มีมุมมองอะไรต่ออนาคตของเมืองนัก แต่ในฐานะที่เราอยู่ที่นี่ ก็พร้อมต้อนรับญาติโยมที่มาวัด ทั้งมาไหว้พระ หรือมาปรับทุกข์ ก็จะช่วยเท่าที่อาตมาจะช่วยได้

“อาตมาเป็นคนสมุทรสาคร บวชอยู่กรุงเทพฯ ได้ 6 ปี ช่วงปี พ.ศ. 2514 พระอาจารย์ว่วยจง เจ้าอาวาสวัดฉื่อฉาง ถึงแก่มรณภาพ อาตมาจึงเดินทางมาหาดใหญ่เป็นครั้งแรกเพื่อร่วมงานศพ และช่วยดูวัดนี้ต่อ จนปี พ.ศ. 2517 เขาก็ให้เป็นเจ้าอาวาส จึงต้องอยู่ที่วัดแห่งนี้ไม่ได้ไปไหนตั้งแต่นั้น ฉื่อฉางเป็นคำภาษาจีนเพี้ยนมาจาก ‘ฉื่อซ่านซื่อ’ แปลว่าเมตตากรุณา แต่เดิมที่นี่เป็นศาลเจ้าลื่อโจ๊ว

1 35 36 37 38 39 62

Recent Comments

No comments to show.

Follow

Instagram

This error message is only visible to WordPress admins

Error: No feed found.

Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.

Video