สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง และการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบวิจัยของ บพท. ปีนี้ ดร.ปุ่น ในบทบาทรองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับคณะทำงาน ได้ริเริ่มโปรแกรมวิจัยใหม่ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสมาคมเทศบาลนครและเมือง องค์กรที่เป็นดั่งหัวใจหลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำเมืองระดับท้องถิ่นครอบคลุมทั่วประเทศ กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ ที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเยือนอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี ภายหลังที่ บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในปี 2538 จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อแผนการทำร้อยเอ็ดให้น่าอยู่และน่าเที่ยวถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมือง ภูมิทัศน์ของเมืองร้อยเอ็ดค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทั้งการบูรณะบึงพลาญชัย การสร้างประตูเมืองจำลอง ‘สาเกตนคร’ ให้เป็นสัญลักษณ์และเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์คูเมืองโบราณให้น่ามองไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียว
THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP
- LIVABLE & SMART CITY
- LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
- LEARNING CITY
Topics
Criticism
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
World
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Pandemic
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Finance
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Criticism
Join our Mailing List
We hate spams like you do
Satire
Latest
“ผู้ใหญ่เกิดที่ปากพูนเลยค่ะ ก่อนหน้านี้เป็นสมาชิก อบต.ปากพูน เราผูกพันกับพื้นที่ เข้าใจปัญหา และคิดว่าด้วยหน้าที่การงานเรามีส่วนพัฒนาบ้านเกิดเราได้ จนตำแหน่งใน อบต. หมดวาระลง เลยสมัครเป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 เพราะคิดว่าในระดับหมู่บ้าน เราดูแลลูกบ้านเราได้ และก็มีอิสระในการตัดสินใจในการพัฒนาชุมชนบ้านเกิดเรา ตอนนี้ทำมา 13 ปีแล้ว ปีนี้เข้าปีที่ 14 หมู่ 4 เรามีลูกบ้านอยู่
“การอพยพแบบเทครัวคือการโยกย้ายถิ่นฐานจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งในลักษณะของการที่ผู้คนโยกย้ายไปทั้งครอบครัวหรือทั้งชุมชน ตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา มีการอพยพรูปแบบนี้นับครั้งไม่ถ้วน โดยเฉพาะช่วงศึกสงคราม เช่นที่ครั้งหนึ่งกองทัพนครศรีธรรมราชไปทำสงครามกับรัฐไทรบุรี และก็ได้นำเชลยศึกจากไทรบุรีกลับมาด้วย อย่างไรก็ดี ในตำบลปากพูน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช มีการอพยพแบบเทครัวอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งถือเป็นหมุดหมายสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ของชุมชน นั่นคือราวทศวรรษ 2470 ที่ชาวบ้านในอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ล่องเรือลงใต้มาขึ้นฝั่งยังปากพูนกันทั้งหมู่บ้าน เพื่อหาแหล่งทำมาหากินใหม่ กระทั่งในทุกวันนี้หลายชุมชนริมคลองในปากพูน ก็ล้วนเป็นลูกหลานชาวเพชรบุรีที่ยังคงพูดภาษากลางสำเนียงเพชรบุรีอยู่ นอกจากนำวิถีชีวิตและสำเนียงภาษามาปักหลักที่นี่ อีกสิ่งที่ชาวเพชรบุรีนำติดตัวมาด้วย นั่นคือนวัตกรรมพื้นบ้านในการจับสัตว์น้ำที่เรียกว่าบ้านปลา หรือ
“นอกจากการที่มีป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ในระดับที่กิ่งก้านของต้นโกงกางอันสูงใหญ่โน้มเข้าหากันจนเกิดลักษณะคล้ายอุโมงค์อันงดงาม ความพิเศษของผืนป่าในหมู่ 4 ของตำบลปากพูน ซึ่งเป็นที่ตั้งของอุโมงค์ป่าโกงกาง1 ยังรวมถึงการเป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญที่ใช้หล่อเลี้ยงชาวบ้านปากพูนจากรุ่นสู่รุ่น ชาวบ้านใช้พื้นที่กว่าครึ่งของป่าชายเลนทำประมง บ่อเลี้ยงกุ้ง ปู และปลาตามธรรมชาติ และหลายคนอาจยังไม่ทราบว่าป่าแห่งนี้ยังเป็นแหล่งผลิตน้ำผึ้งชั้นดี ซึ่งเกิดจากผึ้งหลวงที่อพยพมาจากป่าในอุทยานแห่งชาติเขาหลวงมาทำรังตามกิ่งไม้ของต้นแสมดำในช่วงเดือนมิถุนายนของทุกปี เป็นอีกหนึ่งอาชีพเสริมหล่อเลี้ยงชาวบ้านในชุมชนนี้กว่า 100 ครัวเรือน โครงการวิจัยย่อยของพวกเรามีชื่อว่า ‘อุโมงค์โกงกาง: ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าชายเลน เพื่อพัฒนายกระดับสู่พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต และยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน’ มีวัตถุประสงค์หลักคือการศึกษาและจัดทำฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพทั้งพืชและสัตว์ รวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นในอุโมงค์ป่าโกงกาง
“ไอ้เฒ่า เป็นภาษาใต้ หมายถึงคนที่คงแก่เรียน หรือในบางพื้นที่ยังแปลได้ว่าเพื่อน ไม่ว่าเราจะทำงานอะไร หรืออยู่ในสังคมไหน ทุกพื้นที่จะมีไอ้เฒ่าที่เป็นเหมือนหัวเรี่ยวหัวแรง เป็นมันสมอง หรือเจ้าของภูมิปัญญาของกลุ่มนั้นๆ อยู่เสมอ ในโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ของตำบลปากพูน ผมรับผิดชอบโครงการที่ 2 ที่ชื่อ เกลอปากพูน: การสร้างกลไกความร่วมมือและเครือข่ายพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้ภายในตำบลปากพูน โดยหน้าที่ก็คือการตามหาไอ้เฒ่าจากพื้นที่ต่างๆ ยึดตามโครงการย่อยที่มี ไม่ว่าจะเป็นชาวบ้านที่ขับเคลื่อนกิจกรรมอุโมงค์ป่าโกงกาง เจ้าของสวนมะพร้าว คนเฒ่าคนแก่ที่มีประสบการณ์ร่วมในประวัติศาสตร์ของชุมชน เป็นต้น
“ก่อนหน้านี้ เวลาชาวประมงในปากพูนจับสัตว์ทะเลมาได้ ก็มักจะเจอปลาตัวเล็กๆ อย่างปลาจวดหรือปลาดาบเงินติดมาด้วย เขาก็จะแยกพวกมันไปปล่อยลงทะเล เพราะปลาพวกนี้ขายไม่ได้ หรือถ้าขายก็จะได้ราคาไม่คุ้ม เพราะคนรับซื้อเขาจะเอาไปทำอาหารสัตว์ จนมีช่วงหนึ่งที่เศรษฐกิจในชุมชนซบเซา ชาวบ้านก็มาคุยกันว่าเราจะทำยังไงจะหาเงินเพิ่มได้ ก็เลยคิดถึงการเอาปลาตัวเล็กๆ มาแปรรูป เพราะคนแก่ๆ อย่างป้าและแม่บ้านในชุมชนมีกันหลายคน ส่วนมากอยู่บ้านไม่ได้ทำอะไร ถ้ารวมตัวกันมาแปรรูปอาหารทะเล นอกจากมีรายได้เพิ่มเข้ามา ยังได้เจอเพื่อน ได้มีอะไรทำด้วย ทางกรมประมงจังหวัด และผู้ใหญ่กระจาย (กระจาย
“เหนียวห่อกล้วยก็คือข้าวต้มมัดในภาคกลางนั่นแหละ บ้านยายทำมาตั้งแต่รุ่นคุณยายของยายแล้ว ตอนเด็กๆ ยายก็ช่วยคุณยายและแม่ของยายห่อ ตอนนั้นขายห่อละ 25 สตางค์ ขายที่บ้านบ้าง ไปฝากขายตามร้านค้า บางครั้งเอาไปขายแผงลอยริมถนน หรือไม่ก็เดินเร่ขายในปากพูน ตอนกลับมาเริ่มขายใหม่ คนในชุมชนเขาก็สงสัยว่าเหนียวห่อกล้วยนี่นะ คือที่ไหนเขาก็ทำกัน จะขายได้สักเท่าไหร่เชียว แต่ยายก็บอกว่าเราไม่ได้ขายให้คนในชุมชนน่ะ เพราะพอหลานมาช่วย เขาก็ทำเพจเฟซบุ๊คและมีหน้าร้านใน Shopee ช่วงปี 2563 นี่ขายดีมาก
“ในส่วนของโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ปากพูน พวกเรารับผิดชอบในโครงการย่อยที่ 5 การประเมินและพัฒนาระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจชุมชนปากพูน ซึ่งได้รับมอบหมายจากหัวหน้าโครงการให้ไปสอบถามชาวบ้านในชุมชนและเจ้าหน้าที่จากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นว่าชุมชนประสบปัญหาเรื่องใด และต้องการให้โครงการวิจัยมาหนุนเสริมเรื่องใดเป็นพิเศษ เราทำแบบสอบถามและการสัมภาษณ์จากชาวบ้านใน 12 หมู่บ้านของตำบลปากพูน โดยได้กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นวัยทำงานอายุระหว่าง 21-60 ปี เกือบ 400 คน พร้อมไปกับการจัดเวทีชุมชนเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในภาพรวมเราพบว่าชาวปากพูนมีคุณภาพชีวิตที่ดี แต่ในแง่มุมด้านสุขภาพ การทำงาน และสัมพันธภาพ ยังอยู่ในระดับปานกลาง โดยปัญหาที่พบส่วนใหญ่มีสองเรื่องหลักคือ
“ก่อนที่ อบต.ปากพูนจะได้รับการยกระดับเป็นเทศบาลเมืองปากพูน ช่วงปี 2542-2543 ผมได้ทำฐานข้อมูลประชากรชาวปากพูน ที่รวบรวมข้อมูลพื้นฐาน รายได้ ไปจนถึงข้อมูลสุขภาพเก็บไว้ เพราะคิดว่าถ้าอยากทำให้เมืองมีการพัฒนาไปพร้อมกับบรรยากาศของการเรียนรู้ การทำความเข้าใจต้นทุนและศักยภาพของตำบล ซึ่งในที่นี้หมายถึงการรู้จักชาวบ้านทุกคน เป็นเรื่องสำคัญ พอได้ข้อมูลพื้นฐานตรงนี้ ผมก็ชักชวนบุคคลที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนมาพูดคุยกันเป็นระยะๆ สมมุติว่าเป็นชาวประมง ผมก็ขีดกลมๆ กลุ่มประมงไว้ เรารู้จักเขา และก็สร้างกิจกรรมให้เขาได้รู้จักผู้ประกอบการด้วยกันเอง มีกี่กลุ่มก็ทำแบบนั้น กลุ่มใบกระท่อม กัญชา
“ผมเป็นคนหมู่ 4 ตำบลปากพูน เรียนจบมัธยมต้นที่โรงเรียนปากพูน และย้ายไปเรียนต่อที่อื่น จนกลับมาบรรจุเป็นครูสอนวิชาเคมีที่โรงเรียนเดิม สาเหตุที่เลือกกลับมาทำงานที่นี่ ข้อแรกคือผมต้องกลับมาดูแลครอบครัว และข้อที่สอง คือผมเห็นโอกาสที่มีในบ้านเกิดแห่งนี้ ปากพูนเป็นตำบลที่ผู้คนมีทรัพยากรเยอะมากนะครับ ประมงอุดมสมบูรณ์ ส่วนชาวสวนส่วนใหญ่ก็มีที่ดินทำกินค่อนข้างมาก อาจจะเพราะความที่อะไรก็สมบูรณ์อยู่แล้วด้วย ชาวบ้านจึงไม่ได้คิดขวนขวายกับการพัฒนาอาชีพเท่าไหร่ อย่างถ้าคุณทำสวนมะพร้าว ถึงเวลาก็จะมีล้งมารับซื้อไป บางช่วงเขาไม่มารับ คุณขายไม่ได้ ก็ไม่ได้คิดอะไรมาก เพราะไม่รู้จะทำยังไง หรือถ้าบ้านไหนทำประมง
Recent Posts
- [ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม
- THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
- WeCitizens : The Concept
- WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด
- City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร
Recent Comments
Categories
Error: No feed found.
Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.