[ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม

สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม  ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง และการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบวิจัยของ บพท.  ปีนี้ ดร.ปุ่น ในบทบาทรองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับคณะทำงาน ได้ริเริ่มโปรแกรมวิจัยใหม่ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสมาคมเทศบาลนครและเมือง องค์กรที่เป็นดั่งหัวใจหลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำเมืองระดับท้องถิ่นครอบคลุมทั่วประเทศ กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ ที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเยือนอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี ภายหลังที่ บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในปี 2538 จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อแผนการทำร้อยเอ็ดให้น่าอยู่และน่าเที่ยวถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมือง ภูมิทัศน์ของเมืองร้อยเอ็ดค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทั้งการบูรณะบึงพลาญชัย การสร้างประตูเมืองจำลอง ‘สาเกตนคร’ ให้เป็นสัญลักษณ์และเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์คูเมืองโบราณให้น่ามองไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียว

THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP

  • LIVABLE & SMART CITY
  • LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
  • LEARNING CITY

Topics

Criticism

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

World

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Pandemic

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Finance

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Criticism

Join our Mailing List

We hate spams like you do

Satire

Latest

ถ้าเรายื่นองค์การยูเนสโกในเรื่องเมืองแห่งความสุข ถ้ายูเนสโกมาถามป้าอ้น 30 วัน ป้าอ้นก็จะบอกว่าเขามีความสุข ไม่ได้มีการจัดฉาก

            “ผมเป็นหนึ่งในคณะนักวิจัยโครงการการออกแบบและพัฒนานวัตกรรม พื้นที่การเรียนรู้ เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน บทบาทผมคือพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลให้กับชุมชนที่เป็นพื้นที่วิจัย อบรมพัฒนาความรู้พื้นฐานให้บุคลากรในชุมชนสามารถเป็นคนที่นำเรื่องราว สินค้า หรือบริการ มาเล่า เพื่อให้เกิดมูลค่า พอเขามีความรู้แล้ว เราก็อยากเป็นต้นแบบของชุมชนที่ใช้แพลตฟอร์มของตัวเอง คือชุมชนอาจจะขายผ่านลาซาด้า เดลิเวอรี ช้อปปี้ หรือสื่อต่างๆ ที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมค่อนข้างสูง ซึ่งเขาก็บ่นว่าไม่เหลืออะไร เราเลยเขียนขอทุนหน่วยงานภาครัฐ ไปที่กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

พิพิธภัณฑ์ในปทุมธานี…แหล่งเรียนไม่รู้จบ

หาก “พื้นที่เรียนรู้” ให้ความหมายเจาะจงไปที่ “พิพิธภัณฑ์” อันเป็นสถานที่เก็บรวบรวมและแสดงสิ่งสำคัญต่าง ๆ มุ่งหมายให้เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา และก่อให้เกิดความเพลิดเพลินใจ พิพิธภัณฑ์ที่มีอยู่หลากหลายในพื้นที่ปทุมธานี เป็นต้นว่า พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์, พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา, พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ, พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติธรณีวิทยาเฉลิมพระเกียรติ, พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติ, พิพิธภัณฑ์บัว, พิพิธภัณฑสถานเครื่องถ้วยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ, หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช, คลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร,

กลุ่มพิพิธภัณฑ์ขององค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

ในพื้นที่เทคโนธานี บนถนนเลียบคลองห้า ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี อันเป็นที่ตั้งขององค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) อาจเปรียบได้เป็นจัตุรัสพิพิธภัณฑ์ในแง่ที่ว่าประกอบด้วยพิพิธภัณฑ์หลายแห่งภายในอาณาบริเวณเดียวกันที่เดินถึงกันได้ชนิดเข้าพิพิธภัณฑ์นี้ออกพิพิธภัณฑ์นั้นจนเผลอแป๊บเดียวหมดวัน โดยพิพิธภัณฑ์ของอพวช. ซึ่งเปิดให้เยี่ยมชมที่เทคโนธานีนั้น คือพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์, พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา, พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ และพิพิธภัณฑ์พระรามเก้า โดยมีจัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. ในใจกลางกรุงเทพฯ ที่เดอะ สตรีท รัชดา และภูมิภาค เช่น

พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน บริเวณเขตนิคมอุตสาหกรรมนวนคร มีแหล่งเรียนรู้ที่แสดงวิถีชาวปทุมธานีและชาวไทยนั่นคือ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ในแบบพิพิธภัณฑ์มีชีวิต ถ่ายทอดพระอัจฉริยภาพด้านการเกษตร ภูมิปัญญา นวัตกรรมเกษตร ศาสตร์พระราชาปรัชญาเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่า และความสำคัญของการเกษตรกับสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย โดยพื้นที่ 374 ไร่นั้นแบ่งอาคารเป็นแต่ละพิพิธภัณฑ์ ตั้งแต่พิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา, พิพิธภัณฑ์มหัศจรรย์พันธุกรรม, พิพิธภัณฑ์ป่าดงพงไพร,

พิพิธภัณฑ์บัว ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปทุมธานี

ในพื้นที่คลองหก ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สามารถเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์บัว ดอกไม้ประจำจังหวัดปทุมธานี ซึ่งก่อตั้งขึ้นตามโครงการการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พิพิธภัณฑ์บัวได้รวบรวมพันธุ์บัวทั้งพันธุ์ไทย พันธุ์เทศ และพันธุ์ผสม ปลูกไว้ในกระถางและบึงน้ำให้ประชาชนทั่วไปได้มาชื่นชม นักศึกษาและอาจารย์ได้ค้นคว้าวิจัย ขยายพันธุ์บัว และศึกษาการใช้ประโยชน์จากบัวในด้านต่างๆ เช่น อาหาร ยา ไม้ดอก ของประดับตกแต่ง รวมถึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ซึ่งดอกบัวนับร้อยสายพันธุ์มีตั้งแต่บัวหลวง

พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ซึ่งจำเพาะเจาะจงเนื้อหานิทรรศการด้านมานุษยวิทยา ที่มีพิพิธภัณฑ์ด้านนี้ไม่มากนักในประเทศไทย ดำเนินงานโดยคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มีคลังของสะสมโบราณวัตถุจากการขุดค้นแหล่งโบราณคดีภาคสนาม และได้รับบริจาคโบราณวัตถุและวัตถุทางวัฒนธรรมจำนวนมากจาก ดร.วินิจ วินิจนัยภาค จึงนำมาจัดแสดงเพื่อนำเสนอวิชาว่าด้วยเรื่องตัวคน และสิ่งที่คนสร้างขึ้น ทำให้ผู้เข้าชมได้ขยายมุมมอง ใคร่ครวญถึงสิ่งของที่นำมาจัดแสดง นำไปสู่การเข้าใจผู้คนในมิติที่รอบด้านขึ้น พร้อมกับมีนิทรรศการหมุนเวียนในหัวข้อต่างๆ เช่น นิทรรศการ “ทุ่งรังสิต” จากสมัน นาข้าว สาวโรงงาน

หออัครศิลปิน และกลุ่มพิพิธภัณฑ์บนถนนเลียบคลองห้า

จากเทคโนธานี บนถนนเลียบคลองห้า ทางหลวงชนบทสาย ปท.3010 เดินรถต่อไปราว 3-4 กิโลเมตรถึงพื้นที่กลุ่มอาคารพิพิธภัณฑ์ 5 แห่ง ประกอบด้วยหออัครศิลปิน, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติธรณีวิทยาเฉลิมพระเกียรติ, หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ซึ่งนำเสนอเรื่องราวชาติพันธุ์วิทยาของกลุ่มชนเผ่าพันธุ์หลากหลายที่ปรากฏอยู่ในแผ่นดินไทย และคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร จะเห็นได้ว่าบริเวณคลองห้านี้อุดมด้วยแหล่งเรียนรู้ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อม ประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรม แต่ละแห่งมีการจัดกิจกรรมและนิทรรศการพิเศษเพื่อดึงดูดผู้เยี่ยมชมมากขึ้น

ถนนนี้ชื่อถนนพูลสุขตามชื่อปู่ย่า แต่ตอนนี้ไม่ค่อยพูนสุขละ มันพูนอะไรบอกไม่ถูก

            “หัวหินเมื่อร้อยกว่าปีก่อนเป็นดอนทราย ไม่มีคนอยู่ ยังไม่มีคำว่า “หัวหิน” เลย แล้วทางเพชรบุรีทำมาหากินไม่ค่อยดี ทางนี้ที่เยอะ เขาเลยพากันย้ายลงมาอยู่แถวนี้ สมัยนั้นเรียกกันว่า “บ้านสมอเรียง” มาจากคำว่าถมอเรียง ภาษาขอมแปลว่าหินหรือศิลาเรียงกัน พอน้ำทะเลลด มองไปชายทะเล จะเห็นหินเป็นก้อนๆ เรียงๆ ต่อกันเป็นแหลมยื่นออกไปในทะเล เลยเรียกกันว่า “แหลมหิน” จนเพี้ยนมาเป็น “หัวหิน”

ตัวผมเองปฏิญาณตนไว้ว่าเราจะทำกิจกรรมจิตอาสาที่ตอบแทนสังคมให้คนที่มีรายได้น้อยไปจนหมดลมหายใจ

“พวกเราเป็นกลุ่มช่างตัดผมชายมีอยู่ทั่วประเทศไทย เราเริ่มโครงการคนดีจิตอาสา ตัดผมฟรี ทำดีเพื่อพ่อร.๙ ได้ทำกิจกรรมจิตอาสาตัดผมฟรีให้คนที่มาร่วมถวายความอาลัยในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ท้องสนามหลวง แล้วผมก็สานต่อกิจกรรมตรงนั้นมาจนถึงทุกวันนี้ อย่างวันนี้ที่เรามาทำกิจกรรมออกหน่วยให้กับประชาชนชาวหัวหินและบุคคลทั่วไปที่หน้าสถานีรถไฟหัวหิน ผมก็จะลงในเพจพลเมืองหัวหินนะครับ บางคนเขาตามเรา ถ้าอาจารย์ป้อมมา จะมารอเลย เอาน้ำ ขนมมาให้เวลาเราทำงาน เรามีรอบออกหน่วยบริการตัดผมฟรีอาทิตย์ละ 4 วัน วันจันทร์ อังคาร พฤหัส ศุกร์

1 43 44 45 46 47 62

Recent Comments

No comments to show.

Follow

Instagram

This error message is only visible to WordPress admins

Error: No feed found.

Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.

Video