สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง และการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบวิจัยของ บพท. ปีนี้ ดร.ปุ่น ในบทบาทรองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับคณะทำงาน ได้ริเริ่มโปรแกรมวิจัยใหม่ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสมาคมเทศบาลนครและเมือง องค์กรที่เป็นดั่งหัวใจหลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำเมืองระดับท้องถิ่นครอบคลุมทั่วประเทศ กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ ที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเยือนอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี ภายหลังที่ บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในปี 2538 จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อแผนการทำร้อยเอ็ดให้น่าอยู่และน่าเที่ยวถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมือง ภูมิทัศน์ของเมืองร้อยเอ็ดค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทั้งการบูรณะบึงพลาญชัย การสร้างประตูเมืองจำลอง ‘สาเกตนคร’ ให้เป็นสัญลักษณ์และเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์คูเมืองโบราณให้น่ามองไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียว
THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP
- LIVABLE & SMART CITY
- LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
- LEARNING CITY
Topics
Criticism
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
World
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Pandemic
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Finance
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Criticism
Join our Mailing List
We hate spams like you do
Satire
Latest
“ตะโก้เสวยคือเราทำเป็นชิ้นเล็กในกระทงใบเตย กินคำเดียว แล้วก็เพราะมีคนจากในวังมาซื้อ ตอนหลังก็กลับมาซื้อประจำ เวลาในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จแปรพระราชฐานที่พระราชวังไกลกังวล ทรงโปรดให้ขึ้นโต๊ะเสวย พอมาสั่ง เขาก็จะบอกว่า “ขึ้นที่” เราก็รู้ละ เวลาทำตะโก้เข้าวัง เราไม่ใช้แม็กติดกระทง ไม่กลัด ต้องเลือกใบเตยแข็งๆ เอามาพับให้กระทงอยู่ตัว สมเด็จฟ้าหญิงเพชรรัตน์ (สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ) เราก็ได้เข้าเฝ้าถวายตะโก้ที่ตำหนักพัชราลัย
ตอนนี้เหลือรถผมวิ่งอยู่คันเดียว ยังปั่นอยู่ก็ไม่รู้จะไปทำอะไร อยู่บ้านก็เบื่อ ออกมายังได้ดูโน่นดูนี่
“ผมปั่นสามล้อมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 ตอนอายุ 17 สมัยนั้นไม่มีรถอะไร มีแต่สามล้ออย่างเดียว ตอนนั้นคล้ายๆ ว่าเราก็ทำสนุกๆ งั้นแหละ ไม่ได้คิดเป็นอาชีพจริงจัง ก็ทำๆ หยุดๆ มาจริงจังช่วงหลังนี้ 40 ปีละ รถก็ซื้อมาตั้งแต่แรกเริ่ม ถูก คันละ 5-600 บาท สมัยนั้นทองบาทละ
“Learning City เป็นโครงการที่เทศบาลเมืองหัวหินให้ความสำคัญเรื่องการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกช่วงวัย เพราะเราต้องการสร้างหัวหินเป็น Learning Community เป็นสังคมแห่งการตระหนักรู้ รู้เท่าทัน ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรเราใช้โมเดลนี้ในการแก้ปัญหาได้ ทีนี้การที่เราไปตั้งต้นที่พูลสุขเพราะเป็นชุมชนในเขตเทศบาลฯ ที่มีความเก่าแก่ มีจุดเด่นเรื่องวัฒนธรรม ความเป็นท้องถิ่น เพราะเป็นคนดั้งเดิมของหัวหิน แล้วประธานชุมชนตอนนั้นอายุน่าจะ 90 ปี ปัญหาอุปสรรคที่ดำเนินโครงการ คืออายุของผู้ที่เราไปสัมภาษณ์ หลายท่านก็เสียชีวิตหลังจากโครงการเสร็จ ด้วยชราภาพ
ผศ.ดร. ดำรงพันธ์ ใจห้าววีระพงศ์ ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช เล่าให้เราฟังว่า คำว่า ‘ปากพูน’ ซึ่งเป็นชื่อของตำบลหนึ่งในอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช เป็นชื่อที่ถูกเรียกตามสัณฐานของปากแม่น้ำที่เชื่อมลำคลองหลากสาขาของชุมชนสู่อ่าวไทย “คำว่าปากพูนมาจากปากน้ำทะเลที่พูนขึ้นไป พูนเป็นภาษาใต้แปลว่า เยอะ มาก หรือล้นออกไป ด้วยลักษณะแบบนี้ ภูมิศาสตร์ของมันจึงเป็นที่สังเกตง่าย ทั้งทางเรือและทางอากาศ ขณะเดียวกันก็มีร่องน้ำอีกแห่งที่อยู่ไม่ไกลจากกันคือปากนคร ทั้งสองแห่งนี้เป็นเส้นทางคมนาคมจากอ่าวไทยเข้าสู่ตัวเมืองนครศรีธรรมราช”
เมืองนครควรมีพื้นที่ให้ความหลากหลายของคนทุกวัย เพราะอันที่จริงแล้ว สเก็ตบอร์ดก็เป็นวัฒนธรรมเหมือนกัน
“ผมชอบดื่มกาแฟ นั่งทำงาน และพักผ่อนที่ร้านกาแฟอยู่แล้ว ก่อนเรียนจบ จึงมีความตั้งใจจะเปิดร้านกาแฟที่เมืองนคร เพราะตอนนั้นในตัวเมืองยังมีร้านกาแฟที่เป็นร้านแบบจริงจังไม่เยอะ แต่ครอบครัวก็ท้วง อยากให้ผมใช้เวลาทบทวนมากกว่านี้ ผมก็รับฟังโดยเลือกเรียนปริญญาโทที่กรุงเทพฯ ต่อ จนพอเรียนจบ ผมก็ไม่คิดจะทำอย่างอื่นเลย นอกจากกลับบ้านมาเปิดร้านกาแฟ Glur House คือร้านกาแฟเล็กๆ ที่ถอดมาจากความชอบส่วนตัวของผม เช้าและกลางวันขายกาแฟ ส่วนตอนเย็นในวันศุกร์และเสาร์เปิดเป็นบาร์ และความที่ผมชอบเล่นสเก็ตบอร์ด เลยนำแผ่นสเก็ต อุปกรณ์ต่างๆ
“เราเกิดและเติบโตที่ปากพูน ครอบครัวทำร้านขายของชำและร้านน้ำชาอยู่ในชุมชน ช่วงก่อนเรียนจบ เรามีโอกาสช่วยอาจารย์มานะ (ผศ.มานะ ขุนวีช่วย) ทำโครงการวิจัยเมืองแห่งการเรียนรู้ในตำบลปากพูน เรื่องการศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชน แม้เราเป็นคนปากพูนเอง เราก็ไม่เคยรู้มาก่อน คือมารู้ตอนทำวิจัยนี่แหละค่ะว่าสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นล่องเรือมาขึ้นฝั่งที่หมู่บ้านเราเลย คือปกติ คนปากพูนจะทราบกันเรื่องยกพลขึ้นบก แต่จะรู้แค่ว่ามีเหตุการณ์เกิดที่บริเวณอนุสาวรีย์พ่อจ่าดำในค่ายวชิราวุธ ใกล้ๆ ตลาดท่าแพ (อนุสาวรีย์พ่อจ่าดำ หรืออนุสาวรีย์วีรไทย สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงความกล้าหาญของทหารไทยในสงครามโลกครั้งที่ 2
“พื้นเพผมเป็นคนสมุทรสาคร ได้ภรรยาเป็นคนปากพูน เลยย้ายมาอยู่ที่นี่ และความที่พ่อตาทำสวนมะพร้าว เลยรับกิจการทำสวนมะพร้าวต่อมา ก่อนหน้านี้ผมเป็นช่างก่อสร้าง จึงไม่มีปัญหากับการทำงานบนที่สูงอย่างการปีนต้นมะพร้าว ชุมชนที่ผมอยู่นี่มีการทำสวนมะพร้าวส่งต่อมาหลายรุ่น จะมีทั้งเก็บผลขาย ไม่ก็ทำน้ำตาลมะพร้าว ซึ่งสวนของผมนี่ทำน้ำตาลมะพร้าวอย่างเดียว ทำมายี่สิบกว่าปีแล้ว ผมมีสวนอยู่ 7 ไร่ เป็นมะพร้าวน้ำตาล ลำต้นไม่สูง ใช้บันไดปีนเก็บได้เลย น้ำตาลสดนี่ได้จากช่อดอก ผมจะปีนขึ้นไปปาดตาลและหาถังไปรองน้ำตาลจากช่อดอก เช้ารอบหนึ่ง และเย็นอีกรอบหนึ่งสลับกันไปเก็บและไปรองใหม่อยู่อย่างนี้
“เนื่องจากแต่เดิมเรามีอาชีพเป็น product specialist ของบริษัทจำหน่ายเครื่องมือแพทย์ จึงมีโอกาสได้ไปเห็นหลายเมืองทั่วประเทศ จากหน้าที่การงานที่ต้องเดินทางไปสอนลูกค้าใช้เครื่องมืออยู่เสมอ ซึ่งจากที่ได้ไปเห็นมาทั้งหมด เราพบว่านครศรีธรรมราชเป็นเมืองที่เราอยากใช้ชีวิตอยู่มากที่สุด ชอบหลายอย่างเลยค่ะ ทั้งภูเขา ทะเล อาหารการกิน ความเป็นเมืองที่ยังคงมีเสน่ห์แบบชนบท รวมถึงอุปนิสัยของคนท้องถิ่นที่เป็นมิตรและตรงไปตรงมา และนั่นทำให้แม้เราจะไม่ได้รับมอบหมายให้มาทำงานที่นคร แต่ถ้าเรามีวันหยุด เราจึงเลือกมาใช้เวลาพักผ่อนที่เมืองแห่งนี้ เรามีความฝันมาตลอดว่าอยากเปิดร้านกาแฟ ประกอบกับที่เราอิ่มตัวกับงานประจำ ก็เลยคิดว่างั้นมาเปิดที่เมืองที่เราอยากมาใช้ชีวิตอยู่อย่างนครแล้วกัน ช่วงก่อนออกจากงาน เราเลยเดินทางมาเที่ยวที่นี่หลายครั้งเพื่อหาทำเลสำหรับเปิดร้าน
“กลุ่มประมงพื้นบ้านตำบลปากพูนเป็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของบทเรียนที่ว่า หากทุกคนหันหน้าเข้าหากัน และคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก ต่อให้มีวิกฤต เราก็จะเจอโอกาส ผมเข้ารับราชการประมงจังหวัดนครศรีธรรมราชในปี 2561 ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่ทางตำบลปากพูน และอีกหลายชุมชนที่ทำประมงพื้นบ้านในจังหวัด ประสบปัญหาทรัพยากรสัตว์น้ำขาดแคลนจากการใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมาย เลยมีการรณรงค์ให้เลิกทั้งหมด โดยทางหมู่ 4 ตำบลปากพูน ที่เป็นชุมชนเลียบคลองที่เชื่อมไปถึงปากอ่าวปากพูน เป็นตัวตั้งตัวตีในการยกเลิกอย่างจริงจัง จำได้เลยว่าช่วงสามเดือนแรก ชาวประมงที่นี่เขาก็แทบจะยอมแพ้กัน จนเข้าเดือนที่ 4 เท่านั้นแหละ พอพวกลูกปลาเจริญวัย
Recent Posts
- [ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม
- THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
- WeCitizens : The Concept
- WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด
- City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร
Recent Comments
Categories
Error: No feed found.
Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.