สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง และการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบวิจัยของ บพท. ปีนี้ ดร.ปุ่น ในบทบาทรองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับคณะทำงาน ได้ริเริ่มโปรแกรมวิจัยใหม่ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสมาคมเทศบาลนครและเมือง องค์กรที่เป็นดั่งหัวใจหลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำเมืองระดับท้องถิ่นครอบคลุมทั่วประเทศ กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ ที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเยือนอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี ภายหลังที่ บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในปี 2538 จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อแผนการทำร้อยเอ็ดให้น่าอยู่และน่าเที่ยวถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมือง ภูมิทัศน์ของเมืองร้อยเอ็ดค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทั้งการบูรณะบึงพลาญชัย การสร้างประตูเมืองจำลอง ‘สาเกตนคร’ ให้เป็นสัญลักษณ์และเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์คูเมืองโบราณให้น่ามองไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียว
THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP
- LIVABLE & SMART CITY
- LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
- LEARNING CITY
Topics
Criticism
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
World
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Pandemic
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Finance
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Criticism
Join our Mailing List
We hate spams like you do
Satire
Latest
“พวกเรารู้จักกันเพราะความสนใจในหนังตะลุง บางคนรู้จักเพราะเป็นเพื่อนร่วมคณะ แต่ส่วนใหญ่จะรู้จักจากการประกวดการแสดงหนังตะลุงของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ซึ่งจะจัดขึ้นในงานบุญเดือนสิบของทุกปี จนนำมาสู่การร่วมชมรมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ของมหาวิทยาลัย หนังตะลุงอยู่ในวิถีชีวิตของคนใต้ ทั้งในงานเทศกาล งานบุญ งานรื่นเริง หรือกระทั่งงานศพ เราเรียกคนเชิดและพากย์หนังว่านายหนัง โดยในแต่ละคณะจะต้องมีนายหนังแค่คนเดียว มีตัวละครให้เชิดกี่ตัวก็ว่าไป นายหนังจะต้องรับบทในการเล่าเรื่องและพากย์เสียงพูดคุยให้ตัวละครทั้งหมด นายหนังที่เก่งจะแยกบุคลิกตัวละครแต่ละตัวออกมาอย่างชัดเจน และทำให้ผู้คนติดตามเรื่องราวด้วยความสนุกสนานจนจบ เราหลายคนในกลุ่มอยากเป็นนายหนังเพราะมีโอกาสได้ดูนายหนังเก่งๆ เชิดหุ่น หรือเราบางคนก็มีความสนใจอยู่ในสายเลือด เพราะเป็นลูกหลานของศิลปินหนังตะลุงอยู่แล้ว แม้จะสนใจศิลปะการแสดงเหมือนกัน แต่เราก็ล้วนมีจุดเด่นแตกต่างกัน
“พื้นเพครอบครัวผมทำฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์ทะเลในตำบลปากพูน และส่งขายให้พ่อค้าคนกลางในตัวเมืองนครศรีธรรมราช ก่อนหน้านี้ ผมไม่ได้มีความคิดจะกลับมาทำตรงนี้เลย ผมจบมาทางด้านการจัดการธุรกิจที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และทำงานบริษัทอยู่ที่จังหวัดสมุทรสาคร กระทั่งภรรยาผมเสียชีวิต เหลือผมกับลูก จึงตัดสินใจลาออก กลับมาช่วยธุรกิจที่บ้าน เพราะจะได้มีคนช่วยเลี้ยงลูก และเตี่ยก็อยากให้ผมกลับมาสานต่อธุรกิจอยู่แล้วด้วย หลังจากทำงานที่บ้านได้ไม่นาน ผมก็พบปัญหาว่าหากมีช่วงเวลาไหนที่ปูล้นตลาด พ่อค้าคนกลางจะไม่รับซื้อปูจากฟาร์มผมและชาวบ้านคนอื่นๆ พวกเราเลยไม่มีรายได้ ก็ปรึกษากับเตี่ยว่า เอางี้ไหม ผมเคยทำงานที่มหาชัยและพอรู้ว่าที่นั่นมีแหล่งรับซื้อปู เราน่าจะไปขายเขาได้ เลยตัดสินใจแพ็คปูใส่กล่องขึ้นรถทัวร์ไปหาคนรับซื้อเอง สมัยนั้นคือเมื่อ 20
“ความที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลปากพูนเป็นดินตะกอนที่เกิดจากการทับถมของทะเล ดินที่นี่จึงมีความเค็มเป็นที่โปรดปรานของต้นมะพร้าว พืชดั้งเดิมในพื้นที่ นั่นทำให้วิถีชีวิตของชาวปากพูนเกี่ยวข้องกับสวนมะพร้าวจากรุ่นสู่รุ่น และเป็นที่รู้กันว่าถ้านึกถึงมะพร้าวคุณภาพดี คนนครก็จะนึกถึงเมืองปากพูน ชาวปากพูนมีภูมิปัญญาในการสร้างรายได้จากมะพร้าวตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ตั้งแต่ปลูกมะพร้าวขายเป็นลูก น้ำมะพร้าว กะทิ น้ำตาลมะพร้าว ไปจนถึงเอาก้านมาทำเครื่องจักสาน สถานะของการเป็นพื้นที่การเรียนรู้ในสวนมะพร้าวแห่งต่างๆ ในตำบลปากพูนจึงมีความชัดเจนมาก ทางทีมวิจัยจึงเห็นว่าหากเรานำงานวิชาการเข้าไปเสริมและสร้างเครือข่ายพื้นที่การเรียนรู้ในสวนมะพร้าวแห่งต่างๆ ขึ้น ก็น่าจะช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์และเศรษฐกิจในชุมชนได้มาก เราจึงทำโครงการ ‘พร้าวผูกเกลอ’ ขึ้น ซึ่งเป็นโครงการย่อยที่ 2
“สมัยที่นครศรีธรรมราชยังไม่มีร้านหนังสือที่เป็นเชนสโตร์ตามศูนย์การค้า คนนครส่วนใหญ่จะไปหาซื้อหนังสือที่ร้าน ‘สวนหนังสือนาคร-บวรรัตน์’ ตรงสี่แยกท่าวัง ใจกลางเมือง ที่นี่เป็นร้านหนังสือที่สร้างแรงบันดาลใจให้นักเขียนและนักอ่านรวมถึงผมอย่างมาก ร้านหนังสือร้านนี้เป็นของนายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช คุณหมอที่มีงานอดิเรกเป็นนักเขียน ซึ่งทางร้านก็มักจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเชิญนักเขียนที่มีชื่อเสียงมาบรรยายหรือพบปะผู้อ่าน และนั่นมีส่วนทำให้เมืองนครและอีกหลายเมืองในภาคใต้เกิดกลุ่มหรือชุมนุมวรรณกรรมขึ้นมากมาย โดยเฉพาะกลุ่มนาครในยุคที่ กนกพงศ์ สงสมพันธ์ (นักเขียนวรรณกรรมซีไรท์ปี พ.ศ. 2539 – ผู้เรียบเรียง) ยังมีชีวิตอยู่ เมื่อย้อนกลับไปสักสิบหรือยี่สิบกว่าปีที่แล้ว
“พอฟองสบู่แตกปี 2540 บริษัทที่ผมทำงานประจำก็ปิดตัวลง ผมเป็นคนรุ่นแรกๆ ที่เปิดท้ายนำทรัพย์สมบัติส่วนตัวมาขายจนเกิดเป็นตลาดนัด แต่หลังจากสู้อยู่สักพัก ปี 2542 ผมตัดสินใจพาครอบครัวย้ายกลับมาตั้งหลักที่บ้านเกิดที่นครศรีธรรมราช และยึดอาชีพเขียนบทความและเรื่องสั้นมาตั้งแต่นั้น เพราะทำงานอยู่กรุงเทพฯ หลายปี เมื่อได้กลับมานครใหม่ๆ ผมพบว่าจังหวะของเมืองเชื่องช้าจนน่าตกใจ เมืองยังมีความเป็นชนบทและผู้คนอยู่กันสบายๆ เพราะไม่มีความจำเป็นต้องรีบเร่งไปไหน และไม่มีบรรยากาศของการแข่งขัน แม้จะเป็นเรื่องดีต่ออาชีพนักเขียน แต่ตอนมาอยู่ใหม่ๆ ผมก็ใช้เวลาปรับตัวอยู่พอสมควรเหมือนกัน ผมไม่มีความเป็นคนนครเลย ถ้าคุณนิยามวิถีคนนครในแบบที่ตื่นแต่เช้ามืดมานั่งร้านน้ำชาเพื่อพูดคุยกับเพื่อน
“พื้นเพผมเป็นคนกาญจนดิษฐ์ สุราษฎร์ธานี มาอยู่นครศรีธรรมราชเพราะมาเรียนที่วิทยาลัยศิลปหัตถกรรม เมื่อก่อนอยากเป็นนักเขียนการ์ตูน พอจบมาใหม่ๆ ก็ไปอยู่กับพี่ดิเรก สีแก้ว พี่ดิเรกค่อนข้างมีอิทธิพลกับผม เพราะหลังจากนั้นไม่นาน ผมออกจากงานร้านป้ายไปรับงานเขียนรูปเหมือนอยู่เกาะสมุย พอมีโอกาสได้พบปะแกบ้าง เห็นว่าแกหันมาเขียนบทกวี ผมก็สนใจการอ่านการเขียนตามแกไปด้วย จนมีรวมเรื่องสั้นตีพิมพ์เป็นของตัวเองเล่มแรก (‘แดดเช้าร้อนเกินกว่าจะนั่งจิบกาแฟ’, รวมเรื่องสั้นรางวัลซีไรต์ปี 2554 – ผู้เรียบเรียง) หลังจากหันมาเขียนหนังสือเป็นหลักอยู่ 3-4 ปี
“ผมเกิดและโตที่บ้านปากพูนใต้ จำความได้ก็ลงเรือหาปลาแล้ว เลี้ยงชีพด้วยการทำประมงมาทั้งชีวิต ออกเรือทุกวัน จะหยุดเฉพาะวันที่ป่วยหรือมีธุระ บางวันหาปลาได้มากก็จะฝากลูกสาวไปขายในตลาดได้เงินเยอะ แต่วันไหนโชคไม่ดี หาได้ไม่มาก แต่อย่างน้อยก็ยังมีปลาที่หามาได้ไว้กิน จนมาช่วงปีหลังมานี้ ที่ทางชุมชนมีกิจกรรมล่องเรืออุโมงค์ป่าโกงกาง ผมก็ได้อาชีพเสริมใหม่เป็นคนขับเรือให้นักท่องเที่ยวในช่วงวันเสาร์และอาทิตย์ โดยจะเริ่มจากท่าเรือใกล้ๆ ตลาดท่าแพ ล่องไปในคลองท่าแพผ่านหมู่บ้านปากพูนใต้ ผมจะชี้ให้นักท่องเที่ยวดูสองข้างทางว่ามีอะไร โดยเฉพาะมัสยิดดารุ้ลนาอีม (บ้านปากพูนใต้) ซึ่งเป็นมัสยิดที่ผมไปทำละหมาดประจำ จากนั้นเรือก็จะเข้าอุโมงค์ป่าโกงกาง จนออกปากอ่าวปากพูน ตรงนั้นก็จะมีเรือของคนในหมู่บ้านนี่แหละหาปลาอยู่
“พวกเรามีทั้งลูกหลานชาวปากพูนดั้งเดิม อีกส่วนเป็นคนมุสลิม และลูกหลานคนเพชรบุรีที่อพยพมา เป็นชาวประมงเหมือนกัน แต่ก็มีวิถีที่แตกต่างกันเล็กน้อย อย่างถ้าเป็นลูกหลานคนเพชรจะมีเครื่องมือจับปลาอีกแบบที่เรียกว่า ‘หมรัม’ เอาท่อนไม้มาร้อยต่อกันและล้อมเป็นทรงกลม ล่อให้ปลาเข้ามากินอาหาร และเราก็ขึ้นปลาจากหมรัมได้เลย ส่วนถ้าเป็นคนปากพูนแต่เดิมเลยก็จะใช้อวน ใช้ไซ รวมถึงโพงพาง ซึ่งอย่างหลังนี้เราเลิกใช้ไปแล้วเพราะผิดกฎหมาย เมื่อก่อนคนปากพูนก็ใช้เครื่องมือผิดกฎหมายกันแหละครับ โพงพาง ไซตัวหนอน ไอ้โง่ หรือลากตะแกรง ก็จับปลากันได้เยอะ แต่เพราะเครื่องมือพวกนี้มันจับปลาได้หมด ไม่เว้นปลาเล็ก
เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก ประกาศให้เทศบาลเมืองพะเยาเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตของยูเนสโก (UNESCO Global Network of Learning Cities) พร้อมกับเมืองสุโขทัย และหาดใหญ่ อันเป็นผลจากความร่วมมือในการยื่นเอกสารระหว่างมหาวิทยาลัยพะเยาและองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยาเมื่อปลายปีที่แล้ว นอกจาก 3 เมืองแห่งการเรียนรู้ใหม่หมาดที่ได้รับการประกาศไป
Recent Posts
- [ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม
- THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
- WeCitizens : The Concept
- WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด
- City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร
Recent Comments
Categories
Error: No feed found.
Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.