[ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม

สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม  ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง และการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบวิจัยของ บพท.  ปีนี้ ดร.ปุ่น ในบทบาทรองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับคณะทำงาน ได้ริเริ่มโปรแกรมวิจัยใหม่ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสมาคมเทศบาลนครและเมือง องค์กรที่เป็นดั่งหัวใจหลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำเมืองระดับท้องถิ่นครอบคลุมทั่วประเทศ กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ ที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเยือนอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี ภายหลังที่ บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในปี 2538 จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อแผนการทำร้อยเอ็ดให้น่าอยู่และน่าเที่ยวถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมือง ภูมิทัศน์ของเมืองร้อยเอ็ดค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทั้งการบูรณะบึงพลาญชัย การสร้างประตูเมืองจำลอง ‘สาเกตนคร’ ให้เป็นสัญลักษณ์และเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์คูเมืองโบราณให้น่ามองไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียว

THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP

  • LIVABLE & SMART CITY
  • LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
  • LEARNING CITY

Topics

Criticism

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

World

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Pandemic

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Finance

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Criticism

Join our Mailing List

We hate spams like you do

Satire

Latest

ชั้นเรียนของผมครึ่งหนึ่งเป็นคนพุทธ อีกครึ่งเป็นคนมุสลิม แต่เราเป็นเพื่อนกันหมด แต่ไหนแต่ไร คนยะลาอยู่กันแบบนี้ กระทั่งวันหนึ่งจู่ๆ ก็มีคนมาบอกว่าพวกเราไม่เหมือนกัน

“ผมเกิดที่ยะลา เรียนโรงเรียนคณะราษฎรบำรุงจนถึง ม.6 แล้วไปเรียนต่อมหาวิทยาลัยที่อื่น สมัยที่ผมเรียนที่นี่ ชั้นเรียนของผมครึ่งหนึ่งเป็นคนพุทธ อีกครึ่งเป็นคนมุสลิม แต่เราเป็นเพื่อนกันหมด หรือกระทั่งครอบครัวผมที่เป็นคนเชื้อสายจีน ยายและแม่ของผมก็ค้าขายกับคนมุสลิมจนสนิทสนมเป็นเพื่อนฝูงกันมาตลอด แต่ไหนแต่ไร คนยะลาอยู่มาแบบนี้ กระทั่งวันหนึ่งจู่ๆ ทั้งรัฐและสื่อต่างๆ ก็มาบอกว่าเราไม่เหมือนกัน จากนั้นเหตุการณ์ความไม่สงบช่วงปี 2547 ก็มาซ้ำสถานการณ์ ช่องว่างของความแตกต่างจึงถูกถ่างออกไปใหญ่ ในโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ยะลา ผมทำโครงการย่อยที่ชื่อว่าโครงการยะลาศึกษา: ความหลากหลายของผู้คน

เพราะเราต้องบอกนักเรียนให้ได้ว่าเราจะเรียนรู้เรื่องเมืองของเราไปทำไม

“ส่วนบริหารการศึกษา สำนักการศึกษา เทศบาลนครยะลา กำลังอยู่ระหว่างจัดทำเอกสารประกอบการเรียนการสอนเรื่องราวท้องถิ่นของเมืองยะลา เพราะเราคิดว่าการทำให้คนยะลารู้จักประวัติศาสตร์และที่มาของบ้านเกิดตัวเองได้ดีนั้น ต้องเริ่มจากการปูพื้นที่การศึกษาในห้องเรียนตั้งแต่เด็ก ก่อนหน้านี้เรามีการบรรจุวิชาท้องถิ่นเมืองยะลาไว้อยู่ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลอยู่แล้ว เพียงแต่เรายังไม่มีตำราเรียนใช้อย่างเป็นทางการที่สามารถเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปได้อ่าน ทั้งนี้ การที่เทศบาลนครยะลาได้ร่วมงานกับโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ จัดงาน ‘ยะลาสตอรี่’ ซึ่งมีรูปแบบการเล่าเรื่องเมืองยะลาอย่างสร้างสรรค์และทันสมัย ก็มีส่วนสำคัญทำให้ทางเรากลับมาปรับปรุงหลักสูตรการสอนเรื่องท้องถิ่นให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตปัจจุบันของคนรุ่นใหม่ เพราะเราต้องบอกนักเรียนให้ได้ก่อนว่าเราจะเรียนรู้เรื่องเมืองของเราไปทำไม เรียนเพื่อได้รู้จักตัวเอง รู้จักบ้านเกิดของเราเอง และรู้จักที่จะใช้ต้นทุนตรงนี้มาพัฒนาเมืองและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเราเอง จากนั้นก็เป็นเรื่องจำเป็นที่บทเรียนเรื่องท้องถิ่นมีความสนุกสนานหรือเพลิดเพลิน เพราะสิ่งนี้จะทำให้การศึกษาเข้าถึงนักเรียนได้มากที่สุด หลังจากปรับปรุงเอกสารประกอบการเรียนการสอนอันนี้ เราก็มีแผนจะเผยแพร่ไปยังโรงเรียนนอกสังกัดเทศบาลที่อยู่ในตัวเมืองยะลาทั้งหมด

ถึงเวลาที่ทั้งคนยะลาและคนจากที่อื่นควรเรียนรู้ถึงความแตกต่างหลากหลาย ใช้สิ่งนี้เป็นต้นทุนเพื่อต่อยอดไปสู่สิ่งใหม่ๆ ผมว่ายะลาโตได้มากกว่านี้อีกเยอะครับ

“พ่อแม่ผมเป็นคนไทยที่ไปทำงานที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย ผมเกิดที่นั่น ก่อนที่พ่อและแม่ตัดสินใจย้ายกลับมาเปิดร้านอาหารที่เมืองยะลาตอนผมอายุ 2 ขวบ ร้านอาหารที่ยะลาของครอบครัวตั้งอยู่บนถนนสายหลักที่เชื่อมไปยังจังหวัดปัตตานีและหาดใหญ่ พอผมจำความได้ พื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ก็เริ่มมีเหตุการณ์ความไม่สงบ ซึ่งถนนหน้าบ้านผมนี่มีการวางระเบิดกันบ่อย เพราะมันเป็นเหมือนเส้นเลือดหลัก บ่อยขนาดที่ว่าคนแถวนั้นได้ยินเสียงระเบิดจนชิน เป็นความเคยชินที่ชวนหดหู่นะครับ ช่วงที่ผมโตมานี่ยอมรับว่ายะลาไม่น่าอยู่เลย แต่ละวันดำเนินไปด้วยความหวาดระแวง ขณะเดียวกันบรรยากาศในเมืองมันก็เหมือนถูกประโคมด้วยความแตกแยกทางวัฒนธรรม การที่คุณเป็นคนมุสลิมเข้าไปในบางชุมชนก็จะได้ความรู้สึกไม่ได้รับความไว้วางใจในชุมชนนั้น เช่นเดียวกับที่คุณเป็นคนพุทธ และเข้ามาในชุมชนมุสลิมก็จะเจอความรู้สึกคล้ายๆ กัน อย่างไรก็ตาม บรรยากาศที่ว่านี้มันกลับไม่เกิดในโรงเรียนที่ผมเรียนอยู่ ทุกคนไม่ว่าคุณจะนับถืออะไรก็ล้วนเป็นเพื่อนกัน

ผมมองยะลาเหมือนคนรักน่ะ อาจไม่ใช่ผู้หญิงที่สวยอะไรมาก แต่เรารักที่จะอยู่ร่วมกันกับเขาอย่างนี้เรื่อยไป

“ยะลาเป็นเมืองตักศิลาของการศึกษา เราเป็นเมืองศูนย์กลางการศึกษาในระดับภูมิภาคที่มีสถาบันการศึกษาในทุกระดับ ขนาดมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตภาคใต้ตอนล่าง ก็ยังตั้งอยู่ที่นี่ ผมตระหนักถึงเรื่องนี้ดี และนั่นทำให้ตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาทำงานในเทศบาลนครยะลา จึงมีวิสัยทัศน์อันเด่นชัด โดยวาง motto ไว้ว่า ‘สร้างเมืองให้น่าอยู่ สร้างความรู้สู่มวลชน’   และเพราะเหตุนี้ เทศบาลนครยะลาจึงให้ความสำคัญกับพื้นที่การเรียนรู้ของเมืองเป็นพิเศษ โดยเฉพาะการพัฒนาพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียวให้เป็นพื้นที่การเรียนรู้ เพราะเราเห็นว่าพื้นที่ของการใช้ชีวิตและพื้นที่ของการเรียนรู้คือพื้นที่เดียวกัน เรามีอุทยานการเรียนรู้ TK Park ที่เปิดเป็นสาขาแรกในต่างจังหวัดอยู่ภายในศูนย์เยาวชนของเทศบาล

แบวอร์กเป็นการเล่นคำมาจาก แบเวาะ ที่แปลว่าตัวเงินตัวทองในภาษายาวี เราเปลี่ยนคำที่เป็น hate speech ของพื้นที่ ให้กลายเป็นคำสมาสระหว่างยาวีและอังกฤษ แปลว่า เด็กผู้ชาย (แบ) ที่เดินไปด้วยกัน (วอร์ก – walk)

“ผมเป็นคนอำเภอยะรัง เรียนสาขานวัตกรรมการออกแบบและสร้างสรรค์สื่อ ม.อ. ปัตตานี ช่วงที่เรียนผมมีความฝันอยากทำภาพยนตร์ และสนใจบอกเล่าวัฒนธรรมร่วมสมัยของคนรุ่นใหม่ในสามจังหวัดชายแดนใต้ เลยรวมเพื่อนทั้งหมด 5 คน ตั้งกลุ่มทำหนังสารคดีประกวดของโครงการ Deep South Young Film Maker เรื่องแรกที่เราทำด้วยกันเป็นเรื่องเกี่ยวกับนักดนตรีสามรุ่นในสังคมมุสลิมของสามจังหวัด ตอนส่งประกวด กรรมการเขาก็ให้ตั้งชื่อกลุ่ม คุยกันอยู่สักพัก แล้วมาลงเอยที่ชื่อ แบวอร์ก (Baewalk)

ถ้าเด็กยะลาทุกคนเข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียม โดยไม่ต้องหลุดจากระบบกลางคัน เมืองของเราจะส่งเสริมให้พวกเขาเข้าถึงศักยภาพและความสนใจที่แท้จริงของตัวเองอย่างมาก

“ถามว่าเด็กยะลาขาดอะไร มองในภาพรวม ผมว่าคงจะตอบยาก เพราะเอาจริงๆ เด็กยะลามีต้นทุนที่ดีกว่าเด็กในเมืองอื่นๆ อีกหลายเมืองมากกว่า ผมไม่ได้เกิดที่ยะลา แต่เริ่มต้นชีวิตราชการครั้งแรกที่นี่ โดยระหว่างนั้นก็มีโอกาสย้ายไปทำงานและใช้ชีวิตที่อื่นอยู่พักใหญ่ ก่อนกลับมาประจำที่เมืองแห่งนี้ เมื่อพิจารณาถึงวิถีชีวิตและสาธารณูปโภคของเมืองอื่นๆ ที่ผมไปเจอมา ผมกล้าพูดว่าถ้ามองเรื่องต้นทุน เด็กยะลากินขาด ในเขตเทศบาลนครยะลาเรามีครบทั้งสถานศึกษาที่ครอบคลุมทุกระดับ มีสนามกีฬา สวนสาธารณะ ศูนย์การเรียนรู้ และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจทั้งในสวนและพื้นที่ริมแม่น้ำ รวมถึงกิจกรรมต่างๆ ของเมืองทั้งกีฬา ศิลปวัฒนธรรม

กิจกรรมวงออร์เคสตราเยาวชนมาไกลกว่าการเป็นเครื่องมือสลายความขัดแย้ง แต่อาจเรียกได้ว่าเป็นความภูมิใจหนึ่งของเยาวชนยะลา

“ย้อนกลับไปก่อนปี พ.ศ. 2547 ยะลาเคยเป็นเมืองที่น่ารักและน่าอยู่มากๆ จำได้ว่าผู้คนไม่ว่าจะเชื้อชาติหรือศาสนาอะไรก็ล้วนเป็นมิตร คนในชุมชนรู้จักและเข้าถึงกัน บางคนต่างศาสนาแต่กินข้าวโต๊ะเดียวกันก็มีให้เห็นบ่อย แต่พอมีเหตุการณ์ความไม่สงบเท่านั้นแหละ ทุกอย่างเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ พอเกิดความรุนแรง ผู้คนก็หวาดระแวงกัน แถมยังมีกระแสว่ากลุ่มผู้ก่อการร้ายแฝงตัวอยู่ในชุมชน จากที่เคยไปมาหาสู่กัน เราก็ค่อยๆ ถอยห่างคนที่อยู่ต่างศาสนา พอมีคนต่างถิ่นหรือคนแปลกหน้าเข้ามา จากที่เราเคยยิ้มแย้มต้อนรับ ก็กลายเป็นความตึงเครียดไม่ไว้วางใจ และพอไม่รู้ว่าจะมีเหตุการณ์ความรุนแรงตรงไหนหรือเวลาไหน กิจกรรมในเมืองก็ถูกระงับหมด ซึ่งก็มาซ้ำเติมสถานการณ์กับการที่มีกลุ่มวัยรุ่นทะเลาะและทำร้ายกันด้วย แม้พื้นฐานของเมืองจะน่าอยู่

เคยคิดว่าถ้าเราเรียนเก่ง คนที่คอยตั้งแง่กับเพศสภาพก็อาจจะลืมตัวตนที่แท้จริงของเรา ซึ่งเหนื่อยนะที่ต้องทำแบบนี้

“เราเติบโตมาในสังคมมุสลิม เรียนโรงเรียนสอนศาสนา และใช้ชีวิตประจำวันท่ามกลางบรรยากาศที่ค่อนข้างเคร่งครัด ขัดแย้งกับตัวตนที่เป็น LGBT ของเรา ตอนเป็นวัยรุ่นเราคิดมาตลอดว่าสิ่งที่เราเป็นคือปมด้อย เราก็พยายามกลบปมด้อยด้วยการตั้งใจเรียน เป็นตัวแทนโรงเรียนไปสอบแข่งขันที่นั่นที่นี่ และทำกิจกรรมสม่ำเสมอ เคยคิดว่าถ้าเราเรียนเก่ง คนที่คอยตั้งแง่กับเพศสภาพก็อาจจะลืมตัวตนที่แท้จริงของเรา ซึ่งเหนื่อยนะที่ต้องทำแบบนี้ เป็นความเคยชินในวัยเด็กที่ดูตลกร้ายมากๆ จนได้มารู้จักพี่บอล (เอกรัตน์ สุวรรณรัตน์) ในช่วงที่เราเรียนมหาวิทยาลัยนี่แหละ ที่ทำให้เรากล้าที่จะเป็นตัวของตัวเอง พี่บอลเป็นเหมือนแม่ที่คอยให้กำลังใจลูกสาวอย่างพวกเราทุกคนไม่ว่าเราจะนับถือศาสนาอะไร เราเหมือนเจอเพื่อนจริงๆ ที่คอยสนับสนุน

คนเราเกิดมา สิ่งสัมผัสแรกก็คือผ้า และสิ่งสุดท้ายที่จะอยู่กับร่างกายเราจนตายก็คือผ้า ผ้าคือวิถีชีวิตของมนุษย์ ผมจึงคิดว่า ทำไมเราไม่สนใจเขาหน่อยหรือ

“ปี 2558 ผมเป็นเจ้าหน้าที่จัดทำเนื้อหานิทรรศการที่ TK Park ยะลา และมีโอกาสได้จัดนิทรรศการผ้าพื้นถิ่นภาคใต้ชื่อว่า ‘นุ่ง ห่ม พัน วิถีแดนใต้’ โดยนำผ้าโบราณจากภาคใต้ขึ้นไปจัดแสดงที่กรุงเทพฯ งานค่อนข้างใหญ่ และมีนักสะสมผ้าจากทั่วสารทิศมารับชม นิทรรศการนี้จุดประกายให้ผมสนใจศึกษาเรื่องผ้าพื้นถิ่นในเชิงลึกอย่างมาก ขณะเดียวกัน ระหว่างที่จัดงาน ก็มีกูรูเรื่องผ้าคนหนึ่งมาทักว่ามีข้อมูลในงานจุดหนึ่งคลาดเคลื่อน ข้อมูลดังกล่าวเกี่ยวกับผ้าเปอลางี ซึ่งเป็นเทคนิคการทำผ้ามัดย้อมชนิดหนึ่งในวัฒนธรรมมลายู ข้อผิดพลาดดังกล่าวเป็นปมในใจผมมาก เพราะผมเป็นคนยะลาในพื้นที่แท้ๆ

1 39 40 41 42 43 62

Recent Comments

No comments to show.

Follow

Instagram

This error message is only visible to WordPress admins

Error: No feed found.

Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.

Video