[ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม

สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม  ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง และการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบวิจัยของ บพท.  ปีนี้ ดร.ปุ่น ในบทบาทรองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับคณะทำงาน ได้ริเริ่มโปรแกรมวิจัยใหม่ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสมาคมเทศบาลนครและเมือง องค์กรที่เป็นดั่งหัวใจหลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำเมืองระดับท้องถิ่นครอบคลุมทั่วประเทศ กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ ที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเยือนอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี ภายหลังที่ บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในปี 2538 จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อแผนการทำร้อยเอ็ดให้น่าอยู่และน่าเที่ยวถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมือง ภูมิทัศน์ของเมืองร้อยเอ็ดค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทั้งการบูรณะบึงพลาญชัย การสร้างประตูเมืองจำลอง ‘สาเกตนคร’ ให้เป็นสัญลักษณ์และเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์คูเมืองโบราณให้น่ามองไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียว

THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP

  • LIVABLE & SMART CITY
  • LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
  • LEARNING CITY

Topics

Criticism

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

World

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Pandemic

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Finance

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Criticism

Join our Mailing List

We hate spams like you do

Satire

Latest

ผมไม่คิดว่าต่อไปหาดใหญ่จะเป็นแค่เมืองการค้า เพราะจากที่ผมเข้าไปสัมผัสในหลายชุมชน ผมเชื่อมั่นว่าคนหาดใหญ่มีศักยภาพที่จะพลิกเมืองได้

“ผมสอนหนังสือในเมืองหาดใหญ่มา 20 กว่าปีแล้ว ผ่านการทำงานวิจัยหลากหลายเรื่อง แต่เกือบทั้งหมดจะอยู่ในพื้นที่ของอำเภอต่างๆ ในจังหวัดสงขลา โครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ เป็นโครงการแรกที่ผมได้ทำในพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่ ผมเข้ามาทำโครงการนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 และรู้สึกประหลาดใจไม่น้อย เมื่อพบว่าที่ผ่านมาแทบไม่ค่อยมีงานวิจัยเกี่ยวกับชุมชนและการพัฒนาเมืองเกิดขึ้นในพื้นที่เทศบาลเท่าไหร่ ทั้งนี้ แม้จะมีอุปสรรคสำคัญคือการระบาดของโควิด-19 แต่ด้วยเนื้อหาของงานวิจัยที่เราทำ ซึ่งมีเป้าหมายจะเสริมสร้างทักษะใหม่ๆ แก่ผู้ประกอบการ โครงการจึงตอบโจทย์กับความต้องการของผู้คนในเวลานั้นพอดี ผมรับผิดชอบโครงการย่อยที่ 2 เรื่องนวัตกรรมการเรียนรู้โดยทำในพื้นที่

ผมตั้งใจให้ร้านนิยมรสเป็นร้านของเมืองหาดใหญ่ คุณจะมากินปลาเต๋าเต้ยหม้อไฟและเมนูอื่นๆ ของเราได้ที่หาดใหญ่เท่านั้น

“พ่อกับแม่ผมเปิดร้านนิยมรส ปี พ.ศ. 2512 เมื่อก่อนร้านอยู่ในบ้านไม้ห้องเดียวในย่านใจกลางเมืองหาดใหญ่ พ่อเป็น เถ่าชิ่ว หรือพ่อครัวหลัก ส่วนแม่เป็นผู้ช่วยเรียกว่า ยีชิ่ว ทำมาได้สัก 10 ปี พ่อก็ย้ายมาเปิดที่ตึกบนถนนธรรมนูญวิถีร้านนี้ เพราะมีพื้นที่มากกว่า ผมเกิดที่บ้านหลังนี้ ก็ช่วยพวกเขาเสิร์ฟอาหารและรับลูกค้าตั้งแต่เด็ก กลับจากโรงเรียนมา ก็ใส่ชุดนักเรียนเสิร์ฟเลย (หัวเราะ) สมัยก่อนไม่คิดว่าจะมาสานต่อกิจการนี้เลยครับ จริงๆ

ถามว่าทำไมเราต้องมาทำงานตรงนี้ด้วยใช่ไหม? จริงอยู่ บริษัทเราอยู่คู่กับคนหาดใหญ่มา 60 ปีแล้ว ตอนนี้ก็ถึงเวลาที่เราจะใช้ประสบการณ์และ know how ที่มีช่วยเมืองที่เราอาศัยอยู่บ้าง

“บริษัท โพธิ์ทองขนส่ง (2505) จำกัด เริ่มต้นปี พ.ศ.​2505 ตั้งแต่รุ่นคุณปู่ค่ะ เราเป็นบริษัทที่ได้สัมปทานเดินรถเส้นทางระหว่างอำเภอหาดใหญ่ไปยังอำเภอเมืองสงขลา เริ่มมาตั้งแต่ยังเป็นรถบัสความยาว 12 เมตร ก่อนจะปรับชนิดของรถไปตามยุคสมัย โดยวิ่งอยู่สองเส้นทางคือสายเก่าและสายใหม่ ย้อนกลับไปเมื่อ 60 ปีที่แล้ว สมัยนั้นคนส่วนใหญ่ยังไม่มีรถส่วนตัว กิจการเดินรถของเราจึงเฟื่องฟูมาก เพราะผู้คนต้องเดินทางไป-กลับสองเส้นทางนี้ตลอด เราทำรถบัสขนาดใหญ่ที่บางรอบจุคนเกือบร้อย ออกทุกๆะ 5

เมื่อพื้นที่ไม่พร้อม กิจกรรมจึงไม่มี ความคิดสร้างสรรค์ก็เลยไม่เกิด

“เราคิดว่าการสร้างแรงจูงใจให้เด็กและเยาวชนได้ทำกิจกรรมเพื่อรู้จักตัวเอง รู้จักชุมชน และรู้จักเมืองที่พวกเขาอยู่ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ช่วยให้เมืองเมืองนั้นมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพราะแม้เราจะรู้กันดีว่าหาดใหญ่เป็นเมืองการค้าและศูนย์กลางการศึกษาของภาคใต้ แต่เมื่อเราและทีมงานเมืองแห่งการเรียนรู้ มีโอกาสลงพื้นที่สำรวจข้อมูลผู้คนในชุมชนเลียบคลองเตยย่านใจกลางเมืองหาดใหญ่ กลับพบว่ามีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ไม่มีงานอดิเรก บางส่วนเป็นผู้ประกอบการที่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ไปกับการทำงาน บางส่วนเป็นคนวัยเกษียณที่รับจ้างเฝ้าร้านให้ผู้ประกอบการอีกทอดหนึ่ง หากไม่ใช่การพักผ่อน คนส่วนใหญ่กลับไม่รู้ว่าจะทำอะไรในเวลาว่าง ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ส่วนหนึ่งก็เพราะหาดใหญ่ไม่มีพื้นที่สาธารณะที่เพียงพอ หรือถ้ามีก็กลับใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่ ซึ่งมองในมุมที่เราเป็นทั้งแม่และอาจารย์ (อาจารย์สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ – ผู้เรียบเรียง) เราก็พบว่าสนามเด็กเล่นที่เมืองมีหลายแห่งยังไม่ได้มาตรฐาน

ผมถือคติทำงานที่ได้เงินเยอะๆ เพื่อแบ่งรายได้มาทำในสิ่งที่เราอยากทำ เป็นการหล่อเลี้ยงหัวใจ

“ปี 2565 นี้ a.e.y.space จะมีอายุครบ 10 ปี เรียกได้ว่าอาร์ทสเปซแห่งนี้ถือเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้สมดุลชีวิตของผมตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานี้ลงตัวก็ไม่ผิดนัก ผมออกจากงานประจำในฐานะอาร์ทไดเรคเตอร์ของค่ายเพลงแห่งหนึ่งที่กรุงเทพฯ เพื่อกลับมาสงขลาเมื่อราว 15 ปีก่อน ความที่ครอบครัวมีธุรกิจทำประมงและส่งออกอาหารทะเลจึงต้องมาช่วยเขา แต่ทำไปได้สักพักก็พบว่านี่ไม่ใช่ทาง เลยหาเวลาไปรับงานกราฟิกดีไซน์ที่หาดใหญ่มาทำบ้าง เพราะเป็นงานที่ผมถนัดและสนุกกับมันมากกว่า พอรับจ๊อบกราฟิกดีไซน์มากเข้าก็อยากเปิดสตูดิโอออกแบบที่นี่ แต่ก็รู้กันว่าผู้ประกอบการต่างจังหวัดมักไม่ลงทุนกับค่าออกแบบ ผมจึงตัดสินใจเปิดโรงพิมพ์ครบวงจรชื่อ Print Up ซึ่งทำให้ผมยังคงทำงานที่ตัวเองถนัด

โครงการคลองเตยลิงก์ของพี่เจี๊ยบพยายามปลุกความรับรู้ของคนหาดใหญ่กับคลองสายนี้ โดยเริ่มจาก 10 ชุมชนที่อยู่ติดริมคลองก่อน เพราะพวกเขามีบทบาทเสมือนเจ้าของพื้นที่

“สถานีวิทยุ ม.อ. หาดใหญ่ FM 88 MHz เดิมเคยเป็นหน่วยทดลองด้านการแพร่สัญญาณวิทยุของภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อ 30 กว่าปีที่แล้ว ก่อนพัฒนาเป็นสถานีวิทยุเพื่อรองรับการเรียนการสอน ต่อมาก็มีการปรับให้เป็นวิทยุเพื่อประชาสัมพันธ์ธุรกิจการค้า จนมาช่วงปี 2540 พอสถานีวิทยุอื่นๆ เน้นเปิดเพลงเป็นหลักเหมือนกันหมด เราเลยปรับทิศทางมาเป็นการเผยแพร่งานวิชาการให้สนุก และทำสื่อบันเทิงให้มีสาระ เรามีทีมงานทั้งหมด 17 คน

เราไม่ได้มองตัวเองเป็นพลเมือง แต่มองตัวเองเป็นแค่ประชากร มองเป็นแค่ผู้อยู่อาศัยในเมือง ทำให้เราไม่มีฝันของตัวเองที่เกี่ยวกับเมือง

“แม้จะเป็นเมืองศูนย์กลางทางการค้าของภาคใต้ แต่หาดใหญ่ก็กลับเป็นเมืองที่เล็กมากๆ เพราะเอาเข้าจริงก่อนเมืองมีการขยายออกในรอบหลายปีหลังมานี้ แต่เดิมความเจริญกระจุกตัวอยู่ในระยะเส้นผ่าศูนย์กลางแค่ 2 กิโลเมตรเท่านั้น เรียกว่าเดินถึงกันได้หมด แต่ในพื้นที่เล็กๆ แค่นั้น หาดใหญ่กลับเต็มไปด้วยความหลากหลายของวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ตั้งแต่การเกิดขึ้นของชุมทางรถไฟเมื่อเกือบ 100 ปีก่อน ยุคสมัยของเหมืองแร่ สวนปาล์ม ยางพารา มาถึงของหนีภาษี และการท่องเที่ยว ซึ่งต้องยกเครดิตให้ชัยภูมิของเมือง เพราะมันมีภูเขาที่บีบเส้นทางลำเลียงทรัพยากรให้ผ่านมาทางนี้ คุณจะไป 3

หาดใหญ่เป็นแมว 9 ชีวิต ช่วงโควิด-19 ใครต่อใครบอกว่าหาดใหญ่ตายแล้ว แต่คุณลองกลับมาดูตอนนี้สิ

“โอเดียนเป็นห้างสรรพสินค้ารายแรกๆ ของหาดใหญ่ เริ่มจากการที่เพื่อนผู้ประกอบการในย่าน 10 คน รวมตัวกันเพื่อจัดสรรพื้นที่ขายของภายในอาคารหลังเดียว ใครถนัดอะไรก็ขายสิ่งนั้น บางคนดีลเครื่องเขียนมาขาย กางเกงยีนส์ เสื้อผ้าผู้หญิง และซูเปอร์มาร์เก็ต เราเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2524 โดยตั้งพื้นที่อยู่ตรงข้ามศูนย์การค้าในปัจจุบัน จนปี พ.ศ. 2535 ก็ย้ายมาเปิดอยู่ในอาคารสูง 9 ชั้น ตรงพื้นที่ปัจจุบัน

ผมเชื่อว่าการเรียนรู้ผ่านสื่ออย่างการทำละครเป็นเครื่องมือในการค้นหาศักยภาพของเยาวชนได้ เพราะนี่คือส่วนผสมระหว่างจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ และการเล่าถึงข้อมูลที่ต้องการสื่อสาร

“ผมเรียนมาทางด้านบริหารงานบุคคล แต่มีความสนใจในด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชน ช่วงเป็นนักศึกษาจึงได้ทำกิจกรรมละครโรงเล็กและละครหุ่นกับเพื่อน ซึ่งพอได้เห็นเด็กๆ สนุกไปกับสิ่งที่เราทำ หัวใจเราเต้นแรงมาก เลยตั้งใจว่าพอจบออกมาคงจะทำงานด้านนี้ ที่สนใจเรื่องการพัฒนาเด็ก เพราะพบว่าการเรียนรู้ของเด็กที่ผ่านมาไม่ได้ตอบโจทย์ศักยภาพของเขาจริงๆ ซึ่งหมายรวมถึงในช่วงที่ผมเป็นเด็กด้วย เราต่างเป็นผลผลิตของการศึกษาที่โตเพียงข้างเดียว พอเรียนจบมาก็เข้าสู่ตลาดแรงงานในโลกทุนนิยม ส่วนศักยภาพที่เด็กแต่ละคนค้นพบระหว่างนั้น เมื่อไม่ได้สอดคล้องกับตลาด ก็จะไม่ได้ถูกนำมาใช้ โดยเหตุที่เป็นเช่นนี้ส่วนหนึ่งมาจากหลักสูตรการศึกษา และการขาดพื้นที่และกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน ผมเชื่อว่าการเรียนรู้ผ่านสื่ออย่างการทำละครเป็นเครื่องมือในการค้นหาศักยภาพของเยาวชนได้ เพราะนี่คือส่วนผสมระหว่างจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ และการเล่าถึงข้อมูลที่ต้องการสื่อสาร ขณะเดียวกันละครก็เป็นสื่อกลางเชื่อมให้เยาวชนเข้าใจในประเด็นต่างๆ

1 36 37 38 39 40 62

Recent Comments

No comments to show.

Follow

Instagram

This error message is only visible to WordPress admins

Error: No feed found.

Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.

Video