[ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม

สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม  ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง และการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบวิจัยของ บพท.  ปีนี้ ดร.ปุ่น ในบทบาทรองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับคณะทำงาน ได้ริเริ่มโปรแกรมวิจัยใหม่ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสมาคมเทศบาลนครและเมือง องค์กรที่เป็นดั่งหัวใจหลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำเมืองระดับท้องถิ่นครอบคลุมทั่วประเทศ กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ ที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเยือนอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี ภายหลังที่ บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในปี 2538 จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อแผนการทำร้อยเอ็ดให้น่าอยู่และน่าเที่ยวถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมือง ภูมิทัศน์ของเมืองร้อยเอ็ดค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทั้งการบูรณะบึงพลาญชัย การสร้างประตูเมืองจำลอง ‘สาเกตนคร’ ให้เป็นสัญลักษณ์และเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์คูเมืองโบราณให้น่ามองไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียว

THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP

  • LIVABLE & SMART CITY
  • LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
  • LEARNING CITY

Topics

Criticism

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

World

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Pandemic

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Finance

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Criticism

Join our Mailing List

We hate spams like you do

Satire

Latest

บางคนอ่านหนังสือเยอะ แต่พอคบด้วย ใช้ชีวิตด้วย ไม่ได้เรื่อง แม้กระทั่งนักเขียนด้วยกันเอง เขียนดี แต่คบด้วย โห ทำไมตรงกันข้ามกับสิ่งที่เขียน

“ตอนแรกที่ตัดสินใจเปิดร้านหนังสือ ผมย้ายจากเชียงใหม่ มาชอบหัวหิน ดูแล้วในหัวหินไม่มีร้านหนังสือ เรามีหนังสือเยอะ ก็ขายหนังสือเก่าก่อน มีพรรคพวกเอาหนังสือมาฝากขาย หนังสือใหม่ก็เริ่มมีที่สำนักพิมพ์ต่างๆ มาช่วยกัน เปิดไปซักพักเริ่มมีหนังสือออนไลน์ขาย ก็เริ่มส่งผล จะขายหนังสือเก่า ก็ขายไปหมดแล้ว แต่ยังรู้สึกว่าไปได้ถ้าเรามีอย่างอื่นมากกว่าหนังสือที่เราขาย เช่น แผ่นเสียง งานศิลปะ ของแต่งเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งบางทีเราเอามาวางก็ไม่รู้หรอกแต่มีคนมองเห็นว่ามีคุณค่าเขาก็ซื้อไป ผมทำร้านหนังสือที่หัวหินร้านแรก 4-5

เรารับสมัครนักเรียน ใครเข้ามาก็ได้ ใช้ระบบ destiny พรหมลิขิต

               “โรงเรียนภัทราวดี หัวหินสอนวิธีคิดใหม่ เราให้มองต่างมุม เก่าเขาสอนมาให้มองมุมนี้ แล้วเด็กก็เริ่มเบื่อ เพราะสื่อเยอะ ความรู้เขาเยอะ เขารู้สึกว่าจะมาหลอกเขาทำไม อย่างเจอศาลพระภูมิต้องยกมือไหว้ ไหว้ทำไม แต่ถ้าเราอธิบายได้ จริงๆ ไม่ได้ไหว้อิฐไหว้ปูน แต่คือ respect คนเขาเห็นเราไหว้สวย รู้จักเคารพ ทีนี้คนไทยสอนให้ทำ แต่ไม่สอนว่าทำไม เช่น เราไม่เดินข้ามหนังสือ

เรือที่ปล่อยออกทะเล เขาเจาะรูให้เรือรั่วและจมลงทะเล กลายเป็นแหล่งปะการังหากินของสัตว์ทะเลต่อไป ก็เป็นงานประเพณีดั้งเดิมของคนหัวหินที่ยังทำกันอยู่

             “วัดหัวหินเป็นวัดแห่งแรกของหัวหิน สร้างปลายรัชกาลที่ 5 เริ่มสร้างปี พ.ศ. 2439 เดิมมีพื้นที่สำนักสงฆ์อยู่สองสำนัก อยู่ตรงหน้าโรงแรมเมเลีย คนจากเมืองเพชรบุรีย้ายมาหาที่ทำกินที่นี่ แล้วเพชรบุรีมีวัดเยอะ ก็เลยอยากมีวัด ก็ถวายที่ดิน ซึ่งตอนนั้นเป็นสวนมะม่วง ชาวบ้านหัวหินร่วมกันสมทบทุนสร้างวัดขึ้นมา ตั้งชื่อว่า วัดอัมพาราม ตอนหลังเปลี่ยนชื่อเป็นวัดหัวหิน แล้วก็ไปอาราธนาหลวงพ่อนาคมาเป็นเจ้าอาวาส หลวงพ่อนาคเกิดปี พ.ศ. 2400

ผมเห็นสวนสนและรถไฟมาตั้งแต่เกิด

            “สมัยก่อน การคมนาคมอาศัยเส้นทางทางรางเป็นหลัก รถยนต์ก็ไม่ค่อยมี รถไฟเป็นการส่งสินค้ารับส่งผู้โดยสารสะดวกที่สุด เหมือนเป็นเส้นเลือดใหญ่ สถานีรถไฟหัวหินเองเป็นแลนด์มาร์กของเมือง และเป็นประวัติศาสตร์ประเทศด้วย อาคารสถานีเป็นอาคารไม้ ซึ่งพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง ณ ขณะนั้น ทรงให้ยกอาคารไม้ที่ใช้สร้างศาลาในงานสยามรัฐพิพิธภัณฑ์ ซึ่งจะจัดที่สวนลุมพินีเมื่อปลายปี พ.ศ. 2468 แต่รัชกาลที่ 6 เสด็จสวรรคตเสียก่อน รัชกาลที่

ถ้าเราเริ่มเดี๋ยวร้านอื่นก็เริ่ม แล้วเราไม่ต้องไปอิจฉากัน สุดท้ายเราร่วมกันทั้งเมืองยาวไปถึงโลกเมตาเวิร์สได้เลย

               “ร้านแนบเคหาสน์เปิดเมื่อ 1 ตุลาคม 2564 เปิดเย้ยโควิดเลย เปิดแล้วก็คนแน่นทั้งเดือนเพราะร้านอื่นปิดหมด ที่ผมทำร้านนี้เพราะหัวหินไม่มีสภากาแฟให้นั่งเลย คิดว่าบ้านตัวเอง เท็กซ์เจอร์ได้อยู่แล้ว ตัวร้านอายุประมาณ 120 ปี ตัวเรือนไทยด้านหลังบ้านประมาณ 140 ปีแล้ว คือบ้านหลังนี้เดิมตั้งอยู่ที่ตลาดดอนมะขาม ตรงห้าแยก ทางลงศาลเจ้าแถวโรงแรมฮิลตัน แล้วพระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากรมาขอซื้อที่ที่บ้าน ทำตลาดฉัตรไชย คนก็คิดว่าที่แถวนี้ต้องมีราคาเลยย้ายขึ้นมาแถวนี้หมด

เราไม่ได้ทำตามหน้าที่ ทำเพราะเราอยากทำ คำนี้เลย

                “สาธารณสุขมีหน้าที่ทำให้คนแข็งแรง ส่งเสริมป้องกันไม่ให้เจ็บป่วยเร็ว ไม่ต้องพึ่งพาโรงพยาบาลที่ทำหน้าที่รักษาและฟื้นฟู หรือไปโรงพยาบาลให้น้อยที่สุด หรือไปโรงพยาบาลโดยไม่ต้องเจ็บป่วย เปลี่ยนโรงพยาบาลให้เป็นซูเปอร์มาร์เก็ต เป็นแหล่งเรียนรู้ #หมอที่ดีที่สุดคือตัวเอง เราอยากให้เขามี Health Literacy ให้รู้จักการดูแลตัวเอง พึ่งตัวเอง เราคิดว่าวิธีคิดของคนน่ะสำคัญ กรอบงานวิจัยนี้คือเปลี่ยนวิธีคิด แล้วเบื้องหลังที่ฉุกให้คนคิดทำอะไรคือสำนึกร่วม ชวนคุย ชวนคิด ชวนเปิดพื้นที่ แต่คนที่ทำอะไรเพื่อตัวเอง มันเล็ก

เคยมีคนดูถูกว่า ผมทำเรือฉลอมแบบนี้แล้วจะพอกินเหรอ จะรวยเหรอ ผมบอกชีวิตนี้ผมไม่ต้องการรวย มีข้าวพอกินทุกวันๆ พอใจละ

“ตอนผมเป็นเด็กอายุประมาณ 7 ขวบ ตอนเช้าหลวงปู่สุวรรณ วัดวิเวกสันติธรรม หัวหิน จะมาปลุก ไปหิ้วปิ่นโตหลวงปู่ออกบิณฑบาต แล้ววันหนึ่งผมไปเจอคุณตามุ้ย ประคำทอง ช่างต่อเรือฉลอมจิ๋ว ท่านนั่งทำเรือฉลอมอยู่ ราคาเรือฉลอมจิ๋วของท่านลำละตั้ง 700 บาท สมัยนั้นข้าวสารถังละ 20 บาทนะ ตอนนั้นก็ดูๆ ไม่ได้สนใจอะไร พอโตขึ้น ผมทำงานเป็นพนักงานธนาคารกรุงศรีอยุธยา

การรำคือการออกกำลังกายทุกอวัยวะได้ดีที่สุด ได้ทุกส่วน

              “ชมรมนาฏศิลป์หัวหินเริ่มต้นจากกิจกรรม “รำฟ้อนหน้าบ้านพ่อ” ตอนในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จสวรรคต เทศบาลเมืองหัวหินประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมาร่วมจุดเทียนรำถวายหน้าวังไกลกังวล ช่วงนั้นครูยังสอนคณิตศาสตร์อยู่โรงเรียนหัวหิน เทศบาลฯ มอบหมายให้ครูเป็นคนสอนรำให้ชาวบ้านที่มาร่วมรำประมาณ 1,500 คน เราเลยคิดว่าทำยังไงจะได้ประสานความสัมพันธ์นี้ต่อเนื่องไป 50 วัน 100 วัน จนถวายพระเพลิง อยากให้วัฒนธรรมไทยนี้ยั่งยืนเลยจัดตั้งเป็นชมรม และวิสาหกิจชุมชนศูนย์นาฏศิลป์เมืองหัวหิน ตอนนี้มีสมาชิกคงที่อยู่ประมาณ 500

หัวหินเมืองแห่งความสุข ทุกคนต้องมีความสุข

หัวหิน เมืองแห่งการเรียนรู้ สู่เมืองแห่งความสุข                ชุดโครงการวิจัย “การพัฒนาเทศบาลเมืองหัวหินสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน” โดยหัวหน้าชุดโครงการ ดร.ศิวัช บุญเกิด มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ปัญจา ชูช่วย เป็นหัวหน้าโครงการย่อย “การพัฒนาเทศบาลเมืองหัวหินสู่เมืองแห่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย” และอาจารย์อภินันท์ สิริรัตนจิตต์ หัวหน้าโครงการย่อย “การออกแบบและพัฒนานวัตกรรม พื้นที่การเรียนรู้ เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

1 42 43 44 45 46 62

Recent Comments

No comments to show.

Follow

Instagram

This error message is only visible to WordPress admins

Error: No feed found.

Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.

Video